เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 165196 THE LAW OF PARTNERSHIPS COMPANIES
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


 เมื่อ 04 ส.ค. 14, 21:52

ถ่ายรูปหนังสือกฎหมายภาษาอังกฤษ มาให้พี่ๆเรือนไทยอ่านกันครับ (ปลวกกินปกแล้ว) หวังว่าคงมีประโยชน์ ไม่มากก็น้อย ยิงฟันยิ้ม











 



 



บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 22:08

 





 

 

 

 

 

 

 



บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 22:25

 





 

 

 



 

 

บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 05:26







 

 

 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 09:42

ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย    ถ้าท่านใดพอจะอธิบายถึงหนังสือกฎหมายที่นำลงในกระทู้นี้ ก็จะขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 14:11

หนังสือที่เห็นนี้ น่าจะเป็นฉบับร่างของพะราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 28 ตอน 0ก เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๔

เนื่อความภาษาไทยก็เป็นดังนี้ครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/A/206.PDF

จากความรู้เลือนลางสมัยเรียนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย จำได้ว่า ในสมัยก่อนรัชการที่ 4 กฎหมายไทยจะอยู่ในรูปบทพระอัยการต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งว่ากันมาเอามาจากมอญ ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกทีหนึ่ง ต่อมาเมื่อเรารับเอาวิชากฎหมายมาจากชาติตะวันตก ระบบกฎหมายเราจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีความจำเป็นที่ต้องบัญญัติกฎหมายหลายฉบับเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจการค้าขายสมัยใหม่ๆ ซึ่งเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องบัญญัติเพิ่มขึ้นในช่วงนั้นๆครับ

ทีนี้ เนื่องจากว่า เราต้องการให้กฎหมายเหล่านี้มีมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศตะวันตก เพื่อแสดงว่าสยามเป็นประเทศอารยะอย่างหนึ่ง ประกอบกับการที่กฎหมายเหล่านี้ ไม่ใช่หลักกฎหมายที่เราคุ้นเคย ในการร่างกฎหมายจึงมีการจ้างที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างประเทศมาช่วยงานหลายท่าน ในขั้นตอนการยกร่าง เราจึงมักร่างกฎหมายเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษก่อน เมื่อได้เนื้อความที่สมบูรณ์แล้ว จึงค่อยแปลเป็นภาษาไทยเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง (สมัยเรียนอาจารย์ธงทอง จันทรางศุ ยังชี้ให้ดูว่า กฎหมายบางฉบับ เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ด้วยความเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย ทำให้เนื่อความภาษาไทย สละสลวยยิ่ง อย่างเช่น ในกฎหมายแพ่ง ที่บัญญัติว่า "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก สิ้นสุดลงเมื่อตาย" เป็นต้น) ครับ   
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 15:40

สันนิษฐานเพิ่มเติมต่อไปว่า กฎหมายนี้น่าจะถูกยกเลิกไปพร้อมๆ กับการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา ซึ่งมีการบัญญัติเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ไว้ในลักษณะ ๒๒ ของกฎหมายดังกล่าวด้วย

ผมหาพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ไม่พบครับ พบแต่ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใบบอก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/A/1.PDF
ซึ่งเป็นฉบับแก้คำผิด ในคำปรารภของกฎหมายนี้ ได้กล่าวไว้ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๗ ครับ ถ้าหากฎหมายฉบับนี้เจอ อาจจะได้เห็นว่า มีบทบัญญัติที่ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ด้วยก็ได้ครับ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 16:05

ขอบคุณค่ะคุณ Naris


บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 19:53

 

 

 

 

 



 

 
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 19:55

 

 



 





 

บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 20:01











 

 

-----------------------------------------------------------------

จบแล้วครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง