เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39395 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 11:30

หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ


"การแอบอ้างผลงานของมิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"


การบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 11:48

หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ



จะไม่ค้นหาเหรียญที่กลัดหน้าอก กลมๆ ของพระปิ่นเกล้าฯ แล้วหรือ  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 13:43

เรื่องเหรียญก็หาไป

เรื่องใครปลอมแปลงพระรูป และเส้นทางที่มันเป็นไป ก็อีกเรื่องนึงนะ แยกกันหาไม่ได้หรือ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 13:49

ยังไงภาพนี้ก็ยังมีความลับอะไรหลายประการ

๑. ช่างภาพเป็นใคร

๒. ตกแต่งเครื่องราชย์ ทำไม

และในภาพเดียวกันนี้ภาพบน - ล่าง เป็นพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แบบเดียวกัน แต่ต่างกันที่ด้านหลังซึ่งเป็นชื่อของช่างภาพ

ภาพหนึ่งเป็นของ A. Sachtler ส่วนภาพล่างเป็นของ ฟรานซิส จิตร ซึ่งมีสำเนาภาพที่หอจดหมายเหตุฯ ทั้งนี้ก็ต้องสืบต่อไปว่า สองช่างภาพนี้มาเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ฮืม ใครลอกใคร ใครก๊อบใคร หรือ ไม่ก๊อบอาจจะซื้อขายภาพกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 14:44

^
เยอะไปหรือเปล่า คุณหนุ่ม?
เรากำลังวิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

ตกลงนาย August Sachtler นี่เคยมาเมืองไทยแล้วสร้างผลงานด้านการถ่ายภาพไว้หรือเปล่า คำตอบคือ--ไม่มี แต่อาจจะมาเที่ยว, ชอบปิ้ง
ชอปปิ้งอะไรบ้าง คำตอบคือ--เยอะแยะ หนึ่งในนั้นคือรูปถ่ายที่นายจิตรถ่ายไว้ รวมถึงพระบวรฉายาลักษณ์และเจ้านายบางองค์ของวังหน้า บางภาพนั้นก็คงจะซื้อต้นฉบับไปแบบเด็ดขาด ชนิดที่นายจิตรเองก็ไม่เหลืออะไรไว้

ไม่ต้องถามว่าเอาไปทำไม ก็เอาไปพะยี่ห้อของตัวเอง ขายลูกค้าฝรั่งยุโรปอเมริกันที่เดินทางผ่านสิงคโปรมา
สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์องค์ดั้งเดิม ก็ใช้เทคนิกที่คุณหนุ่มขยายให้ดูแล้ว เติมแต่งสายยงยศและเครื่องราชย์ของฝรั่งเศสลงไป ก็ขายได้อีก

อย่างไรก็ดี มาถึงพ.ศ.ปัจจุบัน ภาพทุกภาพที่เรากำลังพูดกันในคคห.นี้ ไม่มีลิขสิทธิ์แล้ว มีแต่กรรมสิทธิ์ใน๒ภาพที่คุณอรรถดาเป็นเจ้าของ แต่ภาพหนึ่งนั้นก็มีผู้ลงไว้ในเน็ตนานนมก่อนหน้านี้ และคุณเพ็ญชมพูเชิญมาลงไว้ในกระทู้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 14:58

หมดธุระแล้วผมจะกลับมาว่าเรื่องนี้ต่อครับ


"การแอบอ้างผลงานของมิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"


การบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร


จากการบรรยายข้างต้นบางตอน พบว่าขนาดช่างภาพระดับโลกอย่างนายทอมสัน ยังซื้อภาพของนายจิตไปอ้างว่าเป็นฝีมือของตน นายจิตขายภาพให้ทุกคนที่มีเงินซื้อ และคงไม่สนใจด้วยว่าใครจะเอาภาพถ่ายของตนไปทำอะไร

จั บ ใ ต๋ ท อ ม สั น
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกรุงลอนดอน พ.ศ. ๒๔๔๐ คราวประพาสยุโรปครั้งแรก มีผู้มาขอเฝ้าเป็น จำนวนมาก ชายสูงวัยผู้หนึ่ง เข้ามาแนะนำตัวว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉายพระรูปพระองค์ เมื่อคราวโสกันต์ พ.ศ.๒๔๐๙ สามสิบปีมาแล้ว และได้ถวายรูปเหล่านั้น ทรงตอบแทนไปตามสมควร ปัจจุบัน รูปชุดนี้ยังเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชายคนนั้นชื่อ จอห์น ทอมสัน ชาวสก็อตผู้เป็นช่างภาพชั้นนำแห่งยุโรป ปีนั้นอายุ ๖๐

ทอมสัน เป็นเจ้าของผลงานสำคัญมากมายมาตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อน จากการบุกไปถ่ายรูปนครวัดที่ป่าลึกเมืองเขมร เข้าไปบันทึกภาพประเทศจีนสมัยพระางซูสีไทเฮา  และที่สำคัญที่สุดคืองานชุด Street Life in London ผลงานภาพถ่ายบันทึกสังคม ชุดแรกของโลก ในปีที่เสด็จยุโรปนั้น ทอมสันย่างเข้าบั้นปลายของอาชีพแล้ว ต่อมาได้ขายรูปถ่ายและฟิล์มทั้งหมดให้กับมหาเศรษฐีเภสัชอุตสาหกรรม เซอร์ เวลคัม Sir Henry Solomon Wellcome (1853-1936) ปัจจุบันเราสามารถศึกษาข้อมูลชุดนี้ได้ ผ่านทางเวบไซท์สถาบันเวลลคัม

ท อ ม สั น เ ข้ า ม า สู่ ส ย า ม
ทอมสันมาปักหลักทำธุรกิจที่สิงค์โปรกับพี่ชาย เปิดห้องภาพและขายอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง วันหนึ่ง ได้อ่านหนังสือของอองรี มูโอต์ นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ เรื่องนครโบราณในป่าดงดิบของเขมร ก็เกิด แรงบันดาลใจที่จะเข้ามาตามรอยบ้าง
ทอมสันขอแยกตัวจากพี่ชาย คงจะได้เงินส่วนแบ่งมามากพอ จึงเตรียมการที่จะเข้ามาสำรวจเขมรได้ เขามีหัวทางธุรกิจ ก่อนเข้ามาก็จ้างหมอบลัดเลให้ลงข่าวไว้ล่วงหน้า บอกกล่าวว่าจะเข้ามา และยินดีรับถ่ายรูปผู้สนใจในบางกอก นี่ก็คงเป็นการระดมทุนไปด้วยในตัว ทอมสันอยู่ในบางกอกประมาณหกเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๔๐๘ จนถึงต้นปี ๒๔๐๙ เพื่อรอหนังสืออนุญาตเข้าเขมร (ขณะนั้น เขมรยังเป็นประเทศราชของสยาม) ระหว่างนั้นก็ออกท่องเที่ยวไปถึงเพชรบุรี แะอยุธยา

สรุปความว่า ในที่สุดภาระกิจก็สำเร็จตามความประสงค์ ได้เนกะตีฟมาทั้งหมด ๖๐ แผ่น หมอบลัดเล ได้ลงประกาศอีกครั้งว่า ผู้สนใจเชิญมาดูได้ก่อนที่ช่างภาพจะเดินทางไปอังกฤษ เพื่อไปสร้างชื่อว่า เป็นช่างภาพผู้เชี่ยวชาญอาเชีย บรรยาย พิมพ์หนังสือการสำรวจของตน และขายรูปให้กับผู้สนใจ รวมทั้งกลับมาถ่ายรูปเมืองจีนอีก ในปีต่อๆ มา

ทุกวันนี้ เราจะพบผลงานของทอมสันในเอกสารหลักเกี่ยวกับเอเซียยุคล่าอาณานิคม รูปถ่ายจริงๆ ก็มีขายตามงานประมูลเสมอๆ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายชั้นนำทุกแห่ง ต้องมีงานของเขา นักศึกษาส่วนใหญ่ยกย่องว่า เพราะความมานะอุตสาหของทอมสัน บวกกับฝีมือถ่ายรูป ในระดับศิลปิน เราจึงมีประจักษ์พยานชั้นยอด ในการทำความเข้าใจอดีตและชีวิตจิตใจของเอเชีย ตรงช่วงรอยต่อของการปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย นักเขียนเหล่านั้นและผู้เชี่ยวชาญอีกมากมาย ไม่รู้เลยว่า บางส่วนของผลงานระดับโลกดังกล่าว ล้วนแต่ใช้รูปถ่ายฝีมือนายจิต โดยไม่อ้างอิง และทำให้ชาวโลกคิดว่า เป็นผลงานของตนเอง



http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 15:14

ท่อนสำคัญ

ท อ ม สั น โ ก ห ก

.......คำอธิบายรูปที่เราพบที่สถาบันเวลคัมนั้น ก็ชวนสงสัย เพราะผิดปกติวิสัยของคนที่ถ่ายรูปมาเองจะบอกอะไรผิดๆเพี้ยนๆอย่างนั้น โดยที่เรารู้อีกด้วยว่า ทอมสันมีฐานวิชาการอย่างดี เขาไม่ใช่ช่างภาพที่หลงๆลืมๆ เลอะๆเทอะๆ เว้นแต่จะจงใจหรือไม่รู้จริงๆ เป็นต้นว่า เขาอธิบายรูปพระเมรุรัชกาลที่ ๔ ว่า The cremation pyre of the 1st King of Siam, King Mongkut, son (Brir ?)ซึ่งอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง หรือเรียกพระที่นั่งสุทไธสวรย์ว่า The King's Buddhist temple คือเรียกพระที่นั่งเป็นวัด และเขาจะมีรูปเมรุรัชกาลที่ ๔ ได้อย่างไร ในเมื่อขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) เขาหากินอยู่ที่ลอนดอนแล้ว

ข้อน่าสงสัยอย่างยิ่งก็คือ คนอื่นๆ มีรูปของทอมสันได้อย่างไรถ้าไม่ได้ซื้อจากมือของเขา อย่างเช่นนางแอนนา ใช้รูปที่ตรงกันถึงหก-เจ็ดชิ้น โดยที่นางออกจากบางกอกก็ตรงไปสหรัฐ จะมีเวลาที่ใหนไปแวะซื้อรูปจากทอมสันที่ลอนดอน เช่นเดียวกันสุภาพบุรุษฝรั่งเศสและอเมริกันก็ใช้รูปเหล่านี้ เชื่อได้ยากเช่นกันว่าจะซื้อจากมือทอมสันเพราะเข้ามาหลังถึงสองสามปี คนเหล่านี้ควรจะได้รูปทั้งหลายจากแหล่งเดียวกัน คือที่บางกอก ซึ่งทุกคนล้วนแวะมา และมีบางคนได้รูปที่สวยงามกว่าที่ทอมสันครอบครองอีกเสียด้วย

สุดท้ายของสุดท้าย ทอมสันยังปล่อยไก่ฝูงใหญ่ เมื่อเขาวิจารณ์นางแอนนาที่อธิบายพระรูปโสกันต์ว่าเป็นเจ้าหญิง ในเมื่อเป็นพระราชพิธีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ที่เป็นเจ้าชาย เรื่องเหลือเชื่อก็คืองานนี้ นางแอนนาถูกทอมสันที่อ้างว่าเป็นช่างภาพ กลับจำรูปตัวเองไม่ได้ นี่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าทอมสันจะถ่ายรูปที่อยู่ในคลังสะสมของเขาทุกชิ้น

จำ ล อ ง เ ห ตุ ก า ร ณ์

เราลองมาสันนิษฐานดู
ทอมสันเข้ามาบางกอกวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๐๘ วันที่๒๗ มกราคม ๒๔๐๙ เข้าเขมร ระหว่างนั้นจะถ่ายรูปได้สักเท่าใดในเมื่อต้องสงวนกระจกไปใช้ในป่าดงเขมร เสร็จงานก็ ขนของกลับอังกฤษ ใครจะไปทราบว่าทอมสันจะไม่แวะเรือนแพของนายจิต ซึ่งมีโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ตั้งแต่สามปีก่อนว่า มีรูปจำหน่ายมากมาย ใครๆ ที่ฉลาดก็คงกว้านซื้อรูปถ่ายของนายจิต ติดตัวไปด้วย ถ้าฉลาดยิ่งขึ้น ก็อาจจะขอก๊อปปี้กระจกไปด้วย

เมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอน ใครจะไปสืบรู้ได้ว่า รูปใหนใครถ่าย กว่าจะมีคนรู้ ก็ผ่านไปกว่าร้อยปีแล้ว

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 17:43

ไต๋ของทอมสันเคยถูกเผยไว้ครั้งหนึ่งแล้วที่ "เรือนไทย"  ยิ้มเท่ห์

คุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้ให้คำตอบไว้ในการบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อเรื่อง

"การแอบอ้างผลงานของ มิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 18:45

อ้างถึง
สุดท้ายของสุดท้าย ทอมสันยังปล่อยไก่ฝูงใหญ่ เมื่อเขาวิจารณ์นางแอนนาที่อธิบายพระรูปโสกันต์ว่าเป็นเจ้าหญิง ในเมื่อเป็นพระราชพิธีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ที่เป็นเจ้าชาย เรื่องเหลือเชื่อก็คืองานนี้ นางแอนนาถูกทอมสันที่อ้างว่าเป็นช่างภาพ กลับจำรูปตัวเองไม่ได้  นี่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าทอมสันจะถ่ายรูปที่อยู่ในคลังสะสมของเขาทุกชิ้น

ด้วยตรรกะเดียวกันข้างต้น ข้างหลังภาพของนายแชสเลอร์มีข้อความเขียนไว้หลังพระบวรฉายาลักษณ์ว่าเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑ แห่งสยาม ทั้งๆที่ภาพพระราชโอรสเขียนถูกว่าเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ ถ้าเขาเป็นผู้ถ่ายพระรูปเอง ทำไมจึงจำรูปของตนไม่ได้เล่า  เอาละ ลายมือที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของนายแชสเลอร์ก็จริง นั่นเราไม่ทราบได้  แต่จะเป็นลายมือมิสเตอร์เอกซ์วายแซดอะไรก็ตาม ก็คงกลั่นกรองมาจากสมองของนายแชสเลอร์นั่นแหละ จะเขียนเองหรือถ่ายทอดให้คนอื่นเขียนเท่านั้น

พอจะสรุปได้หรือยังครับว่า นายแชสเลอร์ซื้อรูปภาพหรือสำเนากระจกของฟรันซิส จิตรไป แล้วนำไปตกแต่งเป็นภาพใหม่ของตัวเอง โดยเพิ่มเครื่องประดับให้แตกต่างกับภาพเดิมของนายจิตร
 
แหม ต้องชมฝีมือการตกแต่งภาพด้วยภู่กันและปลายเข็ม ช่างเนี๊ยบมากจริงๆ ผมดูแล้วดูอีกอดทึ่งไม่ได้ ช่างใกล้เคียงกับการใช้โฟโตชอปอย่างเหลือเชื่อ …เอ…หรือว่าเขาทำ New Antique ขึ้นมาด้วยกรรมวิธีสมัยปัจจุบันนี้ที่คอมพิวเตอร์เนรมิตรได้ทุกอย่าง

….เอาละซี จะเปิดอีกประเด็นหนึ่งไหมละนั่น ?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 18:59

ก็บอกแล้วว่า สายที่เห็นถูกตกแต่งขึ้นมา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 19:03

 ???อ้าว ใครไปว่าไว้ที่ไหนว่าของจริง  ฮืม ฮืม ฮืม

อ้างถึง
พอจะสรุปได้หรือยังครับว่า นายแชสเลอร์ซื้อรูปภาพหรือสำเนากระจกของฟรันซิส จิตรไป แล้วนำไปตกแต่งเป็นภาพใหม่ของตัวเอง โดยเพิ่มเครื่องประดับให้แตกต่างกับภาพเดิมของนายจิตร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 19:08

ภาพเปรียบเทียบให้เห็นว่าของจริง กับ ของเข็มเขี่ย ดูเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นธรรมชาติเป็นอย่างไร

การทำลวดลาย และเครื่องราชย์ฝรั่งเศสนี้ ช่างทำต้องมีต้นแบบแน่นอน มิเช่นนั้นผลงานจะออกมาไม่งดงามเท่านี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 20:06

อะไรจะทำเนี๊ยบได้ขนาดนั้นในสมัยโน้น มีเบลอๆภาพได้ด้วย ถ้าเป็นรอยภู่กันหรือเข็มเขี่ยอย่างที่เทคโนโลยี่สมัยร๔อำนวย ก็จะได้ภาพที่เห็นร่องรอยคมชัดอย่างที่คุณหนุ่มเคยยกมาแสดงเป็นตัวอย่าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 22:21

ข้อความโดยเพ็ญชมพู

การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 22:30

โฟโต้ช๊อปออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 1989 หรือปี 2532 คุณพิพัฒน์ได้รูปจากสหายที่อยู่แดนไกลในปี 2008 หรือก่อนหน้านั้น เพราะคุณพิพัฒน์ได้เคยนำมาลงในหนังสือสมุดภาพรัชกาลที่๔ ในปี 2547(2004) โฟโต้ช๊อปเก่งขึ้นอีกหลายขุม ใช้ได้แล้วกับWindow XP มือระดับเซียนเอามาทำมาหากินได้สบายมาก แค่ตกแต่งรูปเครื่องแบบนายทหารใส่เครื่องยศโดยตัดต่อจากภาพร่วมสมัยนั้น ง่ายเหมือนปอกทุเรียนเข้าปาก

แค่ทำสำเนาส่งมาล้อเพื่อนทางอินเทอเน็ตน่ะไม่มีปัญหา แต่ตัว Original นั่นเป็นอีกเรือง เพราะมันเกี่ยวกับกระดาษ ร่องรอยเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในขบวนการอัดรูป เก่าจริงหรือเก่าปลอม พวกนี้ต้องใช้เซียนอีกวิทยายุทธหนึ่งเป็นผู้พิสูจน์ จะฟันธงลงไปตรงนี้เดี่ยวกลายเป็นหมอดูขี้โม้

แต่โลกธุรกิจที่ของโบราณมีค่าสูงงงงมาก ย่อมมีเซียนเหนือเซียน ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ปลอมไม่ได้ ไม่เชื่อถามคนจีนแผ่นดินใหญ่ดู



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 19 คำสั่ง