CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:38
|
|
ผมไปเจอรูปถ่ายใน google earth ที่ปักหมุดไว้ตรงซอยกงกวนนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าถูกต้องแน่นอนหรือไม่นะครับ http://www.panoramio.com/photo/105012297สภาพเป็นตรอกอย่างที่ว่าไว้ในนิราศครับ ถ้าใช่กงกวนจะอยู่กลางตรอกนี้ ทางซ้ายมือของภาพครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:41
|
|
ขึ้นยืนดูผู้คนมั่งคั่ง ฝรั่งตั้งเต็มเกาะมะเกาสถาน เป็นท่วงทีหนีไล่ก็ได้การ มีกำแพงสามด้านดูดี มีภาพ "เมืองมะเกา" เขียนบนผ้าฝ้ายดิบ ราวรัชกาลที่ ๑-๓ ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ตำหนักพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ในเขตพระราชฐานชั้นใน เป็นชุดเดียวกับภาพของคุณหนุ่มนั่นแล จาก ROYAL SIAMESE MAPS EXHIBITED 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:55
|
|
แต่เข้าคลองไปได้สองราตรี ก็ถึงที่หยุดพักนัครา เห็นกำปั่นแลสำเภาเขาค้าขาย เป็นทิวทอดตลอดท้ายคฤหา ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา ก็ทอดท่าหน้าเมืองเป็นเรื่องกัน ภาพท่าเรือและเมืองกวางตุ้ง  จากหนังสือ "กระเบื้องถ้วยกะลาแตก ชีวิตเบื้องหลังสมบัติผู้ดี" ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 07:59
|
|
ตำแหน่งของกงกวนนี้ก็สอดคล้องกับที่เขียนไว้ในนิราศ คืออยู่นอกเมือง คืออยู่ทางตะวันตกของ "เมืองใหม่" ซึ่งก็คือส่วนขยายของเมืองทางด้านใต้ และทางใต้ของย่านกงกวนนี้จะเป็นย่านของห้างสำหรับให้พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายครับ ทางตอนใต้ของย่านกงกวนเป็นย่านสิบสามห้างของฝรั่ง จะเรียกได้ว่าเป็นที่ตั้งของสำนักงานการค้าของห้างฝรั่งก็ได้ครับ ซึ่งรวมตัวกันอยู่ในย่านนี้ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว กลายเป็นสวนสาธารณะและชื่อถนนเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง) จำนวนห้างร้านของยุโรปมีทั้งสิ้น ๑๓ ห้างร้านดังนี้ ไล่จากภาพซ้ายไปขวา ๑. ห้างเดนมาร์ก ๒. ห้างสเปญ ๓. ห้างฝรั่งเศส ๔. ห้าง Mingqua ๕. ห้างอเมริกัน ๖. ห้าง Paoushun ๗. ห้าง Imerial ๘. ห้างสวีเดน ๙. ห้าง Old English ๑๐. ห้าง Chowchow (Miscellaneous) ๑๑. ห้าง New English ๑๒. ห้างดัชท์ ๑๓. ห้างกรีก
ด้านหน้าของห้างจะมีสวนตั้งอยู่สองสวน คือ ด้านซ้ายเป็นพื้นที่สวนของอเมริกา และพื้นที่ขวามือเป็นพื้นที่สวนของอังกฤษ และปักธงชาติของแต่ละประเทศ ภาพใน #๑๕๒ น่าจะเป็นที่เดียวกับในภาพข้างบนนี้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 08:52
|
|
คุณหาญปิงให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องสิบสามห้างของฝรั่ง  ทั้งนี้ก่อนค.ศ. ๑๘๔๐ ภายในประเทศจีนมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฎแล้ว อาทิ ค.ศ. ๑๕๕๗ มีการสร้างอาคารแบบโปรตุเกสในมาเก๊า ปี ๑๖๖๕ มีการสร้างอาคาร ๑๓ หลังสำหรับติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ภาษาจีนใช้คำว่า "สือสานหางไว่เหรินซางก่วน" (十三行外人商馆: shi san hang wai ren shang guan) ซึ่งเป็นแบบสุภาพหมายถึงห้างทั้งสิบสามสำหรับค้าขายของคนต่างชาติ แต่้ถ้าไม่ค่อยสุภาพใช้ "กวางโจว่สือสานอี้ก่วน" (广州十三夷馆: guang zhou shi san yi guan) แปลตรงๆว่าห้างทั้ง ๑๓ ของคนป่า
แต่ถึงจะปรากฎอยู่ หากอิทธิพลนี้น้อยนัก ดังในมาเก๊าก็จำกัดอยู่เฉพาะตัววัดตัวอาคารโกดัง เนื่องด้วยสมัยโบราณแล้วห้ามฝรั่งเข้ามาตั้งห้างใดๆทั่วไปในจีน มีให้แต่สิบสามห้างซึ่งถูกรัฐบาลควบคุมอย่างเข้มงวด เรื่อนี้เรื่องจริง เพราะแต่ก่อนห้ามฝรั่งเข้ามาพักในเมืองช่วงฤดูหนาว อยู่ได้ก็เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น (ด้วยเหตุนี้จึงไปตั้งอยู่ที่มาเก๊า โดยแอบๆไปยึด) จีนเองก็มีสิบสามห้างแห่งกวางเจา (广州十三行 จีนกลางอ่าน กว่างโจวสือซันหัง) ของพ่อค้าจีนเอง ซึ่งหวังว่าคงได้อ่านรายละเอียดเรื่อง "สิบสามห้าง" นี้ ในกระทู้หน้าของคุณม้าต่อไป 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 08:55
|
|
แผนที่ผ้าไหม แสดงลักษณะปากแม่น้ำ ที่ตำแหน่ง "ประตูเสือ"
เข้าในแม่น้ำเมื่อผ่านประตูเสือ จะพบป้อมซ้าย-ขวา ของแม่น้ำ ดังนิราศ
"มีป้อมปืนยืนเยี่ยมอยู่สองฟาก ประหลาดหลากก่อเข้ากับเขาใหญ่"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 09:14
|
|
แผนที่ผ้าไหม นอกจากวาดเส้นทางการเดินเรือแล้ว ยังวาดเมืองกวางตุ้งไว้อีกด้วย
ที่เห็นนี้เป็นภาพเมืองกวางตุ้งที่ต้องเข้าแม่น้ำ ผ่านประตูเสือ หน้าเมืองกวางตุ้งวาดป้อมกลมซ้ายขวา (ป้อมหน้าเมือง) และสิบสามห้าง (วาดเรือน ๒ หลัง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 09:24
|
|
ภาพถ่ายทางอากาศ คศ. 1933 ถ่ายบริเวณย่านการค้าของต่างชาติ เมืองกวางตุ้ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 09:47
|
|
หน้าเมืองกวางตุ้ง มีเกาะกลมๆ ในแผนที่ผ้าไหมเขียนว่า "ไอจู๋แก้วในน้ำ" เทียบกับภาพวาดหน้าเมือง (ขวามือ)
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:06
|
|
"ไอจู๋แก้วในน้ำ" คือ Dutch Folly Fort ครับ มีรูปจากในป้อมใน wiki ด้วย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:08
|
|
ภาพภายนอก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:22
|
|
ตำแหน่งของกงกวนนี้ก็สอดคล้องกับที่เขียนไว้ในนิราศ คืออยู่นอกเมือง คืออยู่ทางตะวันตกของ "เมืองใหม่" ซึ่งก็คือส่วนขยายของเมืองทางด้านใต้ และทางใต้ของย่านกงกวนนี้จะเป็นย่านของห้างสำหรับให้พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายครับ ทางตอนใต้ของย่านกงกวนเป็นย่านสิบสามห้างของฝรั่ง จะเรียกได้ว่าเป็นที่ตั้งของสำนักงานการค้าของห้างฝรั่งก็ได้ครับ ซึ่งรวมตัวกันอยู่ในย่านนี้ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว กลายเป็นสวนสาธารณะและชื่อถนนเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง) จำนวนห้างร้านของยุโรปมีทั้งสิ้น ๑๓ ห้างร้านดังนี้ ไล่จากภาพซ้ายไปขวา ๑. ห้างเดนมาร์ก ๒. ห้างสเปญ ๓. ห้างฝรั่งเศส ๔. ห้าง Mingqua ๕. ห้างอเมริกัน ๖. ห้าง Paoushun ๗. ห้าง Imerial ๘. ห้างสวีเดน ๙. ห้าง Old English ๑๐. ห้าง Chowchow (Miscellaneous) ๑๑. ห้าง New English ๑๒. ห้างดัชท์ ๑๓. ห้างกรีก
ด้านหน้าของห้างจะมีสวนตั้งอยู่สองสวน คือ ด้านซ้ายเป็นพื้นที่สวนของอเมริกา และพื้นที่ขวามือเป็นพื้นที่สวนของอังกฤษ และปักธงชาติของแต่ละประเทศ ภาพใน #๑๕๒ น่าจะเป็นที่เดียวกับในภาพข้างบนนี้  สิบสามห้างคือตรงที่เขียนในแผนที่ว่า Old Factories ครับ แผนที่ขยายอยู่ในรูปนี้ (ในแผนที่นี้ทิศเหนือชี้ไปทางขวานะครับ อย่าลืมหมุนก่อน ม่ายงั้นงง) จะเห็นว่ากวนกงสยามอยู่ไม่ไกลจากย่านนี้นัก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:33
|
|
เขตต่างชาติที่สำคัญอีกเขตหนึ่งคือตรงที่เขียนไว้ว่า Shamin จีนถูกบังคับให้ยกให้อังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1859 ปลายสงครามฝิ่นครั้งที่ 2  พื้นที่นี้เข้าใจว่าเป็นสถานกงสุลและที่อยู่อาศัยของชาติตะวันตกทั้งหลายครับ ไม่ใช่ย่านการค้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 12:38
|
|
คุณหาญปิงให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องสิบสามห้างของฝรั่ง  ทั้งนี้ก่อนค.ศ. ๑๘๔๐ ภายในประเทศจีนมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฎแล้ว อาทิ ค.ศ. ๑๕๕๗ มีการสร้างอาคารแบบโปรตุเกสในมาเก๊า ปี ๑๖๖๕ มีการสร้างอาคาร ๑๓ หลังสำหรับติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ภาษาจีนใช้คำว่า "สือสานหางไว่เหรินซางก่วน" (十三行外人商馆: shi san hang wai ren shang guan) ซึ่งเป็นแบบสุภาพหมายถึงห้างทั้งสิบสามสำหรับค้าขายของคนต่างชาติ แต่้ถ้าไม่ค่อยสุภาพใช้ "กวางโจว่สือสานอี้ก่วน" (广州十三夷馆: guang zhou shi san yi guan) แปลตรงๆว่าห้างทั้ง ๑๓ ของคนป่า
แต่ถึงจะปรากฎอยู่ หากอิทธิพลนี้น้อยนัก ดังในมาเก๊าก็จำกัดอยู่เฉพาะตัววัดตัวอาคารโกดัง เนื่องด้วยสมัยโบราณแล้วห้ามฝรั่งเข้ามาตั้งห้างใดๆทั่วไปในจีน มีให้แต่สิบสามห้างซึ่งถูกรัฐบาลควบคุมอย่างเข้มงวด เรื่อนี้เรื่องจริง เพราะแต่ก่อนห้ามฝรั่งเข้ามาพักในเมืองช่วงฤดูหนาว อยู่ได้ก็เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น (ด้วยเหตุนี้จึงไปตั้งอยู่ที่มาเก๊า โดยแอบๆไปยึด) จีนเองก็มีสิบสามห้างแห่งกวางเจา (广州十三行 จีนกลางอ่าน กว่างโจวสือซันหัง) ของพ่อค้าจีนเอง ซึ่งหวังว่าคงได้อ่านรายละเอียดเรื่อง "สิบสามห้าง" นี้ ในกระทู้หน้าของคุณม้าต่อไป  เข้าใจว่าเป็นสิบสามห้างเดียวกันนี่แหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 02 ส.ค. 14, 15:14
|
|
เข้าใจว่าเป็นสิบสามห้างเดียวกันนี่แหละครับ การค้าต่างประเทศในสมัยราชวงศ์ชิงถูกผูกขาดโดย 公行 (จีนกลางอ่าน กงหัง แต่ฝรั่งเรียก cohong เพี้ยนจากสำเนียงกวางตุ้งว่า ก๊งห่อง) ที่รู้จักกันในนาม สิบสามห้างแห่งกวางเจา (广州十三行 จีนกลางอ่าน กว่างโจวสือซันหัง) หัง (行) นี้คนไทยเรียก ห้าง (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน/แต้จิ๋ว แบบเพี้ยนๆหน่อย) กง (公) แปลว่า รวม กงหังแปลตามตัวอักษรก็คือ ห้างหลายๆห้างมารวมกัน รูปแบบของกงหังนี้เป็นการรวมตัวกันหลวมๆ เพื่ออำนาจต่อรอง ไม่ใช่เอาเงินมาลงขันกันแต่อย่างใด หนังสือไทยบางเล่มแปลไว้ว่าเป็นสมาคมการค้าก็มี ความสำคัญของสิบสามห้างแห่งกวางเจา (มีชื่อเป็นทางการว่า 外洋行 จีนกลางว่า ไว่หยังหัง) ก็คือ เป็นกงหังที่ได้สิทธิ์ผูกขาดการค้าต่างประเทศ (โดยเฉพาะชาติตะวันตก) ในกวางตุ้ง และในยุคสมัยนั้นราชสำนักจีนใช้นโยบายเปิดเมืองท่าเดียวให้ฝรั่งที่กวางตุ้งนี่แหละครับ เรือต่างชาติเข้าไปค้า จะต้องค้าขายผ่านสิบสามห้างนี้เท่านั้น ห้ามค้าขายกับคนอื่นเด็ดขาด เท่ากับว่าสิบสามห้างนี้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการค้าต่างประเทศเต็มๆ ดังนั้นสิบสามห้างนี้จึงยิ่งใหญ่ร่ำรวยมาก ถ้าสิบสามห้างของคุณหาญปิงและคุณม้าเป็นแห่งเดียวกัน แล้วเป็นแห่งเดียวกับสิบสามห้างของคุณหนุ่มหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของระหว่าง จีน และ ฝรั่ง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|