เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 19039 ฮิโระชิมะวิปโยค โลกไม่ลืม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 09:30

รวมภาพเมฆควันรูปเห็ด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 09:32

.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 09:33

ภาพจากฮิโรชิมาที่สะเทือนใจที่สุด


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 17:48

เจอภาพวาดก็สะเทือนอารมณ์มากพอแล้ว เจอรูปเด็กน้องคุณ SILA เข้าไป ยิ่งอึ้ง  ลังเล
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 19:52

ทิชชู่หมดไปหลายห่อแล้วค่ะ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 20:17

     เรื่องนี้เป็นโศกนาฎกรรมระดัยของโลก  นอกเหนือจากการสังหารยิวหกล้านคนด้วยฝีมือทหารของฮิตเลอร์     ถ้าพิจารณาจากสาเหตุและผลแล้ว    ชะตากรรมของชาวฮิโระชิมะเป็นผลสุดท้ายของเหตุอันยาวนานเกิน 10 ปีก่อนหน้านี้  อันได้แก่นโยบายการเมืองของญี่ปุ่น ที่ตั้งใจจะขยายแสนยานุภาพเป็นเจ้าแห่งเอเชีย
     สงครามไม่ว่าทำกับจีน หรือเกาหลี   ล้วนแล้วแต่ก่อผลตามมาที่เจ็บปวดแสนสาหัสแก่พลเมืองที่พ่ายแพ้ญี่ปุ่น   เช่นสงครามในนานกิง 
     สุดท้ายคือการเหยียบจมูกเสือ  ที่เกิด ณ เพิร์ล ฮาเบอร์  ทำให้อเมริกากระโจนเข้ามาเป็นคู่แค้นของญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว     การชิงชัยด้วยระเบิดปรมาณูจึงเป็นบทสุดท้ายที่น่าเศร้าสลดที่สุด

    ดิฉันเคยเรียนบทกวีว่าด้วยการทิ้งระเบิดลงเมืองนี้    แต่เสียดายว่ามันนานเต็มทีเลยจำชื่อจำเรื่องไม่ได้ จำได้แต่ผู้แต่งบอกว่า นักบินคนหนึ่งในจำนวนที่บินไปทิ้งระเบิด ฝันร้ายและพร่ำร้องแต่สัญญาณการทิ้งระเบิด     แต่ไม่ใช่ตัวนักบินที่อยู่มาจนชรา เพิ่งตายไปไม่นานมานี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 21:39

แอนดี แอนเดอร์ ทหารผ่านศึกอเมริกัน รำลึกถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองว่า

ในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ เขาเป็นพนักงานประจำเครื่องรับส่งวิทยุในเรือรบยูเอสเอส มอร์ริส และในวันนั้น เรือรบยูเอสเอส มอร์ริสถูกโจมตีด้วยเครื่องบินญี่ปุ่นปฏิบัติการฆ่าตัวตาย หรือกามิกาเซ อันลือเลื่องของญี่ปุ่น

แอนดี เล่าว่า ในวันนั้นมีทหารเรือ และพลประจำการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวน ๖๘ นาย

สามเดือนต่อมา ในวันที่ ๖ และ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ อเมริกาก็ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘

แอนดี กล่าวว่า ในทันทีที่สงครามยุติลง หลังการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ เขาก็รู้สึกยินดีและสะใจกับการใช้ระเบิดนิวเคลียร์

ทว่าต่อมาหลังปี ๒๔๘๘ ความรู้สึกของเขาต่อการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่น ก็เปลี่ยน

ปัจจุบัน แอนดี เป็นสมาชิกของกลุ่มทหารผ่านศึกเพื่อสันติภาพ (Veterans for Peace) เขากล่าวถึงสงครามว่า “สงครามเป็นความบ้าคลั่งไม่ว่าจะมองในแนวใด”

วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ แอนดี เป็นผู้อ่านประกาศของนายกเทศมนตรีเมืองดูลูท คือ ดอน เนสส์ ให้วันที่ ๖-๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นวันร่วมรำลึกถึงการทิ้งระเบิดใส่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

แอนดี กล่าวถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิว่า “อย่างแน่นอน เราจำเป็นต้องทดลองมัน แต่เราต้องทดลองเพื่อดูว่ามันจะฆ่าคนได้มากแค่ไหนหรือ?” และกล่าวถึงการทิ้งระเบิดที่ญี่ปุ่นว่า “ถ้าจำเป็นจะต้องทำ ก็น่าจะเป็นการแสดงฤทธิ์เดชของระเบิดนิวเคลียร์ก็พอ โดยการไปทิ้งใส่เกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ใกล้ญี่ปุ่น”

การตัดสินใจทิ้งระเบิดใส่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เกิดจากฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์สงครามของสหรัฐอเมริกา หลังการยกพลขึ้นยึดเกาะอิโวจิมา และโอกินาวา ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งมีการสูญเสียอย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งการประกาศสู้ตายของคนญี่ปุ่นทั้งประเทศ ที่จะต่อต้านกองทัพสหรัฐ จนกระทั่งถึงคนสุดท้าย ทำให้ฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์สหรัฐบอกอดีตประธานาธิบดีสหรัฐขณะนั้น คือ แฮร์รี ทรูแมน ว่าจะต้องสูญเสียกำลังฝ่ายสหรัฐเอง เป็นจำนวนหลายแสนคน ถ้าจะยกพลบุกยึดญี่ปุ่นให้ได้

แต่สำหรับ แอนดี เขาเชื่อว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่นเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์การเมือง ที่สหรัฐอเมริกาต้องการแสดงเพื่อข่มสหภาพโซเวียตมากกว่า  เพราะสหภาพโซเวียตขณะนั้น กำลังก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจคู่แข่งของสหรัฐอเมริกาอย่างเด่นชัด!

จาก ๖๓ ปีรำลึกฮิโรชิมาและนางาซากิ โดย ชัยวัฒน์ คุประตกุล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 09:51

สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเป็นบทเรียนและแก้ไขมิให้เกิดขึ้นอีก มิใช่ศึกษาแล้วเกิดการแค้นเคืองจ้องตอบโต้กันไม่รู้จบอย่างหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ฉบับนี้

บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ จุงอัง อิลโบ ฉบับภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๕๖) ชี้ว่า ระเบิดปรมาณู ๒ ลูกซึ่งเครื่องบินสหรัฐฯทิ้งลงสู่ฮิโรชิมาและนางาซากิ เมื่อปี ๑๙๔๕ และสังหารพลเมืองญี่ปุ่นไปกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คนนั้น “สมควรแล้ว”
      
“บ่อยครั้งที่พระเจ้าทรงยืมมือมนุษย์ให้สนองตอบความชั่วร้ายของมนุษย์ด้วยกัน” สื่อฉบับนี้บอก โดยแจกแจงถึงกิจกรรมอันเหี้ยมโหดต่าง ๆ ของ “หน่วย ๗๓๑” (Unit 731) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยลับที่ญี่ปุ่นนำเชลยสงครามจำนวนมากมาย มาเป็นหนูทดลองอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
      
“เสียงกรีดร้อง (ของเชลยในห้องทดลอง) ดังก้องไปถึงสวรรค์ หลังจากนั้น ลูกระเบิดจึงร่วงพรูลงจากฟ้าสู่กรุงโตเกียว ส่วนฮิโรชิมาและนางาซากิก็ถูกทำลายด้วยระเบิดปรมาณู” จุงอัง อิลโบ ระบุ

บทบรรณาธิการดังกล่าวชี้ด้วยว่า ระเบิดกว่า ๓,๙๐๐ ตันที่เครื่องบินของกองทัพสหรัฐฯและอังกฤษทิ้งปูพรมใส่เมืองเดรสเดน ของเยอรมนี และระเบิดปรมาณู ๒ ลูกที่ใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมากับนางาซากิ คือ “บทลงโทษจากสวรรค์ และการแก้แค้นของมนุษย์” ทั้งนี้กรณีของเดรสเดนเป็นการตอบแทนความชั่วร้ายของกองทัพนาซีที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ส่วนที่ญี่ปุ่นก็คือการแก้แค้นให้แก่ชาวเอเชียที่ต้องตกเป็นเหยื่อลัทธิชาตินิยมทหาร
      
ทางด้าน โยชิฮิเดะ สุกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหัวหน้าโฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ตำหนิข้อคิดเห็นดังกล่าวนี้ในสื่อเมืองโสมว่า “น่าอัปยศอดสู”
      
“เราขอประท้วงคณะเจ้าหน้าที่ของ จุงอัง อิลโบ อย่างรุนแรง... ญี่ปุ่นเป็นชาติเดียวในโลกที่เคยสัมผัสความโหดร้ายของระเบิดปรมาณู และเราจะไม่ให้อภัยต่อคำพูดเช่นนี้เป็นอันขาด” สุกะ แถลงต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงโตเกียว วันนี้ (๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖)

จุงอัง อิลโบ ยังกล่าวหาว่า รัฐบาลญี่ปุ่นและนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ไม่เคยยอมรับว่ากองทัพจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นเคยล่วงละเมิดพลเมืองชาติอื่นอย่างโหดร้ายที่สุด และเตือนทิ้งท้ายว่า “พระเจ้าอาจเห็นว่าบทลงโทษที่ญี่ปุ่นได้รับยังไม่สาสมพอ”
      
บทบรรณาธิการชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างโตเกียวกับโซลกำลังตึงเครียด จากคำพูดของ โทรุ ฮาชิโตะ นายกเทศมนตรีเมืองโอซากา ซึ่งออกมาแก้ต่างแทนประเทศของตัวเองว่า การเกณฑ์สตรีเป็นทาสบำเรอกามแก่ทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้นคือสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพ
      
นักประวัติศาสตร์กระแสหลักระบุตรงกันว่า มีสตรีราว ๒๐๐,๐๐๐ คนจากเกาหลี, จีน, ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่น ๆในเอเชีย ถูกญี่ปุ่นเกณฑ์มาเป็น “สตรีเพื่อการผ่อนคลาย” (comfort women) ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา
      
จีนและเกาหลีใต้ยังขุ่นเคืองพฤติกรรมของ ส.ส.ญี่ปุ่นที่แห่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุกุนิในกรุงโตเกียวเป็นประจำทุกปี โดยศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาดวงวิญญาณชาวญี่ปุ่น ๒.๕ ล้านคนที่เสียชีวิตในสงครามครั้งต่าง ๆ รวมถึงอดีตผู้นำเมืองปลาดิบ ๑๔ คนในยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ถูกศาลฝ่ายสัมพันธมิตรตัดสินให้เป็นอาชญากรสงคราม

ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวภาษาอังกฤษจาก Korea JoongAng Daily

อเมริกาในสายตาของหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ฉบับนี้เป็นดั่งตัวแทนของพระเจ้า ในขณะที่ในสายตาของแอนดี แอนเดอร์ ทหารผ่านศึกอเมริกัน คงเป็นในทางตรงกันข้าม   เศร้า

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:15

           ขอเปลี่ยนอารมณ์ด้วยภาพสวยๆ จากการ์ตูนมังงะ, อะนิเมะ  อิงเหตุการณ์ฮิโระชิมะวิปโยค
เรื่อง Barefoot Gen ที่เพิ่งฉลองครบ 40 ปีไปเมื่อปีที่แล้ว
          เป็นภาพตอนจบอย่างมีความหวังแม้ว่าฉากหลังจะเป็นยามอาทิตย์อัสดง(ไม่ใช่แดนอาทิตย์อุทัย
rising sun)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:17

เงาอดีตอันโหดร้ายจางลงตามกาลเวลาแต่ยังไม่ลบเลือนเหมือนแผลเป็น เหลือไว้เพื่อ
เตือนความหลังครั้งนั้นให้จดจำไว้เป็นบทเรียน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:18

เหตุแห่งการตัดสินใจใช้ระเบิดปรมาณูเป็นประเด็นให้วิพากษ์วิเคราะห์ยืดยาวนาน(อ่านไม่ไหว)
       
อ้างถึง
“ถ้าจำเป็นจะต้องทำ ก็น่าจะเป็นการแสดงฤทธิ์เดชของระเบิดนิวเคลียร์ก็พอ
โดยการไปทิ้งใส่เกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ใกล้ญี่ปุ่น”

(ไม่เห็นด้วยกับการเข่นฆ่าประชาชน แต่เห็นว่า) ญี่ปุ่นซึ่งเหลิงหลงอำนาจในตอนนั้นคงไม่หวั่นไหว
ขนาดฮิโรชิมาราบไปแล้วญี่ปุ่นก็ยังไม่ประกาศยอมแพ้

            3 วันต่อมา ในวันที่ 9 สิงหาคม 1945 ระเบิดปรมาณูลูกที่สองนามว่า ชายอ้วน Fat Man
ก็ได้ถูกหย่อนลงที่นางาซากิ เป็นการปิดมหากรรมสงครามโลกลงในที่สุด

(บางคนบอกว่า ถ้าญี่ปุ่นรู้ว่านี่คือระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย คงจะสู้ต่อไปไม่ยอมแพ้)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:20

ส่งท้ายด้วยภาพติดตาประทับใจจากนางาซากิ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:26

ที่จะนำเข้าสู่บทเพลงเก่า เล่าอดีต เพลงต่อไป

                 He Ain't Heavy, He's My Brother 

       

ที่ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5984.new#new
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 10:29

ปล. ขอแก้คำ(พิมพ์)ผิด ครับ

ในคห. 64 ของกระทู้นี้

           รูปของคุณปู่ช่างภาพกับคุณย่านั้นเป็นปี 1995 (พิมพ์ผิดเป็น 1955)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 03 ก.ย. 14, 11:35

เรื่องของการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโระชิมะ หากจะไม่กล่าวถึงเรื่องของ ซะดะโกะ ซะซะกิ และ นกกระเรียนพันตัว ก็คงจะจบลงอย่างไม่สมบูรณ์

“นกกระดาษนั่นจะทำให้ฉันหายป่วยได้ ยังไง” ซะดะโกะถาม ชิซุโกะเพื่อนสนิทซึ่งมาเยี่ยมเธอที่โรงพยาบาลพร้อมด้วยนกกระเรียนที่พับขึ้นจากกระดาษสีทอง  
    
“เธอจำตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเรื่องนกกระเรียนไม่ได้หรือว่าเขาเชื่อกันว่า .. นกกระเรียนนั้นมีอายุถึงพันปี ถ้าหากว่าคนที่ป่วยสามารถพับนกกระเรียนได้ถึงพันตัว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้คนนั้นกลับมามีสุขภาพแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง”  
    
ชิซุโกะยื่นนกกระเรียนให้ซะดะโกะแล้วบอกว่า
  
“นี้คือนกกระเรียนตัวแรกของเธอ”  
  
เด็กน้อยซาบซึ้งใจกับความปรารถนาดีของเพื่อน หลังจากนั้นซะดะโกะก็เริ่มต้นพับนกกระเรียนของเธอ พร้อม ๆ กับอธิษฐานว่า “ขอให้ฉันหายป่วย” แต่ซะดะโกะไม่หายจากอาการป่วยและไม่สามารถพับนกกระเรียนกระดาษได้ครบหนึ่งพันตัวนั่นคือ เรื่องราวของซะดะโกะกับนกกระเรียนพันตัวซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๖๐ ปีมาแล้ว แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงไร เรื่องของเด็กผู้หญิงคนนี้กับสิ่งที่เธอทำก็ยังไม่เคยเลือนหายจากความทรงจำของผู้คนทั่วโลก
  
 
ซะดะโกะ ซะซะกิ เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่เมืองฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ขณะที่ซะดะโกะได้ ๒ ขวบ เครื่องบินของกองทัพสหรัฐอเมริกาก็ทิ้งระเบิดปรมาณูลงมาที่เมืองฮิโระชิมะ อีก ๑๐ ปีให้หลัง ซะดะโกะก็กลายมาเป็นอีกคนหนึ่งที่เจ็บป่วยด้วยอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ซึ่งเป็นพิษภัยจากระเบิดนิวเคลียร์นั่นเอง หลังจากที่ต้องต่อสู่กับโรคร้ายนี้อยู่นาน ๘ เดือนเด็กหญิงซะดะโกะก็เสียชีวิตลงในวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ขณะอายุได้ ๑๒ ปี  
  
เมื่อเด็กน้อยผู้ร่าเริงคนที่ตั้งความหวังว่าจะเป็นนักวิ่งที่เก่งกาจต้องมาใช้ชีวิตอยู่บนเตียงโรงพยาบาล ซะดะโกะต่อสู่กับโรคร้ายด้วยความเข้มแข็ง ในจิตใจของเธอเปี่ยมด้วยความหวังว่าตัวเองจะต้องหายจากอาการป่วย เธอมุ่งมั่นที่จะพับนกกระเรียนกระดาษให้ครบหนึ่งพันตัวตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นโบราณที่เล่าขานต่อ ๆ มา  
  
เด็กหญิงซะดะโกะเสียชีวิตขณะที่เธอพับนกกระเรียนได้ ๕๔๔ ตัว ในวันประกอบพิธีศพ เพื่อน ๆ ของเธอร่วมกันพับอีก ๓๖๕ ตัว ให้ครบหนึ่งพันแล้วจะนำไปฝังพร้อมกับร่างของซะดะโกะ  
  
อาจจะด้วยสิ่งที่เพื่อน ๆ ช่วยกันทำนั่นเอง จึงช่วยให้คำอธิษฐานของเธอเป็นจริงได้ เพราะจนถึงวันนี้ซะดะโกะก็ยังคงมีชีวิตอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วโลกเสมอมา ในปี ๒๕๐๑ อนุสาวรีย์ของซะดะโกะ ก็สร้างสำเร็จและนำไปตั้งไว้ที่สวนสันติภาพของเมืองฮิโระชิมะ รูปปั้นที่สร้างจากหินแกรนิตเป็นรูปของเด็กหญิงซะดะโกะยืนอยู่บนสวรรค์ ในมือที่เหยียดชูขึ้นสูงเป็นรูปนกกระเรียนสีทอง อนุสาวรีย์ของซะดะโกะนี้ไม่เพียงเพื่อซะดะโกะ แต่เพื่อเธอเป็นอนุสรณ์ให้ชาวโลกตระหนักถึงพิษภัยของสงครามทุกปี เมื่อถึงวันที่ ๖ สิงหาคม ซึ่งนับเป็นวันสันติภาพผู้คนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางมาพร้อมกับนกกระเรียนกระดาษมาวางไว้หน้ารูปปั้นของซะดะโกะเพื่อระลึกถึงเธอ และเพื่อภาวนาให้สันติภาพเกิดขึ้นในโลก  
  
เรื่องราวของซะดะโกะถูกนำเสนอผ่านหนังสือ และสื่ออื่น ๆ แต่ที่เป็นที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือหนังสือเรื่องซะดะโกะกับนกกระเรียนพันตัว หรือ Sadako and the Thousand paper Cranes ของ อีลวีนอร์ โคเออร์ สตรีชาวแคนนาดา ผู้ลุ่มหลงวัฒนธรรมของญี่ปุนอย่างยิ่ง โคเออร์เขียนเรื่องราวของซะดะโกะขึ้นจากหนังสือชื่อ โคเออร์ ซึ่งเพื่อนนักเรียนของซะดะโกะนำจดหมายและบันทึกของเธอมารวมเป็นเล่มชื่อหนังสือว่า ซะดะโกะกับนกกระเรียนพันตัว ตีพิมพ์ครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในปี ๒๕๒๐ ปัจจุบันถูกตีพิมพ์เป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย  
  
วรรณกรรมเรื่องซะดะโกะกับนกกระเรียนพันตัวกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงพิษภัยของสงครามและทำให้การพับนกกระเรียนกระดาษ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวญี่ปุ่นเป็นการอธิฐานเพื่อให้ผู้คนหายจากอาการเจ็บป่วยรวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องหาสันติภาพอีกนัยหนึ่งด้วย  
  
สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ไปเยือนอนุสาวรีย์ของซะดะโกะที่สวนสันติภาพของเมืองฮิโระชิมะ ก็จะได้พบว่า มีถ้อยจำกินใจจารึกไว้ที่ฐานของรูปปั้นเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า

これはぼくらの叫びです これは私たちの祈りです 世界に平和をきずくための

“นี่คือคำร้องขอของเรา นี่คือคำภาวนาของเรา สันติภาพจงบังเกิดขึ้นบนโลก”


จาก เว็บโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์


    
    


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง