เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39378 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 09:38

ผู้ออกแบบน่าจะได้เคยเห็นพระบวรฉายาลักษณ์ทั้ง ๒ องค์แล้ว การตัดสินใจใช้แบบขององค์นี้อาจเป็นเพราะเพียงเพื่อความสวยงาม เพราะดูมีเครื่องประดับมากกว่าอีกองค์หนึ่ง หรืออาจเป็นเพราะมีหลักฐานเชื่อว่พระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้ถูกต้องตามต้นฉบับจริง  ฮืม

อีกองค์หนึ่งที่กรมแพทย์ทหารเรือ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 09:56

ลองนำพระบวรฉายาลักษณ์ทั้ง ๒ องค์นี้ไปสอบถามที่ พันทิป ได้คำตอบมาเพียง ๒ คำตอบ เชื่อว่าองค์ขวาถูกต้องตามต้นฉบับ



คำตอบที่ ๑ มันน่าจะต้องไปดูต้นทางของรูปว่าใครเอามาจากไหน
แต่ถ้าดูจากรูปแค่นี้ ผมว่ารูปซ้ายน่ะแต่ง รูปขวาน่าจะต้นฉบับ

รูปซ้ายดำๆ มืดๆ ไม่มีรายละเอียดอะไรมาก ถึงไม่มี photoshop ก็คงทำได้ไม่ยาก
แต่รูปขวามีรายละเอียด น่าจะยากกว่าเยอะ
โดยเฉพาะถ้าต้นฉบับเป็นซ้ายเอามาทำเป็นรูปขวานี่ต้องเซียนเลยถึงจะทำได้เนียนๆ ต่อให้มี photoshop ก็เหอะ
 
TingTing  วันศุกร์ เวลา ๑๒.๒๐ น.

คำตอบที่ ๒ ต้องไปดูรูปต้นฉบับว่าภาพเต็มๆเป็นยังไง ส่วนตัวคิดว่าภาพซ้ายน่าจะถูกแต่งขึ้นมา เพราะการลบมันง่ายกว่าการเติม
ภาพขวามีรายละเอียด(ในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมี)เยอะกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องไปดูของจริงแหละ เพราะภาพที่เราเห็นผ่านการ Reproduce มาหลายขั้นแล้ว รายละเอียดที่ควรจะมีในของต้นฉบับมันก็ย่อมหายไปเป็นธรรมดา

คือต้องขอบอกก่อนว่าการเอาภาพมาตีพิมพ์นั้น ไม่ว่าจะทำมาดีแค่ไหน มันก็มีข้อจำกัดของระบบการพิมพ์
ดังนั้นภาพของ อ.ศักดา จึงไม่แปลกที่จะดูไม่ค่อยมีรายละเอียด ส่วนภาพขวาผมไม่รู้ว่ามีที่ีมาที่ไปยังไง ผ่านการจัดการมากี่ัขั้นตอนเลยตอบไม่ได้
  
Nexus   วันศุกร์ เวลา ๑๒.๕๐ น.

หากหาต้นฉบับ (กระจกเนกาตีฟหรือฟิล์มกระจก) ได้ น่าจะได้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน   ยิงฟันยิ้ม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ก.ย. 14, 13:15 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 10:13

สำหรับ "หนุ่มรัตนะ" ยืนคำเดิมคือ ภาพซ้ายต้นฉบับ แล้วตกแต่งสายยศ และตราเครื่องราชย์ฝรั่งเศสเป็นภาพขวามือเราครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 10:22

สำหรับ "หนุ่มรัตนะ" ยืนคำเดิมคือ ภาพซ้ายต้นฉบับ แล้วตกแต่งสายยศ และตราเครื่องราชย์ฝรั่งเศสเป็นภาพขวามือเราครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม
นวรัตนซีก็เชื่ออย่างนั้น โดยพิจารณาจากปีพ.ศ.ที่ทรงถ่ายพระบวรฉายาลักษณ์นี้ และปีพ.ศ.ที่ทรงได้รับอิสริยาภรณ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 11:48

ถ้าตัดประเด็นพระรูปที่มีเครื่องราชฯ 2 ดวงเป็นภาพตกแต่งขึ้นในยุคหลังรัชกาลที่ 4   จนถึงปัจจุบันออกไป    ก็เหลือคำถามว่า พระรูปที่ว่านี้หากแต่งใหม่ร่วมสมัยกับพระองค์ท่าน  ใครจะกล้าทำโดยพลการโดยไม่มีพระบวรราชโองการ   
ใครในยุคนั้นจะนึกสนุกลุกขึ้นมาแต่งเล่นๆ  เหมือนนักแต่งภาพสมัครเล่นสมัยนี้

แม้แต่นายฟรันซิส จิตรเอง ก็มีอาชีพเป็นช่างภาพ  ไม่ใช่นักแต่งภาพให้กลายเป็นอีกภาพหนึ่ง 
คนที่เป็นช่างภาพ จะแต่งภาพได้สวยเนียนเนี้ยบได้โดยอัตโนมัติ เหมือนถ่ายภาพเองก็ย่อมล้างภาพได้เอง หรือไม่   หรือว่าคนถ่ายก็คนหนึ่ง คนแต่งก็อีกคนหนึ่ง?

ภาพทั้งสองนี้ ไม่ว่าภาพไหนจะจริงภาพไหนจะแต่งก็เถอะค่ะ    ทำไมต้องแต่ง?  มันไม่ใช่แต่งเพื่อให้สดใสชัดเจนขึ้น  ลบรอยชำรุดออก  ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออก   อย่างภาพที่คุณหนุ่มสยามนำมาเป็นตัวอย่าง 

ถ้าเรามองที่มาที่ไปได้ทะลุ อาจจะได้คำตอบว่าภาพไหนจริงกันแน่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 13:51

ถ้าตัดประเด็นพระรูปที่มีเครื่องราชฯ 2 ดวงเป็นภาพตกแต่งขึ้นในยุคหลังรัชกาลที่ 4   จนถึงปัจจุบันออกไป    ก็เหลือคำถามว่า พระรูปที่ว่านี้หากแต่งใหม่ร่วมสมัยกับพระองค์ท่าน  ใครจะกล้าทำโดยพลการโดยไม่มีพระบวรราชโองการ   
ใครในยุคนั้นจะนึกสนุกลุกขึ้นมาแต่งเล่นๆ  เหมือนนักแต่งภาพสมัครเล่นสมัยนี้

แม้แต่นายฟรันซิส จิตรเอง ก็มีอาชีพเป็นช่างภาพ  ไม่ใช่นักแต่งภาพให้กลายเป็นอีกภาพหนึ่ง 
คนที่เป็นช่างภาพ จะแต่งภาพได้สวยเนียนเนี้ยบได้โดยอัตโนมัติ เหมือนถ่ายภาพเองก็ย่อมล้างภาพได้เอง หรือไม่   หรือว่าคนถ่ายก็คนหนึ่ง คนแต่งก็อีกคนหนึ่ง?



โดยทั่วไปแล้วช่างถ่ายภาพน่าจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดในแต่ละภาพนั้นๆ การถ่ายภาพแบบแผ่นเงิน หรือ แผ่นกระจก ควรจะรู้วิชาหลายอย่างประกอบกัน คือ วิชาการสร้างแผ่นเงินสำหรับถ่ายภาพ วิชาเคมีสำหรับสร้างภาพ วิชาตกแต่งภาพถ่ายเมื่อได้ภาพออกมาไม่ดี ฯลฯ ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 17:07

ผมโตทันที่ได้เห็นร้านถ่ายรูปสมัยก่อนใช้กล้องแบบไอ้โม่ง ถ่ายแต่ละภาพต้อง ๒ ครั้ง ห่างกันประมาณอึดใจนึง เพื่อกันเสียหรือเผื่อเลือก ได้เคยคลุกคลีกับช่างภาพมืออาชีพที่ต้องแต่งกระจกทุกครั้ง เพื่อลบรอยต่างๆให้อัดรูปออกมาดีที่สุด ช่างภาพบางคนเก่งขนาดเปลี่ยนหัว เอาตัวไปยืนแนบชิดกับนางงาม ยืนเต๊ะท่าหน้าหอไอเฟิลทั้งๆที่ไม่เคยไป หรือถ่ายแบบเหาะเหิรเดินอากาศ หรือเข้าไปนั่งกระจ๋องหง่องอยู่ในขวดบ้างอะไรพวกนี้ แต่ประเภทที่เพิ่มสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ได้ละเอียดลอออย่างที่เห็นพระบวรฉายาลักษณ์นั้น ไม่เคยเจอเลย

วันนี้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเพื่อขอดูพระบวรฉายาลักษณ์ที่กล่าวถึงไปแล้ว พอเจ้าหน้าที่ยกแฟ้มภาพมาให้ดูผมก็ต้องผงะ เพราะพระรูปมีขนาดจิ๋วแค่ครึ่งโปสการ์ด และเป็นรูปที่เกิดจากการใช้กล้องถ่ายรูป ก๊อปปี้ภาพต้นฉบับมาอีกทีหนึ่ง
แต่แม้จะเป็นภาพระดับsecondary แต่ก็โบราณ เก่าแก่เกิน ๕๐ ปีแน่นอน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 17:26

เอามาให้ดูกระจะๆ ผมจำเป็นต้องตกแต่งภาพบ้างเพื่อให้ชัดเจนขึ้น ถือเป็นงานศิลป์ที่สร้างขึ้นใหม่ตามกฏหมาย

แต่อย่าลืมนะครับ ทั้งข้อเขียนหรือรูปอะไรก็ตามที่ผมเอามาลงไว้ทั้งหลายทั้งปวง ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ ท่านสามารถเอาไปใช้ได้ตามสบาย หากผู้ใดนำไปทำมาหากินอย่างเป็นมรรคเป็นผลแล้วละก็ ผมก็จะยินดีกับท่านด้วยอย่างยิ่ง
ประกาศอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว ไม่เฉพาะกระทู้นี้นะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 18:46

เจ้าหน้าที่ในห้องเก็บภาพเก่าบอกผมว่า ภาพที่มีระหัส หวญ. ย่อมาจากหอสมุดวชิรญาณ คือเป็นภาพที่หอวชิรญาณเคยมีและโอนต่อมาให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งแปลว่าภาพนี้หอสมุดวชิรญาณจะได้มาอย่างไรก็ได้ อาจเป็นทายาทของฟรันซิส จิตร หรือไม่ใช่ หรือจะเป็นใครคนใดคนหนึ่งก็ได้

ถ้าเป็นภาพที่บุคคลมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็จะใช้ระห้สชื่อบุุคคลผู้มอบนั้น ซึ่งภาพของนายจิตรน่าจะมีจำนวนมากแต่กระจ้ดกระจายอยู่ที่ใด(เจ้าหน้าที่)ก็ไม่ทราบ(?)

นั่นคือย่อความที่ได้เรื่องมา ซึ่งโดยสรุปก็คือ ผมเชื่อว่าภาพพระบวรฉายาลักษณ์ฉบับตกแต่งนี่ไม่ใช่ฝีมือของฟรันซิส จิตรกระทำขึ้นเองอย่างแน่นอน และคงไม่มีใครในสยามกระทำขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเพ่งเล็งไปที่ฝรั่งว่าเป็นผู้กระทำ แต่จะเป็นฝรั่งสิงคโปรหรือฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ในพ.ศ.โน้น ฝรั่งชาติอื่นคงไม่มีใครสนใจจะประดิษฐ์ประดอยทำไปเพื่ออะไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 18:47


วันนี้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเพื่อขอดูพระบวรฉายาลักษณ์ที่กล่าวถึงไปแล้ว พอเจ้าหน้าที่ยกแฟ้มภาพมาให้ดูผมก็ต้องผงะ เพราะพระรูปมีขนาดจิ๋วแค่ครึ่งโปสการ์ด และเป็นรูปที่เกิดจากการใช้กล้องถ่ายรูป ก๊อปปี้ภาพต้นฉบับมาอีกทีหนึ่ง
แต่แม้จะเป็นภาพระดับsecondary แต่ก็โบราณ เก่าแก่เกิน ๕๐ ปีแน่นอน

แน่นอนครับ เป็นธรรมชาติของการถ่ายรูปด้วยแผ่นเงินกระมังครับ ที่มีขนาดเล็กนิดเดียว และมีการการอัดลงใส่กระดาษเล็กเท่ากระดาษนามบัตร เรียกว่า Card De Visit ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในยุคสมัยนั้นครับ ไว้สำหรับอัดใส่กรอบ ทำใส่ลับแลตั้งโชว์ได้สวยงาม

แต่แปลกใจว่า ยังมีอีกภาพหนึ่งอยู่ในหนังสือคุณอเนก เป็นภาพเดียวกันนี้แต่มีลักษณะด้านหลังการ์ด มียี่ห้อ Francis Chit ประกอบอยู่ด้วยครับ ตัวหนังสือก็เขียนลายมือนี้แบบเดียวกัน  ฮืม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 19:24

ทำอย่างนี้บ้างได้มั้ย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 19:29

ทำอย่างนี้บ้างได้มั้ย

ตอนมากรุงสยาม ยังมิได้ฉายพระบรมรูปนี้ ถ้าเจอก็จะคว้ามาปะยี่ห้อ....... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 20:09

แน่นอนครับ เป็นธรรมชาติของการถ่ายรูปด้วยแผ่นเงินกระมังครับ ที่มีขนาดเล็กนิดเดียว และมีการการอัดลงใส่กระดาษเล็กเท่ากระดาษนามบัตร เรียกว่า Card De Visit ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในยุคสมัยนั้นครับ ไว้สำหรับอัดใส่กรอบ ทำใส่ลับแลตั้งโชว์ได้สวยงาม

ขอแยกซอยไปเล่าถึง Card De Visit  ซึ่งจริงๆแล้วสะกดว่า carte de visite หรือ carte-de-visite   มาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นภาพถ่ายขนาดเล็กกว่าโปสการ์ดที่นิยมกันมากตอนกลางศตวรรษที่ 19  
สมัยนั้น  ผู้คนถ่ายรูปตัวเองเป็นภาพเล็ก เพื่อส่งให้แฟนพกพาไปได้สะดวก  หรือจะส่งให้ญาติมิตรเป็นที่ระลึกก็ง่ายกว่าภาพขนาดใหญ่ที่มีไว้ติดผนังเสียมากกว่า      ห้องภาพต่างๆนิยมอัดภาพเล็กของคนมีชื่อเสียงด้วย    เพราะชาวบ้านนิยมซื้อเอาไปเป็นคอลเลคชั่น ใส่อัลบั้มไว้ดูก็ได้อย่างภาพข้างล่างนี้
ในเมื่อสยามเปิดประเทศให้ชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายเจริญพระราชไมตรีได้สะดวก     ชะรอยว่าพระรูปของเจ้านายสยามจะมีพ่อค้าหัวใสอัดเป็นภาพเล็ก เพื่อไว้ขายให้ลูกค้าฝรั่งในสิงคโปร์หรืออินเดีย ซื้อไปสะสมรวมกับภาพเจ้านายชาติอื่นๆกระมัง?
ภาพพระรูปเหล่านี้จึงมีอยู่หลายภาพ  กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง  เหลือรอดมาถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 20:11

สมัยนั้นเขาอัดภาพ carte-de-visite  กันหลายๆรูปแบบนี้ค่ะ ขยายด้วยก็ได้
นึกถึงสมัยถ่ายรูปนิสิตเลย  อัดออกมาทีละหนึ่งโหล    เจ๊เจ้าของร้านก็ใช้เครื่องมือตัดให้ดูกันตรงหน้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 20:14

ตัวอย่างด้านหน้า และด้านหลัง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง