เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39380 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 08:12

ก็บอกแล้วว่า สายที่เห็นถูกตกแต่งขึ้นมา  ยิงฟันยิ้ม
นอกจากปลายสายจะไม่แนบเนียนดังที่คุณหนุ่มเคยตั้งข้อสังเกตุไว้ในล้อมกรอบ สี่เหลี่ยมแล้ว ในวงกลมที่ผมทำขึ้น จะเห็นตำหนิชัดเจน      สันนิษฐานว่าตำหนิเช่นนี้กระทำขึ้นไม่ได้จากปลายเข็ม  แต่จะเกิดจากอะไร ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญชี้ลงไป   

ป.ล.ผมกำลังจะเดินทางไปต่างจังหวัดสองวัน อาจไม่สะดวกที่จะเข้าเสริมต่อกระทู้ ต้องฝากคุณหนุ่มช่วยหาความจริงต่อ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ก.ย. 14, 10:15 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 04 ก.ย. 14, 07:09

หาภาพที่ได้รับการตกแต่งเก่า มาให้ชมกันเพิ่มครับ เป็นภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ด้านซ้ายเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องยุคแรกของสยาม ถ่ายบนแผ่นเงิน ถือเป็นภาพเก่าในรุ่นบุกเบิกของการมีกล้องถ่ายภาพในสยาม ส่วนด้านขวาเป็นการสำเนาภาพต่อๆกันมาและได้รับการตกแต่งภาพใหม่ให้งดงามขึ้น ลายผ้าเด่นขึ้น มือคีบบุหรีชัดขึ้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 04 ก.ย. 14, 07:14

ภาพพระองค์เจ้าหญิงดาราวดี ก็ได้รับการตกแต่งบริเวณเล็บ ให้ดูยาวจนน่าเกลียดเสียนี่กระไร ?  อันที่จริงไม่ควรเป็นแบบนี้เลย แต่ด้วยการตกแต่งภาพบางครั้งก็ทำให้เกิดข้อผิดพลาดบ้าง คือ เล็บมือนั้นยาวแหลมไว้เล็บแต่แต่งออกมาเกินจริงไปหน่อย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 04 ก.ย. 14, 08:11

หาภาพที่ได้รับการตกแต่งเก่า มาให้ชมกันเพิ่มครับ เป็นภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ด้านซ้ายเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องยุคแรกของสยาม ถ่ายบนแผ่นเงิน ถือเป็นภาพเก่าในรุ่นบุกเบิกของการมีกล้องถ่ายภาพในสยาม ส่วนด้านขวาเป็นการสำเนาภาพต่อๆกันมาและได้รับการตกแต่งภาพใหม่ให้งดงามขึ้น ลายผ้าเด่นขึ้น มือคีบบุหรีชัดขึ้น

ภาพเหล่านี้ตกแต่งขึ้นภายหลังทั้งสิ้น แล้วมีใครอ้างลิขสิทธิ์หรือเปล่า ผมเห็นเอามาใช้กันเกร่อทั้งในเวปและในหนังสือ ในร้านขายรูปภาพเก่าๆก็ดูเหมือนจะเคยเจอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 05:34

ภาพจากหนังสือ ประวัติการถ่ายรูปของไทย โดยเอนก นาวิกมูล โดยสำนักพิมพ์สารคคีภาพตีพิมพ์ภาพนี้ไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ผมผ่านตาหลายครั้งไม่รู้สึกอะไร แต่เพิ่งจะสังเกตุเห็นเมื่อเช้านี้เองว่า เป็นรูปที่ทรงอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Legion d'honneur) เช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 05:38

ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 07:22

ความสนุกของกระทู้ค้นหาความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ ข้อมูลมันพลิกไปพลิกมา ฟันธงอะไรลงไปไม่ได้ ถ้ารูปนี้อยู่ในหีบภาพถ่ายโบราณที่ทายาทนายจิตรนำมามอบให้หแจดหมายเหตุแห่งชาตินานมาแล้ว เราเห็นจะต้องกลับไปตั้งต้นหาสมมติฐานใหม่

ก็ผมเห็นภาพใน หจช. นานแล้วและก็คิดเสมอว่าไม่ใช่ของแต่งใหม่ แต่เป็นแต่งภาพมาแต่โบราณ แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ฝีมือนั้นเนี๊ยบมากๆ ก็คิดได้หลายอย่างดังนี้

๑. ไทยถ่ายภาพ นำให้ฝรั่งตกแต่ง เพราะส่วนมากเป็นภาพพระปิ่นเกล้าฯ ประทับเก้าอี้แล้วเอียงพระองค์ ผิดกับภาพนี้ทรงหันหน้าค่อนข้างที่จะตรง

๒. ไทยถ่ายภาพ ไทยตกแต่ง ภาพหลุดออกไปต่างประเทศ

แต่ทั้ง ๑ และ ๒ ผมคิดว่าช่างกล้อง คงจะไม่ทะลึ่งพอที่คิดสนุกลงมือแต่งภาพนี้ขึ้นมา อย่างน้อยต้องได้รับการสั่ง หรือ อนุมัติให้เป็นผู้กระทำการขึ้นมาเพื่ออะไรสักอย่าง แต่เมื่อชิ้นงานทำสำเร็จออกมาแล้วจะโปรดหรือไม่โปรด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 07:56

จากหนังสือเล่มเดียวกัน
ในพ.ศ.ที่ขีดเส้นใต้ โฟโต้ช๊อปยังไม่มีแน่นอน คอมพิวเตอร์เองก็ยังไม่ถือกำเนิดด้วยซ้ำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 08:20

หากเรามาตั้งต้นที่ ก.ไก่ กันใหม่ เมื่อเปรียบเทียบพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ จะเห็นว่าองค์ซ้าย ที่มักจะปรากฏในเอกสารและนิทรรศการของทางราชการเสมอนั้น ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระบวรฉายาลักษณ์ทางซ้ายมือ พูดอีกนัยหนึ่งคือ ภาพซ้ายเป็นต้นฉบับของภาพขวาได้ ภาพขวาเป็นต้นฉบับของภาพซ้ายได้

ที่กล่าวอย่างนี้หมายความว่า อาจมีอีกภาพบริบูรณ์ของภาพซ้ายอีกภาพหนึ่งได้เหมือนกัน ที่เป็นต้นฉบับของทั้งสองภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 10:42

หันกลับมาตั้งข้อสงสัยด้านนี้บ้าง

พระบรมฉายาลักษณ์รุ่นแรกๆของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถ่ายด้วยกล้องและแผ่นเงิน ความคมชัดโดยรวมตามที่เห็น แต่ก็ให้รายละเอียดเครืองทรงต่างๆได้อย่างน่าทึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งทรงถ่ายอย่างน้อยก็อีก๕ปีต่อมา โดยกล้องและแผ่นกระจกที่ทันสมัยกว่า ให้ความคมชัดมากขึ้น แต่เครื่องประดับทรงกลับตรงกันข้าม มองไม่ชัดเลยว่าเป็นภาพของอะไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 11:11

หันกลับมาตั้งข้อสงสัยด้านนี้บ้าง

พระบรมฉายาลักษณ์รุ่นแรกๆของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถ่ายด้วยกล้องและแผ่นเงิน ความคมชัดโดยรวมตามที่เห็น แต่ก็ให้รายละเอียดเครืองทรงต่างๆได้อย่างน่าทึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งทรงถ่ายอย่างน้อยก็อีก๕ปีต่อมา โดยกล้องและแผ่นกระจกที่ทันสมัยกว่า ให้ความคมชัดมากขึ้น แต่เครื่องประดับทรงกลับตรงกันข้าม มองไม่ชัดเลยว่าเป็นภาพของอะไร

ต้นฉบับนั้นก็ย่อมชัดเจนครับ แต่เรายังไม่เห็นต้นฉบับก็เลยอาจจะมองไม่ชัด (ภาพความละเอียดสูงอยู่ต่างประเทศ) 

๑. พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๔ ทรงเครื่องต้นถ่ายภาพด้วยระบบแผ่นเงิน และถ่ายทอดสำเนาลงสู่แผ่นกระจก ภาพนี้อยู่ต่างประเทศ มีความคมชัด

๒. พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 14:42

อ้างถึง
พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป

งั้นเอาตัวอย่างภาพที่ถ่ายในระยะใกล้เคียงกัน กรรมวิธีเดียวกันให้ดูความคมชัดในรายละเอียดของวัตถุคล้ายๆกัน ภาพนี้อย่างน้อยก็พออ่านออกว่าอะไรเป็นอะไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 14:51

พระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้ มีขนาดไฟย์ภาพใหญ่พอสมควร ความละเอียด ผมใช้คำว่าโดยมวลก็ชัดเจนดี น่าพอใจ ยกเว้นที่ดวงตราอย่างเดียวที่เบลอจนดูไม่รู้เรื่อง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 14:54

ขยาย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 15:16

อ้างถึง
พระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นภาพโทนเหลือง ถ่ายสำเนาลงกระดาษด้วยเทคนิคอัลบูมิน (ไข่ขาวผสมสารไวแสง) ดังนั้นความคมชัดอาจจะด้อยลงไป

งั้นเอาตัวอย่างภาพที่ถ่ายในระยะใกล้เคียงกัน กรรมวิธีเดียวกันให้ดูความคมชัดในรายละเอียดของวัตถุคล้ายๆกัน ภาพนี้อย่างน้อยก็พออ่านออกว่าอะไรเป็นอะไร

นี่หัวปั้นเหน่งเป็นมณี มันก็ดูภาพได้ซิครับ แต่เหรียญตราเป็นโลหะ ยังไงก็อ่านรายละเอียดได้ยาก เช่น เส้นแถบเข็มขัดถ้าภาพชัดจะเห็นแน่นอนครับ

ให้ดูภาพตัวอย่างที่ชัดๆ ต้องเป็นแบบนี้ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 20 คำสั่ง