เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35991 หลุมลึกลับ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 21:48

ก่อนอื่น ก็ต้องขออภัยอย่างแรงมากๆ  ด้วยผมได้สลับศัพท์คำว่า หินงอก กับ หินย้อย ด้วยความเผลอเลอเป็นอย่างยิ่ง ทั้งๆที่ต้อง
ท่องจำไว้ตลอดว่า .......tite คือย้อยเหมือนเน็คไทด์   

ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ หินงอก = stalagmite   และ  หินย้อย = stalactite   

ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการตกผลึกของสารละลาย CaCO3 ที่เป็นหยดน้ำ

ความรู้ที่เกี่ยวพันกับการเกิดของหินงอกและหินย้อย ทำให้เรา (ซึ่งคงทราบกันโดยทั่วไปแล้ว) นำมาแก้ปัญหาบางอย่างได้ เช่น ฝ้าที่เกิดขึ้นกับหูจับ ก๊อกน้ำ อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ หม้อน้ำ กาน้ำ เครื่องครัวต่างๆ และของใช้ในห้องน้ำ ฯลฯ ที่เราเรียกว่าคราบตะกรันที่ทำให้อุปกรณ์เกิดฝ้า ไม่เงางดงาม ทั้งที่เกิดบนผิวของสแตนเลสหรือเซรามิกส์ ล้วนแล้วแต่เป็นคราบของหินปูน หรือ calcium carbonate ทั้งสิ้น  ดังนั้น เพียงเราใช้ฟองน้ำชุบน้ำส้มสายชูกลั่น ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ  เช็ดไปมาไม่กี่ครั้ง แล้วเอาน้ำล้าง อุปกรณ์ทั้งหลายก็จะกลับมาฉายความเงามันเช่นเดิม



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 21:58

สำหรับภาพของถ้ำพังที่ อ.เทาชมพู ได้ยกมานั้น  ก็ใช่ครับ   แม้ว่าจะคงยังไม่ถึงระดับที่เรียกว่า collapse cave หรือ cave collapse จริงๆ  แต่ก็แสดงให้เห็นถึงกองหินที่กองอยู่ที่พื้นบริเวณปากทางเข้าถ้ำ ซึ่งก็มากองอยู่ด้วยการพังลงมาทั้งนั้น    

ที่ผมได้กล่าวว่า ถ้ำพังนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ หากเราเข้าไปเที่ยวในถ้ำ แล้วลองสังเกตุดูที่พื้นถ้ำ เรามักจะพบว่ามีก้อนหินอยู่ที่พื้นมากบ้างน้อยบ้าง  นั่นแหละครับ คือ การตกลงมาของหินจากหลังคาถ้ำหรือผนังถ้ำ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 ก.ย. 14, 22:38

สงสัยชาตินี้จะเรียนวิชาธรณีวิทยาไม่ได้เสียแล้ว
พยายามอีกครั้งค่ะ  หินงอกหินย้อย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 19:08

ย้อนกลับไปอ่าน จึงได้พบว่าตัวเองเขียนรวบรัดไปหน่อยครับ

หินงอกและหินย้อย เกิดจากน้ำที่มีสารละลายคาร์บอเนตอยู่ในเนื้อค่อยๆหยดลงมาจากหลังคาถ้ำที่ละหยด  เมื่อที่ส่วนที่เป็นน้ำค่อยๆระเหยไป ก็จะเกิดสภาพมีความเข้มข้นมากขึ้น ยังผลให้เกิดการค่อยๆตกผลึกของแร่แคลไซท์ (Calcite) ทีละน้อย ค่อยๆพอกออกมาทั้งจากจุดที่น้ำหยดลงมา และในจุดที่น้ำหยดลงไป 

เนื่องจากหินงอกและหินย้อยเกิดจากการหยดของหยดน้ำที่มีสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต  ดังนั้น เราจึงพบเป็นภาพปรกติว่า ปลายแหลมของหินย้อยจะอยู่ตรงกันกับยอดแหลมของหินงอกเสมอ   

สำหรับเนื้อในของทั้งหินงอกและหินย้อยนั้นก็คือแร่ calcite ที่มีคุณสมบัติสามารถหักเหแสงให้เห็นเป็นภาพซ้อน _double refraction (เมื่อเรามองผ่านลงไปยังพื้นผิวที่มันวางทับอยู่)   ก็ด้วยเหตุของคุณสมบัตินี้ ผนวกกับพื้นผิวของผลึกที่สะท้อนแสงได้คล้ายกระจกเงา จึงทำให้เกิดแสงระยิบระยับเมื่อกระทบกับแสงไฟ  ถ้ำที่เปิดสำหรับการท่องเที่ยวทั้งหลาย ก็เลยเพิ่มความวิลิศมาหราเข้าไปอีกด้วยการใช้แสงที่มีสีต่างๆส่องแสงเข้าไป ก็เลยเกิดความวิจิตรสวยงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง

อันที่จริงแล้ว คำว่าหินงอก (stalagmite) และ หินย้อย (stalactite) นั้น เป็นคำเรียกรวมๆของรูปทรงที่ปรากฎ    ในโพรงถ้ำที่เกิดจากการไหลของหินละลาย (lava) ของภูเขาไฟ ก็พบเห็นได้เช่นกัน  และรวมทั้งในโพรงถ้ำในธารน้ำแข็ง (glacier) ด้วย   เพียงแต่วิธีการเกิดต่างกันออกไป   แต่อย่างไรก็ตาม ก็เช่นกัน ที่โดยทั่วๆไป ทั้งหินงอกและหินย้อย เรามักจะหมายถึงเฉพาะที่พบในถ้ำหินปูน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 ก.ย. 14, 19:24

เรื่อยๆต่อมาถึงกรณีโพรงใต้ดินย่านอำเภอปากช่อง (โดยเฉพาะในเขตตำบลหมูสี ที่ปรากฏอยู่ในข่าว) และพื้นที่รอบๆของเขตอำเภออื่นๆที่อยู่ต่อเนื่องกันนั้น

พื้นที่ในย่านนี้ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงโคราช (หรือที่รู้จักกันมานานแต่ดั้งเดิมว่า ดงพญาไฟ ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ดงพญาเย็น) โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.ปากช่องนั้น   รองรับด้วยหินปูน ดังนั้นจึงเกิดการกัดเซาะด้วยน้ำได้ง่าย เป็นเรื่องปรกติที่ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่มีหลุม มีแอ่ง มีโหนกหิน มีพื้นผิวดินตะปุ่มตะป่ำ มีโพรง มีถ้ำ ซึ่งมีชื่อเรียกขานพื้นที่ในลักษณะนี้กันว่า karst topography

ขอทำความกระจ่างเพิ่มอีกสักนิดนึงว่า karst topography นั้น เป็นคำเรียกในเชิงกายภาพของพื้ันที่ที่เกิดมาจากผลของการกัดเซาะด้วยวิธีการละลาย ซึ่งครอบคลุมทั้งที่ปรากฎให้เห็นบนผิวดินหรือใต้ดิน 
   
ดังนั้น karst topography จึงพบได้ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ยิปซั่ม (gypsum) ได้ด้วย   ซึ่งไทยเราก็พอมีนะครับ แต่ ณ เวลานี้คงสังเกตเห็นได้ยากเสียแล้ว ก็คือพื้นที่ราบโล่งช่วงต่อเขต อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์  กับ อ.บางมูลนาค จ.พิจิตร    (แต่ก่อนนั้น จำได้ว่า กว่าจะข้ามทุ่งนี้ได้ ยังกับเดินทางอยู่บนผิวดาวพระอังคาร ทารุณเอาเรื่องอยู่ทีเดียว ทำให้เข้าใจเลยว่า ทำไมตามตะเข็บรอยต่อระหว่างนครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก จึงมีเรื่องราวของไอ้เสือเอาวาอยู่หลายชื่อหลายแก้งค์ทีเดียว )
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 18:48

karst ที่มีดินปิดทับอยู่จนเป็นที่เกือบจะราบเรียบ เช่น แถว ต.หมูสี ที่ได้กล่าวถึงมา   บางส่วนแถวเขต อ.ไพศาลี อ.ตาคลี    และพื้นที่ที่เรียกว่าเขาสามชั้นของ อ.วังโพ จ.กาญจนบุรี   

ลักษณะของ karst ที่ถูกดินปิดทับเหล่านี้ มีชื่อเรียกขานกันว่า buried karst หรือ covered karst     ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ karst topography มีเยอะแยะมากมาย เอาเท่านี้ก็น่าจะพอแล้วนะครับ

ภูมิประเทศแบบ karst นี้ มีการศึกษากันจนกลายเป็นแขนงวิชาหนึ่ง หลายๆแห่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ หลายแห่งเป็นพื้นที่สวยงามของโลก โด่งดังมาก ดึงดูดคนให้ไปท่องเที่ยวและเที่ยวชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จัดได้เป็นพื้นที่ทำเงินรายได้ที่สำคัญทีเดียว เช่น กุ้ยหลินของจีน  Andalusia ของสเปญ   ฮาลองเบย์ของเวียดนาม    อ่าวกระบี่ของไทย   เมือง Trieste ของ Slovenia และย่านภูเขา Jura ของฝรั่งเศส เป็นต้น     ย่าน อ.ปากช่อง ของเราก็ไม่น้อยหน้านักสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 19:08

เรื่องก็เดินมาโยงเข้ากับภาพใน คห.23 และ คห.37

ภาพของ คห.23 นั้น สังเกตได้ว่ามีน้ำอยู่ที่ก้นหลุม  ในความเห็นขอผมนั้น เห็นว่าเป็นเพียงแอ่งน้ำเล็กๆที่ขังอยู่ตามซอกตามร่องของหินปูน ทั้งนี้ ในพื้นที่นี้น่าจะต้องมีแอ่งน้ำ (หรือที่เรียกว่าหนองน้ำธรรมชาติ) ที่ชาวบ้านใช้ในการดำรงวิถีชีวิตสืบต่อกันมา แอ่งน้ำในพื้นที่เช่นนี้เรียกกันว่า karst pond

ภาพใน คห.37 นั้น เกิดจากการละายออกไปของหินปูนจนกระทั่งเป็นโพรง โพรงในหินนี้ก็คืออ่างเก็บน้ำใต้ดินดีๆนั่นเอง (underground reservoir)       ในพื้นที่แห้งแล้ง หากผู้ใดต้องเจาะหาน้ำบาดาลมาเพื่อใช้ ปะเหมาะเคราะห์ดีไปเจอเอาโพรงนี้เข้า ก็สบายแฮไปเลย ในไทยเราก็มีการพบกันไม่น้อยอยู่เหมือนกัน    ด้วยลักษณะของพื้นที่ๆเป็น karst และมีอ่งน้ำใต้ดินของ อ.ปากช่องนี้เอง ได้ทำให้เกิดกิจการเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรกรรมมากมาย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 21:47

karst?


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 23:11

ตามนั้นครับ

karst มักจะใช้เรียกลักษณะของพื้นที่กว้างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะดังภาพที่แผ่กระจายต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้าง

หากพื้นที่ปรากฎคล้ายสภาพตามภาพที่แสดงนี้ ก็จัดเป็น well developed karst   สำหรับกรณีพื้นที่แถบปากช่องที่ได้กล่าวถึง คงจะเรียกได้เพียง covered karst area เท่านั้น  และในกรณีของอ่าวพังงา หรือ Halong Bay  ก็คงจะใช้คำว่าเป็น karst region 

คำว่า karst นั้น จำได้ว่าเอามาจากชื่อเมือง จึงมักใช้ในความหมายของลักษณะของพื้นที่ เมื่อมีการศึกษามากขึ้น มีการสำรวจถ้ำมากขึ้น มีการท่องเที่ยวในลักษณะของพื้นที่สวยงามมากขึ้น ก็มีการผนวกรวมเอาชื่อลักษณะนามหลากหลายคำมารวมกันเป็นองค์ประกอบของ karst   มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเรื่องราวการเกิด จำแนกย่อยและลงลึกไปในรายละเอียดต่อไปอีก จนในที่สุดก็มีหลากหลายกลุ่มแนวคิด (school of thought) ก็แล้วแต่ผู้ใดจะนิยมแนวใด 

ที่น่าทึ่งก็คือ ปรากฎว่า จีนได้จัดทำหนังสือเรื่องราวและภาพของพื้นที่ Karst ในประเทศของตน เป็นหนังสือปกแข็งขนาดประมาณ 30x35 ซม.หนาประมาณ 3 ซม. จุดประสงค์เพื่อโชว์และแสดงของดีของจีน เลยกลายเป็นตำราและมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกันไปทั่วโลก  เหตุก็คงเพราะ karst ในจีนเป็นพวก well developed karst มีลักษณะ รูปร่าง ทรง องค์ประกอบ และสภาพแวดล้อมของการกำเนิดที่หลากหลาย สมบูรณ์และเห็นได้ชัดเจน

 

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 ก.ย. 14, 15:02

ย่าน อ.ปากช่อง ของเราก็ไม่น้อยหน้านักสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย    

หากขับรถไปเขาใหญ่ตามถนนธนะรัชต์ถึงหมูสี กิโลเมตรที่ ๑๕ ทางซ้ายมือจะมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งคิดว่าเกิดจากลักษณะ karst topography อย่างที่คุณตั้งว่า ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า "น้ำผุด" คือมีน้ำไหลขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลา คาดว่าจะมาจากแหล่งน้ำโพรงหินปูนใต้ดิน น้ำสีเขียวอมฟ้าใสแจ๋ว ถ้าปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณนั้นให้สวยงามน่าจะเป็นสถานที่ท่องเทียวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของปากช่อง   ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 09 ก.ย. 14, 19:42

ตามนั้นแหละครับ

อันที่จริงแล้วแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่นิยมของไทยนั้น มีเป็นจำนวนมากๆที่อยู่ในพื้นที่ของหินปูน จะกล่าวว่าเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ จะยกเว้นก็เฉพาะในพื้นที่อิสานเท่านั้น   

ในข้อเท็จจริงแล้ว การเกิด karst นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่จำกัดเป็นหย่อมๆเท่านั้น มันเป็นการเกิดที่ต่อเนื่องเชื่อมกัน แยกเป็นแต่ละช่วงกาลเวลา คือเกิดเป็นชุดๆแยกกันในแต่ละช่วงเวลา   ชุดที่กล่าวถึงนี้ คือ มีได้ทั้งบนดินและใต้ดินแยกกันหรือเกิดพร้อมกัน  ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ในปัจจุบันเฉพาะแบบที่ปรากฏให้เห็นเฉพาะบนดิน เฉพาะใต้ดิน  หรือทั้งใต้ดินและบนดินเชื่อมกันก็ได้  แล้วก็มีทั้งที่อยู่ใต้ผิวน้ำ (submersed Karst) เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และอ่าวพังงา อีกด้วย

ก็ดังที่ได้เล่าไว้ว่า karst เกิดในพื้นที่หินปูน แหล่งท่องเที่ยวทั้งหลายของไทยก็อยู่ในพื้นที่หินปูนเป็นส่วนมาก  เราก็จึงอาจจะเพิ่มแนว (category) ของการท่องเที่ยวได้ในอีกแพคเกจในเรื่อง อาทิ A trip through karst topography of Pangna Bay, Follow the karst of Permian Limestone (อายุหิน) in Kanchanaburi Province,  etc.


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 18:40

ผมคิดว่าหลายท่านอาจจะได้เคยเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของหลุมยุบมาแล้ว เพียงแต่ไม่ทราบว่านั่นคือหลุมยุบ   

เส้นทางรถยนต์ระหว่าง อ.ทองผาภูมิ กับ อ.สังขละบุรี ของ จ.กาญจนบุรี ก็ผ่านหลุมยุบ  หลุมแรกก็คือ บึงเกริงกราเวีย ที่บ้านเกริงกราเวีย (ห่างจากตัว อ.ทองผาภูมิ ประมาณ 20 กม.เห็นจะได้) บึงนี้ ได้ฟังกะหรี่ยงเล่าว่า มีจระเข้ด้วย ตัวสุดท้ายถูกจับไปเมื่อปี พ.ศ. 2475 ?? จากเกริงกราเวียไม่นานก็จะสังเกตเห็นว่า ทางรถจะลาดลงไปเรื่อยๆและเลาะอยู่ข้างขอบเขา  แล้วทางรถก็จะค่อยๆไต่ระดับสุงขึ้นไปจนเข้าเขต อ.สังขละบุรี  ครับ ทางรถไต่เลาะอยู่ข้างหลุมยุบขนาดใหญ่

เส้นทางเลาะชายแดนระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไป จ.น่าน ก็มีลักษณะคล้ายกัน เป็นเส้นทางผ่านหลุมยุบเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 18:49

บึงเกริงกะเวีย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 19:17

ก็ยังมีหลุมยุบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่หลุมยุบที่เรียกว่า sink hole ดังที่ได้กล่าวถึงมา แต่เป็นการทรุดตัวลงของผืนดินสืบเนื่องมาจากผลจากการกระทำของคน ซึ่งจะเรียกกันในลักษณะรวมๆว่า man made ground subsidence (หากเป็นพื้นที่กว้าง) หรือ man made sinkhole (หากเป็นพื้นที่ไม่กว้างนัก)

man made ground subsidence นั้น ชื่อก็บอกว่าเป็นลักษณะของการทรุดตัวหรือยุบตัวลงของผืนดิน ซึ่งเกิดได้จากหลากหลายการกระทำของคน (จะค่อยๆขยายความไปนะครับ) ดังเช่น
     - การทำเหมืองใต้ดินด้วยวิธีการ ที่เรียกว่า solution mining
     - การขุดเจาะทำอุโมงค์ใต้ดิน ที่เรียกว่า underground tunneling
     - การสูบน้ำบาดาล หรือ สูบน้ำมันเอาออกมาใช้
    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 19:45

แผ่นดินทรุดเนื่องมาจากการทำเหมืองในแบบที่เรียกว่า solution mining (หรือ in situ leach process หรือ in situ recovery process)

in situ มีความหมายถึง ในที่ของมัน

โดยหลักการของการทำเหมืองด้วยวิธีการนี้ คือ การเจาะหลุมลึก 2 หลุม หลุมนึงสูบของเหลวตัวทำละลายอัดลงไป ให้ไปละลายสินแร่ในแหล่งที่มันสะสมอยู่ อีกหลุมนึงทำการดูดสารละลายนั้นกลับขึ้นมาทำการแยกเอาตัวแร่ธาตุออกไป 

การทำเหมืองอย่างนี้มีการทำกับสินแร่บางชนิด (ที่สะสมตัวอยู่ในลักษณะจำเพาะบางอย่าง) เช่น แร่ซิลไวต์ (Sylvite) สูตรเคมี KCl ต้นทางของปุ๋ยโปแตส    เกลือหิน (Rock salt หรือ แร่ Halite) สูตรเคมี NaCl ต้นทางในอุตสาหกรรมหลากหลายอย่างเหลือเชื่อ    แร่ Azurite และ Malachite สินแร่ต้นทางของโลหะทองแดง     สินแร่ทองคำและสินแร่ Uranium 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง