เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 19048 ฮิโระชิมะวิปโยค โลกไม่ลืม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:21

..................


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:23

ฮิโรชิมาปีต่อมา เดือนมีนาคม 1946


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:24

ซากอาคารสำคัญ, ปัจจุบันคือ Hiroshima Genbaku(atomic bomb) Dome


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:25

            อาคารนี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเชคนามว่า Jan Letzel เป็นอาคารสไตล์ผสม
neo-Baroque และ Art Deco โดดเด่นด้วยหลังคาโดมสีเขียว(ทองแดง) สร้างเสร็จในปี
1915 ใช้เป็นอาคาร Hiroshima Prefectural Commercial Exhibition ต่อมาเปลี่ยน
ชื่อเป็น Prefectural Industrial Promotion Hall


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:26

             อาคารตั้งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางการระเบิดราว 160 ม. ตัวอาคารบางส่วนและ
โครงหลังคาโดม(ทองแดง) สามารถทนทานการทำลายล้าง หลังจากนั้นมา (ซาก) อาคาร
หลังนี้จึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Atomic Bomb Dome(A-Bomb Dome) ที่ทางการ
ได้อนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจและได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:27

คนละฟากฝั่งตรงกันข้ามกับโดมนี้(A) เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ Hiroshima Peace Memorial
Museum


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:28

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์รูปทรงสี่เหลี่ยมแบนยาวยกสูง เบื้องหน้าคือโค้งไฟไม่รู้มอดตลอดกาล
(Eternal Flame) ตราบที่อาวุธนิวเคลียร์ยังไม่หมดไปจากโลก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:30

จากด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ มองลอดโค้งไฟผ่านอนุสาวรีย์รำลึกถึงผู้เสียชีวิต(memorial cenotaph)
ตรงไปสุดสายตาที่โดมระเบิดปรมาณู


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:34

อ้างถึง
วันที่หกสิงหา        วันมหาวิปโยค
ฮิโระชิมะโศก        คนทั้งโลกร่วมอาลัย


จากด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ มองลอดโค้งไฟผ่านอนุสาวรีย์รำลึกถึงผู้เสียชีวิต(memorial cenotaph)
ตรงไปสุดสายตาที่โดมระเบิดปรมาณู



ภาพถ่ายมุมสูงจากบน Hiroshima Peace Memorial Museum เมื่อ ๒๘ ปีที่แล้ว  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 13:31

ผู้ลงนามอนุมติการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโระชิมะ คือ ประธานาธิบดีทรูแมน เขาได้พูดออกอากาศถึงประชาชนชาวอเมริกันในวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ตอนหนึ่งว่า

The world will note that the first atomic bomb was dropped on Hiroshima, a military base. That was because we wished in this first attack to avoid, insofar as possible, the killing of civilians. But that attack is only a warning of things to come. If Japan does not surrender, bombs will have to be dropped on her war industries and, unfortunately, thousands of civilian lives will be lost. I urge Japanese civilians to leave industrial cities immediately, and save themselves from destruction.

โลกจะต้องบันทึกไว้ว่าระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ทิ้งลงฐานทัพทหารที่ฮิโระชิมะ นั่นเป็นเพราะว่าเราหวังที่จะหลีกเลี่ยงการฆ่าพลเรือนในการโจมตีครั้งแรกนี้อย่างที่สุด การโจมตีนี้เป็นเพียงการเตือนถึงสิ่งที่จะตามมา ถ้าญี่ปุ่นยังไม่ยอมแพ้ ระเบิดจำเป็นต้องถูกทิ้งลงอีกในย่านอุตสาหกรรมสงคราม ซึ่งน่าเสียดายที่ชีวิตพลเรือนนับพันจะต้องสูญสิ้นไป ข้าพเจ้าอยากแนะนำให้พลเรือนชาวญี่ปุ่นหนีออกจากเมืองอุตสาหกรรมโดยทันทีเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้จากการทำลายล้าง


ข้อมูลจาก ห้องสมุดทรูแมน

ทรูแมนโกหกประชาชนว่า จะหลีกเลี่ยงการฆ่าพลเรือนและหากจำเป็นคนญี่ปุ่นเพียงจำนวนพันเท่านั้นที่จะต้องสูญสิ้นเพราะการทิ้งระเบิดปรมาณู ตกใจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 13:43

ในวันเดียวกัน ทรูแมนส่งโทรเลขตอบวุฒิสมาชิกริชาร์ด บี รัสเซล แห่งรัฐจอร์เจีย ที่ต่อต้านการฆ่าประชาชนของทรูแมน  ทรูแมนบอกว่าจำเป็นจะต้องกวาดล้างประชาชนทั้งหมด  ตกใจ

เอกสารเกี่ยวกับการตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูของอเมริกาหาอ่านได้ที่ ห้องสมุดทรูแมน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 10:03

.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 10:09

ช่วงต่อไปนี้ ขอพากันย้อนอดีตกลับไปฮิโรชิมาวันนั้น

                 เวลานาทีชีวิตวิกฤต  8 โมง 15 นาที เช้าวันที่ 6 สิงหาคม 1945

แมลงปอโผบินผ่านหน้าฉันไป
หยุดเกาะอยู่บนรั้ว   
ฉันลุกขึ้นยืน มือคว้าหมวกเก็ป
เตรียมจะจับแมลงปอ
เมื่อ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 10:10

.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ส.ค. 14, 10:17

รูปข้างบนนั้นคือ
                         ภาพประวัติศาสตร์วันที่ 6 สิงหาคม 1945 บันทึกโดยช่างภาพวารสาร
Yoshito Matsushige ถ่ายจากหน้าต่างบ้านซึ่งอยู่ห่างจากตำแหน่งระเบิดไปทางใต้ 2.7 กม.
คุณปู่จึงไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง
                 คุณปู่ออกจากบ้านเดินเข้าไปยังใจกลางเมืองแล้วบันทึกภาพไว้ได้  7 ภาพ  
                 เป็นภาพถ่ายของฮิโรชิมาในวันมหาวินาศนั้นเท่าที่มีให้ได้เห็นและเป็นที่รับรู้กัน

ที่สะพาน Miyuki ห่างจากจุดใต้ระเบิด(hypocenter) 2.3 กม. เวลา 1100 - 1130 น.
ตำรวจทาแผลไฟไหม้ด้วยน้ำมันปรุงอาหารให้เด็กนักเรียน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง