han_bing
|
ชุดสตรีจีนสมัยราชวงศ์ชิง
หลายคนนึกถึงจีนสมัยราชวงศ์ชิงอาจจะนึกถึงกี่เผ้า อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงก็คือผู้หญิง ให้ใส่เสื้อผ้าเหมือนกันหมดผู้หญิงคงอกแตกตาย
ด้วยเหตุผลกลฉะนี้ แม้ชาวจีนจะถูกบังคับให้ใส่เสื้อแบบชาวแมนจู โกนผมแบบชาวแมนจู แต่คนที่ต้องทำคือชาย ขณะที่หญิงแม้จะถูกบังคับบ้างเรื่องแบบเสื้อ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์จีนฮั่นไว้อย่างเหนี่ยวแน่น และเหนี่ยวสืบมาจนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ชิง
ความแตกต่างระหว่างสตรีจีนฮั่น กับจีนแมนจูในการแต่งกายเป็นอย่างไร ตัวอย่างดูได้ง่ายๆในการแต่งกายของกลุ่มสตรีชั้นสูง แม้จะศักดิ์สูงเหมือนกัน แต่ว่าการแต่งกายก็มิได้เหมือนกัน มองง่ายๆดังนี้
๑. ชาวจีนฮั่นจะมัดเท้า แต่ชาวแมนจูนไม่มัดเท้า
๒. ชาวจีนฮั่นใส่กระโปรง และเห็นกระโปรงเด่นชัด ขณะชาวแมนจูใส่กางเกง แต่กางเกงถูกซ่อนมองไม่เห็นภายใต้เสื้อคลุมยาวที่เรียกว่ากี่เผ้า
๓. ชาวจีนฮั่นใส่เสื้อแขนกว้าง ขณะชาวแมนจูใส่ชุดกี่เผ้าแขนกระบอก
๔. ชาวจีนฮั่นนิยมเกล้าผมไว้กลางศรีษะ แต่ชาวแมนจูจะเกล้าไว้บริเวณด้านหลัง
นี้เป็นพื้นฐานง่ายๆในการแยก กลุ่มสตรีธรรมดาก็เป็นไปในทำนองนี้เหมือนกัน
ภาพข้างล่างนี้เป็นรูปสตรีจีนฮั่นกับ สตรีแมนจู เดาเองว่าใครเป็นใคร (จริงๆอักษรจีนกำกับไว้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 30 ก.ค. 14, 22:24
|
|
ทั้งนี้กระโปรงจีบที่ท่านเห็นเป็นกระโปรงที่พัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง เรียกว่า "กระโปรงร้อยจีบ" (百褶裙:bai zhe qun) เรียกในภาษาจีนกลางว่า "ป่ายเจ๋อฉุน" อันว่ากระโปรงร้อยจีบ จริงๆก็คือกระโปรงจีบนี้แหละ เป็นเครื่องแต่งกายเด่นสมัยราชวงศ์หมิง ตกทอดมาถึงชิง แต่ชิงจะไม่ค่อยเด่นเท่า เพราะหมิงจะบานเก๋ไก๋กว่า
กระโปรงแบบหมิง รวมถึงชุดแบบหมิงต่อมาได้ส่งอิทธิพลไปยังเกาหลี มีผู้สันทัดด้านเกาหลีอธิบายให้ข้าพเจ้าฟังดังนี้
"ชุดฮันบกที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้ เป็นรูปแบบที่ใช้กันในสมัยราชวงศ์โชซอน ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายในสมัยจารีตของเกาหลีก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ครับ
หากพิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์นั้น จะพบว่าชุดฮันบกได้รับอิทธิพลจากราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เนื่องจากราชสำนักโชซอนนับตั้งแต่การก่อตั้งราชวงศ์โดยพระเจ้าแทโจนั้น ได้ยอมสวามิภักดิ์ทั้งทางการเมือง และวัฒนธรรมต่อราชสำนักหมิงในฐานะที่เป็น "รัฐบริวาร" ตามคติ "จงกว๋อ" (ประเทศศูนย์กลาง)ของจีนในสมัยโบราณ ดังนั้นการปฏิบัติหรือเลียนแบบวัฒนธรรมของ "โอรสแห่งสวรรค์" จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจาก "โอรสแห่งสวรรค์" ในขณะนั้นซึ่งก็คือราชวงศ์หมิงนั่นเองฮะ
และโชซอนได้เพิ่มความเข้นข้นในการรักษาวัฒนธรรมจากราชวงศ์หมิงหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์หมิงในช่วง ศตวรรษที่ ๑๗ ทั้งนี้เป็นเพราะโชซอนมองตนเองเป็น "ทายาท" อันชอบธรรมในการรักษามรดกทาวัฒนธรรมจากราชวงศ์หมิงซึ่งเป็นชาวฮั่น ในขณะที่โชซอนมองราชวงศ์ชิงเป็น "อนารยชน" เผ่าหนึ่งเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมองในแง่วัฒนธรรมแล้ว โชซอนถือตนว่ามีความเจริญทางอารยธรรมมากกว่าราชวงศ์ชิงฮะ (และไม่ปรากฏว่าโชซอนรับวัฒนธรรมจากชิงเข้ามาปฏิบัติแต่อย่างใดฮะ)
ดังนั้นหากมีโอกาสดูภาพ portrait ที่เขียนขั้นในยุคนั้น หรือดูละครประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยโชซอน จะพบว่าการแต่งกาย โดยเฉพาะในราชสำนักจะมีความคล้ายคลึงหรือแทบจะลอกเลียนแบบมาจากราชวงศ์หมิงฮะ "
ตัวอย่างชุดเกาหลี
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 30 ก.ค. 14, 22:29
|
|
ชุดจีนฮั่นสมัยราชวงศ์หมิง
ชุดแรกเป็นชุดดั้งเดิม ชุดอื่นคือทำตามแบบโบราณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 ก.ค. 14, 22:31
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 31 ก.ค. 14, 13:49
|
|
ภาพสตรีชาวฮั่น ถูกนำไปลงการ์ดที่งานแสดงสินค้าปารีส ปีคศ. 1867
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 31 ก.ค. 14, 13:55
|
|
รัดเท้าแบบนี้ ต้องเป็นสตรีชาวฮั่นแน่ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 31 ก.ค. 14, 13:59
|
|
ชาวแมนจู ซักผ้าในคูเมืองปักกิ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 22:17
|
|
ภาพนี้บรรยายว่า กุลสตรีจีนช่วง 1900-1920 ถูกมัดเท้าตามธรรมเนียมนิยมกันทุกคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 22:19
|
|
ไม่ทราบว่าฮั่นหรือแมนจู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 22:19
|
|
อีกรูปหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 22:24
|
|
เท้าที่ถูกรัดจนพิการ ของสตรีชาวฮั่น เรียกอย่างไพเราะว่า ดอกบัวทอง golden lotus feet
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 03 ส.ค. 14, 11:29
|
|
เสื้อผ้าแบบนี้ เขาบรรยายว่า White Cheongsam Dress ฉ่งซำ ต่างจาก กีเพ้า อย่างไร?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 03 ส.ค. 14, 11:32
|
|
ชุดกีเพ้าที่เคยเห็นในหนังจีน ตอนดิฉันยังเด็ก เป็นแบบนี้ค่ะ คือเป็นชุดยาวฟิตเข้ารูป ผ่าข้างขึ้นมาสูงเหนือเข่า นิยมใช้สีแดง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 03 ส.ค. 14, 18:22
|
|
เจ้าหญิงจีนในราชวงศ์ชิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 27 ส.ค. 14, 10:27
|
|
ชุดกี่เผ้าที่อาจารย์เทาชมพูยกมาดูเหมือนจะถือกำเนิดขึ้นในยุคที่เมืองเซี่ยงไฮ้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา สตรีเซี่ยงไฮ้เป็นผู้คิดตัดเย็บกี่เพ้าแบบเข้ารูป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
|