เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39384 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 15:21

เหรียญโลหะ + การเปิดหน้ากล้องนาน ย่อมทำให้กล้องรับแสงจากเหรียญมากเกินไป ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดได้นะครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 15:34

ภาพเดียวกันแต่ต่างกันที่คุณภาพ ภาพที่มีคุณภาพกว่าจะเห็นลายที่หัวเข็มขัดได้ชัดเจนกว่า ทำนองเดียวกันในภาพเหรียญตรา ต้องหาภาพที่มีคุณภาพสูงมาดูครับ (แต่ภาพนี้อยู่ต่างประเทศ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 21:30

ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่

ก็ผมเห็นภาพใน หจช. นานแล้วและก็คิดเสมอว่าไม่ใช่ของแต่งใหม่ แต่เป็นแต่งภาพมาแต่โบราณ แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ฝีมือนั้นเนี๊ยบมากๆ ก็คิดได้หลายอย่างดังนี้

๑. ไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง เพราะส่วนมากเป็นภาพพระปิ่นเกล้าฯ ประทับเก้าอี้แล้วเอียงพระองค์ ผิดกับภาพนี้ทรงหันหน้าค่อนข้างที่จะตรง

๒. ไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่ง ภาพหลุดออกไปต่างประเทศ

แต่ทั้ง ๑ และ ๒ ผมคิดว่าช่างกล้อง คงจะไม่ทะลึ่งพอที่คิดสนุกลงมือแต่งภาพนี้ขึ้นมา อย่างน้อยต้องได้รับการสั่ง หรือ อนุมัติให้เป็นผู้กระทำการขึ้นมาเพื่ออะไรสักอย่าง แต่เมื่อชิ้นงานทำสำเร็จออกมาแล้วจะโปรดหรือไม่โปรด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ลองหาภาพถ่ายเนี๊ยบๆเนียนอย่างพระบวรฉายาลักษณ์มาให้ชมกันหน่อยน่า จะเป็นไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง หรือไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่งก็ได้ เพราะเคยเห็นกันแต่แบบนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 21:34

นี่ก็อีกองค์นึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 06 ก.ย. 14, 08:52

ในประมาณปีค.ศ.๑๘๖๐(๒๔๓๐) หรือในช่วงท้ายๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ฝรั่งก็สามารถระบายสีลงไปในภาพถ่ายได้สวยงามกว่าที่เคยทำได้ก่อนหน้า แต่ทั้งหมดที่ผมพยายามค้นหาในอินเทอเน็ท ก็ไม่พบภาพที่เขียนอะไรเพิ่มเติมไปจากภาพดั้งเดิมในลักษณะเดียวกับพระบวรฉายาลักษณ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 06 ก.ย. 14, 09:03

ภาพในปีเดียวกันของนายทหารผู้นี้ เพียงแต่ถูกแต่งแต้มสีลงไปบนเครื่องประดับยศต่างๆด้วยสีทองให้ดูอร้าอร่ามขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับเพิ่มเติมสิ่งที่ไม่เคยมีลงไปให้มี ซึ่งถ้าทำก็ไม่ทราบว่าจะแนบเนียนหรือเปล่า

การที่ไม่เจอไม่ได้หมายความว่าไม่เคยมีนะครับ แต่พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอาจเป็นภาพชุดแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการตกแต่งประเภทเดียวกับที่โฟโต้ชอปทำได้ในยุคหลัง ซึ่งก็จะต้องติดตามกันต่อไปถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังทั้งหมด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 07 ก.ย. 14, 23:00

หากเรามาตั้งต้นที่ ก.ไก่ กันใหม่ เมื่อเปรียบเทียบพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ จะเห็นว่าองค์ซ้าย ที่มักจะปรากฏในเอกสารและนิทรรศการของทางราชการเสมอนั้น ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระบวรฉายาลักษณ์ทางซ้ายมือ พูดอีกนัยหนึ่งคือ ภาพซ้ายเป็นต้นฉบับของภาพขวาได้ ภาพขวาเป็นต้นฉบับของภาพซ้ายได้

ที่กล่าวอย่างนี้หมายความว่า อาจมีอีกภาพบริบูรณ์ของภาพซ้ายอีกภาพหนึ่งได้เหมือนกัน ที่เป็นต้นฉบับของทั้งสองภาพ

วันนี้ได้พระบวรฉายาลักษณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งภาพ ที่เป็นคำตอบในความเห็นของผมเองที่เขียนไปข้างบน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 07:00


วันนี้ได้พระบวรฉายาลักษณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งภาพ ที่เป็นคำตอบในความเห็นของผมเองที่เขียนไปข้างบน

ขอโทษครับ พระบวรฉายาลักษณ์ที่ว่านี้ซ้ำกับที่คุณหนุ่มสยามมาลงไว้ตั้งแต่ต้นๆ

ขอแก้ตัว เอาพระบวรสาทิศลักษณ์สีน้ำมันภาพเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันกับที่คุณหนุ่มเคยลงไว้มาให้ศึกษากันอีกที
ภาพนี้ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เขียนโดยฝรั่งในยุคหลังจากรัชกาลที่๔ไปแล้ว ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครไปให้ข้อมูลเขาให้เขียนสายสะพายลงไปด้วย

อิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Legion d'honneur) ที่พระเจ้านโปเลียนที่๓ส่งมาถวายพระมหากษัตริย์ไทยนั้น ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเป็นชั้นปฐมาภรณ์ มีดวงดาราพร้อมสายสะพาย ส่วนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นชั้นทุติยาภรณ์ เป็นดวงดาราและเหรียญประดับอก ไม่มีสายสะพาย

การเพิ่มอะไรให้ท่านเยี่ยงนี้ เห็นจะเป็นคติของคนอื่นในยุคหลังๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 07:25

ในประมาณปีค.ศ.๑๘๖๐(๒๔๓๐) หรือในช่วงท้ายๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ฝรั่งก็สามารถระบายสีลงไปในภาพถ่ายได้สวยงามกว่าที่เคยทำได้ก่อนหน้า แต่ทั้งหมดที่ผมพยายามค้นหาในอินเทอเน็ท ก็ไม่พบภาพที่เขียนอะไรเพิ่มเติมไปจากภาพดั้งเดิมในลักษณะเดียวกับพระบวรฉายาลักษณ์

อย่าเพิ่งด่วนสรุป อาจเป็นเพราะยังหาไม่เจอถึงเหตุแห่งการกระทำ  / ใน พ.ศ. ๒๔๐๗ ทางซีกโลกหนึ่งก็มีการถ่ายภาพบุคคลสำคัญของโลกคือ อับบราฮัม ลินคอร์นพร้อมครอบครัว ก็เกิดปัญหาแบบเดียวกับที่เรากำลังสงสัยอยู่เช่นเดียวกัน ถึงการตกแต่งภาพและรายละเอียดต่างๆ ตกแต่งสายนาฬิกาให้หายไป เพิ่มบุคคลเข้ามา เป็นการตกแต่งเก่าครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 07:26

ยังไม่สรุป

เอ้า..ว่าต่อ
ปฏิมากรระดับปรมาจารย์อย่างท่านศิลป์ พีระศรีก็ยังทำ อาจจะเป็นใบสั่งจากเจ้านายที่กำกับกรมศิลปากรตอนนั้นอีกทีหนึ่งก็ได้ ที่ให้ประดับอะไรต่อมิอะไรตามรสนิยมของท่านผู้นำ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เห็นจะเป็นที่กำเนิดขึ้นในยุคหลังแทบทั้งหมด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 07:36

ส่งรูปทางสหรัฐอเมริกาภาพเดียว เกรงว่าจะไม่หนำใจ จึงขอส่งภาพ ชาร์ล ดิีกเกน ถ่ายภาพไว้เพื่อเป็นข่าวในสหรัฐอเมริกา ในพ.ศ. ๒๔๑๐ (1867) ทางสตูดิโอก็ได้ทำ "ศัลยกรรมห้องมืด" แปลงโฉมแต่งตัวให้ใหม่สดใสกว่าเดิม เป็นการแต่งเก่าในยุคโบราณ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 07:56

ในยุดเดียวกัน กระแสการทำศัลยกรรมห้องมืด ผมว่าเป็น ศิลปะ ประเภทหนึ่งเพื่อตกแต่งภาพให้สวยงาม และเกิดความแปลกใหม่ให้กับภาพถ่าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงมากๆ ทางโลกตะวันตกกำลังเห่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่างมาก ทำให้เกิดศิลปะใหม่ๆ ขึ้นมา

เช่นภาพที่แสดงนี้ ให้ลำตัวเดียวกัน เปลี่ยนศีรษะกันเลยครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 08:51

ขออนุญาตคุณหนุ่มขึ้นเรือจากเมกากลับสู่เมืองไทย  ยิ้มเท่ห์

คุณนวรัตนให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านภาพถ่ายและภาพวาด ลองดูข้อมูลเกี่ยวกับรูปปั้นดูบ้าง

พระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณโรงละครแห่งชาติ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 09:01

โปรดสังเกตฉลองพระองค์ชุดทหารเรือเป็นชุดเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 09:32

นี่ไงครับ

ภาพทั้งสองสร้างความสลับสับสนให้แก่คนรุ่นหลังผู้เกี่ยวข้องมาก ไม่ว่าผู้กระทำการตกแต่งภาพจะมีเจตนาอย่างไรก็ตาม
คงเหลือสิ่งที่ต้องค้นหาอย่างเดียวว่า การตกแต่งพระบวรฉายาลักษณ์ภาพแรกสุด กระทำในช่วงไหนพ.ศ.ไหน ถ้าทราบแน่จะได้คลำทางถูก

เป็นต้นว่า คนฝรั่งเศสเป็นผู้กระทำ เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อประเทศชาติของเขา เนื่องจากเห็นว่าพระบวรฉายาลักษณ์ในตอนหนุ่ม ดูดีกว่าที่ทรงถ่ายในระยะหลังๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง