เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35916 หลุมลึกลับ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 18:44

แล้วน้ำซึมผ่านจนอ่างน้ำแห้งได้อย่างรวดเร็วหรือช้าเพียงใด

ลองสังเกตดูกองดินกองทรายขนาดใหญ่ๆที่ยังชุ่มน้ำ ที่ยังเห็นน้ำซึมออกมาเฉอะแฉะมากมายไปหมด     เราจะเห็นว่า น้ำที่ซึมออกมานั้นมีตะกอนเล็กๆปนออกมาด้วย บางครั้งก็อาจจะเห็นน้ำผุดออกมาคล้ายออกมาจากปลายท่อน้ำ   

ภาพที่เราเห็นนั้นก็คือ การที่น้ำพยายามจะเปิดทางให้ตัวเองไหลเป็นเส้นตรงมากที่สุด มิใช่ไหลหักไปมาตามรูพรุนระหว่างรูปทรงของเศษหินดินทราย   

การพยายามเปิดช่องไหลของน้ำนี้เรียกกันว่าเกิด piping ซึ่งเป็นเรื่องที่วิศวกรสร้างเขื่อนกลัวมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วแก้ไขยากมาก หรือถึงขนาดต้องทิ้งเขื่อนน้้นไปเลยเพราะจะกลายเป็นเขื่อนที่รั่ว กักเก็บน้ำไม่ได้  อันตรายมากไปกว่านั้นก็คือ ทำให้เกิดเขื่อนพังได้เหมือนกัน

end moraine lake ก็เกิดสภาพดังกล่าวนี้ได้เหมือนกัน
ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็กลัวว่ามันจะพังทลายคล้ายเขื่อนพัง ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียค่อนข้างมาก  ดังนั้น การที่มันแห้งไปจึงดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความสะบายใจมากกว่า

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 01 ต.ค. 14, 19:10

ทำให้นึกถึงอีกเรื่องนึง คือ glacier outwash plain   ซึ่งก็คือที่ราบที่เกิดจากน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งไหลบ่าไปในที่ราบพร้อมๆกับตะกอนเม็ดค่อนข้างเล็กหรือละเอียด  ด้วยความเป็นพื้นที่ฉ่ำน้ำ จึงมีวัชพืชเจริญเติบโต พอหน้าหนาวพืชก็ตาย เข้าหน้าอากาศอบอุ่นก็มีตะกอนมาใหม่ วัชพืชก็เกิดงอกใหม่ทับถมอยู่บนตัวมันเอง  นานเข้าก็กลายเป็นชั้นหนาที่มีแต่วัชพืชและตะกอนดินละเอียดทับถมกันอยู่ เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาลมาก มีทั้งแบบที่พื้นดินยังฉ่ำน้ำอยู่ เช่น ในตอนเหนือของแคนาดา และในไซบีเรีย   มีทั้งเป็นแบบพื้นที่ดินแห้งแต่ชุ่มชื้น เช่น ทุ่งราบแพรรี แล้วก็มีแบบที่มีน้ำขังและมีต้นไม้ยืนต้น เช่น พื้นที่ระหว่างเมืองโตรอนโตกับอ็อตตาวาของแคนาดา

ก็ข้ามาถึง คำอีกสองสามคำ คือ peat, peat bog และ bog swamp

วัชพืชที่ทับถมกันจนหนานั้น เมื่อถูกย่อยสลายด้วยแบ็คทีเรียที่ใช้อ็อกซิเจนในการดำรงชีพ ทำให้เกิด peat ซึ่งเป็นแรกเริ่มของกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นถ่านหิน (peat -->bituminus, brown coal -->lignite -->anthracite)  peat นี้แหละครับที่คนในพื้นที่หนาวเหน็บย่านนั้นเขาเอาพลั่วตัดให้เป็นก้อน แล้วยกเอามาวางทับบนหลังคาบ้านและข้างผนังบ้าน เป็นฉนวนกันความเย็น

ในพื้นที่ๆมีวัชพืชสะสมอยู่เป็นชั้นหนาอยู่เช่นกัน แต่ยังคงชุ่มชื้นและฉ่ำไปด้วยน้ำ เรียกกันว่า bog land  พื้นที่ลักษณะนี้ เมื่อจะใช้พื้นที่ก็จำเป็นที่จะต้องระบายน้ำออกไปให้แห้ง  ให้ความรู้สึกที่แปลกดีครับ เดินเหยียบก็รู้สึกสวกๆ เป็นพื้นที่มีสีเขียวสดใสแล้วก็มีผลไม้ลูกเล็กๆสีแดงอยู่กับพื้นหญ้า ก็ผลสตรอเบอรี่นั่นเอง (ประเภทมีกลิ่นหอมแต่ไม่มีรสเลย หรือกินไม่ได้นั่นเอง) เดินข้ามร่องน้ำเล็กๆที่เซาะเพื่อระบายน้ำ ก็เห็นน้ำซึมไหลอยู่ในร่อง  เป็นความรู้สึกที่กลับทางกับที่เราคุ้นเคยมา คือ เราเซาะร่องเพื่อเอาน้ำเข้าพื้นที่ แต่เขาทำเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่

สำหรับพื้นที่ๆฉ่ำน้ำจริงๆจนเห็นผิวน้ำนั้น เรียกกันว่า bog swamp หรือ swamp  เป็นพื้นที่ๆทำการเกษตรไม่ได้เลย นอกจากทำอุตสาหกรรมทำไม้ (ตัดไม้ ปลูกไม้ทดแทน)  พื้นที่นี้มียุงและแมลงดูดเลือดพวกริ้นชุมจริงๆ   จะด้วยตายอดตายอยากช่วงฤดูหนาวที่ยาวนานกระมัง มันไม่กลัวอะไรเลย บินตรงชนแล้วปักปากดูดเลือดอย่างเดียว 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 19:19

ขยายความต่อไปอีกเรื่องนึงครับ

พวกเศษหินดินทรายและตะกอนละเอียดที่ธารน้ำแข็งอุ้มพามาวางกองรวมกันนี้ ยังได้ให้ลายแทงขุมทรัพย์แก่เราอีกด้วย  การสำรวจและศึกษากองตะกอนและลงในรายละเอียดถึงเนื้อในของแต่ละก้อนเศษหิน จากนั้นจึงค่อยๆย้อนกลับไปตามเส้นทางที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ผ่านมา ก็ทำให้ได้พบแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น ทองคำ และ PGE (platinum group elements  ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงพวกธาตุโลหะหนัก_heavy rare earth elements_ที่เรานำมาใช้ใน hardware ของโลก IT ในปัจจุบัน)

เมื่อกองเศษหินดินทรายที่ธารน้ำแข็งอุ้มพามานี้แข็งตัวกลายเป็นหิน ก็จะเรียกว่าหิน tillite    แต่หากเป็นตะกอนละเอียดจากก้อนภูเขาน้ำแข็งละลายแล้วตกลงไปสะสมอยู่พื้นท้องทะเล เรียกว่า ice raft deposits 

นำพาเรื่องมาก็เพื่อจะเล่าเรื่องน่าสนใจของไทยเราครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 19:29

outwash plain


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 03 ต.ค. 14, 19:10

เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการพบเพชรในแหล่งแร่ดีบุกทางภาคใต้ของไทยใหมครับ

ผมจำไม่ได้ว่าที่แหล่งแร่ใดบ้า่ง จำได้แต่ว่าแถวพังงาและภูเก็ต พบในรางล้างแร่ของเรือดูดแร่ขนาดใหญ่  และซึ่งตัวผมเองก็เคยเห็นเพียงไม่กี่เม็ดเท่านั้น

เป็นเรื่องที่รู้และล่าขานกันมานานแล้ว แต่ดูจะไม่มีใครสนใจติดตามมากนัก รวมทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบฯเพื่อติดตามศึกษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจนถึงปัจจุบัน  โดยสรุปก็คือ เราเกือบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับที่มาที่ไปของมันเลย  เดาแบบผู้มีความรู้ทางวิชาการลูกเดียวเลยครับ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 04 ต.ค. 14, 18:37

ขอขอบพระคุณ อ.เทาชมพูอีกครั้งสำหรับภาพประกอบ outwash plain

ภาพนี้ดีมากเลยครับ    ฉากหลังของภาพนี้จะเห็นเหมือนกับภูเขาที่ถูกที่ตักไอซ์ครีมขูดออกไปเป็นร่อง ที่เรียกว่า cirque     ได้เห็นยอดเขาที่เกิดจากการถูกขูดออกไปในทิศทางต่างๆจนกลายเป็นยอดแหลม ที่เรียกว่า horn    ได้เห็นตัวธารน้ำแข็งที่ยังคงอยู่ในร่องระหว่างยอดเขา    ได้เห็นร่องธารน้ำแข็ง ที่เรียกว่า glacier valley และ U shape valley     ได้เห็นกองหินดินทรายที่ธารน้ำแข็งนำมากองรวมกัน (เนินด้านหน้าของภาพทั้สองฝั่ง) ที่เรียกว่า moraine  ซึ่งในภาพนี้น่าจะเป็น side moraine    ได้เห็นที่ราบด้านซ้ายที่มีระดับสูงกว่าที่ราบส่วนที่มีลำธารไหล ซึ่งคือที่ราบจากการที่ธารน้ำแข็งละลาย แล้วน้ำที่ละลายนั้นก็นำพาเอาเศษหินดินทรายสาดกระจายไปทั่วๆ  ที่เรียกว่า outwash plain (ทั้ง 2 ระดับ) ซึ่งเป็นพื้นที่ๆถูกปูด้วย till   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 ต.ค. 14, 18:46

กลับมาเรื่องเพชรในแหล่งลานแร่ดีบุกครับ

ผมรู้สึกว่าจะเสียมารยาทมากไปหน่อยที่อธิบายข้อสงสัยในกระทู้แล้วก็เลยยึดเอากระทู้ของ อ.เทาชมพู มาเป็นเสมือนหนึ่งของตนเอง มาเล่าในเรื่องอื่นๆ

กราบขออภัยจริงๆครับ   แล้วก็จะเลยขออนุญาติเจ้าของกระทู้ เล่าเรื่องเพชรต่อให้จบสิ้นกระบวนความครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 04 ต.ค. 14, 18:59

กำลังจะเข้ามาบอกคุณตั้งว่าสนใจเรื่องเพชรในเหมืองแร่ดีบุกค่ะ อยากฟังต่อ

ส่วนตัวคิดว่า มันอาจมีเพชรเล็กน้อยมาก จนค้นหาแล้วไม่คุ้ม เลยไม่มีใครทำเป็นล่ำเป็นสัน     
คงไม่ใช่ว่า พวกหัวใสรู้แล้วก็ขุดเพชรกันเงียบๆไม่กระโตกกระตากให้พวกเรารู้จนบัดนี้   เหมือนบ่อน้ำมันที่หายไปวันละแสนบาร์เรลนะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 18:33

ถูกของอาจารย์ครับ พบน้อยมาก  พบในรางล้างแร่ แล้วก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาเฝ้าสังเกตุให้ดี จึงจะมีโอกาสได้พบสักเม็ดหนึ่ง  ผมเดาไม่ออกว่าเป็นหนึ่งในจำนวนเม็ดทรายเท่าใดที่ผ่านรางล้างแร่

ความน่าสนใจของเรื่องราวเป็นดั่งนี้ครับ

เพชรที่พบนั้นมีขนาดเม็ดพอๆกับเม็ดทรายหยาบ (ก็เล็กกว่าหัวก้านไม้ขีดไฟ)  มีรูปทรงเป็นผลึกแบบ Octahedral ชัดเจน (ทรงแปดเหลี่ยมเหมือนเอาฐานของปิรามิดสองปิรามิดมาชนกัน) ซึ่งเป็นรูปทรงของผลึกเพชรที่พบในธรรมชาติ

ความน่า่สนใจเรื่องแรก คือ การที่เพชรยังคงรูปทรงที่เป็นผลึกสมบูรณ์     
   ซึ่งดูจะขัดกับการได้พบในแหล่งแร่แบบลานแร่ (placer deposits) เนื่องจากแหล่งแร่ประเภทนี้เกิดมาจากการที่น้ำพัดพาเอาเม็ดแร่ที่หลุดออกมาจากการผุพังของแหล่งต้นกำเนิด นำพามาตกตะกอนรวมกันจนมีความสมบูรณ์มากพอที่จะคุ้มค่าลงทุนทำเหมือง
   กระบวนการพัดพาโดยน้ำไหลนี้ ในระหว่างทางการพัดพามา จะมีทั้งการกระแทก การกลิ้ง การถูกกระทบ ฯลฯ ซึ่งจะยังผลให้เหลี่ยมของผลึกถูกลบไปมากเลยทีเดียว     ถึงแม้ว่าเพชรจะมีความแข็งมากกว่าแร่และหินใดๆก็ตาม ก็คงมิอาจจะทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการนำพามาที่จะทำให้มันยังคงสภาพความสมบูรณ์ได้ดังที่ได้พบ     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 18:41

Octahedral diamond


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 19:05

นำพาไปสู่ความน่าสนใจในหลายๆเรื่องเลยทีเดียว อาทิ  มันน่าจะถูกพัดมาไม่ไกลนักจากแหล่งกำเนิดของมัน  แหล่งต้นกำเนิดนั้นจะอยู่ที่ใดในไทย ?  ในพม่า ?  หรือ อินเดีย/บังคลาเทศ ?    และ ฤาในย่านนี้จะมีหินต้นกำเนิดเพชร (หิน Kimberlite ในเมือง Kimberley ของ S.Africa) ดังที่เป็นแหล่งเพชรสำคัญทั่วโลก

    

    

  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 20:12

รูปผลึกของเพชรของอาจารย์เทาชมพู ทำให้ผมคิดไปถึง คำว่า ราคา (price) กับ คุณค่า (value)

ในความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ผมคงจะชื้อเพชรที่อยู่ในทรงรูปผลึกที่สมบูรณ์ (ซึ่งราคาน่าจะถูกกว่ามาก) แล้วนำไปทำเรือนประกอบเพื่อเปล่งประกายความหายากหรือความสมบูรณ์ของมัน ให้มันมีทั้งค่าและราคาเหมาะสมแก่ตัวของมัน  โดยนัยก็คือ ผมให้ความสำคัญกับ value ในตัวตนของมันมากกว่า price
   
ผมเห็นว่าราคาที่เกิดมาจากการเจียระไน การปรุงแต่งให้มันเปล่งประกายความงามของมันออกมานั้น  ในหลายๆรัตนชาติได้ทำให้ตัวตนเดิมๆหรือคุณค่าของมันหายไปมาก   แต่ก็มีมากมายหลายๆรัตนชาติที่จำเป็นต้องปรุงแต่งมัน มันจึงจะฉายแววความมีค่าและราคาของมันออกมา         

นานาจิตฺตํ ครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 20:29

คุณตั้งคงหมายถึง uncut diamond  เพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย    มันก็สวยไปอีกแบบหนึ่งนะคะ  เลยไปหารูปมาให้ดู
สองรูปบนน่าจะถูกใจคุณตั้ง  ส่วนดิฉันชอบล่างซ้าย
กำไลที่นำมาให้ดู เห็นแล้วนึกถึงเพชรซีกของไทย  ไม่รู้ว่ามันคือ uncut diamond  ประเภทหนึ่งหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 18:43

หากต้องเลือกเอาเพียงวงเดียว อาจารย์ก็เดาใจผมถูก   ที่จริงแล้วก็ชอบทุกวงครับ

สำหรับกรณีที่เรียกว่าเพชรซีกนั้น  เท่าที่ผมได้เคยมีโอกาสสัมผัสและดูด้วยตาเปล่าอยู่บ้าง ผมเห็นว่ามีทั้งที่เป็นเพชรซีกที่เป็น uncut diamond จริงๆ และที่ไม่ใช่เพชรแต่เป็นแร่ชนิดอื่น โดยเฉพาะเป็นแร่ Topaz ที่มีความโปร่งใสแต่ไร้สี 

Topaz นี้ก็คือ บุษราคัม ซึ่งหากมีเนื้อที่มีความบริสุทธิ์ ก็จะคล้ายแก้วใสๆ  แต่ส่วนมากจะพบแบบมีสี เนื่องจากมีธาตุมลทินบางธาตุเกิดร่วมอยู่ในเนื้อ จึงมีหลากสีอีกด้วย   ไทยเราเรียกพลอยในตระกูล Corundum (บรรดาพลอยจันทร์ทั้งหลาย) ที่มีสีออกไปทางเหลืองว่า บุษราคัม   ซึ่งสำหรับผมเห็นว่า แต่เดิมนั้นก็เรียกว่าพลอยน้ำบุษฯ ต่อมาคำว่า น้ำ หายไป เลยกลายเป็นบุษราคัม แล้วก็มีกำกับอีกด้วยว่า ของดีจริงคือ มีสีดั่งน้ำเหล้าแม่โขง     

ผมเดาเอาว่า สมัยก่อนโน้น ภาษาไทยคงจะใช้คำเรียกรวมๆว่า เพชรซีก สำหรับบรรดารัตนชาติเม็ดเล็กๆทั้งหลายที่มีความใสคล้ายแก้ว   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 19:02

ไปดูรูปเพชรซีกในกูเกิ้ล เห็นมีหลายแบบ  บางแบบก็เหมือนเพชรเจียรนัยอย่างหยาบๆ  บางชิ้นก็เหมือน uncut diamond
รูปนี้เขาบรรยายว่าเป็นแหวนเพชรซีกโบราณ     หน้าตาคล้ายๆเพชรขุดขึ้นมายังไม่ได้เจียนะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง