เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39385 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 17:57

คำตอบก็คือ มันเป็นเหตุผลทางการค้าครับ
พ่อค้าย่อมแสวงหาอะไรที่แปลกกว่าที่คนอื่นเขามีกัน มาฉีกตลาดออกไปบ้างเพื่อขายสินค้าของตน แม้จะต้องตกแต่งระดับminor change หรือจะถึงขั้นปลอมแปลงกันก็เอา

ตอนนั้น สยามเพิ่งจะเป็นที่รู้จักและน่าสนใจของชาวฝรั่งเศสหลังจากที่เฮนรี มูโอต์กลับไปเขียนเรื่องราวของสยามและเมืองขึ้น ฝรั่งเศสน่ะได้ญวนไปแล้ว เห็นลาวกับเขมรในภาพของนครวัตที่ว่ากันว่า ต้องเห็นให้ได้สักครั้งหนึ่งก่อนตาย ก็ย่อมอยากได้ และต้องศึกษาสยามซึ่งเป็นผู้ครอบครองในสมัยนั้น

ยิ่งสยามมีกษัตริย์สองพระองค์ในเวลาเดียวกันยิ่งน่าทึ่งเข้าไปใหญ่ ภาษาการตลาดเขาเรียกว่า"มีจุดขาย"  ภาพทั้งกษัตริย์องค์ที่หนึ่งและกษัตริย์องค์ที่สองทรงเครื่องราชย์ของฝรั่งเศส ย่อมมีผู้ต้องการซื้อเก็บไปดูเล่นหรือเป็นของสะสมพอสมควรทีเดียวแน่นอนครับ ชาวปารีสส่วนใหญ่จะไปทราบได้อย่างไรว่าภาพที่เห็นได้ถูกแต่งแต้มอะไรมาบ้าง
ขอฉายซ้ำอีกทีนึงครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 10:06

ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ตราประทับที่ระบุแต่ชื่อ Francis Chit อาจจะเป็นภาพที่ห้างของนายจิตรอัดออกขาย ไม่ใช่ภาพอัดจากกระจกแบบOriginalที่นายจิตรเป็นช่างภาพผู้ถ่ายเอง ซึ่งภาพเหล่านั้นนายจิตรจะประทับโลโก้เทียบชั้นห้องภาพชั้นดีของโลกอย่างไม่เคอะเขิน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นายจิตรคงได้พระบวรฉายาลักษณ์นี้มาจากทางใดทางหนึ่ง แล้วนำมาอัดขายในเมืองไทยแบบให้ซื้อไปใส่อัลบั้มเล่นสะสม ซึ่งที่ห้างนายจิตรอาจมีเป็นสิบๆภาพให้เลือกเพื่อสนองความต้องการของบุคคลระดับไฮโซที่แสวงหาของเล่นในยุคนั้น


อีกภาพหนึ่งที่สนับสนุนความเห็นของผม คือ carte de visite ภาพตัวนายจิตรเอง ถ้าอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นายจิตรยังไม่ได้เป็นขุนนางระดับที่เห็นในภาพ และนอกไปจากนั้น ผู้ที่อัดจำหน่ายภาพนี้อาจจะเป็นลูกนายจิตรเอง ที่ยังใช้โลโก้ของพ่ออยู่สำหรับสินค้าประเภทนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 12:20

ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 12:42

^


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 13:45

ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว การถ่ายภาพนี้ก็ควรเป็นการถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียก แล้วทำสำเนาภาพลงบนกระดาษอัลบูมินอัดภาพได้หลายใบ

ดังนี้แล้วจึงต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีการตกแต่งสายสะพาย จากแผ่นกระจก (ต้นฉบับ) หรือตกแต่งจากกระดาษอัดรูปอีกต่อหนึ่ง  ฮืม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 14:06

ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

มีอยู่คนหนึ่งไม่เชื่อข้อมูลนี้  ยิ้มเท่ห์

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 15:18

สนุกจริงๆ ไหนๆก็ไหนๆ Where Where is a Where Where

เอาโฆษณาของหมอบรัดเลย์มาลงซะเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 16:38

สนุกจริงๆ ไหนๆก็ไหนๆ Where Where is a Where Where

เอาโฆษณาของหมอบรัดเลย์มาลงซะเลย

วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ (พศ อะไรหนอ  ฮืม)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 16:58

๒๔๐๘ ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 17:13

๒๔๐๘ ตามหนังสือของอาจรย์เอนก แต่ของอาจารย์ศักดา บอก ๒๔๐๗ หักลบกับค.ศ.แล้ว อาจารย์ศักดาบวกลบคูณหารถูกต้อง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 18:16

ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

มีอยู่คนหนึ่งไม่เชื่อข้อมูลนี้  ยิ้มเท่ห์

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน


อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 20:56

ข้อมูลจากเวปไซด์ฝรั่งเศส ระบุว่าพระบวรฉายาลักษณ์นี้ ถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)

ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว การถ่ายภาพนี้ก็ควรเป็นการถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียก แล้วทำสำเนาภาพลงบนกระดาษอัลบูมินอัดภาพได้หลายใบ

ดังนี้แล้วจึงต้องตั้งคำถามกลับไปว่า มีการตกแต่งสายสะพาย จากแผ่นกระจก (ต้นฉบับ) หรือตกแต่งจากกระดาษอัดรูปอีกต่อหนึ่ง  ฮืม


การแต่งกระจกทำได้โดยการขูดออก ซึ่งจะทิ้งร่องรอยให้เห็นได้ไม่ยาก การแต่งภาพบนกระดาษที่อัดรูปมาจะแนบเนียนกว่า แล้วนำกลับไปทำเนกาตีฟอีกที สังเกตุจากภาพของคุณอรรถา มีความพร่ามัวกว่าต้นฉบับที่เราดูกันอยู่นี้ ภาพที่หอจดหมายเหตุไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นภาพเล็ก ผมเอากล้องแบบดูพระส่องดูแล้วก็ยังไม่ชัดเท่ารูปที่เราดูบนจอคอมพิวเตอร์อยู่นี่ แต่ถึงอย่างไร พระบวรฉายาลักษณ์ที่ถูกตกแต่งก็โดยช่างฝีมือขั้นเทพ โฟโตชอฟถ้าคนทำมือไม่ถึงจริงก็ยังไม่แนบเนียนเท่า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 21:22

เวปขายภาพโบราณของฝรั่ง กำลังเปิดประมูลรูปภาพที่ทำสำเนาโดยหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ให้ข้อมูลว่าถ่ายโดยปีแอร์ โรซิเยท์ ซึ่งรวมถึงภาพที่ถ่ายในสยามชุดนี้

ทั้งสามภาพ หนังสือของอาจารย์พิพัฒน์ระบุว่าฝีมือฟรันซิส จิตทั้งสิ้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 10:57

อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ

คุณพิพัฒน์ไม่เชื่อคุณ Claude Estebe ช่างภาพชาวฝรั่งเศสซึ่งใช้วิธีประเมินเอา ในความเห็นของคุณพิพัฒน์โดยการประเมิน (มั่ว) เช่นกัน ก็น่าจะเป็นฝีมือคุณจิต  ยิงฟันยิ้ม

เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 17:35

Claude Estebe ประเมินในฐานะไหนพอจะตามต่อได้ไหมครับ ในฐานะหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศสหรือเปล่า ถ้าให้ลึกจริงก็ต้องหาว่าหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศสบันทึกข้อมูลว่าถ่ายโดยโรซิเยต์ตั้งแต่สมัยไหน

คือผมสะกิดใจที่ภาพซึ่งคมชัด เกิดจากคุณภาพของเลนซ์ระดับAngénieuxของฝรั่งเศส ที่เทียบชั้นกับLeicaของเยอรมันได้เลยทีเดียว ภาพถ่ายของฟรันซิส จิตรจะไม่เฉียบขาดถึงขั้นนั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง