เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9628 ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


 เมื่อ 19 ส.ค. 14, 15:54

จากจุดเริ่มต้น สู่เส้นทางชีวิตที่พลิกผันชะตาชีวิตและอื่นๆ ไม่รู้จบ
ิใครเป็นใคร เชิญร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 15:56

รูปมันใหญ่ไปหน่อย แต่เหมาะกับวัยของพวกเราหลายคน

หลวงสารสินสวามิภักดิ์
ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูลสารสิน บิดาคุณพจน์ สารสิน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 15:57

คนนี้ใคร ทายซิ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 15:58

สองพี่น้อง กับเรื่องราวที่ไม่รู้จบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 16:02

กลุ่มนี้กำลังเขียนเส้นทางชีวิตที่ต่างแดน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 16:20

ตอบค.ห. 2 และ 3
สองพี่น้องแห่งสกุล "ศรีจันทร์" กบฏร.ศ. 130
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 17:47

นายพันโท พระดำรงแพทยาคุณ = นายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด  วีระไวทยะ)

นักเรียนนายร้อย นายพจน์ = พลเอก พระยาพหลพลพยุหดสนา (พจน์  พหลโยธิน)
นักเรียนนายร้อย นายเทพ = พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 07:54

กลุ่มนี้กำลังเขียนเส้นทางชีวิตที่ต่างแดน

๕. นักเรียนนายร้อย หม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ เทวกุล

พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ทรงเป็นโอรสในสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยโกรลิชเตเฟลเดอ ประเทศเยอรมัน ต่อจากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนรบ Kriegschule ที่เมืองเมทซ์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456

ทรงรับราชการที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2460 ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงเป็นกรรมการร่างแบบฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2461 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถโปรดให้ไปประทับด้วย ณ วังปารุสกวัน จนกระทั่งทิวงคตเมื่อ พ.ศ. 2463

หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารบก ณ กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ทรงเป็นผู้บังคับการกองโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม พ.ศ. 2471 ทรงเป็นปลัดเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2473 ย้ายสังกัดจากกระทรวงกลาโหมไปประจำการในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มของประเทศไทยประจำประเทศเยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน และ นอร์เวย์

ปี 2479 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ที่มา - วิกิพีเดีย


บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:16

ขอบพระคุณคุณ V มากครับ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ผมไปสับสนกับท่านอื่น ขอบพระคุณนะครับ

ไม่ทราบว่าลุงไก่พอมีภาพของท่านอื่นอีกไหมครับ?
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:20

ตอนนี้ผมแค่กำลังสงสัยว่าการประกาศทำเนียบข้าราชการทหาร ในปีร.ศ. ๑๒๘ มีอะไรเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อๆ มาอีกหรือไม่
เพราะว่าน่าจะเป็นยุคต้นๆ ของกองทัพไทยยุคใหม่ ประกอบกับการจัดตั้งโรงเรียนทหารต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ส่งผลให้อำนาจถ่ายโอนกระจายไปสู่หลายๆ คน และบางส่วนถ่ายโอนไปสู่ข้าราชการทหาร ซึ่งส่วนหนึ่งก้าวขึ้นมาจากสามัญชนด้วย
นวัตกรรมอาวุธทางทหารสมัยนั้น แตกต่างจากสมัยก่อนหน้าค่อนข้างมาก
บางทีอาวุธ อำนาจ ความไม่สบอารมณ์ อาจจะช่วยสร้างจินตนาการให้ไปไกลกว่าที่หลายๆ คนคิด

ผมไม่ทราบว่ามีประกาศทำเนียบราชการร.ศ. ๑๒๗ หรือไม่ ถ้ามี และนำมาเทียบกันจะเห็นอะไรได้ชัดเจนขึ้น

ลองแชร์กันดูนะครับ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:47

นักเรียนนายร้อย นายพจน์ = พลเอก พระยาพหลพลพยุหดสนา (พจน์  พหลโยธิน)
นักเรียนนายร้อย นายเทพ = พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)
 
สองท่านนี้ไปศึกษาวิชาการทหารที่เยอรมันนี ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ มีเส้นทางชีวิตที่รุ่งโรจน์ แต่ว่าเหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น

ดังความต่อไปนี้

นายร้อยตรีพจน์จบการศึกษาที่โรงเรียนรบเยอรมัน เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๕๕ แล้วเข้ารับราชการอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน
จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ก็ได้รับคำสั่งจากเสนาบดีกระทรวงกลาโหมแห่งสยาม (จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ให้ลาออกจาก
กองทัพบกเยอรมัน เพื่อให้ไปศึกษาวิชาช่างแสงในประเทศเดนมาร์คต่อไป โดยก่อนที่จะไปเดนมาร์ก นายร้อยตรีพจน์ ได้เรียนภาษาเดนมาร์กที่เบอร์ลิน
อยุู่ประมาณ ๑ ปี

นายร้อยตรีพจน์เรียนที่โรงเรียนเฟร์ดริก สะแบร์กละล๊อต เป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ก็ใกล้จะถึงเวลาสอบเข้าเรียนในโรงเรียนเทคนิคขั้นสูงอยู่แล้ว
ก็พอดีได้รับคำสั่งจากเสนาธิการทหารบก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ) ให้กลับกรุงสยาม

เหตุที่ถูกเรียกกลับกลางคันเช่นััน ก็เนื่องจากเมื่อครั้งเรียนอยู่ในเยอรมันนี นักเรียนได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลสยามพอใช้ไม่เดือดร้อน แต่ครั้งส่งไป
เรียนที่เดนมาร์ก ทางรัฐบาลกลับลดเงินเดือนไปมากกว่าครึ่งของจำนวนที่เคยได้รับตอนอยู่ที่เยอรมันนี เมือเกิดความเดือดร้อนจึงได้ทำหนังสือขอเงิน
มาทางกระทรวงกลาโหม ซึ่งในเวลานั้นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชยังเป็นเสนาบดีอยู่ และทรงเห็นพ้องทุกประการ ได้ทรงตั้งพระทัยว่าจะเพ่ิมให้ตามคำขอนั้น
แต่ยังไม่ทันได้จัดการ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๖

เงินที่ทำท่าว่าจะได้เพิ่ม ก็เงียบหายไป

ร้อยตรีพจน์กับเพื่อนนักเรียนรอไม่ไหว จึงพร้อมใจกันทำหนังสือร้องทุกข์เตือนซ้ำเข้ามาที่กระทรวงกลาโหมอีก

คราวนี้ได้ผล

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงกริ้ว ถึงกับออกคำสั่งเรียนกนักเรียนไทยเดนมาร์กทั้งหมดกลับกรุงสยาม
แล้วทรงส่งนักเรียนชุดใหม่ออกไปเรียนแทน
เหตุที่เป็นเช่นนั้น มีรับสั่งว่า

"นักเรียนพวกเก่าถึอว่าเป็นนายทหารเยอรมันมาแล้ว จึงทำหัวแข็งกันนัก"

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงดำรงตำแหน่งในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้ทรงโปรดให้เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ
 ทรงบัญชาการกรมทหารมหาดเล็กคบคู่ไปกับตำแหน่งเสนาธิการทหารบกไปด้วย

เมื่อนายร้อยตรีพจน์กลับมาถึงกรุงสยามนั้น เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้เปลียนเป็นจอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) แล้ว
แต่ว่าอำนาจในการบรรจุเข้ารับราชการยังคงอยู่ในความเห็นชอบของเสนาธิการทหารบก คือเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถอยู่ ซึ่งปรากฏว่าร้อยตรีพจน์ถูกส่งออกไป
ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี นับเป็นนักเรียนที่รัฐบาลส่งไปศึกษาวิชาทหาร ณ ต่างประเทศคนแรก ที่เรียนจบแล่วถูกส่งออกไปประจำการต่างจังหวัด
เพราะตามธรรมดานักเรียนที่เรียนจบต่างประเทศ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ก็จะได้เข้าประจำการที่ในกรมเสนาธิการทหารบกบ้าง ประจำกรมจเรต่างๆ บ้าง
หรือไม่ก็ประจำการที่กรมทหารซึ่งตังในกรุงเทพฯ

ฉะนั้นการที่ร้อยตรีพจน์ถูกส่งไปประจำการต่างจังหวัดจึงออกจะแตกต่างกว่าคนอื่นๆ แต่ถึงกระนั้้นร้อยตรีพจน์ก็มิได้แสดงอาการไม่พอใจแต่อย่างใด

นายร้อยตรีพจน์ เริ่มรับราชการทหารในกรุงสยามครั้งแรก ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
เงินเดือนอัตราร้อยโท ชั้น ๓ บวกกับเงินเพิ่มพิเศษ (ค่าวิชาที่ศึกษามาจากต่างประเทศ) อีก ๑๐๐ บาท รวมเป็นเดือนละ ๑๙๕ บาท




 
  
 
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:55

รุ่นที่ไปเรียนเยอรมันพร้อมกัน ยังมีอีกท่านหนึ่งครับ
นักเรียนนายร้อย ดิ่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:57

ในหนังสือทำเนียบฯ ยังปรากฎชื่อเขาเหล่านี้ บนเส้นทางเริ่มต้นชีวิต ก่อนไปสู่การเปลียนแปลงต่างๆ ที่ตามมาภายหลัง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 12:58

ส่วนคนนี้ ไปเริ่มไกลปืนเทียงหน่อย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 13:04

กล่าวโดยสรุป
ในปีร.ศ. ๑๒๘
นักเรียนนายร้อยพจน์และนักเรียนนายร้อยเทพ ไปเรียนทหารที่เยอรมันนี

ส่วนที่มณฑลทหารบกที่ ๔ ราชบุรี เป็นจุดเริ่มต้นของตัวละครหลายท่าน
ซึ่งผู้บัญชาการในขณะนั้นคือนายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ พหลโยธิน) พี่ชายคนโตของนักเรียนนายร้อยพจน์
และนายร้อยตรีผิน ก็เริ่มเส้นทางชีวิตนายร้อยตรีทหารที่นี่เช่นกัน

พร้อมกันนั้นก็มีนายร้อยตรีเหล็ง มาอยู่ที่ราชบุรีเช่นกัน

ส่วนนายร้อยตรีแปลก ไปเริ่มต้นชีวิตที่พิศณุโลกและแต่งงานที่นั่น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง