เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 19046 ฮิโระชิมะวิปโยค โลกไม่ลืม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:43

             สาเหตุที่ฮิโรชิมาถูกเลือกเป็นเป้าหมายการทำลายล้างและการทดสอบตรวจวัดผลของระเบิด
ปรมาณูลูกแรกที่จะใช้งานจริงนั้นเป็นเพราะ ชัยภูมิเป็นที่ราบ มีประชากรหนาแน่น เป็นที่ตั้งของฐานทัพ
อันดับสอง บ้านเมืองก็ยังคงสภาพเดิมไม่เคยถูกโจมตีทางอากาศทำให้สามารถวัดผลการทำลายล้าง
จากระเบิดได้แน่ชัด และสำคัญที่สุดก็คือที่นี่ไม่มีเชลยสงครามชาวตะวันตก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:44

          Little Boy โหลดแล้ว, เครื่องบิน Enola Gay พร้อม, ทีม"ยุติมหาสงคราม" ทั้ง 12 ก็พร้อม
(นักบินพอลยืนอยู่แถวหน้าคนที่สองจากขวามือ)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:47

           6 สิงหาคม 1945 Enola Gay take off เวลา 0235 ฟ้ามืดมิด
เมื่อบินไปจนถึงเวลา 0500 จึงเริ่มเห็นแสงแรกของรุ่งสาง



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:48

เส้นทางบินจากฐานทัพบนเกาะ Tinian สู่ฮิโรชิมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:50

พิกัดกำหนดจุดทิ้งระเบิดคือสะพานรูปตัว T - Aioi Bridge
 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:51

          ที่ระดับความสูงราว 9,400 ม. ยานแม่ Enola Gay คลอดลูกชายน้อย Little Boy
หย่อนออกมาเมื่อเวลา 8.15 น. กระแสลมได้พัดพาระเบิดออกห่างจากพิกัดไป 240 ม. ตรง
ตำแหน่งที่เป็นโรงพยาบาล Shima ในย่าน Saiku-machi

พอลซึ่งผ่านการฝึกบินท่านี้จนชำนาญบังคับ Enola Gay ตีโค้งหันหลังกลับทันที


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:52

เขาเล่าถึงภาพเหตุการณ์ระเบิดในวันนั้นว่า

              แสงแรงจ้าสาดเข้ามาเต็มเครื่องบิน คลื่นกระแทกลูกแรกซัดมาถึงเราซึ่งอยู่ในพิสัยลาดเอียง
ห่างออกมา 11 ไมล์ครึ่งจากตำแหน่งระเบิด ตัวเครื่องบินทั้งลำถูกแรงระเบิดกระแทกทุบจนย่นยับ เราหัน
กลับไปมองฮิโรชิมาที่บัดนี้ถูกปกคลุมด้วยเมฆควันน่าพรั่นพรึง..พวยพุ่งสูงอย่างไม่น่าเชื่อสู่ฟากฟ้าเป็น
รูปต้นเห็ด

ภาพพร้อมลายเซ็นของทีมงาน 5 จาก 12 นาย ได้แก่ Paul Tibbetts(Pilot and Aircraft commander)
- Theodore 'Dutch' Van Kirk(Navigator)- Tom Ferebee(Bombardier)- Richard 'Dick' Nelson
(Radio Operator) และ Morris Jeppson (weapon test officer).


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:53

            ส่วน Capt. Robert A Lewis ผู้เป็น co-pilot ในเช้าวันนั้นได้บรรยายความรู้สึก
นึกคิดในปูมบันทึกการบิน(logbook) ของปฏิบัติการครั้งนี้(แบบดรามา) ไว้ว่า

            วันที่ 6 สิงหาคม  0815 นาฬิกา คือเวลาหย่อนระเบิดลงฮิโรชิมา ระเบิดแตกตูม
ในเวลาหนึ่งนาทีต่อมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:54

             นาทีต่อจากนี้ไปจะเกิดอะไร ไม่มีใครคาดคิดได้.. แสงแวบจ้าน่าหวั่น สิบห้าวินาที
หลังจากนั้น เกิดความป่วนปั่นสั่นสะเทือน(air turbulence) อย่างชัดเจนขึ้นสองครั้ง นี่คือ
ผลทางด้านกายภาพทั้งหมดของระเบิดที่มาถึงเราให้รับรู้ได้

ส่วนผลทางด้าน(ความรู้สึกนึกคิด) จิตใจนั้น เขาเล่าต่อไปว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:55

              เราหันตัวเครื่องบินเพื่อมองผลงาน เบื้องหน้าสองตาเราคือภาพการระเบิดที่รุนแรงที่สุดเท่าที่
มนุษย์เคยทัศนา ครึ่งหนึ่งของตัวเมืองถูกปกคลุมด้วยกลุ่มควัน แท่งเมฆสีขาวพวยพุ่งสูง 30,000 ฟุต
ภายในเวลาไม่ถึง 3 นาที จากนั้นทะยานต่อสู่ความสูง 50,000

          ผมแน่ใจว่า ลูกเรือทุกคนต่างรู้สึกว่าประสบการณ์ครั้งนี้มันมากล้นเกินจินตนาการของมนุษย์
คนไหนจะไปถึง เกินความสามารถจะเข้าใจ พวกเราได้ฆ่าคนไปมากเท่าไรกันนี่ โดยความสัตย์ ผมเกิด
ความรู้สึกหรือความคิดที่จะค้นหาคำอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น หรือ
         
                   I might say my God, what have we done?


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:56

             หากผมมีอายุยืนถึงหนึ่งร้อยปี ผมก็จะไม่มีวันสามารถลบภาพช่วงเวลาสามนาทีนี้ไปจากใจได้

เมฆมหึมามวลนั้นยังคงมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แม้เมื่อบินออกจากเป้าหมายมาได้หนึ่งชั่วโมงครึ่งแล้ว
ที่ระยะห่างไกล 400 ไมล์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:57

หนึ่งในคลิปสารคดี ระเบิดปรมาณูถล่มฮิโรชิมา

           
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 10:59

            หลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้วพอลพา Enola Gay บินกลับฐานโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่ฮิโรชิมา, บันทึกบางส่วนของประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกเล่าว่า

            40 วินาทีหลังคลอด ลูกน้อยก็ปลดปล่อยพลังงานระเบิดเทียบเท่า TNT ขนาด 15,000 ตัน
ที่ระดับความสูง 600 ม.เหนือพื้นดิน เกิดเป็นลูกไฟขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ม. แทบจะในทันที
            ระดับนี้คือตำแหน่งที่จะก่อให้เกิดการทำลายล้างอย่างสูงสุด ต่ำลงไปพลังระเบิดจะเสียเปล่า
ไปในการกระแทกขุดหลุมบนพื้นดิน

            พลังงานมหาศาลที่เจ้าหนูปรมาณูยูเรเนียมปลดปล่อยออกมา 15% เป็นกัมมันตรังสี
(5% เป็นการแผ่รังสีช่วงแรก 10% เป็นส่วนที่เหลือ) 35% เป็นคลื่นความร้อน และที่เหลือ
50% เป็นแรงระเบิด

ภาพแบบจำลองจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Hiroshima Peace Memorial Museum(HPMM)
ลูกกลมสีแดงคือตำแหน่งลูกน้อยระเบิดเหนือฮิโรชิมา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:00

            การจุดระเบิดกำเนิดประกายแสงแรงจ้าขนาดตาบอดและลูกไฟยักษ์ที่ร้อนเร่าเกือบเทียบ
เท่าอุณหภูมิผิวดวงอาทิตย์(5,600 องศา) ด้วยอุณหภูมิ 4000 องศา รังสีและความร้อนแผ่กระจาย
ออกทุกทิศทางระเหิดระเหยชีวิตและแผดเผาหลอมละลายอาคารสถานบ้านเรือน พร้อมแรงระเบิด
กระแทก ผลาญทำลายเมืองเก่าแก่ 400 ปีให้ราพณาสูร
               กองบัญชาการทหารอันดับสองถูกทำลายล้าง รวมทั้งอาคารในระยะรัศมี 4 กม.

ซากบริเวณสะพาน Aioi เป้าหมาย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 ส.ค. 14, 11:01

ground zero(hypocenter) บริเวณพื้นผิวโลกตรง(ด้านใต้) ตำแหน่งระเบิด
ถ่ายในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง