เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15448 สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 12:49

ต้องขออภัยคุณเทาชมพูที่ทำให้ต้องลำบาก ด้วยความเข้าใจผิดว่าสามารถยกความคิดเห็นจากระทู้โน้นมาลงกระทู้นี้ได้โดยตรง อย่างไรก็ดีตัวหนังสือที่ยกมาดูจะเล็กไปหน่อย หากขยายขนาด size=10pt ก็จะอ่านง่ายขึ้น

ขยายแล้ว...ว...ว...ว..
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 12:59

ภาพถ่ายทางอากาศ คศ. 1933 ถ่ายบริเวณย่านการค้าของต่างชาติ เมืองกวางตุ้ง


ขอเชิญคุณม้าและคุณหนุ่มถกกันต่อ  ยิ้มเท่ห์

ย่านนี้คือ Shameen ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 14:37

จากรอยอิน

ถนนสิบสามห้าง (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) 
 
 
ถนนสิบสามห้าง

          ถนนสิบสามห้างอยู่ที่บางลำพูด้านวัดบวรนิเวศวิหาร แต่เดิมเป็นคลองเรียกว่า คลองสิบสามห้าง

          ที่มาของชื่อสิบสามห้างนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ได้ทรงฟังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าประทานว่า

          แต่ก่อนนี้เมืองไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ในเอเชีย มีอินเดีย และจีน เป็นต้น โดยใช้เรือใบขนส่งสินค้านานาชนิด เช่น ข้าว ไม้ แร่ ฯลฯ. เมื่อไปถึงเมืองจีนต้องไปหยุดที่เมืองตังเกี๋ย ที่แม่น้ำตรงปากทางเข้าเมืองนั้นและเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองค้าขาย ก็มีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง เรือชาวต่างประเทศที่ไปค้าขาย จะต้องไปจอดที่สิบสามห้างนี้ก่อน ก็คล้าย ๆ กับด่านศุลกากรสำหรับเก็บภาษีและดูแลให้ทำการค้าขาย

          ด้วยเหตุที่พ่อค้าที่เคยนำเรือไปจอดแวะค้าขายที่ตังเกี๋ยคุ้นเคยว่า ด่านแรกที่เรือไปจอดเพื่อติดต่อเรื่องการค้าซึ่งเป็นด่านศุลกากรนั้น เรียกว่า สิบสามห้าง จึงนำชื่อนี้มาใช้เรียกสถานที่ในเมืองไทย บริเวณที่เรือสินค้าเข้ามาจอดเพื่อติดต่อการค้าว่า สิบสามห้าง ด้วย

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 14:51

คุณหนุ่มเดินทางล่วงหน้าไปเมืองไทยแล้ว  ยิงฟันยิ้ม

ขออนุญาตยังอยู่ที่เมืองจีน ถามคุณม้าว่า ย่าน Shameen นี้เป็นย่านการค้าหรือย่านกงสุลและที่อยู่อาศัยของฝรั่ง หรือเป็นทั้งสองอย่าง  ฮืม

เขตต่างชาติที่สำคัญอีกเขตหนึ่งคือตรงที่เขียนไว้ว่า Shamin จีนถูกบังคับให้ยกให้อังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1859 ปลายสงครามฝิ่นครั้งที่ 2



พื้นที่นี้เข้าใจว่าเป็นสถานกงสุลและที่อยู่อาศัยของชาติตะวันตกทั้งหลายครับ ไม่ใช่ย่านการค้า

หลังจากอยู่ที่ Honam ไม่นาน ก็ย้ายไปอยู่ที่ Shameen ครับ (Old factories ไหม้ 1856 ในขณะที่แผนที่ปี 1860 ฝรั่งย้ายไป Shameen แล้ว) เดิม Shameen เป็นสันดอนทรายในแม่น้ำจูเจียง Shameen หรือ Shamin มาจากภาษาจีน 沙面 กว้างตุ้งอ่านว่า ซาหมี่น ครับ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 14:58

                  แต่ก่อนนี้เมืองไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ในเอเชีย มีอินเดีย และจีน เป็นต้น โดยใช้เรือใบขนส่งสินค้านานาชนิด เช่น ข้าว ไม้ แร่ ฯลฯ. เมื่อไปถึงเมืองจีนต้องไปหยุดที่เมืองตังเกี๋ย ที่แม่น้ำตรงปากทางเข้าเมืองนั้นและเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองค้าขาย ก็มีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง เรือชาวต่างประเทศที่ไปค้าขาย จะต้องไปจอดที่สิบสามห้างนี้ก่อน ก็คล้าย ๆ กับด่านศุลกากรสำหรับเก็บภาษีและดูแลให้ทำการค้าขาย

น่าจะหมายถึง เมืองกวางตุ้ง (กวางโจวหรือกวางเจา) มากกว่า   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 15:21


ขออนุญาตยังอยู่ที่เมืองจีน ถามคุณม้าว่า ย่าน Shameen นี้เป็นย่านการค้าหรือย่านกงสุลและที่อยู่อาศัยของฝรั่ง หรือเป็นทั้งสองอย่าง


มาพิจารณาใหม่ ต้องเรียกว่าเป็นทั้งสองอย่างครับ ในแผนที่ขยาย Shameen จาก wiki รายชื่อห้างที่ปรากฏบนเกาะเป็นห้างยุคใหม่หลังยุคสิบสามห้างแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 15:31

ในแผนที่ขยาย Shameen จาก wiki รายชื่อห้างที่ปรากฏบนเกาะเป็นห้างยุคใหม่หลังยุคสิบสามห้างแล้วครับ

แผนที่ Shameen ขยายใหญ่ ประมาณ ค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๒๙  ยิงฟันยิ้ม

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/10/Shameen_Canton.jpg
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 15:57

ปัจจุบันที่กวางเจามีชื่อถนนสิบสามห้าง (สือซันหัง) เป็นที่ตั้งของตลาดสิบสามห้าง (สือซันหัง) ค้าปลีกและส่งเสื้อผ้า โดยเป็นตึกแถวยาวทั้งหมด ๑๓ อาคาร  ตลาดสือซันหัง มีจุดเริ่มต้นจากถนนสือซันหัง เป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบไปด้วยถนนกู่อี่เจีย ถนนสือซันหังโต่วหลานเจีย  ถนนเหอผิงตงลู่  ตลาดสือซันหังเป็นพื้นที่รวมและกระจายสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่และครบครันของนครกวางเจามาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันมีปริมาณการขนส่งสินค้าและจัดส่งในแต่ละวันมากกว่า ๑,๐๐๐ ตัน และปริมาณผู้ค้าส่ง ค้าปลีก รวมทั้งสิ้นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน/วัน จัดส่งและกระจายไปทั่วประเทศจีนในแถบทุกพื้นที่ และส่งออกไปยังต่างประเทศอาทิ ประเทศรัสเซีย ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

ในสมัยราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยจักรพรรดิคังซี ตลาดสือซันหังได้เป็นสถานที่ค้าส่งสินค้า และจัดจำหน่ายสินค้าที่นำเข้ามาจากจากประเทศ แต่ยังไม่ได้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพนัก คงจัดจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่ต้องการจะส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งที่ผลิตในกวางเจา และปักกิ่ง และจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อมีการเปิดใช้ท่าเรือชายฝั่งในสมัยราชวงศ์ชิงและพัฒนาขึ้นเป็นตลาดค้าส่งนับแต่นั้นมา  

ปัจจุบันตลาดสือซันหังมีสิ่งปลูกสร้าง อาคารสำนักงาน ร้านค้าขนาดใหญ่ โดยสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญในบริเวณดังกล่าวได้แก่ อาคารนิวส์ไชน่า ซึ่งเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙  และเปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. ๒๕๔๑ โดยเป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานหรือสำนักงานผู้แทนทางการค้าของกิจการเสื้อผ้าในประเทศจีนจำนวนมาก และยังเป็นที่ตั้งสำนักงานผู้แทนของกิจการแบรนด์หรือการลงทุนจากต่างประเทศประเภทเสื้อผ้าอาทิ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวันและสำนักงานของประเทศอื่น ๆ

ข้อมูลจาก http://www.chineselawclinic.moc.go.th/info/info_detail.php?idcont=30&idcontsub=585

ต้องถามคุณม้าว่า ตลาดสิบสามห้างที่ว่านี้อยู่ในเขต Shameen เดิมหรือเปล่า  ฮืม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 16:26

นั่งยานเวลากลับไปสมัยกรุงธนบุรีที่ส่งทูตไปเมืองจีนโดยขึ้นบกที่กวางเจา มีของขวัญจากพระเจ้ากรุงธนทรงฝากให้นายห้าง ๔ คนของกลุ่มสิบสามห้าง

คุณม้าให้รายละเอียดได้มากทีเดียว

ดังนั้นสิบสามห้างนี้จึงยิ่งใหญ่ร่ำรวยมาก โดยเฉพาะนายห้าง 4 คนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของสิบสามห้างคือ พันจื้อเสียง (潘致祥), หลูกวานเหิง (盧觀恒), อู่ปิ่งเจี้ยน (伍秉鉴) และเยี่ยซ่างหลิน (葉上林)

เหมือนจะเข้าเค้า แต่เปล่าครับ นายห้าง 4 คนนี้ไม่ใช่นายห้างที่ได้รับ “ของขวัญ” จากคณะจิ้มก้องจากสยาม เพราะทั้ง 4 คนนี้ยิ่งใหญ่หลังจากขบวนราชทูตไปถึงสัก 20 ปีเห็นจะได้ นายห้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคที่คณะทูตจากสยามไปถึงเมื่อ พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) คือ พันเจิ้นเฉิง (潘振承) พ่อของพันจื้อเสียง พันเจิ้นเฉิงผู้นี้คือผู้นำสำคัญของสิบสามห้างที่ยื่นฎีกาต่อจักรพรรดิ์เฉียนหลง เสนอจัดระเบียบการค้าต่างชาติในปี ค.ศ. 1761 (พ.ศ. 2304) แต่นายห้าง 4 ห้างจะมีพันเจิ้นเฉิง อยู่ด้วยหรือไม่ ข้อนี้ยังน่าสงสัยอยู่

ข้อมูลสำคัญที่ชี้ตัวนายห้าง 4 ห้าง อยู่ในหนังสือจิ้มก้องและกำไร ของคุณสารสิน วีระผล ซึ่งผมว่าเป็นคู่มือสำคัญเล่มหนึ่งของคนที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์สยาม-จีน (มีฉบับ pdf ให้ download ได้ฟรีในเว็บมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ แต่ฉบับ pdf จะไม่มีส่วนรายการอ้างอิง, บรรณานุกรม และรายการคำศัพท์ ซึ่งผมเห็นว่ามีความสำคัญสำหรับใช้ค้นคว้าต่อไป) หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลว่าฏีกาของ พันเจิ้นเฉิงในปี 1761 นั้นนอกจากเรื่องให้ไว่หยังหัง (คือกงหังสิบสามห้าง) ดูแลการค้ากับชาติตะวันตกแล้ว ยังมีเรื่องให้การค้าบรรณาการจากสยามอยู่ในความรับผิดชอบ (หรือจะเรียกว่าได้สิทธิ์ผูกขาดก็น่าจะได้) ของกงหังที่ชื่อ เปิ่นเจี่ยงหัง (本港行) ด้วย

(ตรงนี้ผมขอแวะข้างทางเรื่องชื่อหน่อยครับ คุณสารสินเขียนคำอ่านไว้ว่า เปิ่นเจี่ยงหัง แต่กำกับตัวจีนเป็น 本港行 ซึ่งควรจะอ่านว่า เปิ่นกั่งหัง ในเว็บ baidu ของจีนก็เขียนว่า 本港行 เหมือนกัน ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น แต่มีตัวอักษรจีนอีกตัวหนึ่งซึ่งไม่ค่อยได้ใช้กันคือ 塂 ซึ่งตัวนี้จะอ่านว่าเจี่ยงครับ ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของกงหังนี้อาจจะเป็น 本塂行 และผมจะขอเรียกชื่อกงหังนี้ตามอย่างคุณสารสินว่าเปิ่นเจี่ยงหังนะครับ)

เปิ่นเจี่ยงหังเข้ามารับผิดชอบการค้าสยามในปี 1761 และล้มละลายในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 ดังนั้นพอจะอนุมานได้ว่าในระหว่างช่วงเวลานี้ เปิ่นเจี่ยงหังเป็นผู้ดูแลการค้ากับสยามมาโดยตลอด ดังนั้นขบวนจิ้มก้องของไทยในคราวนั้นน่าจะอยู่ภายใต้การอำนวยการของเปิ่นเจี่ยงหัง น่าเสียดายว่าไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่า ในปี ค.ศ. 1781 ที่ขบวนจิ้มก้องจากสยามไปถึง นายห้างทั้ง 4 ห้างที่น่าจะเป็นนายห้างที่อยู่ในสมาคมเปิ่นเจี่ยงหังนั้นเป็นใครบ้าง แต่หากย้อนไปถึงหลักฐานในปี 1771 ในปีนั้น เปิ่นเจี่ยงหางประกอบด้วยห้าง 3 ห้าง มีรายชื่อห้าง และเจ้าของดังต่อไปนี้
- หยูซุ่นหัง (如顺行) นายห้างชื่อ หลิวเหอซิน (刘和新)
- อี๋ซุ่นหัง (怡顺行) นายห้างชื่อ ซินสือตวน (辛时端)
- วั่นจวี้หัง (萬聚行) นายห้างชื่อ เติ้งจังเจี๋ย (邓彰杰)

มีความเป็นไปได้สูงว่า นายห้าง 3 ห้างนี้ ถ้ายังมีชีวิตต่อมาอีกสัก 10 ปี น่าจะอยู่ในกลุ่มนายห้าง 4 ห้างที่ได้รับของขวัญจากขบวนจิ้มก้องจากไทยครับ

ซตพ.

ปล. เรื่องสิบสามห้างนี้เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจมาก สมาชิกท่านใดสนใจ กรุณาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ได้เลยครับ เพราะเรื่องน่าจะยาวมากและออกนอกหัวข้อกระทู้ไปไกลเกินไปครับ

คุณม้าพอจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับนายห้างคนอื่น ๆ และชื่อห้างที่รับผิดชอบฝรั่งชาติต่าง ๆ ไหม   ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 09:26

เรื่องของสิบสามห้างเมืองจีนคงต้องฝากคุณม้าให้ช่วยอธิบายรายละเอียดต่อ

สิบสามห้างจากเมืองจีน มาเป็นชื่อถนนสิบสามห้างที่เมืองไทยได้อย่างไร มีอยู่ ๒ คำตอบที่น่าเชื่อถือ

๑. หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีตอนหนึ่งกล่าวถึง "สิบสามห้าง" ดังนี้

"...ด้านตะวันตกพ้นตกพ้นคลองคูวัดออกไปมีตึกก่ออิฐถือปูนชั้นล่าง ขัดแตะถือปูนชั้นบนแถวหนึ่ง เรียกว่า สิบสามห้าง คำว่า สิบสามห้าง นั้น ได้ยินว่าไม่ได้หมายเอาจำนวนส่วนแห่งตึกนั้นที่ทำเป็นมุขยื่นออกมา (แต่) หมายเอาตึกชนิดนี้อันมีในเมืองจีนแห่งใดแห่งหนึ่ง (ซึ่ง) มีจำนวนเท่านั้น ดังมีรูปในกรอบกระจกติดฝา อันส่งเข้ามาขายดื่นในครั้งนั้น...”

ตึกสิบสามห้างนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถนนผ่านหน้าตึกจึงเรียกกว่าถนนสิบสามห้าง ต่อมาปลาย ๆ รัชกาลที่ ๕ ได้รื้อลงสร้างขึ้นใหม่

ตามตำนานวัดบวรฯ ว่าเดิมข้างวัดมีคลองคูจึงน่าจะเข้าใจว่า ต่อมาคลองคูนี้คงจะถมเป็นถนน โดยคงต้นไม้ริมคลองเอาไว้ ถนนสิบสามห้างจึงกลายเป็นถนนกว้าง มีต้นไม้อยู่กลางถนน กลายเป็นเกาะกลางถนนทุกวันนี้ เมื่อมีรถราง รางรถเลี้ยวโค้งขวาตัดหัวถนนไปตามถนนข้างกำแพงวัดที่เคยเป็นคลองคูดังกล่าว

ข้อมูลจาก บทความเรื่อง ถนนสิบสามห้าง "ศรีสำราญ" โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์

๒. หนังสือ "กรุงเทพเมื่อ ๗๐ ปีก่อน" เขียนโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เขียนถึงที่มาของชื่อถนนสิบสามห้างไว้ว่า

"...ที่เรียกว่าถนนสิบสามห้างนั้น จะมีห้าง ๑๓ ห้างหรือไม่ไม่ทราบ แต่เคยพบในหนังสือฝรั่งกล่าวถึงเมืองกวางตุ้ง ว่ามีแหล่งการค้าหนึ่งมีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง ซึ่งภาษาฝรั่งเรียวกว่า Guild (กิลด์) แปลว่าเป็นสมาคมการค้าที่ทำการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ยินว่าที่ถนนสิบสามห้างของเรานี้ เดิมมีตึกรูปร่างเหมือน Guild ในกวางตุ้งที่มี ๑๓ ห้อง ก็เลยเรียกชื่อถนนว่าถนนสิบสามห้าง ตึกเก่านั้นคงรื้อเสียนานแล้ว แต่ชื่อสิบสามห้างยังคงอยู่จนบัดนี้..."

ข้อมูลจาก  ท้องถิ่นบางลำพู

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 09:40

ดังมีรูปในกรอบกระจกติดฝา อันส่งเข้ามาขายดื่นในครั้งนั้น

รูปตึกแถวที่ถนนสิบสามห้างในเมืองจีน ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  อาจจะมีลักษณะเหมือนรูปนี้ เป็นรูปวาดถนนสิบสามห้าง เมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๐ (พ.ศ. ๒๓๘๓) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 09:47

ถนนสิบสามห้างที่กวางเจาในปัจจุบัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 10:15

ถนนสิบสามห้างที่บางลำพู  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 10:36

สิบสามห้างของดั้งเดิม พอจะมีเค้าตึกแถวนี้ได้บ้างไหมหนอ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 13:36

อาจจะเป็นตึกลักษณะนี้ก็เป็นไปได้นะครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง