เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4035 นักเรียนหญิงสอบได้ที่1 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 ?
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


 เมื่อ 12 ส.ค. 14, 18:41

จากหนังสือชุด เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

มีนักเรียนหญิง ๔ คนลงสนามสอบพร้อมกับนักเรียนชายในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ เป็นที่ตกตะลึงของกระทรวงธรรมการ  ที่นักเรียนหญิงสอบได้ที่หนึ่งของประเทศ

อยากทราบว่านักเรียนหญิงทั้งสี่ชื่ออะไรบ้างคะ  แล้วหลังจากนั้นได้ทำงานสมกับความสามารถหรือไม่คะ  เพราะเท่าที่ทราบผู้หญิงสมัยนั้นทำงานรับราชการแบบผู้ชายไม่ได้ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ส.ค. 14, 18:47

ข้อนี้ไม่ทราบจริงๆและยังไม่ได้ไปค้นหนังสือ     คุณเพ็ญชมพู คุณ siamese และท่านอื่นๆ พอจะช่วยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 07:17

น่าจะเป็นเรื่องเข้าใจผิดมากกว่าครับ  เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๖ แม้ผู้หญิงจะมีโอกาสได้เล่าเรียนตามแผนการศึกษา ๒๔๕๖  แต่หลักสูตรสำหรับนักเรียนชายหญิงก็แยกจากกันโดยเด็ดขาด  และการเรียนก็แยกกันจึงไม่มีโอกาสที่จะมาสอบแข่งขันกันได้  นักเรียนชายหญิงมีโอกาสเรียนปนกันเฉพาะชั้นประถมที่เปิดสอนเพียงประถม ๑ - ๓ เท่านั้น  เมื่อขึ้นชั้นมัธยมต้องแยกกันเรียน  เพิ่งจะมาเรียนปนกันในชั้นเตรียมอุดมศึกษาก็ล่วงเข้า พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้ว

ส่วนที่ว่านักเรียนหญิง ๔ คน สอบแข่งกับนักเรียนชายนั้นน่าจะเป็นกรณีที่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชืนีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนเล่าเรียนส่วนพระองค์ส่งข้าหลวงในพระองค์ ๔ คน จำชื่อได้เพียง ขจร  ทับเป็นไทย (ท่านผู้หญิงขจร  ภะรตราชา) ออกไปเล่าเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นพร้อมมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอีก ๔ คน คือ ม.ร.ว.โป้ย  มาลากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  กับอีก ๒ ท่านจำชื่อไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 08:25

ส่วนที่ว่านักเรียนหญิง ๔ คน สอบแข่งกับนักเรียนชายนั้นน่าจะเป็นกรณีที่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชืนีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนเล่าเรียนส่วนพระองค์ส่งข้าหลวงในพระองค์ ๔ คน จำชื่อได้เพียง ขจร  ทับเป็นไทย (ท่านผู้หญิงขจร  ภะรตราชา) ออกไปเล่าเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นพร้อมมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอีก ๔ คน คือ ม.ร.ว.โป้ย  มาลากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  กับอีก ๒ ท่านจำชื่อไม่ได้ครับ

นอกจากท่านผู้หญิงขจรแล้ว อีก ๓ ท่านคือ แม่พิศหลานท่านผะอบ แม่นวลซึ่งมีป้าอยู่ห้องเครื่อง และแม่หลีซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของข้าหลวงพระองค์นารี  

      เหตุที่ท่านผู้หญิงได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับพระราชทานทุนไปศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่นสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์

ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร  ระหว่างเสด็จกลับจากการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  

ได้เสด็จประพาสประเทศญี่ปุ่นและทรงเห็นความก้าวหน้าของหัตถกรรมและศิลปะญี่ปุ่น  จึงมากราบบังคมทูล  และรับสั่งว่า

ถ้าสมเด็จแม่มีเด็กที่มีแววทางนี้ก็น่าจะส่งให้ไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น  เมื่อเรียนจบกลับมาแล้วจะได้มาสอนคนไทยบ้าง

สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นชอบในพระราชดำริ  จึงทรงเลือกกุลสตรี ๔ คน มี แม่พิศหลานท่านผะอบ   แม่นวลซึ่งมีป้าอยู่ห้องเครื่อง

แม่หลีซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของข้าหลวงพระองค์นารี  และ ท่านผู้หญิง
   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ได้ทรงเลือกมหาดเล็กของพระองค์

๔ ​คนให้เดินทางไปศึกษาด้วย          ท่านผู้หญิงกับคุณพิศไปเรียนวิชาปักสะดึงและวาดเขียนแบบญี่ปุ่น   คุณหลีกับคุณนวลไปเรียนการทำดอกไม้แห้ง

ออกเดินทางประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๖    สมเด็จพระพันปีหลวงได้ทรงฝากให้เดินทางไปกับ นาย โทคิชิ  มาซาโอะ(นายเมาเซา) และภรรยา

นายเมาเซา  รับราชการเป็นที่ปรึกษาในกระทรวงยุติธรรม  เป็นผู้เริ่มให้ญี่ปุ่นยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในไทย   ต่อมาได้รับพระราชทาน

บรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยามหิธรมนูปกรณโกศลคุณ

       การเดินทางไปญี่ปุุ่นสมัยนั้นมีอยู่ทางเดียวคือโดยเรือเดินสมุทรซึ่งใช้เวลาเกือบหนึ่งเดือน   ต้องไปขึ้นฝั่งที่ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้  แล้วไปขึ้นฝั่งที่โยโกฮามา

แล้วขึ้นรถไฟต่อไปยังกรุงโตเกียวไปพักอยู่กับครอบครัวญี่ปุ่นซึ่งเป็นทั้งครูและผู้ปกครอง

       ในตอนเช้าท่านผู้หญิงเดินไปโรงเรียนเพื่อเรียนภาษาญี่ปุ่น  แล้วกลับมากินอาหารกลางวันที่บ้าน   ในตอนบ่ายจะไปเรียนวิชาพิเศษที่บ้านครู

บางวันไปเรียนวาดเขียน  บางวันไปเรียนปักสะดึง    บ้านครูพิเศษนี้อยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับโรงเรียน   ต้องเดินไปไกลพอใช้   ในฤดูที่อากาศดี

ก็ไม่ลำบาก  แต่ถ้าฝนตกหรือหิมะตกและต้องเดินเท้าแบบญี่ปุ่นยำ่หิมะก็ทุลักทุเล

       เมื่อท่านผู้หญิงอยู่ญี่ปุ่น  ท่านเป็นที่นิยมรักใคร่ในแวดวงของท่าน    เขาตั้งชื่อญี่ปุ่นให้ท่านว่า  ฮานาโซนะ  ยูริโกะ  แปลว่า  ดอกลิลลี่(ว่าน)ในสวนดอกไม้

เห็นจะต้องตามต่อว่า แม่พิศ แม่นวล และแม่หลี ต่อมามีชื่อและสกุลว่ากระไร  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:20

จากซ้ายไปขวา  แม่หลี แม่พิศ แม่นวล และแม่ขจร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:23

นักศึกษาไทยชายหญิง ๘ คนถ่ายภาพพร้อม ดร.มะซะโอะ โทคิจิและภรรยา

ภาพจาก japan-mook.com


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 09:40

ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 11:02

เห็นจะต้องตามต่อว่า แม่พิศ แม่นวล และแม่หลี ต่อมามีชื่อและสกุลว่ากระไร   ยิงฟันยิ้ม

ออกไปเล่าเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นพร้อมมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอีก ๔ คน คือ ม.ร.ว.โป้ย  มาลากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  กับอีก ๒ ท่านจำชื่อไม่ได้ครับ

นักเรียนชายหญิงทั้ง ๘ ท่านนั้น  มีชื่อตามลำดับดังนี้ครับ
นักเรียนหญิง นางสาวพิศ (นางประกาศโกศัยวิทย์ - พิศ  ภูมิรัตน)  นางสาวนวล (ไม่ทราบนามสกุล)  นางสาวหลี (คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์)  นางสาวขจร  ทับเป็นไทย (ท่านผู้หญิงภะรตราชา - ขจร  อิศรเสนา)
นักเรียนชาย หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ  ทวีวงศ์  ม.ร.ว.โป้ย  มาลากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  นายเสริม  ภูมิรัตน (หลวงประกาศโกศัยวิทย์)
 
นักเรียนไทยที่ไปเรียนญี่ปุ่นชุดนี้  เล่ากันมาว่า เป็นเพราะเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖) เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕  ได้แวะประพาสประเทศญี่ปุ่น  และในการเสด็จประพาสครั้งนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ (สนั่น  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) และขุนอนุกิจวิธูร (สันทัด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - พระยาอนุกิจวิธูร) เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจจัดการศึกษาออกไปรอรับเสด็จที่ญี่ปุ่น  ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าฯ ข้าหลวงพิเศษฯ ได้ตรวจการจัดการศึกษาของญี่ปุ่นโดยละเอียดจนสามารถก๊อปปี้แผนการศึกษาของญี่ปุ่นมาทั้งฉบับ  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ คงจะได้ทอดพระเนตรการศึกษาของเยาวชนญี่ปุ่นด้วย  เมื่อเสด็จนิวัติกรุงเทพฯ แล้วจึงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันปีหลวง ขอให้ทรงสั่งนักเรียนหญิงไปเรียนที่ญี่ปุ่น ๔ คน  ในขณะเดียวกันก็ทรงคัดเลือกมหาดเล็กในพระองค์ออกไปเล่าเรียนด้วยทุนส่วนพระองค์อีก ๔ คน  จบกลับมานักเรียนหญิงได้เป็นครูโรงเรียนราชินี  นักเรียนชายคงรับราชการในพระราชสำนัก

นายเสริม และนางสาวพิศ  เมื่อสมรสแล้วมีธิดาคนหนึ่งเป็นนนักเขียนมีชื่อ คือ คุณสุภาว์  เทวกุล

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 17:00

นอกจากส่งทรงคุณข้าหลวงไปศึกษาที่ญี่ปุ่นแล้ว  สมเด็จพระพันปีหลวงยังทรงตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษา  จึงทรงส่งเสริมการศึกาาของพระราชโอรสและข้าราชบริพารเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะการศึกษาสำหรับสตรีซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าไม่จำต้องให้เรียนมาก  เพราะอีกหน่อยก็ต้องไปมีผัว  แตสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นตรงกันข้ามจึงโปรดพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียนและอุดหนุนการสร้างโรงเรียนไว้หลายแห่ง  ซึ่งทำให้เจ้านายฝ่ายใน เช่น พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้เจริญรอยพระยุคลบาทสนับสนุนการศึกษาสำหรับกุลบุตรและกุลธิดาต่อมา
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 17:59

คาดว่าคงมีตอนต่อไป ท่านผู้รู้มาช่วยกันเล่าเพิ่มเติม  เสริมรายละเอียดการศึกษาของผู้หญิงสมัยก่อนอีกแน่ๆ ปูเสื่อรอฟังต่อค่ะ ยิงฟันยิ้ม
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง