siamese
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 07:54
|
|
ท่านผู้รู้ตัวจริงเห็นจะมีก็คือคุณหนุ่มรัตนสยามในนามว่าSiamese ขอเชิญให้ความเห็นหน่อยครับ
สมกับเป็นผู้รู้จริงๆ แจ่มแจ้ง ไร้ข้อกังขา คราวนี้อยากทราบว่า การตกแต่งภาพดังกล่าวมีมาแต่สมัยใด ด้วยกรรมวิธีอย่างไร ที่สำคัญ ลองเดาได้ไหมว่าคนทำเช่นนั้น เค้าทำไปเพื่ออะไรครับ เพื่อสนุกๆเล่นกระนั้นหรือ การตกแต่งภาพก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับการถือกำเนิดการถ่ายภาพแบบระบบดาร์แกโรไทป์เลยครับ เป็นความอยากรู้ของมนุษย์เองที่ต้องการถ่ายภาพนั้นให้ดี เช่นภาพที่แสดงนี้เป็นการถ่ายภาพพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ด้วยความที่เกิดอาการภาพไม่ชัด ช่างก็สามารถตกแต่งเพื่อให้ภาพมีความชัดขึ้นมาได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 08:00
|
|
ตัวอย่างการตกแต่งภาพ โดยนำพื้นหลังออกไปกลายเป็นสีดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 09:18
|
|
ขอบคุณนะครับ อย่างน้อยคราวนี้เราก็ทราบกันละว่า พระรูปไหนเป็นของจริงและของตกแต่ง แม้ว่าเราจะไม่ทราบวัตถุประสงค์ชัดๆของผู้กระทำว่า ต้องการจะเพิ่มเครื่องทรงองค์ประดับของท่านไปอีกทำไม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 09:50
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ ทรงเครื่องต้นอย่างกษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ขยายเฉพาะส่วนฐานพระที่นั่ง รูปครุฑ และเครื่องต้นลายไทย ล้วนทำการตกแต่งภาพให้มีความงามมากขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 09:54
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระเทพศิรินทราฯ และพระโอรสหรือพระธิดา (ไม่ยืนยัน) ให้ดูว่าภาพนี้ก็มีการตกแต่งภาพที่เครื่องประดับพระมาลาเพชร และที่เทียร่าของพระนางก็ได้รับการตกแต่งภาพให้มีความชัด ดูให้เป็นเครื่องประดับเพชรมากยิ่งขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 21:33
|
|
รูปของคุณหนุ่มรัตนสยามแทบจะดูไม่ออกว่าทรงอุ้มพระกุมารหรือพระกุมารีอยู่ แต่องค์นี้ทรงฉายในคราวเดียวกันแต่ชัดกว่ามาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 22:38
|
|
ผมกำลังพยายามตอบคำถามของตนเอง ว่าใครเป็นผู้ตกแต่งพระบวรฉายาลักษณ์ และด้วยเหตุผลอะไร
ขอแกะรอยจากพระบวรฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายในปี ๒๔๐๖ หลังจากทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d'honneur ที่พระเจ้านโปเลียนที่๓แห่งฝรั่งเศส ทรงส่งมาถวาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 22:51
|
|
ข้อความโดยเพ็ญชมพู การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ
เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่ พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์ แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler
ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป
กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน ผมว่าอีตานี่เลยครับ นาย A Sachtler ที่อยู่สิงคโปรนี่แหละ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านมิเคยเสด็จไปทรงถายรูปกับหมอ และหมอก็ไม่เคยมาเมืองไทยเพื่อถ่ายรูปอะไร แต่คงได้พระบวรฉายาลักษณ์จากใครสักคน แล้วลงมือตกแต่งภาพด้วยความชำนาญ เอาเหรียญตราเดิมของพระองค์ท่านออก แล้วเอาเครื่องราชย์ของฝรั่งเศสใส่ลงไปแทน สำเร็จผลลงด้วยความภาคภูมิใจมาก ขนาดอัดใส่แผ่นพับพะยี่ห้อของหมอออกจำหน่ายเลยทีเดียว ดีนะที่คนไทยในสยามมิได้บ้าจี้ไปกับหมอ พระบวรฉายาลักษณ์ที่ทางราชการนำออกแสดงหรือเผยแพร่ จะใช้องค์จริงตลอด ไม่เคยเอาของปลอมของหมอออกแสดงเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 22 ส.ค. 14, 23:04
|
|
ผมพยายามจะแกะรอยต่อไป แล้วเครื่องหมายที่ทรงประดับในพระบวรฉายาลักษณืดั้งเดิมคือดวงตราอะไร คุณหนุ่มรัตนสยามจะช่วยผมค้นหาได้ไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 08:32
|
|
รูปของคุณหนุ่มรัตนสยามแทบจะดูไม่ออกว่าทรงอุ้มพระกุมารหรือพระกุมารีอยู่ แต่องค์นี้ทรงฉายในคราวเดียวกันแต่ชัดกว่ามาก
ภาพทรงอุ้มพระโอรสหรือพระธิดา ในภาพที่แสดงนี้ปรากฎ ๒ พระองค์นะครับ ดูให้ดีๆ จะเห็นทั้งรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทรฯ ทรงอุ้มอยู่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 08:35
|
|
ส่วนภาพแสดงให้เห็นนี้เป็นภาพถ่ายรัชกาลที่ ๔ พร้อมพระธิดา ส่งไปเป็นของขวัญให้แก่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มีความพิเศษคือ ใช้เทคนิคการลงสีให้กับภาพ ซึ่งเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของคนโบราณ
ที่กล่าวว่าเป็นพระธิดา เนื่องจากในเอกสารจากอับบราฮัมลิงคอร์น กล่าวไว้ว่าท่านได้รับสิ่งของจากสยามพร้อมรูปถ่ายพร้อมด้วยพระธิดาน้อยๆของพระองค์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 10:03
|
|
ภาพลายเส้นขยายบริเวณหน้าอก จากหนังสือการเดินทางของ อองรี มูโอต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 10:14
|
|
ผมว่า ภาพเขียนที่มาจากภาพวาดที่หารายละเอียดมืได้เช่นนี้ ศิลปืนก็ใช้ Verb to Dow สถานเดียว พิจารณาแล้วเชื่อไม่ได้ครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 10:32
|
|
ในนิทรรศการตะวันออกพบตะวันตก จัดที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วังหน้า(ซึ่งกำลังเปิดให้ชมฟรีจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้) มีพระบวรสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯภาพหนึ่งจัดแสดงไว้ เป็นภาพสีน้ำมันฝีมือศิลปินไทยนิรนามร่วมสมัยท่านขรัวอินโข่ง จึงออกแนวแบนๆเหมือนจิตรกรรมฝาผนังสักหน่อย เอาเถอะ อย่าไปวิจารณ์พระพักตร์ท่านว่าเหมือนหรือไม่เหมือนเลย เอาตรงดาราที่ทรงประดับ ท่านศิลปินก็ดูจะเคอะเขินกระมืดกระเมี้ยนเขียนไว้แค่เสี้ยวเดียว ทั้งๆที่คงจะต้องได้เห็นของจริง แต่ก็พอมองออกว่าเป็นดวงตราแบบไทยๆ ไม่ใช่ของฝรั่งมังค่าชาติใด (ซึ่งนี่กระมังที่เป็นต้นเหตุของการปลอมแปลงพระบวรสาทิศลักษณ์ให้ Go inter ขี้นสักหน่อย)
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 10:41
|
|
ในสมัยต้นรัชกาลที่๔ สยามยังไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามคติฝรั่ง จวบจนกลางรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงสร้างดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น สำหรับพระองค์ท่านและพระอนุชา ตลอดจนพระราชทานแด่เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายๆท่านด้วย
องค์ที่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นดวงตราไอยราพต ดูรูปพรรณสันฐานเป็นรูปไข่ มีแฉกแล้ว ไม่น่าจะเป็นที่ทรงประดับที่เห็นในพระบวรฉายาลักษณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|