เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 35979 หลุมลึกลับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 31 ก.ค. 14, 15:03



ปริศนาไซบีเรียเข้มข้น"หลุมลึกลับ"โผล่ไม่หยุด

- +

หลุมลึกลับโผล่ไซบีเรียต่อเนื่อง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ คาดอาจเกิด
ปฏิกิริยาบางอย่างใต้พื้นดิน

ปริศนาเกี่ยวกับหลุมยุบขนาดยักษ์ที่ปรากฏขึ้นในเขตไซบีเรีย สร้างความฉงนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์
มาตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ทันที่จะไขความลับของปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเกิดจากอะไร ล่าสุด
มีผู้พบหลุมยุบมหึมาในลักษณะเดียวกันอีกแล้วถึง 2 หลุม ในพื้นที่เขตไซบีเรีย

หลุมยักษ์ทั้งสองหลุมค้นพบโดยคนเลี้ยงกวางเรนเดียร์ ในพื้นที่ทางภาคเหนือของไซบีเรีย ตั้งอยู่ห่าง
จากกันคนละทิศละทาง โดยหลุมแรกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรยามัล เขตที่ผืน
ดินและผืนน้ำเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ และยังเป็นพื้นที่เดียวกับที่พบหลุมแรก

ส่วนหลุมที่ 2 ที่ค้นพบใหม่ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรไท
มูร์ ทางตะวันออกของเขตไซบีเรีย จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ไซบีเรียน ไทมส์

ทั้งคู่อยู่ห่างจากกันเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร และมีลักษณะคล้ายกัน คือปากหลุมเป็นรูปกลม ที่ขอบหลุมมี
เศษดินกองไว้เหมือนถูกขุดขึ้นมา เบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์คาดว่าทั้งสองหลุมมีความลึกราว 60-100
ม. วงรอบเฉลี่ย 4 ม.

การค้นพบครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำความงุนงงสับสนกับสาธารณชนที่พากันร่ำลือถึงที่มาที่ไป แต่จนแล้วจนรอดก็
ไม่อาจพบคำตอบที่แน่ชัดได้ จนลือกันไปว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของโลก หรือถูกอุกกาบาตพุ่ง
ชน หรือบ้างก็ลือกันไปว่าอาจเป็นฝีมือของมนุษย์ต่างดาวเลยทีเดียว

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเขตหนาวของโลก (IEC) ที่สำรวจหลุมแรกความลึก 70 ม. ตั้งแต่
วันที่ 16 ก.ค. ก็ยังมืดแปดด้าน โดย มารีนา ไลบ์มาน ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวกับสำนักข่าว
URA.RU ว่า แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถสรุปได้ แต่เชื่อว่าการปรากฏตัวของหลุมยักษ์อย่างต่อเนื่อง
จะช่วยไขข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทีละน้อยๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ทราบจากการลงไปสำรวจที่ก้นหลุมแรกก็คือ ที่ก้นหลุมเป็นทะเลสาบใต้ดินที่เย็น
จัดจนเป็นน้ำแข็ง แต่ก็ไม่มีเค้ามูลอะไรอีก ได้แต่เก็บตัวอย่างดินและน้ำแข็งมาตรวจสอบ

http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/309894/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 19:53

เอาหลุมลึกลับนี้มาฝากคุณตั้งค่ะ  เผื่อนักธรณีวิทยาจะเล่าอะไรให้พวกเราฟังได้บ้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 22:59

ได้ติดตามข่าวอยู่เหมือนกันครับ 

ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องที่จะเกิดเฉพาะในเขตพื้นที่ๆมีอากาศหนาวจัด  เป็นพื้นที่ๆน้ำใต้ผิวดินเป็นน้ำแข็งเกือบตลอดทั้งปี เป็นพื้นที่ค่อนข้างจะราบ อยู่ในเขตพื้นที่ๆปราศจากต้นไม้ใหญ่  คิดว่าน่าจะเป็นพื้นที่ๆอยู่แถวๆเหนือเส้นละติจูดที่ 60 องศา น. ขึ้นไป  พื้นที่ลักษณะนี้พบในอลาสก้า แคนาดาตอนเหนือ และบางส่วนของไซบีเรียของรัสเซีย    ชื่อเรียกของพื้นที่แบบนี้ ที่ออกไปทางวิชาการ คือ arctic tundra

ในแว๊บแรกของนักธรณีวิทยา ที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นในรูปภาพหรือเห็นด้วยตาของตนเอง จะนึกถึงหลุมยุบ_sinkhole_ในทันที และก็จะนึกถึงว่าใต้ผิวดินของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะต้องเป็นหินปูน_limestone     ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีถ้ำ มีโพรงอยู่ใต้พื้นดินมากมาย รวมทั้งอาจะพบว่ามีลำธารใต้ดินด้วย_subterranean stream     

พื้นที่ที่เป็นหินปูนหลายแห่งในโลกถูกน้ำกัดเซาะจนทำให้เกิดเป็นสภาพของป่าหิน_stone forest  ดังเช่น กุ้ยหลิน ในยุนนาน     บางแห่งก็กัดเซาะได้ไม่ลึก มีดินไปถมอุดอยู่ระหว่างร่องและโพรง โผล่ให้เห็นเฉพาะยอดแหลมของหิน_pinnacle     พื้นที่ๆเป็นลักษณะดังกล่าวนี้รวมเรียกกันว่า karst topography     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 23:20

ในบ้านเราก็มีเรื่องหลุมยุบเหมือนกันนะครับ มีอยู่ทั่วไปหมดในทุกภาค  แต่ในภาคใต้จะมีมากสักหน่อย

การพบหลุมขนาดใหญ่และลึกในเขต arctic tundra นี้  ก็ยังคงใช้คำอธิบายบางส่วนคล้ายกับหลุมยุบนอกเขต  แต่กลไกและสภาพการเกิดต่างกันออกไปค่อนข้างมากทีเดียว

สงสัยว่าจะต้องเล่าเรื่องน้ำของแข็งขั้วโลก_Glacial บางส่วน ร่วมเข้าไปด้วยเสียแล้วละครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 13:22

เริ่มปูเรื่องอย่างนี้ก็แล้วกันครับ

สภาพภูมิประเทศต่างๆบนโลกใบนี้ (geomorphology & landform) เกือบทั้งหมดเกิดมาจาก 4 กระบวนการ คือ กระบวนการผุพัง (weathering) กระบวนการกัดกร่อน (erosion) กระบวนการพัดพา (transportation)  และกระบวนการตกตะกอนสะสม (depodition)

กระบวนการผุพัง_weathering นั้น เกิดขึ้นได้ด้วยหลายวิธีการ คือ 
     - disintegration การแตกยุ่ยหรือแยกตัวออกจากกัน   
     - alteration การเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในตัว เนื่องจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกับกับตอนเกิด   
     - decomposition องค์ประกอบของเนื้อในเปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Eh=oxidation,reduction    pH=ความเป็นกรด/ด่าง  Pressure=แรงบีบ/แรงอัด   temperature=ความร้อน/ความเย็น)
     - decay เน่าเปื่อย

กระบวนการกัดกร่อน_erosion นั้น เกิดขึ้นจากการกระทำของแรงหรือพลังที่เคลื่อนอยู่รอบตัว คือ
     - wind erosion กัดกร่อนโดยแรงลม เช่น butte และ mesa ที่พบในอริโซน่า สหรัฐฯ ที่หนังคาวบอยชอบเอามาเป็นฉากหลัง ฯลฯ
     - running water erosion กัดกร่อนโดยการไหลของน้ำ เช่น ภูหินร่องกล้า บรรดาถ้ำทั้งหลาย ห้วยต่างๆ ฯลฯ
     - wave erosion กัดกร่อนโดยคลื่นทะเล  เช่น อ่าวเล็กอ่าวน้อยทั้งหลายแถบชายทะเล และรอยเว้าแหว่งในเขาหินในอ่าวพังงา ฯลฯ
     - glacial erosion กัดกร่อนโดยน้ำแข็ง เช่น fjord และอื่นๆ ที่จะเป็นเรื่องที่จะเล่าในต่อไป
     - และอื่นๆ - ความต่างของอุณหภูมิในระหว่างวัน  รากไม้ที่ชอนไชไปในรอยแตกของหิน ...     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 10:00

เมื่อกัดกร่อนออกมาเป็นชิ้นส่วนย่อยได้ ก็ต้องมีกระบวนการนำพาออกไป ซึ่งก็คือตัวกลางต่างๆ
    - gravity  เป็นไปตามกฎของแรงดึงดูด (แรงโน้มถ่วง) เช่น วัตถุเคลื่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
    - ลม เช่น การนำพามวลทรายในทะเลทรายให้เคลื่อนที่
    - น้ำไหล ก็ดังที่เห็นๆกันอยู่ในชีวิตประจำวัน
    - คลื่นลมทะเล 
    - น้ำแข็ง (glacier) เช่น ก้อนหิน ตะกอนทั้งหลายที่ถูกอุ้มอยู่ในธารน้ำแข็ง

เมื่อความสามารถของตัวกลางในการนำพา (competency) ให้วัตถุเคลื่อนที่ไปลดลงหรือหมดไป วัตถุเหล่านั้นก็จะหยุดอยู่กับที่ ซึ่งก็คือการตกตะกอน (deposition).....(ย้อนไปดู ปรากฎว่าพิมพ์ deposition ผิดไป กลายเป็น depodition   ขออภัยครับ)......คราวนี้มีหลากหลายชื่อมากเลยครับ คงจะไม่สามารถกล่าวถึงทั้งหมด เอาพอเป็นสังเขปเบาๆ เช่น ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็มี อาทิ delta, mud lump, subaerial levee, mouth bar, mud flat, ฯลฯ  หรือบริเวณชายฝั่งทะเลก็มี อาทิ berm, tidal flat, offshore sand bar, spits (..แหลมตะลุมพุก) ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนเล็กน้อยที่เรียนกันในวิชา Geomorphology (Landform processes) แต่ไปเข้าใจในกระบวนวิธีการของแต่ละเรื่องในวิชา Sedimentology
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 16:16

ดิฉันเป็นคนเรียนวิชาภูมิศาสตร์ไม่เข้าหัวเลย      ยิ่งมาเจอธรณีวิทยายิ่งตายสนิท
เดาจากสภาพหลุมว่าข้างใต้มันคงเป็นโพรง หรือพื้นดินที่ไม่แน่น   ก็เลยเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นค่ะ

ไปหายอด 10 หลุมลึกลับบนพื้นโลกมาให้คุณตั้งดูเพิ่มเติมค่ะ   หลุมบางแห่งสวยมากๆ

http://www.smashinglists.com/top-10-strange-holes-in-the-world/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 16:17

บางหลุมน่าจะเรียกว่าธรณีสูบของจริง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ส.ค. 14, 10:24

ข่าวเกี่ยวกลับหลุมลึกลับนี้ ในฝ่ายทางนักสำรวจค้นหาปิโตรเลียม ให้ความเห็นว่า เดิมอาจจะมีก๊าซอยู่ใตดินแล้วปะทุ ขึ้นมาเหนือดินทะลุชั้นหินทำให้ เป็นการระเบิดจากในสู่นอกครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ส.ค. 14, 19:30

เลียบค่ายนานไปหน่อยนะครับ
เพียงตั้งใจจะเล่าให้ครบองค์ว่า องค์ประกอบในการพิจารณาและสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นนั้น ก็คือ การเข้าใจ geomorphological processes
และเลยต้องขอข้ามเรื่องการเกิดและลักษณะภูมิประเทศอันเกิดมาจากกระบวนการของน้ำแข็ง (glacier landform) เพื่อความรวดเร็วครับ ทั้งนี้หากยังสนใจอยู่ก็จะเล่าในภายหลังครับ

เข้าเรื่องเลยครับ คือ

ข้อมูลพื้นฐาน
    - หลุมลึกลับนี้พบอยู่ในพื้นที่ราบชายฝั่งมหาสมุทร ในแถบเขต arctic circle  (เขตแหลม Yamal ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ Siberia)   ซึ่งหมายความว่า เป็นเขตอากาศเย็นจัด เย็นขนาดทะเลเป็นน้ำแข็งหนาในฤดูหนาว (ถึงระดับต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งแน่ๆ) ส่วนในบริเวณที่เป็นผืนแผ่นดินก็จะเกิดมีสภาพ permafrost คือ น้ำในเนื้อดิน ในโพรงใต้ดินแข็งเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี  ทำให้ในพื้นที่ลักษณะเช่นนี้ มีพืชพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเป็นพวกพืชคลุมดินเท่านั้น ไม่มีพวกไม้ยืนต้นที่ต้องหยั่งรากลึกลงไปในดิน (ดังพื้นหลังของภาพที่เขาถ่ายออกมา) ก็เนื่องจากต้นไม้ไม่สามารถแหย่รากให้งอกลึกลงไปในดินซึ่งแข็งเป็นน้ำแข็งทั้งปีได้   แต่หากจะบอกว่า ก็เห็นมีต้นไม้เป็นป่าเลย อยู่เขตไซบีเรียนี่ (+ Siberian tiger  ยิงฟันยิ้ม)    ครับ ก็มีได้เพราะอยู่ในเขตที่ละติจูดที่ต่ำลงมา ที่มี permafrost ไม่รุนแรงมาก     
(บริเวณรอยต่อของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมือนกันสองประเภทนี้ เขาเรียกว่า ecotone)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ส.ค. 14, 20:01

พื้นที่ของแผ่นดินที่เป็นที่ราบกว้างขวางบริเวณรอยต่อกับทะเลนี้ เกิดมาจากกระบวนการตกตะกอนมากกว่าที่จะเกิดมาจากกระบวนการกัดกร่อน

พื้นที่ราบที่เกิดมาจากกระบวนการตกตะกอนซึ่งมีระดับไม่สูงกว่าระดับน้ำทะเลนี้ เป็นบริเวณที่พลัง (competency) ของกระบวนการธรรมชาติน้อย  ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ตกจะกอนของตะกอนขนาดเล็ก ที่เราเรียกว่าดินโคลน

ในแต่ละปีจะมีสภาพทางธรรมชาติเกิดสลับกัน คือ หิมะตกหรืออากาศเย็นจนอยู่ในภาวะเยือกแข็งเป็นน้ำแข็งเป็นเวลานาน กับมีช่วงฤดูที่น้ำแข็งละลายจนเห็นผิวดินและมีน้ำชุ่มฉ่ำและเกิดการงอกเงยของพืชในกลุ่ม moss และ lichen พืชตระกูลหญ้า      แล้วก็กลับไปเย็นจัดจนพืชตายแล้วก็เกิดใหม่ เป็นวัฏจักรนานนมชั่วนาตาปี เป็นพันเป็นหมื่นปี 

เราจึงเห็นดินเป็นชั้นๆสลับกันระหว่างสีเทาอ่อนกับสีดำ เรียกกันว่า varve clay       เ

อ..clay กับ  mud ต่างกันตรงใหน..?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 15:41

ไทม์ออฟอินเดีย - ทะเลสาบลึกลับปรากฏขึ้นมาอย่างปริศนาในทะเลทรายของประเทศตูนิเซีย แปรเปลี่ยนผืนแผ่นดินที่อ้างว้างกลายเป็นชายหาดอย่างฉับพลันภายในชาติที่ถูกครอบงำด้วยภาวะภัยแล้ง พร้อมกันนั้นยังดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายร้อยคน แม้มีคำเตือนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนสารพิษก็ตาม
      
       ทะเลสาบแห่งนี้ถูกพบโดยคนเลี้ยงแกะทะเลทรายเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน และจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่าทะเลสาบที่ได้รับการตั้งชื่อว่า “กัฟซา บีช (Gafsa Beach)” โผล่ขึ้นมาอย่างฉับพลันได้อย่างไร
      
       ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า ทะเลสาบแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ราว 6.25 ไร่ มีความลึกระหว่าง 10 ถึง 18 เมตร ดังนั้นจึงคาดหมายว่าปริมาณน้ำในทะเลสาบน่าจะอยู่ราวๆ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087592

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 18:10

ต่อเรื่องหลุมลึกลับก่อนนะครับ

ผมไปหยุดตรงที่มีชั้นดิน 2 สีวางตัวสลับกันตลอดความหนาของชั้นดิน

ชั้นสีดำนั้นมาจากจากการเน่าเปื่อย ย่อยสลายของพืช
   - ในสภาพมีอากาศ (มีอ๊อกซิเจน) โดยกลุ่มแบคทีเรียที่ใช้อากาศหายใจ (aerobic bacteria) ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้นิยมกินส่วนนิ่มๆของพืช เช่นเนื้อในของเซล (cytoplasm) เหลือแต่โครงของเซลที่เป็น cellulose  สิ่งที่เหลือจึงคือเศษพืชที่ยังเห็นโครงสร้างเป็นกิ่งไม้ เป็นก้าน ทำนองนี้
   - กับอีกสภาพหนึ่งที่ไม่มีอากาศ (ไม่มีออกซิเจน) โดยกลุ่มแบกทีเรียที่ไม่ใช้อากาศในการหายใจ (anaerobic bacteria) คือในสภาพที่มีดินตะกอนละเอียดปิดทับจนไม่มีการถ่ายเทของอากาศ  ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้ดำรงชีพด้วยการใช้ออกซิเจนจากแร่ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติที่เป็นพวก  sulfate (_SO4) เมื่อดึงเอาออกซิเจนออกไปใช้แล้ว ก็จะเหลือแต่กำมะถัน (Sulphur) ซึ่งจะไปจับคู่กับธาตุเหล็กและก๊าซไฮโดรเจน เป็นแกสไข่เน่า ที่เรามักได้กลิ่นในป่าชายเลน   แบคทีเรียพวกนี้กินดะ ไม่สนว่าจะเป็นเนื้อนิ่มๆหรือแข็ง  ผลก็คือพืชถูกย่อยสลายจนไม่เหลือโครงสร้างให้เห็น (คือ เละเป็นโจ๊กไปเลย)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 18:50

ในดงของป่าชายเลน เราจึงมักจะเห็นเศษต้นไม้อยู่แต่บนผิวดิน พอขุดลึกลงไปสักหน่อยก็จะเป็นแต่ดินโคลนสีดำ ก็เพราะบริเวณพื้นผิวและใต้ดินลงไปไม่ลึกนักนั้น เป็นที่อยู่และอุดมไปด้วย aerobic bacteria  พอลึกลงไปก็เป็นที่อยู่ของพวก anaerobic bacteria

สีดำนั้นเกิดมาจากสารประกอบที่คงเหลือ คือ คาร์บอนกับไฮโดรเจน    ซึ่งมาจากการตัด ย่อย หรือแยก เอาออกซิเจนออกไป ให้เหลือแต่ไฮโดรเจนกับคาร์บอน ที่เรียกกันว่า ไฮโดรคาร์บอนนั่นแหละ   (องค์ประกอบหลักทางเคมีของสิ่งมีชีวิต ก็คือ Hydrogen, Carbon, Oxygen)   

ไปเรื่องเคมีนิดนึงนะครับ   แบคทีเรียทั้งหลายจะช่วยย่อยสลาย โดยไปกัดกินส่วนที่เป็นสายโยงเชื่อมต่อยึดโยงระหว่างโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนทั้งหลาย (ซึ่งเป็นพวกโมเลกุลขนาดไม่ใหญ่และเบา เช่น มีเทน) ทำให้เกิดการคายหรือปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่บรรยากาศ (เป็นแกสเรือนกระจกเหมือนกัน) และทำให้โมเลกุลที่ใหญ่กว่าขยับมาใกล้กัน เกิดเป็นมวลหนาหนักเทอะทะ (เช่น C8H16)   
    หากต้นกำเนิดเป็นพืช ผลก็จะเป็นถ่านหินและกาซ  และหากเป็นสัตว์ ผลก็จะเป็นน้ำมันและกาซ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 19:40

ทุ่งหญ้าในพื้นที่ที่พบหลุมนี้ จะเป็นพื้นที่ชื้นแฉะ จะเรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ก็คงไม่ผิด มีพืชคลุมดินมากมายหนาแน่น และคงจะทับซ้อนกันจนหนา  เมื่อตายไป ถูกปิดทับด้วยน้ำแข็ง พอน้ำแข็งละลายก็เกิดใหม่อยู่บนพวกเก่าที่ตายไป  ส่วนที่ตายรองพื้นอยู่ข้างใต้นั้นจะค่อยๆถูกเปลี่ยนไปเป็น peat (ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนต่อไปด้วยความร้อนและความดันที่เพิ่มขึ้นให้เป็น brown coal เป็น lignite แล้วก็อาจจะเป็น anthracite ในที่สุด)

พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า bog land ก็ได้ เรียกว่า bog swamp ก็ได้     พื้นที่พรุทั้งหลายในปักษ์ใต้บ้านเรา ก็เข้าข่ายใช้ชื่อนี้เรียกได้  และที่เกิดไฟใหม้พรุที่เกิดด้วยตนเองโดยธรรมชาติทั้งหลายนั้น ก็เกิดเพราะการสันดาบของสารประกอบ เหล็กและกำมะถัน ที่เป็นผลิตผลมาจากการดำรงชีวิตของ anaerobic bacteria นั่นเอง


anaerobic bacteria มันทำให้เราตายได้ไม่ยากนัก เมื่อเกิดแผลลึกและเป็นแผลปิดจึงต้องทำการฉีดยาบาดทะยักกันไว้ก่อนเสมอครับ  แม้กระทั่งการกินเครื่องกระป๋องที่เก๋าเกิน หรือบรรดาของต้มเก็บในปี๊บ ก็อาจบริโภคแบคทีเรียพวกนี้เข้าไปได้   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง