เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 06 ต.ค. 14, 19:04
|
|
แบบนี้ เจียรนัยแล้วแน่นอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 06 ต.ค. 14, 19:09
|
|
ค้นคำว่าบุศราคัม เขาแปลว่า yellow sapphire ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 06 ต.ค. 14, 19:09
|
|
ผมมีข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆที่อยากจะให้นำไปพิจารณาดังนี้ครับ
เพชรเป็นแร่ที่มีความแข็งมากที่สุดในบรรดาสารประกอบทั้งหลายที่เกิดในธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า มันทนต่อการขูดขีดให้เกิดริ้วรอยใดๆบนผิวหน้าของตัวมัน ดังนั้น ไม่ว่ามันจะมีรูปทรงเช่นใด มันก็จะคงดำรงความใสของมันอยู่เช่นนั้น และไม่ว่าจะผ่านการใช้งานนานมาแล้วเพียงใดก็ตาม
แต่เรื่องของความแวววับ การเล่นไฟ หรือน้ำของมันนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการปรับแต่งที่เหมาะสม
ครับ เพชรซีกคงจะไม่ผ่านกระบวนการปรับแต่ง (enhancement) ใดๆมากนัก แต่ไม่ว่ามันจะถูกใช้งานมานานเพียงใดก็ตาม มันก็ควรจะยังคงสภาพความใสดังแก้วของมันเหมือนกับที่เขาเอาความงามใสของมันมาประกอบเป็นเครื่องประดับแต่แรกเริ่ม ที่เรียกว่าเพชรซีกที่อยู่ในเครื่องประดับสมัยก่อนๆโน้น หากมีความขุ่นมัว ก็จึงน่าจะมิใช่เพชรแท้ น่าจะเป็นพลอย Topaz ซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าเพชรไม่มากนัก หรือ อาจจะเป็นพลอย Corundum ก็ได้
ว่าไปตามหลักทางวิชาการนะครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 06 ต.ค. 14, 19:20
|
|
เคยเห็นพลอยขาวชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเพชร เรียกว่าเพทาย บางคนนำไปทำแหวนออกมาเหมือนเพชร แต่ราคาถูกกว่ามาก ไม่ทราบว่ามันคือ Corundum หรือเปล่าค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 07 ต.ค. 14, 22:08
|
|
เพทาย ไม่ใช่ corundum ครับ เป็นแร่ชื่ิอ Zircon เป็นพวกที่มีได้หลากสีเช่นกัน มีตวามแข็งกว่าแร่ Quartz (เขี้ยวหนุมาณ) เล็กน้อย จะเรียกว่าพอๆกันก็ได้ ส่วนมากจะพบเป็นเม็ดขนาดเม็ดทรายในลานแร่ดีบุก โดยเฉพาะในกองทรายท้ายรางล้างแร่ดีบุก ซึ่งหากนำมาผ่านเครื่องแยกแร่อีกครั้ง ก็จะเพิ่มจำนวนเม็ดมากขึ้น จัดเป็นกลุ่มแร่พวก heavy minerals
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 10 ต.ค. 14, 19:11
|
|
เซอร์คอนเป็นแร่ที่เกิดร่วมกับหินแกรนิต และพบในหิน Pegmatite vein (ซึ่งเป็นสายแร่ที่นำพาแร่ที่มีคุณค่าทั้งทางอุตสาหกรรมและเครื่องประดับ และรวมทั้งตัวมันเองด้วย)
zircon ที่พบในเนื้อหินแกรนิตจะมีขนาดเม็ดเล็กมาก แต่หากพบในหิน pegmatite ก็จะมีขนาดโตพอจะนำมาทำเครื่องประดับได้
แร่นี้มีคุณสมบัติพิเศษบางประการ คือ มันมักมีฟองอากาศ (ทั้งแบบมีและไม่มีของเหลวในฟองนั้น เรียกว่า inclusions หรือ fluid inclusions) แล้วตัวมันเองก็มีเชื้อของธาตุยูเรเนียม (Uranium) ธาตุธอเรียม (Thorium) และธาตุอื่นๆติดอยู่ด้วย (เรียกว่ามี trace elements) จึงทำให้มันเกิดมีสีได้สารพัดสี ในทางวิชาการเราใช้ข้อมูลที่ถูกกักเก็บไว้ใน inclusion ในแร่นี้ เพื่อสืบรู้สภาพต่างๆในช่วงเวลาของการกำเนิดหินและแร่ชนิดต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 10 ต.ค. 14, 19:44
|
|
ไปค้น Zircon สีต่างๆมาประกอบกระทู้ค่ะ รวมทั้ง Zircon ที่เจียรนัยแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 10 ต.ค. 14, 20:18
|
|
กลับมาเรื่องเพชรที่พบในแหล่งแร่ดีบุกครับ
เรารู้แน่นอนว่า แร่ดีบุกพบอยู่ในหิน pegmatite ที่เกิดแทรกขึ้นมาเป็นสาย (vein) ในช่วงสุดท้ายของกระบวนการเกิดหินแกรนิต เรารู้ว่าอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ (temperature & pressure) ของการเกิดแร่ดีบุกนั้นไม่สูงนัก (ไม่ขยายความนะครับว่ารู้จากอะไร เพราะจะต้องเข้าไปในเรื่องทางเคมี) โดยนัยก็คือ ดีบุกเกิดในสภาวะใกล้กับธรรมชาติบนพื้นผิวโลก
แต่เพชรนั้น เกิดในสภาพที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพชรเกิดในสภาวะที่มีความเข้มสูงมากๆ โดยเฉพาะในเรื่องของอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เพชรสังเคราะห็จึงทำได้ยากมากกว่าพลอยสังเคราะห์
อย่างไรก็ตาม ในแหล่งแร่ดีบุกที่พบเพชรนี้ ขนาดของเม็ดแร่ดีบุกมีขนาดเล็กมาก (พอๆกับละเอียดสีดำ) ในขณะที่ขนาดเม็ดของเพชรที่พบมีขนาดใกล้หัวไม้ขีดไฟ แต่เมื่อความถ่วงจำเพาะของเพชร (ประมาณ 3.5) น้อยกว่าแร่ดีบุก (ประมาณ 7.5) ก็พอจะสอดคล้องกันในเชิงของ hydraulic equivalent (ขนาดต่างกันแต่น้ำหนักเท่ากัน จะตกจะกอนพร้อมกัน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 11 ต.ค. 14, 19:04
|
|
ก็เพราะตกตะกอนอยู่ด้วยกัน ก็แสดงว่าน่าจะถูกพัดพามาด้วยตัวกลางเดียวกันตัวใดตัวหนึ่งในสี่นี้_น้ำไหล ลม คลื่น น้ำแข็ง หรือถูกนำพามาด้วยตัวกลางชนิดหนึ่งแล้วก็มาร่วมอยู่ด้วยกันให้อีกตัวกลางหนึ่งนำพาต่อไป
จะเป็นภาพใดก็ได้ แต่มันก็แสดงว่าแหล่งต้นตอนั้นมันอยู่ในพื้นที่ในบ้านเราและชายขอบ คือ ภายในวงรอบของพื้นที่รับน้ำ (catchment area) ของแม่น้ำสาละวินและอิระวดี (ซึ่งก็อาจจะไปได้ไกลถึงเขตของแม่น้ำพรหมบุตรได้เช่นกัน)
หากเป็นเช่นนั้นจริง มันก็มีสองเรื่องที่ต้องนำมาคิด คือ ในพื้นที่ละแวกเอเซียตอนล่างนี้ ต้องมีหิน kimberlite ซึ่งเป็นหินแม่ของเพชร หรือว่าเพชรนั้นถูกอุ้มมาพร้อมๆกับตะกอนอื่นๆโดยภูเขาน้ำแข็งที่ลอยฟ่องอยู่ในทะเล (ice rafts) นมนานกาเลมาแล้ว พอน้ำแข็งละลาย พวกเศษหินดินทรายก็จะตกลงสู่ก้นทะเล เหมือนกับเราเอาก้อนหินโยนลงไปในเลนที่กำลังเริ่มแห้ง ซึ่งในกรณีภูเขาน้ำแข็งนี้ เราก็พบว่ามีชั้นหินที่แสดงภาพของก้อนหินหล่นลงมาฝังอยู่ในตะกอนดินก้นท้องทะเล (drop stone) พบทางด้านตะวันตกของเราตั้งแต่แถวเขตราชบุรีลงไปจนถึงฝั่งตะวันออกตอนบนของเกาะภูเก็ต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 12 ต.ค. 14, 18:25
|
|
ให้บังเอิญว่า หิน kimberlite ซึ่งเป็นหินอัคนีชนิดหนึ่ง กับหินตะกอนที่เราพบตลอดแนวตามด้ามขวานของประเทศเรา ซึ่งเป็นหินตะกอน นั้น มีสีดำเหมือนกัน และเราเองต่างก็ไม่เคยได้เห็นได้สัมผัสกับหิน kimberlite กันเลย แถมการสำรวจในภาคสนามก็อยู่ในช่วงของความขัดแย้งในความคิดด้านระบบการปกครอง มีข้อจำกัดมากของการเข้าไปในพื้นที่และการเดินสำรวจในพื้นที่ป่าเขา ก็เป็นอันว่ามีข้อมูลจำกัดมาก
อย่างไรก็ตาม เราก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า หินของเราที่ว่านี้ก็พบอยู่ในอินเดียในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเขาเรียกหินชนิดนี้ว่า Diamictite แล้วก็มีรายงานว่า มีการพบเพชรอยู่ในตะกอนที่พัดพามาจากพื้นที่ภายในเขตพื้นที่รับน้ำที่มีแต่หินชนิดนี้ เหมือนกัน
ก็เลยทำให้เกิดเรื่องเป็นงงกันในวงวิชาการว่า แล้วเพชรมาจากใหน? ก็ยังคงควานหาคำตอบคำอธิบายกันอยู่ แต่คำอธิบายเรื่องหินนั้นดูจะยอมรับกันแล้ว ก็คือ หินตะกอนนี้มีต้นกำเนิดมาจากการเกิดตะกอนถล่ม (submarine slide) ที่บริเวณปลายขอบที่ราบของใหล่ทวีปใต้ทะเล ซึ่งพื้นที่จะหักลาดชันลงไป (continental slope) สู่พื้นท้องมหาสมุทร (abyssal plain) ที่เราพบปลาหน้าตาประหลาดเยอะแยะไปหมด ขื่อเรียกของหินชนิดนี้ ดูจะมีหลายชื่อ นอกจาก diamictite แล้ว ก็ได้แก่ greywacke, flysch, และ terbidite
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 12 ต.ค. 14, 18:56
|
|
diamond kimberlite
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 12 ต.ค. 14, 18:57
|
|
diamictite
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 12 ต.ค. 14, 19:20
|
|
ครับ ก็ได้เล่ามาว่า เรื่องของเพชรนี้ดูจะไปผูกพันกับหิน kimberlite เท่านั้น แล้วเป็นความจริงดังนั้นหรือไม่ ?
ก่อนจะไปต่อ จะขอเกริ่นเรื่องว่า ในวงการวิชาการนั้น การเรียนรู้ใดๆก็ตาม ที่เรียกว่ารู้นั้น มีสองลักษณะ คือ รู้ในลักษณะของการมีความรู้แบบ Empirical approach (รู้ตามที่เขาได้พบได้มีการศึกษามา) กับการรู้ในทาง Theoretical approach (รู้ในทางแก่นหรือหัวใจของเรื่องราว) นักวิชาการที่อยู่ในสองระบบนี้จึงมีความขัดแย้งในเชิงความคิดและกระบวนการทำงาน
ผมเป็นพวกควบกล้ำครับ ไม่แน่จริงสักอย่างนึง เป็นเป็ดครับ แล้วก็คิดว่าน่าจะเป็นพวกนกเป็ดน้ำ (มีสีสรรสวยหน่อยครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 13 ต.ค. 14, 19:07
|
|
ในเรื่องของเพชรกับหิน kimberlite ก็เช่นกัน ที่ผ่านมาในอดีต หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ตาม เมื่อจะหาแหล่งเพชร เกือบร้อยทั้งร้อยก็จะมุ่งไปสำรวจหาหิน kimberlite ซึ่งเป็นผลทำให้กระบวนการสำรวจทั้งหลายในแต่ละขั้นตอน มุ่งไปสู่การพิสูจน์ทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงสำหรับแต่ละเรื่อง ที่ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีแหล่งแร่ ตามที่เคยพบกันมาแล้ว ความคิดทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในกรอบของข้อมูลและเรื่องอื่นๆที่ได้พบกันมา นี่คือ การสำรวจแบบ empirical approach ซึ่งวิธีการมาตรฐานของนักสำรวจทั้งหลาย ก็คือ การใช้วิธีการทางธรณีเคมี (Geochemical prospecting) และการบินสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Airborne geophysical prospecting) เพื่อเอาข้อมูลจากการสำรวจเหล่านี้ไปกำหนดพื้นที่ให้แคบลง แล้วเดินสำรวจตรวจสอบในสนาม กำหนดพื้นที่ให้แคบลงอีก จากนั้นจึงถึงขั้นเจาะสำรวจทั่วไป (scout drilling) เพื่อพิสูจน์ทราบ แล้วก็ไปอีกหลายขั้นตอนจนถึงขั้นการทำเหมือง การดำเนินการต่อไปในแต่ละวันในแต่ละขั้นนั้นเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เป็นการลงทุนที่สูงมาก ดังนั้น ในกระบวนการสำรวจทรัพยากรธรณีทั้งหลายจึงต้องมีการตัดสินใจกันทุกวัน _จะไปต่อ หรือ พอแล้ว (go or no go)_ นักสำรวจทรัพยากรธรณีตัวจริงทั้งหลายจึงจำเป็นต้องมีความรู้หลากหลาย และมีฐานความรู้มากพอที่จะฟังและพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์สาขาอื่นๆได้บ้างอย่างมีความเข้าใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 13 ต.ค. 14, 19:34
|
|
แล้ว theoretical approach เป็นอย่างไร
เอาจากเรื่องจริงที่ออสเตรเลียได้พบแหล่งเพชรนอกกรอบหิน kimberlite นะครับ
มีนักศึกษาระดับปริญญาเอกมากมายทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของสถานะหรือสภาวะของสารประกอบต่างๆ (ที่พบอยู่ในธรรมชาติ) เมื่ออยู่ภายใต้แรงอัดสูงและอุณหภูมิสูง เรียกกันง่ายๆว่า high pressure and temperature lab. นักธรณีวิทยาที่เรียนมาจากโรงเรียนที่สอนวิชาธรณีวิทยาจริงๆ จะได้เรียนในเรื่องนี้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของแร่ในหินอัคนีและหินแปร (Igneous petrology และ Metamorphic petrology) เรียกกันว่า phase diagram ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของธาตุในสภาพความร้อนและความดันต่างๆ ทำให้เกิดแร่ต่างๆ เช่น กลุ่มธาตุโซเดียม แคลเซียม และโปแตสเซียม และกลุ่มธาตุแม็กนีเซียม และเหล็ก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|