เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39383 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 21 ส.ค. 14, 10:27

พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสององค์ ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ “สมุดภาพรัชกาลที่๔” โดยคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพรนี้ ถูกระบุว่าถ่ายโดยฟรันซิส จิต ทั้งคู่

โปรดสังเกตว่านอกจากฉลองพระองค์นายทหารเรือที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เหมือนกันแล้ว นอกนั้นเหมือนกันหมด ตั้งแต่พระมาลาลงไปถึงรอยย่นที่พระสนับเพลา การวางพระหัตถ์ขวาที่สวมพระธรรมรงค์ และลักษณะการทรงกุมพระแสงกระบี่ด้วยพระหัตถ์ซ้าย
ขอเชิญท่านทั้งหลายช่วยกันถก พระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสององค์นี้ องค์ไหนจริง องค์ไหนใช้เทคนิกตกแต่ง และตกแต่งมาแต่สมัยใด ผมขอรับรองว่าผมมิได้กระทำการบิดเบือนพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสองโดยวิธีการใดๆทั้งสิ้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ส.ค. 14, 11:42 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 10:50

1    พระรูปทั้งสองนี้เป็นพระรูปเดียวกัน  ไม่ใช่ว่าถ่ายคนละทีในอิริยาบถเดียวกัน แต่เปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นคนละแบบ
2    คิดว่าภาพขวาน่าจะเป็นพระรูปดั้งเดิม  ส่วนทางซ้ายมาตกแต่งใหม่ในภายหลัง   ซึ่งอาจจะเป็นยุคสมัยที่มีร้านถ่ายรูป สามารถตกแต่งระบายภาพต้นแบบได้แล้ว
3   สังเกตว่ารูปซ้าย  ส่วนที่เป็นพระองค์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  สีเข้มชัดเจนมากกว่าแบคกราวน์เช่นม่านและผ้าปูโต๊ะตลอดจนดอกไม้
4   น่าจะตกแต่งใหม่ในส่วนฉลองพระองค์และพระพักตร์   ลบส่วนเครื่องราชฯที่เบลอในภาพต้นฉบับออกไป แล้วตกแต่งให้เหลือเครื่องราชดวงกลมๆดวงเดียว

ทั้งหมดนี้ใช้ verb to เดา เพื่อปั่นเรตติ้งกระทู้   ขอเชิญท่านผู้รู้ตัวจริงมาชี้แจงค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 11:12

ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 12:00

ท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งซึ่งน่าจะพอตอบให้หายข้องใจได้ น่าจะเป็นคุณพิพัฒน์เจ้าของหนังสือนั่นแหละ  ยิ้มเท่ห์

เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง




การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 14, 16:44 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 14:22

ให้ภาพนี้กับผู้เป็นทายาทหน่อเนื้อฯ ชมไปพลางก่อนนะครับ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 15:54

..คือ… ผมไม่ได้ติดใจเท่าไหร่กับการที่จะหาว่าใครเป็นช่างภาพผู้ถ่ายพระรูปดังกล่าว เท่ากับคำตอบว่าสองพระบวรฉายาลักษณ์ปริศนาที่นำมาเปรียบเทียบให้ดูนั่น ภาพใดจริง ภาพใดปลอม

ความจริงผมก็ผ่านตาภาพปริศนาทั้งสองมาหลายครั้ง แต่ก็นึกเหมือนกับที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเดาไว้นั่นเอง องค์ที่ฉลองพระองค์ดูเข้มชัดน่าจะตกแต่งขึ้นทีหลัง
แต่มานึกเอะใจก็ได้เห็นพระบวรสาทิสลักษณ์ที่ฝรั่งทำไว้เป็นลายเส้น ตีพิมพ์ในL’ILASTRATIONที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ปีค.ศ.๑๘๖๓ หรือ พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นภาพที่ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพียงองค์เดียว คือเหมือนกันกับพระบวรฉายาลักษณ์ที่เราคิดว่าตกแต่งขึ้นนั่น แสดงว่าพระบวรสาทิสลักษณ์ที่นึกว่าตกแต่งขึ้นใหม่หลังนั้น กลับมีมาตั้งแต่ต้นแล้ว
เอาละซีครับ ถึงตรงนี้ตกลงองค์ไหนเป็นภาพจริง องค์ไหนเป็นภาพตกแต่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 16:04

ให้ภาพนี้กับผู้เป็นทายาทหน่อเนื้อฯ ชมไปพลางก่อนนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
จากพระบวรฉายาลักษณ์องค์นั้น ฝรั่งมาเขียนเป็นลายเส้น ตีพิมพ์ในวารสารฉบับเดียวกันในปี ๑๘๖๖ หรืออีก๓ปีต่อมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 18:52

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงฉลองพระองค์จอมพลเรือสยาม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 19:42

พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวภาพที่ผมแสดงนี้เป็นภาพถ่ายแรก (ถือเป็นต้นแบบให้มีการแต่งเสริมภาพในภายหลัง)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 19:46

ภาพซ้ายมือคือภาพต้นแบบ และมีการนำมาตกแต่งภาพใหม่ ใส่โยงสายที่ได้ตกแต่งขึ้นในเวลาต่อมา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 19:51

ภาพขยายบริเวณวงกลางใหญ่ จะเห็นร่องรอยการลบของเสื้อ จากเหรียญกลมใหญ่ให้เป็นพื้นผ้า และมีการวาดเหรียญตราขึ้นใหม่

ส่วนวงกลมเล็กปลายสายไม่ชัดเจน และบริเวณสายโยงต่างๆ ดูไม่เป็นธรรมชาติและดูหลอกตากว่าบริเวณภาพถ่ายองค์ประกอบอื่นๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 19:56

ลักษณะปลายสายเป็นโลหะต้องเป็นลักษณะตามภาพซ้ายมือ ส่วนภาพขวามือเป็นการตกแต่งภาพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 20:45

ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ
สมกับเป็นผู้รู้จริงๆ แจ่มแจ้ง ไร้ข้อกังขา

คราวนี้อยากทราบว่า การตกแต่งภาพดังกล่าวมีมาแต่สมัยใด ด้วยกรรมวิธีอย่างไร ที่สำคัญ ลองเดาได้ไหมว่าคนทำเช่นนั้น เค้าทำไปเพื่ออะไรครับ เพื่อสนุกๆเล่นกระนั้นหรือ
แต่แรกก็นึกว่ามาจากคลังภาพของนายจิตจริงๆ นี่ถ้าไม่เห็นข้อความที่คุณเพ็ญชมพูอุตส่าห์หามาลงให้รู้ว่า ผู้เขียนบรรยายภาพสารภาพว่าตนเองมั่วที่เขียนว่านายจิตเป็นผู้ถ่ายภาพ
อ้างถึง
ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง
เป็นอันว่าเรื่องจบง่ายขึ้นแยะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 20:52

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์องค์เดียวกัน Legion d'honneur ของฝรั่งเศส ที่พระเจ้านโปเลียนส่งมาทูลเกล้าฯถวายในปี ๒๔๐๖


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 21:04

Legion d'honneur


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง