เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9626 ----------------- พวกเขาเหล่านั้น ในปีร.ศ.๑๒๘ ------------------------
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 13:10

ตกนักเรียนนายร้อยดิ่นไปอีกหนึ่งคน

ในทำเนียบเล่มนี้ยังไม่มีเวลาอ่านมากนัก ไว้ว่างๆ กว่านี้จะเเกะรอยเพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 19:50

นักเรียนแพทย์ นายชื่น คือ นายพลตรี พระยาดำรงแพทยคุณ (ชื่น  พุทธิแพทย์)

ส่วน นายพลตรี พระยาพหลพลพยุกเสนา ผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี นั้น น่าจะเมีนามเดิมว่า (กิ่ม  พหลโยธิน) ซคางต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑ,นครราชสีมา  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากำแหงสงคราม

กล่าวสำหรับกองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี  ในโครงสร้างกองทัพบก ร.ศ. ๑๒๗  จัดเป็นหน่วยขึ้นตรงเสนาธิการทหารบก  เป็นหน่วยทหารระดับกองพลที่ได้ชื่อว่าเป็นหน่วยรบที่ทันสมัยที่สุดมีกำลังและยุทโธปกรณ์พร้อมที่สึดของกองทัพในเวลานั้น  ส่วนกองพลที่ ๑ - ๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๑  กองพลที่ ๕ ๙ ๑๐ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๓  และกองพลที่ ๖ ๗ ๘ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพน้อยที่ ๒  ซึ่งแม่ทัพน้อยที่ ๑ ๒ และ ๓ ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบกอีกชั้นหนึ่ง

โครงสร้างกระทรวงกระลาโหม (สะกดแบบเดิม) ร.ศ. ๑๒๗ นั้น  เสนาบดีกระลาโหมรับผิดชอบงานธุรการ  ส่วนงานธุรการและกำลังพลอยู่ในความรับผิดชอบของเสนาธิการทหารบก (มีเกียรติยเสมอเสนาบดี) ที่ขึ้นตรงต่อเสนาบดี  แต่ถ้าเสนาธิการทหารบกมีความเห็นต่างจากเสนาบดีกระลาโหม  เสนาธิการทหารบกสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นแย้งได้โดยตรง

โครงสร้างกระทรวงกระลาโหมต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปปรับใช้กับกระทรวงยุติธรรม  โดยเสนาบดียุติธรรมรับผิดชอบงานธุรการ  อธิบดีศาลฎีกาเป็นประมุขตุลาการรับผิดชอบด้านการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและการปกครองตุลาการเสมือนเสนาธิการทหารบกปกครองบังคับบัญชากำลังทหารทั้ง ๑๐ กองพล

กรมจเรต่างๆ  ทั้งจเรทหารราบ  จเรทหารม้า  จเรทหารปืนใหญ่ ฯลฯ นั้นเป็นกรมฝ่ายวิชาการ  เทียบได้กับศูฯย์การทหารเหล่าต่างๆ เช่น ศูนย์การทหารราบ  ศูนย์การทหารปืนใหญ่  ศูนย์การทหารช่าง ฯลฯ ในปัจจุบัน

ทำเนียบข้าราชการกระทรวงกระลาโหมนั้นมีประกาศมาเป็นลำดับ  ก่อนหน้านั้นเรียกว่าทำเนียบข้าราชการกรมยุทธนาธิการ  ส่วนที่มีประกาศใน ร.ศ. ๑๒๘  คงจะเนื่องมาจากใน ร.ศ. ๑๒๗ มีการจัดระเบียบกองทัพเป็นกองพลแบบตะวันตกรวม ๑๐ กองพล  กระจายกำลังไปทั่วประเทศ คือ
กองพลที่ ๑  มณฑลกรุงเทพ
กองพลที่ ๒  มณฑลนครไชยศรี
กองพลที่ ๓  มณฑลกรุงเก่า
กองพลที่ ๔  มณฑลราชบุรี
กองพลที่ ๕  มณฑลนครราชสีมา
กองพลที่ ๖   มณฑลนครสวรรค์
กองพลที่ ๗  มณฑลพืษณุโลก
กองพลที่ ๘  มณฑลพายัพ
กองพลที่ ๙  มณฑลปราจิณ
กองพลที่ ๑๐  มณฑลอุบลและอุดร

อัตรากำลังและยุทโธปกรณ์นั้น  มีหลักฐานเป็นกระแสพระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๖ ที่ทรงกล่าวถึงสิ่งที่ได้ทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จไปประทับแรมในสนามฝึกซ้อมรบของทหารบกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ว่า  ในเวลาซ้อมรบนั้นนายทหารมีไม่พอ  ต้องเอาจ่านายสิบมาทำหน้าที่ผู้บังคับกองร้อย  เอานายสิบมาทำหน้าที่แทนผู้บังคับหมวด  และเอาพลทหารมาทำหน้าที่แทนผู้บังคับหมู่  ในขณะที่อาวุธก็มีไม่ครบทุกตัวคน  และเมื่อมีพระราชกระแสทรงถามไปยังเสนาธิการทหารบกว่า หากอังกฤษส่งทหารขึ้นมาปิดคอคอดกระ  กองทัพบกสยามจะสามารถต้านทานได้เพียงไร  จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ได้กราบบังคมทูลตอบว่า สามารถต้านทางได้เพียง ๓ วันเท่านั้น 
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 00:34

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ V Mee
ตอนแรกผมก็เข้าใจว่าเป็นกิ่ม พหลโยธินที่เป็นพ่อซะอีก
แต่ในหนังสือทำเนียบข้าราชการทหารเล่มนี้ ร.ศ.๑๒๘ ระบุชัดเจนเลยว่า
นายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมชื่อ นพ
พอไปสืบค้นประวัติในรายละเอียด จึงได้ทราบว่า นพ เป็นพี่ชายคนโต
ส่วนพจน์ พหลโยธินเป็นบุตรคนที่ ๕
ทั้งคู่เป็นบุตร เจ้าคุณกิ่ม และ คุณหญิงจับ แต่ว่านพ ห่างจากพจน์หลายปี
ที่แปลกใจก็คือ พ่อ ลูก ทั้งสามคน ได้รับพระราชทานราชทินนามพระยาพหลพลพยุหเสนา  เหมือนกันทั้งสามคน

เกร็ดเล็กน้อยเพิ่มเติม เมื่อเด็กชายพจน์อายุย่างเข้า ๑๑ ปี เจ้าคุณกิ่ม ได้กำหนดโกนจุกให้ ถึงกับเตรียมงานไว้แล้ว
แต่เผอิญท่านบิดาถึงแก่อนิจกรรมด้วยอุจจาระธาตุพิการ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ จึงต้องยกเลิกงานโกนจุก
และเมื่อปลงศพบิดาแล้ว พี่ชายคนโต คือพันตรีหลวงศิลปสารสราวุธ (นพ พหลโยธิน) ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๔
ก็ได้จัดงานโกนจุกให้กับน้องๆ
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 00:45

ตารางนี้แนบอยู่ด้านท้ายของหนังสือเล่มเดียวกันครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 06:39

ขอบพระคุณ คุณเชยประดับที่กรุณาชี้แจงเรื่องพระยาพหลฯ (นพ) ให้ทราบ

เรื่องการที่บุคคลในตระกูลนี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนาถึง ๓ คนนั้น  ดูเป็นเรื่องปกติสำหรับการพระราชทานราชทินนามในยุคสมัย  เพราะนอกจากราชทินนามดังกล่าวแล้วยังพบว่ามีอีกหลายราชทินนามที่พระราชทานเฉพาะในบางสายสกุล เช่น นายราชาณัตยานุหาร  ก็พระราชทานเฉพาะในสายสกุลบุนนาค  หรือราชทินนาม "วิชิตวงศ์วุฒิไกร" ก็เป็นราชทินนามสำหรับราชสกุล สุทัศน์ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 14:25

ตกนักเรียนนายร้อยดิ่นไปอีกหนึ่งคน

ในทำเนียบเล่มนี้ยังไม่มีเวลาอ่านมากนัก ไว้ว่างๆ กว่านี้จะเเกะรอยเพิ่มเติมครับ

ไม่ได้ตกนะครับ อยู่ลำดับที่ ๑๖ ครับ หน้า ๑๙๐ ครับ

เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 12:03

เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ

คุณวิกกี้ เขาว่าไว้ดังนี้

พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ ๑ จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช โดยทั้ง ๓ สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "๓ ทหารเสือ" เช่นเดียวกับ  ทหารเสือ ในนวนิยายชื่อเดียวกันของอเล็กซานเดร ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 12:16

เสทื้อน  ศุภโสภณ ผู้เขียนหนังสือ "ชีวิตและการต่อสู้ของพระยาทรงสุรเดช" ให้รายละเอียดว่า

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เรียกพวกเขาว่าเป็น "สามทหารเสือแห่งสยามประเทศ" โดยยกฉายา "ดาตาญัง" ให้พระยาฯทรง ผู้หล่อเหลา, "ปอโธส" เป็นฉายาของพระยาพหลฯ และ "อาโธส" สำหรับพระยาศรีฯ ผู้เงียบขรึม ทว่าเฉียบขาด


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 13:48

เจ้าคุณดิ่น ไม่ได้ไปเรียนพร้อมกับ เจ้าคุณพจ และเจ้าคุณเทพ เป็นรุ่นน้องประมาณ ๑ ปีครับ


พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ ๑ จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช โดยทั้ง ๓ สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "๓ ทหารเสือ" เช่นเดียวกับ  ทหารเสือ ในนวนิยายชื่อเดียวกันของอเล็กซานเดร ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส  ยิงฟันยิ้ม


ในหนังสือบางเล่ม (ผมจำไม่ได้แล้ว) ของคุณลุงสรศัลย์ แพ่งสภา ผู้ล่วงลับซึ่งเป็นบุตรของ พันโทพระอินทรสรศัลย์ (สะอาด แพ่งสภา) ขเด็ทจากโกรสลิทเทอเฟลเดอร์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าคุณดิ่น ไปเรียนทีหลังครับ  ถ้าหาข้อความมาได้ ผมจะนำมาลงให้อ่านครับ


อีกเล่มที่อ่านแล้วมีการพาดพิงถึงเจ้าคุณดิ่น ซึ่งอาจจะบอกเล่ารายละเอียดการเรียน(เล็กน้อย)ด้วยก็คือ คนไทยในกองทัพนาซี ของคุณลุงพันเอก วิชา ฐิตวัฒน์  ผู้ล่วงลับเช่นกน


สิ่งที่ผมจำได้ น่าจะมาจากงานเขียนของคุณลุงผู้ล่วงลับทั้งสองเล่มนี้ครับ

ส่วนความสัมพันธ์ของนักเรียนขเด็ทเยอรมัน ผมไม่แน่ใจว่าท่านใดสนิทกันมากน้อยแค่ไหน เพราะในหนังสือนักเรียนนายร้อยไทยยุคไกเซอร์ ของคุณลุงสรศัลย์  ผมก็เห็นรูปภาพพร้อมลายเซ็นของเจ้าคุณพหล ส่งมาให้คุณพระสะอาดอยู่เป็นจำนวนมาก  ในขณะที่หนังสือกำสรวลพระยาศรีฯ ของคุณป้าหมอโชติศรี ท่าราบ บุตรีของเจ้าคุณดิ่น กลับไม่ค่อยจะได้เห็นรูปภาพพร้อมลายเซ็นแบบเดียวกันนี้สักเท่าไรครับ


บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:10

แต่ที่แน่ๆ หลังจาก การเปลียนแปลง พศ. ๒๓๗๕ สามทหารเสือก็มาแตกคอกันภายหลัง และต่างก็พบกับชะตากรรมกันไปคนละเเบบ

อำนาจมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

พูดถึงสามทหารเสือ ก็เลยขอพูดถึงตราประจำตระกูลของพันเอกพหลพลพยุหเสนา ที่ได้จัดทำขึ้น

"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" วลีนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ เพิ่งมาทราบเองว่า เป็นคำขวัญประจำตระกูลพหลพลพยุหเสนา

สัญญลักษณ์ประจำตระกูลเป็นกงจักรล้อมรอบเสือสามตัว และรายรอบด้วยคำขวัญอีกที



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:20

"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" วลีนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ เพิ่งมาทราบเองว่า เป็นคำขวัญประจำตระกูลพหลพลพยุหเสนา

สัญญลักษณ์ประจำตระกูลเป็นกงจักรล้อมรอบเสือสามตัว และรายรอบด้วยคำขวัญอีกที

ร่วมด้วยช่วยขยาย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:22

ชี้แจงประจำตระกูลรูปเสือ 3 ตัวในกงจักร

เกี่ยวตราประจำตระกูลของตนที่เป็นรูปเสือ 3 ตัวในกงจักร แสดงถึงตระกูลทหารเสือ 3 รุ่น ซึ่ง ส.พลายน้อย นักเขียนแนวสารคดีชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ที่เขียนถึงประวัติส่วนตัวของ พระยาพหลฯ และได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน พันตรีพุทธินาถ ได้แย้งข้อมูลดังกล่าวว่า

“เสือ 3 ตัวนี่ ตัวแรกคุณปู่ ถูกแล้ว (ตามที่ ส.พลายน้อยเขียน) พระยาพหลฯ กิ่ม เสือตัวที่ 2 ไม่ใช่คุณลุงนพ ไม่ใช่พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี แต่เป็นคุณย่า
คุณย่าเป็นมอญ ของเรียกว่าคุณปู่ผมมีคุณย่า 10 คน คุณย่าผมคุณย่าจับ (พหลโยธิน) เป็นคนที่ 5 เป็นลูกแม่ทัพมอญเก่า อยู่บางไส้ไก่ ใกล้ๆบางขุนเทียน คลองมอญ
ที่สมัยก่อนกษัตริย์ให้พวกมอญมาอยู่ที่นี่เพราะฉะนั้นเป็นเสือตัวกลาง และตัวเล็กนั้นใช้เสือพ่อ เพราะฉะนั้นนี่คือชาติเสือ 3 ท่านนี่คือชาติเสือซึ่งต้องไว้ลาย”


ข้อความนี้เป็นบทสัมภาษณ์ของพันตรีพุทธินาถ พลพยุหเสนา บุตรชายคนที่ 4 ของพันเอกพหลฯ

ส่วน นพ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการ กองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรีในตอนนั้น ในขณะนั้นได้รับราชทินนามว่าพระยาพหลพลพยุหเสนา
และต่อมาก้าวหน้าทางราชการเป็นลำดับ และได้รับราชทินนามว่า พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี

บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:25

ขอบพระคุณครับ คุณเพ็ญชมพู
ผมยังเป็นมือใหม่อยู่ ไม่คล่องซักเท่าไหร่

ตอนเด็กๆ ได้ยินเพลงนี้บ่อยๆ

".....ชาติเสือแล้วต้องไว้ลาย
ชาติขายแล้วต้องไว้ชือ....

เปรี้ยง เปรี้ยง ดังเสียงฟ้าฟาด
โครม โครม พินาศพังสลอน
เปรี้ยง เปรี้ยง ลูกปืนกระเด็นกระดอน
โครม โครม ดัสกรกระเด็นไกล..."

เพลงนี้ได้ยินบ่อยช่วง ๒๕๑๖ - ๒๕๒๓ ช่วงนั้นมีรัฐประหารบ่อยๆ
จำได้ว่าเป็นเสียงร้องของสันติ ลุนเผ่
บันทึกการเข้า
เชยประดับ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:27

ภาพนี้เป็นตัวอย่างของรายพระนามและบุคคลที่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าภาษาต่างประเทศ
ก่อนสมัยดุลย์ข้าราชการ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ส.ค. 14, 14:31

ตอนเด็กๆ ได้ยินเพลงนี้บ่อยๆ

".....ชาติเสือแล้วต้องไว้ลาย
ชาติขายแล้วต้องไว้ชือ...."

ทหารพระนเรศวร

คำร้อง :  สมภพ จันทรประภา
ทำนอง : ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์)  อภัยวงศ์



ชีวิตอุทิศเพื่อชาติ
เราต่อสู้เพื่อราษฎร์ทั้งหลาย
ชาติเสือเราต้องไว้ลาย
ชาติชายแล้วต้องต่อกร


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง