เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39386 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 07:04

น่าคิดต่อไปว่าการถ่ายภาพพระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นั้นใช้เทคนิคอะไรในการถ่ายภาพ ระหว่าง

๑. ถ่ายบนแผ่นเงิน

๒. ถ่ายบนกระจกเปียก

++++++++++++++

๑. การถ่ายภาพบนแผ่นเงินนั้น จะได้ภาพติดกับตัวแผ่นเงิน มีลักษณะเงาคล้ายการมองฮาโลแกรม สามมิติในสมัยนี้ มีความเงาสะท้อนแสง แผ่นเงินมีขนาดเล็กได้ภาพออกมาคมชัดมาก แต่ขั้นตอนการทำนั้นยุ่งยากมากๆ

๒. ถ่ายบนกระจกเปียก เพียงเทสารไวแสงให้เคลือบกระจก ปล่อยให้แห้งแล้วนำไปถ่ายภาพ จากนั้นก็ทำสำเนาอัดลงบนกระดาษไวแสง คือ กระดาษอัลบูมิน (ทำด้วยไข่ขาว+สารไวแสง) ก็จะได้ภาพอัดลงบนกระดาษแล้ว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 07:13

อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพแบบกระจกเปียก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 15:40

ผมจะต้องไปอีกครั้งหนึ่งวันอื่น

ท่านที่สนใจก็อดทนหน่อยนะครับ ใกล้สรุปได้เต็มทีแล้ว


หากคุณนวรัตนไปหอจดหมายเหตุอีกครั้ง ฝากสอบถามถึงกระจกเนกาตีฟต้นฉบับของพระบวรฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ อาจฟลุคพบคำตอบก็ได้   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 16:57

ถามแล้ว เขาไม่ให้ดูครับ ใครดูได้ต้องมีเส้นใหญ่จริงๆ

คือประชาชนทั่วไปก็ไปหาบัญชีรายชื่อภาพ อยากดูภาพอะไรก็จดระหัสไปแจ้งเขา เขาก็จะไปหยิบมาให้ดู ไม่เอาเนกาตีฟให้ดูครับ
ภาพพระบวรฉายาลักษณ์ ขอให้เห็นตัวจริงก่อน ถ้าจำเป็นต้องดูค่อยหาเส้นไปขอดูอีกที

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 09:23

ถามแล้ว เขาไม่ให้ดูครับ ใครดูได้ต้องมีเส้นใหญ่จริงๆ

คือประชาชนทั่วไปก็ไปหาบัญชีรายชื่อภาพ อยากดูภาพอะไรก็จดระหัสไปแจ้งเขา เขาก็จะไปหยิบมาให้ดู ไม่เอาเนกาตีฟให้ดูครับ
ภาพพระบวรฉายาลักษณ์ ขอให้เห็นตัวจริงก่อน ถ้าจำเป็นต้องดูค่อยหาเส้นไปขอดูอีกที



ขอดูต้องใช้เส้น ไปแบบประชาชนเต็มขั้นก็ได้มาตรฐานแบบนี้ ... ส่วนภาพอีกค้นหาก็ส่งซ่อม ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อใด ........ คำตอบอยู่ในสายลม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:03

วันนี้พอผมเดินเข้าไปในห้องเก็บภาพเก่า เจ้าหน้าที่ก็จำได้และนำสิ่งที่ผมอยากเห็นมาให้ดูตามนัด สิ่งนั้นคืออัลบั้มภาพเก่าที่ปกเริ่มกรอบแล้ว เข้าใจเลยว่าที่เขาบอกว่าได้ส่งไปซ่อมนั้นก็เพราะเหตุใด ที่ต้องซ่อมไม่ใช่ตัวภาพในนั้นแต่เป็นตัวอัลบั้มนั่นเอง นี่เขาเห็นว่าผมสนใจเป็นพิเศษจึงขอยืมจากช่างมาให้ผมดู โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้นใช้สายอะไร ถือเป็นเป็นความกรุณา สงสัยจะสงสารคนมีอายุแบบผมที่ถ่อกายไปหลายครั้งแล้ว

รูปข้างล่างเอาลงมาให้ดูพอเป็นสังเขปว่า อัลบั้มที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

เจ้าของอัลบั้มคงเป็นเจ้านายสมัยรัชกาลที่๕ ที่เก็บภาพชนิด carte de visite ขนาดครึ่งโปสการ์ดไว้ในรูปแบบของการสะสม คล้ายๆกับนักเล่นแสตมป์ พระบวรฉายาลักษณ์อยู่ในหน้านึงแบบปะปนกับภาพเจ้านายองค์อื่นๆ ที่จำได้ก็มีพระองค์เจ้าปฤศฤางค์ที่ทรงถ่ายสมัยที่เป็นอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษแล้วองค์หนึ่งละ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:05

ผมขอให้เขาช่วยกรุณานำภาพพระบวรฉายาลักษณ์ออกมาจากอัลบั้ม จึงได้เห็นระหัสหวญ.ชัดเจน หมายความว่าเป็นสมบัติของหอวชิรญาณมาแต่เดิม โดยเจ้าของผู้ไม่ทราบว่าเป็นใครมอบให้ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่บุตรหลานของนายจิตร ถึงจะมีตราประทับข้างหลังว่า Francis Chit, Bangkok.ก็ตาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:06

พระบวรฉายาลักษณ์องค์นี้แบบเต็มๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บไว้ศึกษา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:08

ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ตราประทับที่ระบุแต่ชื่อ Francis Chit อาจจะเป็นภาพที่ห้างของนายจิตรอัดออกขาย ไม่ใช่ภาพอัดจากกระจกแบบOriginalที่นายจิตรเป็นช่างภาพผู้ถ่ายเอง ซึ่งภาพเหล่านั้นนายจิตรจะประทับโลโก้เทียบชั้นห้องภาพชั้นดีของโลกอย่างไม่เคอะเขิน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นายจิตรคงได้พระบวรฉายาลักษณ์นี้มาจากทางใดทางหนึ่ง แล้วนำมาอัดขายในเมืองไทยแบบให้ซื้อไปใส่อัลบั้มเล่นสะสม ซึ่งที่ห้างนายจิตรอาจมีเป็นสิบๆภาพให้เลือกเพื่อสนองความต้องการของบุคคลระดับไฮโซที่แสวงหาของเล่นในยุคนั้น



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:30

วันนี้พอผมเดินเข้าไปในห้องเก็บภาพเก่า เจ้าหน้าที่ก็จำได้และนำสิ่งที่ผมอยากเห็นมาให้ดูตามนัด สิ่งนั้นคืออัลบั้มภาพเก่าที่ปกเริ่มกรอบแล้ว เข้าใจเลยว่าที่เขาบอกว่าได้ส่งไปซ่อมนั้นก็เพราะเหตุใด ที่ต้องซ่อมไม่ใช่ตัวภาพในนั้นแต่เป็นตัวอัลบั้มนั่นเอง นี่เขาเห็นว่าผมสนใจเป็นพิเศษจึงขอยืมจากช่างมาให้ผมดู โดยไม่จำเป็นต้องใช้เส้นใช้สายอะไร ถือเป็นเป็นความกรุณา สงสัยจะสงสารคนมีอายุแบบผมที่ถ่อกายไปหลายครั้งแล้ว

รูปข้างล่างเอาลงมาให้ดูพอเป็นสังเขปว่า อัลบั้มที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

เจ้าของอัลบั้มคงเป็นเจ้านายสมัยรัชกาลที่๕ ที่เก็บภาพชนิด carte de visite ขนาดครึ่งโปสการ์ดไว้ในรูปแบบของการสะสม คล้ายๆกับนักเล่นแสตมป์ พระบวรฉายาลักษณ์อยู่ในหน้านึงแบบปะปนกับภาพเจ้านายองค์อื่นๆ ที่จำได้ก็มีพระองค์เจ้าปฤศฤางค์ที่ทรงถ่ายสมัยที่เป็นอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษแล้วองค์หนึ่งละ




ยกนิ้วให้กับความอุตสาหะวิริยะของท่าน NAVARAT.C


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:37

งั้นพระบวรฉายาลักษณ์รูปนี้ก็นำลงในต้นกระทู้ แทนภาพเก่าที่มีกรรมสิทธิ์ได้แล้วละซีคะ  ดิฉันจะได้ย้อนกลับไปใส่ให้ครบ
เพื่อคนที่เข้ามาศึกษาในตอนหลังจะได้เข้าใจเนื้อความได้ครบถ้วน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:41

พระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทุกภาพ รวมทั้งภาพถ่ายโบราณที่มีอายุเกิน๕๐ปี ถือเป็นสมบัติของชาติ ไฉนบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะอ้างว่ามีลิขสิทธื์ในภาพใดภาพหนึ่งได้ สิทธิ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แล้วทำไมจึงขอให้ลบกระทู้ หรือลบภาพที่ถูกนำมาลงเพื่อการศึกษานี้ด้วย
ถ้าจะเอาออกไป ผมขอประท้วงครับ


สำหรับพระบวรฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพี่อรรถดา คอมันตร์ ที่นำลงพิมพ์ในหนังสือสยามเรเนสซอง และได้ทำการขออนุญาตจากพี่อรรถดาในการใช้ภาพนี้เพื่อเป็นการศึกษาและค้นคว้าโดยไม่มีผลประโยชน์ทางแสวงหากำไร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ดิฉันขอขอบคุณคุณอรรถดาเช่นเดียวกับคุณ siamese    ที่อนุญาตให้ใช้ภาพนี้ได้  แต่ในเมื่อภาพนี้ได้มีลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ซ้อนเข้ามาอีก   เพื่อคลี่คลายความลำบากใจของทุกฝ่าย ดิฉันจะขอลบพระบวรฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่มีชื่อห้องภาพสิงคโปร์ออกไป และหาพระรูปอื่นในลักษณะเดียวกันมาแทนที่      เพราะจุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ เน้นที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพระรูป   ไม่ใช่ตัวพระรูปเอง ดังนั้นพระรูปอื่นที่คล้ายกันก็คงจะใช้ได้

และขอประทานโทษคุณอรรถดาที่ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของทางฝ่ายดิฉัน ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ   เมื่อรู้แล้วก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จะพยายามแก้ไขอย่างดีที่สุด

ไม่ต้องลบครับ อ.เทาชมพู / พี่ท่านได้โทรมาคุยกับผมแล้ว ไม่ติดใจอะไรและฝากนับถือ อ.เทาชมพู และ อ. Navarat ด้วยครับ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พี่ท่านได้ทิ้งท้ายไว้อย่างเดียวว่า ไม่อยากให้คนไทยเข้าใจผิดไปว่าภาพนี้อยู่เมืองนอก ตอนนี้ภาพนี้อยู่เมืองไทย โดยคนไทยแล้ว และทำเพื่อความรู้ยิ่งสนับสนุนเพียงแต่ให้เครดิทก็เพียงพอ เพราะพี่ท่านลงทุนซื้อภาพ ( ราคาหลายบาทนะคับ เท่าที่ผมได้ยินมา - หนุ่มสยาม)  ดังนี้แล้วกระทู้คุยเรื่องค้นหาตราปริศนาต่อไปละกันครับ

ตามนั้นเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 16:54

ผมขอสรุปที่มาที่ไปของพระบวรฉายาลักษณ์ให้ชัดๆ

ภาพช้าย มาจากเวปของเยอรมัน (ซึ่งเขาได้มาอย่างไรต่อจากนี้เราจะแกะรอยกัน ทุกวันนี้สามารถเข้าไปซื้อได้ในราคา๒๕๐บาท จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูง เหมาะจะเอามาหาว่าเหรียญที่ติดที่ฉลองพระองค์เป็นเหรียญอะไร) ผมถือว่าเป็นต้นฉบับ เพราะสีของฉลองพระองค์ในภาพไม่เข้มจนเกินไป
ภาพขวา ศาสตราจารย์ศักดาได้มาจากสถาบันMEPของฝรั่งเศส น่าจะแต่งความเข้มของฉลองพระองค์มาทีหนึ่งแล้ว แถมยังตัดภาพส่วนบนออกไปด้วย จึงไม่ใช่ต้นฉบับ(แม้ว่าที่เห็นนี้จะคมชัดกว่าก็ตาม)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 17:04

จากภาพต้นฉบับ ผมยังเชื่อว่าการตกแต่งภาพเพื่อใส่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของเขาให้พระองค์ท่าน กระทำในฝรั่งเศสนั่นเอง แต่น่าจะเป็นสมัยหลังๆที่เกิดกระแสนิยมเล่นสะสมภาพ carte de visite กัน ทั้งขนาดเต็มโปสการ์ดและครึ่งโปสการ์ด แพร่ขยายจากยุโรปไปยังอาณานิคมฝรั่งต่างๆทั่วโลก รวมถึงเอเซีย แล้วมาถึงสยามในสมัยรัชกาลที่๕ โดยลูกหลานของนายจิตรรับมาจากยี่ปั๊วในสิงคโปรอีกทีหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 17:37

ติดตามและคิดตามไปด้วย
มาถึงคำถามสรุป ว่าการแต่งเติมเครื่องราชให้พระองค์ท่าน ทำไปเพื่ออะไรคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง