เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39614 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:01

ภาพชุด ฝีมือบาดหลวง ปาเลอกัวส์ และคาร์โนตี ถ่ายในพ.ศ. ๒๕๐๕ ทั้งหมดเก็บอยู่ที่สถาบัน MEP กรุงปารีส รวมพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:02

และพระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:07

ภาพทั้งสองมีความคมชัดสูง สูงกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะหาได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เชื่อว่าเป็นภาพที่ทำสำเนามาจากต้นฉบับจริงๆ ข้อมูลเรื่องชื่อผู้ถ่ายจึงน่าเชื่อถือมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:18

ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้

La lettre impériale dont nous étions porteurs était un nouveau pas dans la voie d’intimité cordiale ouverte en 1856 par le traité de M. de Montigny, intimité à laquelle l’ambassade siamoise venue en France en 1861, ainsi que la grand’croix de la légion d’honneur envoyée au roi de Siam en 1863

เอกสารของฝรั่งเศสข้างบนระบุว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ grand’croix de la légion d’honneurนั้น ได้จัดส่งมาถวายพระเจ้าแผ่นดินสยามในปี ๑๘๖๓ หรือพ.ศ. ๒๔๐๖ เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงมีพระชนมายุ ๕๙ พระชนษา ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงมีพระชนมายุ ๕๕ พระชนษา แต่กว่าจะเดินทางจากปารีสมาถึงกรุงเทพ อาจจะหลังจากนั้นหลายเดือน และมิใช่ได้รับมาปุ๊บจะทรงเรียกช่างภาพมาถ่ายปั๊บ คงต้องเตรียมฉลองพระองค์อีกหลายเดือนกว่าจะพร้อม

หนังสือเล่มเดียวกัน ได้กล่าวว่า พระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวพร้อมสายสะพายข้างล่าง เป็นฝีมือของนายจอห์น ทอมสัน ถ่ายในปี ๒๔๐๘


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:35

พระบวรฉายาลักษณ์ทั้งสองภาพ ทรงถ่ายเนื่องจากวาระเดียวกัน ขณะนั้นนายจอห์น ทอมสันได้ตระเวนถ่ายภาพในสยามอยู่สองปี เป็นไปได้มากทีเดียวที่จะได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า และบันทึกภาพพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒ และเจ้านายวังหน้าไว้ แต่น่าเสียดายที่ภาพชุดนี้ไปตกหล่นเสียอย่างไรไม่ทราบ เลยไม่ปรากฏข้อมูล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:39

อ้างถึง
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่ วันนี้ เวลา 10:11

คุณเพ็ญชมพูเป็นคนเอามาลงไม่ใช่หรือ คุณเพ็ญไปเอามาจากไหนเล่า

คุณเพ็ญไม่ได้เข้ามาตอบ สงสัยจะหยุดเล่นเน็ตวันวีคเอ็น แต่ผมก็เจอที่มาที่ไปแล้ว

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2474.120

พระรูปปริศนาของรัชกาลที่ ๔ ที่สงสัยว่ามีการตกแต่งภาพที่คุณพิพัฒน์บอกว่าได้รับมาจาก "สหายจากแดนไกล" ลงในเรือนไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ยังมีพระรูปเดียวกัน (ซ้าย) ซึ่งคุณพิพัฒน์นำมาลงไว้ในเว็บวิชาการและเรือนไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙



พระปิ่นเกล้า มีพระรูปตกทอดมาน้อยมากครับ
 

คุณนวรัตนสามารถหาที่มาที่ไปโดยการกดที่ลิงก์ "อ้างจาก : pipat  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:42

ครับ เรากำลังหาข้อมูลกันอยู่นี่แหละครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 09:54

สำหรับตัวผมเชื่อว่า พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สององค์นี้ ถ่ายโดยฝีมือนายจอห์น ทอมสัน ในปี ๒๔๐๘ โดยสังเกตุฝีไม้ลายมือ ต้นฉบับคงคมชัดมาก เหมือนพระรูปพระโอรสที่คุณอรรถดาฝากคุณหนุ่มสยามมาลงให้ใหม่

สังเกตุได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงปรากฏอาการประชวรแล้ว พระโอษฐ์เริ่มผิดรูป เมื่อเทียบกับอีกภาพหนึ่งซึ่งถึงแม้จะทรงเครื่องแบบเหมือนกัน แต่พระมาลาต่างกัน (อาจจะถ่ายโดยนายจิต) ภาพที่ทรงนั่งไขว่ห้าง แม้จะก่อนหน้าปีสองปี แต่ยังทรงดูดีอยู่มาก
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเส็จสรรคตปึ ๒๔๑๐



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 10:18

(ภาพข้างบนผมลงผิด และได้แก้ไขแล้ว)

คราวนี้ต้องมาหาว่า ภาพทั้งสองภาพ(พระปิ่นเกล้าและพระโอรส)ที่นายแชสเลอร์ จากสิงคโปรเอาไปใส่ปกของตัวออกจำหน่ายนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร นายแชสเลอร์ได้มาสยามและได้เข้าเฝ้าเพื่อถ่ายพระบวรรูปและพระรูปเจ้านายจริงหรือ หรือว่านายแชสเลอร์ไม่เคยแม้แต่จะมาถ่ายรูปใดๆในสยาม(คืออาจจะมาเที่ยว แต่ไม่ได้แบกกล้องมาถ่ายรูป)

เห็นคุณหนุ่มเปรยๆว่าจะตามเสาะหานายเชสเลอร์ เจอภาพถ่ายที่นายเชสเลอร์มาถ่ายในสยามไหมครับ
ต้องขอคุณเพ็ญชมพูช่วยด้วย ตรงนี้ผมหมดปัญญาจริงๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 10:24

สำหรับตัวผมเชื่อว่า พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สององค์นี้ ถ่ายโดยฝีมือนายจอห์น ทอมสัน ในปี ๒๔๐๘ โดยสังเหตุฝีไม้ลายมือ ต้นฉบับคงคมชัดมาก เหมือนพระรูปพระโอรสที่คุณอรรถดาฝากคุณหนุ่มสยามมาลงให้ใหม่

สังเกตุได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงปรากฏอาการประชวรแล้ว พระโอษฐ์เริ่มผิดรูป เมื่อเทียบกับอีกภาพหนึ่งซึ่งถึงแม้จะทรงเครื่องแบบเหมือนกัน แต่พระมาลาต่างกัน (อาจจะถ่ายโดยนายจิต) ภาพที่ทรงนั่งไขว่ห้าง แม้จะก่อนหน้าปีสองปี แต่ยังทรงดูดีอยู่มาก
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเส็จสรรคตปึ ๒๔๑๐



ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นภาพถ่ายของ จอนห์ ทอมสัน เนื่องจากได้อ่านในบันทึกการเดินทางเข้ามายังสยามของจอนห์ ทอมสัน จะบรรยายไว้โดยละเเอียดพอสมควร ว่าวันนี้พบใคร ทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะฝรั่งที่ตื่นเต้นที่จะเข้าไปถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือ First King of Siam ซึ่งจอนห์ ทอมสันก็บรรยายไว้ว่า ทรงแต่งชุดอะไรบ้าง เสด็จลงประทับให้ถ่ายภาพ

และเมื่ออยู่สยามสักสองอาทิตย์ ก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายภาพที่กัมพูชา (หลายเดือน) จึงกลับมาที่กรุงเทพอีกครั้ง ในการกลับมาที่กรุงเทพครั้งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้จอนห์ ทอมสันไปดูพิธีโสกันต์เจ้านาย ๕ พระองค์ของวังหน้าได้ Second King แต่ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่ามีการถ่ายภาพและหรือพบพระปิ่นเกล้าฯ แต่อย่างใดเลย

หลังจากนั้นก็จอนห์ ทอมสันก็ไปหาหมอบรัดเล ไปเที่ยวอยุธยา ไปเที่ยวเขาวัง เพชรบุรี ซึ่งก็มีร่องรอยของภาพปรากฎในอัลบัมของทอมสัน ถ่ายภาพก็มีให้เห็น แต่ไม่มีพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าแต่อย่างใด ดังนี้ผมจึงไม่ค่อยเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของทอมสัน  เป็นผู้ถ่ายภาพนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 10:31

พระบรมฉายาลักษณ์แบบฝรั่งเศส ที่ทอมสันได้บรรยายไว้ดังนี้

"As that would have been a result distasteful to his royal highness, we patiently waited, and at length the King reappeared, dressed this time in a sort of French Field Marshal's Uninform. There was no stockings. The portrait was a great success, and his majesty afterwards sat in his court robe, requesting me to place him where and how I pleased."


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 10:03

พระบวรฉายาลักษณ์คู่นี้ หมายเลข 1 และ 2 ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการถ่ายภาพจากมุมกล้องต่างกัน (ถ่ายกันสองตัว) แต่เป็น การถ่ายภาพต่างเวลากันครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 10:06

อึมม์ Take 1 and Take 2
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 11:10

ช่าวโฆษณาเกี่ยวกับห้องภาพ Sachtler ที่สิงคโปร์ มีรูปจากหลายประเทศจำหน่ายรวมทั้งจากสยามด้วย นอกจากนี้ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ นาย Sachtler ได้ปีนขึ้นไปถ่ายภาพบนหลังคาโบสถ์ เกิดลื่นไถลตกลงมาจากหลังคาโบสถ์สูง ๘๐ ฟุต หัวกะโหลกคงร้าว

ที่มา หอจดหมายเหตุสิงคโปร์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 11:23


ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นภาพถ่ายของ จอนห์ ทอมสัน เนื่องจากได้อ่านในบันทึกการเดินทางเข้ามายังสยามของจอนห์ ทอมสัน จะบรรยายไว้โดยละเเอียดพอสมควร ว่าวันนี้พบใคร ทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะฝรั่งที่ตื่นเต้นที่จะเข้าไปถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ หรือ First King of Siam ซึ่งจอนห์ ทอมสันก็บรรยายไว้ว่า ทรงแต่งชุดอะไรบ้าง เสด็จลงประทับให้ถ่ายภาพ

และเมื่ออยู่สยามสักสองอาทิตย์ ก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายภาพที่กัมพูชา (หลายเดือน) จึงกลับมาที่กรุงเทพอีกครั้ง ในการกลับมาที่กรุงเทพครั้งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้จอนห์ ทอมสันไปดูพิธีโสกันต์เจ้านาย ๕ พระองค์ของวังหน้าได้ Second King แต่ไม่ได้มีบันทึกไว้ว่ามีการถ่ายภาพและหรือพบพระปิ่นเกล้าฯ แต่อย่างใดเลย

หลังจากนั้นก็จอนห์ ทอมสันก็ไปหาหมอบรัดเล ไปเที่ยวอยุธยา ไปเที่ยวเขาวัง เพชรบุรี ซึ่งก็มีร่องรอยของภาพปรากฎในอัลบัมของทอมสัน ถ่ายภาพก็มีให้เห็น แต่ไม่มีพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าแต่อย่างใด ดังนี้ผมจึงไม่ค่อยเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของทอมสัน  เป็นผู้ถ่ายภาพนี้

เจอแล้วครับ ใครคือผู้ถ่ายภาพเจ้านายวังหน้าทุกพระองค์  

ทีมาของ  ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ชาวสยาม
http://www.sarakadee.com/feature/2002/03/francis.htm

ประวัติย่อจากราชกิจจานุเบกษา

     แรกสุดต้องดูหนังสือราชกิจจานุเบกษา หน้า ๗๓ ก่อน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่อ้าง ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่ช่วยบอกประวัติย่อของนายจิตรในคราวถึงแก่กรรม หากไม่มีราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้แล้ว การหาปีเกิดปีตายจะลำบากมาก
      หนังสือกล่าวว่า นายจิตรซึ่งเวลานั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๖๑ ปี
      หนังสือไม่ได้บอกปีเกิด จึงต้องเอาอายุไปลบปีตาย ได้เป็นปีเกิด พ.ศ. ๒๓๗๓ ซึ่งเท่ากับนายจิตรเกิดเมื่อต้นสมัย รัชกาลที่ ๓ หรือเมื่อ ๑๗๒ ปีมาแล้วนับจาก พ.ศ. ๒๕๔๕
      ต่อไปหนังสือบอกแต่ว่าบิดานายจิตรชื่อตึง ทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ไม่ระบุชื่อมารดา แล้วจากนั้นก็จับเข้าชีวิตราชการเลย ไม่มีการพูดถึงชีวิตวัยเด็กหรือพรรณนาฝีมือความสามารถใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะข่าวตาย (ของเจ้านายกับข้าราชการ) ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น แปลกนักที่ชอบพรรณนาอาการของโรคมากกว่าอย่างอื่น หนังสือว่านายจิตรเดิมเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาล ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตำลึง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็ลงมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) หรือรับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง (ว่าด้วยอาวุธ ไม่ใช่ลำแสง) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่ง ห้าตำลึง
     จากนั้นได้เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ซึ่งหมายถึงดูแลโรงแก๊ส พระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งกับสิบตำลึง


อดีตเคยเป็นทหารแม่นปืนญวนอาสาถือคริตส์ สังกัดพระบวรราชวังของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปรากฏฝีมือว่าเป็นช่างภาพระดับชาติที่ไม่แพ้ฝรั่ง จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใครเป็นช่างภาพประจำราชสำนักวังหน้าเล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง