เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
อ่าน: 43360 นิราศกวางตุ้งกับเส้นทางเดินเรือสายประวัติศาสตร์จากไทยสู่จีน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 11:01

หินแม่ลูกอ่อน ที่เป็นตำนานเล่าขานกันว่า นางพร้อมลูกมากระโดดหน้าผาตายตรงนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 11:17

ภาพวาดศรพระนารายณ์ (La Varilla) วาดเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 11:18

ภาพวาดเมื่อมองจากทะเล เห็นหินไกลลิบๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 11:37

ยอดเขา "อินตั้งตัวบุตร" คือ  Núi Đá Bia นี่เอง  มองไกลอาจเห็นก้อนหินใหญ่เป็นเศียรพระพุทธรูปก็ได้กระมัง



ถามจากคุณกุ๊ก บอกว่าอยู่ที่จังหวัดฟูเอียน Phú Yên

สังเกตเกาะทางใต้ของ Núi Đá Bia ชื่อว่า Vạn Thạnh ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดนาตรัง Nha Trang

คุณม้าๆๆๆๆ  อินตัง = Vaฺn Thanh  (ในแผนที่อาจจะเป็น ว แหวน ก็ได้)

สมมุติฐานของคุณหนุ่มเป็นไปได้เหมือนกัน  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 19:11

ขออภัยครับ สองวันนี้มีเวลาเข้ามาอ่านนิดเดียว ไม่มีเวลาตอบ คุณ Siamese กับคุณเพ็ญชมพูช่วยกันชี้พิกัดอินตั้งตัวบุตรได้เรียบร้อย ยอดเยี่ยมมากครับ

เขา Đá Bia แปลตรงตัวคือ เขาหิน(ตั้ง)ใหญ่ นักเดินเรือชาวจีนคงจินตนาการเห็นหินก้อนนี้เป็นพระพุทธรูป ส่วนกวีของเราคงฟังเรื่องเล่ามาอีกเวอร์ชั่นนึงออกแนวพราหมณ์ไปนู่น ซึ่งก็ไม่แปลกครับ เพราะพื้นที่แถบนี้ (Nha Trang, Phan Rang) เป็นแถบที่มั่นสุดท้ายของอาณาจักรจามปา จนวันที่เรือคณะทูตแล่นผ่าน Phan Rang (เมืองปาณฑุรังคะ) ก็ยังเป็นเมืองของพวกจาม ส่วนชื่อหลิงซาน ซึ่งถึงตอนนี้ก็ถึงบางอ้อพอดี หลิงซาน ก็คือ ลิงคบรรพต นั่นเอง เจียมเสียในแผนที่ของคุณ Siamese แปลว่าเมือง (หลวง) ของจาม ซึ่งก็คือปาณฑุรังคะ (Phan Rang ในปัจจุบัน) นั่นเองครับ

สำหรับแผนที่ของคุณ Siamese ผมเห็นชื่อ เชียข้าม อยู่ในรูปที่มีไซ่ง่อนอยู่ด้วย สงสัยอย่างมากว่าจะเป็นเขาช้างข้าม จีนแต้จิ๋วฮกเกี้ยนเรียกช้างว่า "เฉีย" (หรือที่ถูกกว่าควรเขียนเป็น ฉฺยอ แต่อ่านยากหน่อย) ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 20:38

หินใหญ่บนเขาลูกนี้ ดูจะเป็นตัวแทนของความศรัทธาใน ๒ ศาสนาคือพุทธและพราหมณ์  ฝ่ายพุทธจินตนาการเป็น "ตัวบุตร" 大佛 คือพระใหญ่ ส่วนฝ่ายพราหมณ์เห็นเป็น "ลิงค์" लिङ्ग (คนไทยเรียกว่า ลึงค์) อันเป็นตัวแทนของพระศิวะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 21:27

ลืมไปอย่างหนึ่ง คุณ Siamese กรุณาลงรอยต่อของแผนที่ใน คคห. 120 กับ 122 ได้ไหมครับ และถ้าจะให้ดี ขอตรงส่วนใต้ลงไปจาก 122 ด้วยจะเป็นพระคุณมากครับ เผื่อจะระบุตำแหน่งที่แน่นอนของเขาช้างข้ามได้

หลังจากเซ่นเจ้าเขาลิงค์เรียบร้อย เราก็ออกเดินทางกันต่อ

แล้วจากนั้นสองวันก็เห็นเขา      เป็นขอบเงายืดยาวไปนักหนา
ค่อยแล่นคล่องไปได้สองทิวารา   ก็ถึงวาโหลลึกทะเลวน
เป็นที่ข้ามตามทางไปกวางตุ้ง      เห็นสุดมุ่งหมอกมืดไม่เห็นหน
แล้วก็กว้างกว่าทางทุกตำบล      ก็พึงยลเขาบูชาเป็นอาจิณ
กำหนดแต่เขาขวางที่ทางมา      เป็นพาราเหล่าล้วนแต่ญวนสิ้น
จนวาโหลขอบแคว้นแดนศีคริน   จึงสุดดินสิ้นเขตนิเวศญวน
ก็บ่ายข้ามตามบูรพาภาค      แสนวิบากคลื่นใหญ่ก็ใจหวน
แต่หาวเหียนป่วนเปี่ยนสกนธ์กวน   ด้วยเมาซวนรากรื้อระทมทน


"แล้วจากนั้นสองวันก็เห็นเขา  เป็นขอบเงายืดยาวไปนักหนา" พื้นที่ฟู้เอียน (Phú Yên คือฟู่อัน (富安) ที่คุณ Siamese ได้มาจากประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช) และกวีเญิน (Quy Nhơn คือบิญดิ่ญ (平定) ในแผนที่ภาษาจีนฉบับปี 1834 ที่คุณเพ็ญชมพูลงไว้ก่อนหน้านี้ แต่แผนที่ฉบับนั้นใหม่ไปหน่อย ชื่อสถานที่ส่วนมากเป็นชื่อปัจจุบันครับ) มีภูเขามาก แกมป์เฟอร์เองก็รายงานไว้อย่างเดียวกันครับ

On the 31st, we had at two or three Leagues on one side, a very high and formidable wall, which on the first and second of August became a little lower, representing a bare, unfruitful and rough aspect, which drew off sometimes to the N. E. sometimes to the N. We pursued our course along it, having no sounding, with a gentle wind and fair weather, in the evening we found our selves a little beyond the Islands Puli Cambir de Terra, at the end of the Country of Tsiampa, and at the side of the Kingdom of Cotsin Tsina, which we coasted along.

On the fourth of August we came in Cantaon, which we left behind us in the afternoon. On the fifth we steer'd N. N. E. with a S. and E. S. E. wind, to cross the Bay of Tunquin.


Tsiampa ก็คือจามปา ส่วน Cotsin Tsina คือก๊กเหงวียนกว๋างนาม (รายละเอียดอยู่ใน กระทู้องเชียงสือ เชื้อพระวงศ์กว๋างนามผู้ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ์แห่งเวียดนาม)
Puli Cambir de Terra คือกู่ลาวซาญ (Cù Lao Xanh)

จุดสุดท้ายบนชายฝั่งเวียดนามก่อนที่แกมป์เฟอร์จะตัดข้ามอ่าวตังเกี๋ยคือ Cantaon ซึ่งปัจจุบันคือเกาะลี้เซิน (Lý Sơn) ครับ

ส่วนนิราศกวางตุ้ง จุดสุดท้ายก่อนข้ามกทะเลคือวาโหลทะเลวน ชื่อนี้ประชมพงศาวดารภาคที่ ๕ มีบันทึกไว้โดยเรียกว่าภูเขางั่วหลอ ดังนี้

ระยะทางเสี้ยมหลอก๊กมาส่งเครื่องบรรณาการ ทางผ่านเมืองก้วงตงมาเกียซือ (กรุงปักกิง) กรุงเสี้ยมหลอก๊กอยู่ทิศตวันตกเฉียงหัวนอนมณฑลก้วงตง เดินเรือไปทางทเลสี่สิบห้าวันสี่สิบห้าคืนจึงถึง ลงเรือที่แม่น้ำอำเภอเฮียงซัวกุ้ยแขวงมณฑลก้วงตง ตั้งเข็มตรงอักษรโง็ว (ทิศหัวนอนหรือทิศใต้) ใช้ใบตามลมทิศปลายตีนหรือทิศเหนือออกทเลชิดจิวเอี๋ย (ทเลจีน) สิบวันสิบคืนจึงถึงทเลอานหลำ (ทเลญวน) ในระหว่างนั้นมีภูเขาชื่องั่วหลอภูเขาหนึ่ง ไปอิกแปดวันแปดคืนถึงทเลเมืองเจียมเสีย ไปอิกสิบสองวันสิบสองคืนถึงภูเขาใหญ่ชื่อคุนหลุนภูเขาหนึ่ง ต้องกลับใบตามลมทิศตวันออกเฉียงปลายตีนหรือเฉียงเหนือ เหศีศะเรือไปฝ่ายทิศตวันตก ตั้งเข็มอักษรบี้กินอักษรซินสามส่วน (ทิศตวันตกเฉียงหัวนอนหรือเฉียงใต้) ไปอิกห้าวันห้าคืนถึงทเลแม่น้ำจีนชี่วกั่งไหลตก ไปอิกห้าวันห้าคืนถึงปากน้ำแม่น้ำเสี้ยมหลอกั๋ง ใช้เรือเข้าไปในแม่น้ำเสี้ยมหลอกั๋งระยะทางสองร้อยลี้ถึงน้ำจืด ไปอิกห้าวันก็ถึงเสียมหลอเสีย (เมือง)

เส้นทางเดินเรือศตวรรษที่ 17 ของ อ.ต้วน ก็กล่าวถึง โดยเรียกว่าภูเขาเว้โลว

แต่กุญแจที่จะถอดรหัสตำแหน่งของวาโหลอยู่ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๖ ครับ

ระยะทางนอกแต่เมืองเว้ จะมาเมืองไซ่ง่อนที่จะแวะเข้าตักน้ำหาฟืน ถ้าลมดีแล่นมาแต่เมืองเว้ วันหนึ่งถึงเขาหันสอหน้าเมืองหุ้ยอาน แต่เขาหันสอแล่นมาครึ่งวันถึงเกาะเจียมปิดหลอมาวันหนึ่งถึงเกาะวัวโลตรงปากน้ำเมืองกวางง่าย แต่เกาะวัวโลแล่นมา ๒ วัน ถึงปากน้ำเมืองกุยเญิน แต่ปากน้ำเมืองกุบเญินแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองอยาตรัง แต่ปากน้ำเมืองอยาตรังแล่นมา ๒ วันถึงวัวญิมปากน้ำเมืองไซ่ง่อน


เมืองหุ้ยอานคือเมืองโห่ยอาน (คือฮอยอันที่คนไทยสมัยนี้รู้จักกันดี)
เกาะเจียมปิดหลอ ฝรั่งเรียก Poulo Champelo ปัจจุบันคือกู่ลาวจ่าม (Cù Lao Chàm)
เกาะวัวโลนี่แหละครับคือวาโหลในนิราศกวางตุ้ง ระบุว่าอยู่ "ตรงปากน้ำเมืองกวางง่าย" (คือเมืองกว่างหงาย Quảng Ngãi) ซึ่งก็คือเกาะลี้เซิน หรือ Cataon ของแกมป์เฟอร์นั่นเองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 22:49

โดยภาพรวม เรือแล่นเลียบชายฝั่งเวียดนามมาตั้งแต่เกาะมันมาจนถึงเกาะวาโหล จากนั้นจึงแล่นตัดทะเลมั่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่กวางตุ้ง

น่าสนใจว่าทำไมเรือไม่แล่นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเสียตั้งแต่แถบ Phan Rang (ทับศัพท์ตามมาตรฐานราชบัณฑิตว่าฟานซาง) ซึ่งน่าจะร่นระยะทางและเวลาได้ไม่น้อย แต่ดูแผนที่จะเห็นครับ มีแนวสันดอนทรายหมู่เกาะพาราเซลขนานไปกับแนวชายฝั่งตะวันออกของเวียดนามยาวจากใต้ขึ้นไปจนถึงแถบเมืองเว้เลยครับ บังคับให้เกิดเป็นช่องทางเดินเรือที่ต้องเลาะแนวชายฝั่งไปเรื่อยๆ ก่อนข้ามทะเลที่เกาะวาโหล

แนวหมู่เกาะพาราเซลนี้ผมว่าอยู่ในแผนที่เดินเรือของทุกชาติ คือทุกชาติลงไว้ให้หลีกเลี่ยงเพราะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินเรือ แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นใช้หลักฐานแผนที่นี้ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชวนสังเวชใจจริงๆ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 07:09

ลืมไปอย่างหนึ่ง คุณ Siamese กรุณาลงรอยต่อของแผนที่ใน คคห. 120 กับ 122 ได้ไหมครับ และถ้าจะให้ดี ขอตรงส่วนใต้ลงไปจาก 122 ด้วยจะเป็นพระคุณมากครับ เผื่อจะระบุตำแหน่งที่แน่นอนของเขาช้างข้ามได้


เป็นรอยต่อบริเวณสันหนังสือครับ เลยจำต้องขาดไป
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 07:23

ในแผนที่ผ้าไหมนั้น (ภาพไกลเห็นรายละเอียดของอักษรไม่ชัดเลยครับ)  ได้นำมาลงพิกัดเมืองไว้และเส้นทางเรือตามที่ในแผนที่เดิมได้ลงไว้

จะเห็นว่าจากแม่น้ำเจ้าพระยา ล่องมาที่เกาะมัน (ปลายแหลมญวน) เรือจะมีทางเลือก ๒ ทางคือ ทะเลใน (เส้นเขียว) กับ ทะเลนอก (เส้นแดง)

 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 01 ส.ค. 14, 09:13

จนวาโหลขอบแคว้นแดนศีคริน   จึงสุดดินสิ้นเขตนิเวศญวน
ก็บ่ายข้ามตามบูรพาภาค         แสนวิบากคลื่นใหญ่ก็ใจหวน

เกาะวัวโลนี่แหละครับคือวาโหลในนิราศกวางตุ้ง ระบุว่าอยู่ "ตรงปากน้ำเมืองกวางง่าย" (คือเมืองกว่างหงาย Quảng Ngãi) ซึ่งก็คือเกาะลี้เซิน หรือ Cataon ของแกมป์เฟอร์นั่นเองครับ

ปักธงลงตำแหน่ง          เพื่อสำแดง "เกาะลี้เซิน"
"วาโหล" จุดเรือเดิน      เปลี่ยนทางใหม่ไปเมืองจีน


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:05

จากวาโหลเรือบ่ายหน้าออกทะเลลึก มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นปลาวาฬผจญพายุไหว้เจ้าต่างๆนาๆ ที่ผมขอไม่ขอลงรายละเอียด ในที่สุดเรือก็ไปถึงเมืองจีนครับ

ครั้นอรุณเรืองแสงสุริโยภาส      เยี่ยมราชคิรีศรีไศล
เห็นชอุ่มตะคุ่มเขียวไกล      ตลอดไปล้วนเหล่าคิรินราย
เขาบอกกันว่านั่นแลขอบเขต      เป็นประเทศที่จีนทั้งหลาย
ก็ชื่นเริงบันเทิงร่ำทำกรุยกราย      บ้างธิบายบอกเบื้องเรื่องคิรี
อันโหลบานนี้ทวารแต่ชั้นนอก      ที่เข้าออกกวางตุ้งกรุงศรี
จำเพาะทางเข้าหว่างคิรีมี      ครั้นลมดีก็ได้แล่นเข้าโหลบาน
ขึ้นยืนดูผู้คนมั่งคั่ง         ฝรั่งตั้งเต็มเกาะมะเกาสถาน
เป็นท่วงทีหนีไล่ก็ได้การ      มีกำแพงสามด้านดูดี
เห็นสำเภาเข้าครันกำปั่นทอด      แลตลอดดูไปไม่สุดที่
แต่มิ่งไม้ไร้สิ้นทุกคิรี         บ้างที่มีคนตัดไม่ลัดทัน

โหลบานนี้ยังไม่ทราบว่าคืออะไร แต่มะเกานี่คือมาเก๊าอย่างแน่นอน

อันโดยทางลางเหล่าที่เว้นไว้      ครั้นจะใส่ถ้วนถี่ให้วิถาร
เหลือสติจะดำริให้รอบการ      ขอประมาณแต่นิราธานี
ถ้านับวันก็ได้สามสิบสามวัน      ถ้าสำคัญว่าเท่าไรในวิถี
ก็ได้สามร้อยโยชน์เศษสังเกตมี   ถึงทวารพยัคฆีทันใด


เดินทางมา 33 วันได้ระยะทางสามร้อยกว่าโยชน์ ถ้าคิดโยชน์หนึ่งเท่ากับ 16 กม.ตามเกณฑ์ปัจจุบัน 300 โยชน์ก็ 4,800  ก.ม. แต่ผมลองจับระยะจริงบนแผนที่ได้แค่ราว 3,000 ก.ม. เท่านั้นครับ

ส่วนทวารพยัคฆีนี้คือ หู่เหมิน (虎门) แปลตามตัวอักษรก็คือประตูเสือ ทวารพยัคฆีนี่แหละครับ คือจุดที่จูเจียง (珠江) แม่น้ำไข่มุกที่จะนำไปสู่เมืองกวางเจา (ที่ไทยเรียกว่ากวางตุ้ง) เริ่มแคบลง (ในสายตาคนที่เดินเรือเข้ามาจากทะเล) ตรงนี้จะมีด่านตรวจตราของจีนตั้งอยู่ครับ

มีป้อมปืนยืนเยี่ยมอยู่สองฟาก      ประหลาดหลากก่อเข้ากับเขาใหญ่
ยังป้อมขวางไว้กลางชลาลัย      เรือไปสองข้างอยู่กลางคัน
เป็นสง่าศึกงามทั้งสามป้อม      ที่ก่อล้อมล้วนแหล่งแกล้งสรร
เอาโยธาเจนจัดให้ผลัดกัน      เป็นนิรันดรรักษาระวังการ
ฝ่ายจีนจงเอี้ยซึ่งเป็นใหญ่      ได้คุมไพร่สิบหมื่นรักษาสถาน
ก็ลงเรือรีบพลันมิทันนาน      มาถามการข่าวข้อคดีดี
ฝ่ายทูตตอบว่าพระราชสาร      พระผู้ผ่านอยุธยาวดีศรี
มาจิ้มก้องโดยคลองประเพณี      จำเริญราชไมตรีตามโบราณ
ฝ่ายจีนจดหมายเอารายชื่อ      แล้วก็รื้อดูทรงส่งสัณฐาน
แต่จำกดจดไปจนไฝปาน      แล้วเกณฑ์เจ้าพนักงานลงคุมไป
กับทหารสามสิบใส่เรือรบ      เครื่องครบอาวุธสรรพไสว
พนักงานป้องกันให้ครรไล      ก็แล่นไปตามเรื่องรัถยา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:13

แต่เข้าคลองไปได้สองราตรี      ก็ถึงที่หยุดพักนัครา
เห็นกำปั่นแลสำเภาเขาค้าขาย      เป็นทิวทอดตลอดท้ายคฤหา
ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา      ก็ทอดท่าหน้าเมืองเป็นเรื่องกัน


เรือแล่นขึ้นไปตามแม่น้ำอีกสองคืนก็ถึงเมืองกวางตุ้ง ท่าเรือก็อยู่ทางใต้ของเมือง ริมแม่น้ำจูเจียงนี่เองครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:25

ที่ผมทำสีไว้ในแผนที่ก่อนหน้านี้ ไม่ได้ทำเลอะนะครับ แต่แผนที่กวางตุ้งปี 1860 จาก wiki นี้ มีของสำคัญซ่อนอยู่
ก็ลุดลตำบลกงกวนเก่า      สถานทูตเคยเข้าอยู่อาศัย
เป็นตึกตรอกอยู่นอกเวียงไชย      ก็เชิญราชสารไว้ที่ควรการ
แล้วส่งของที่คุมไปขึ้นไว้ห้าง      ตามร่างเรื่องตราโกษาสาร
ทั้งสองห้างตามอย่างธรรมเนียมนาน      แล้วแจ้งของที่ประทานนั้นออกไป


กงกวนนี้ภาษาจีนกลางต้องออกเสียงว่าก้งก่วน (贡馆) แปลว่าเรือน(คณะ)บรรณาการ เป็นที่พักของคณะบรรณาการจากสยามโดยเฉพาะ ที่กล้าพูดอย่างนี้เพราะในแผนที่ที่ว่านี้มีระบุ 暹罗贡馆 ไว้ในแผนที่ด้วย 暹罗贡馆 อ่านว่า เซียนหฺลวอก้งก่วน แปลว่า เรือน (คณะ) บรรณาการสยาม ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นที่เดียวกับที่คณะพระยามหานุภาพไปพัก และเป็น "กงกวนเก่า" ที่คณะทูตก่อนหน้านั้นเคยใช้มาตลอด

คณะทูตก่อนหน้านั้นคือคณะไหน ข้อนี้ยังน่าสงสัย ก่อนคณะทูตชุดนี้ พระเจ้าตากส่งทูตมาที่กวางตุ้งทุกๆ 4 ปี คณะทูตทุกคณะถูกปฏิเสธการจิ้มก้องมาตลอด แต่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสินค้าพิเศษได้บ้าง โดยเฉพาะยุทโธปกรณ์บางอย่างซึ่งจักรพรรดิ์เฉียนหลงเจาะจงลงมายังอุปราชเหลียงกว่างให้สยามซื้อหาได้ (ทั้งๆที่เป็นสินค้าควบคุม) เพื่อใช้รบกับพม่าซึ่งมีปัญหากับจีนอยู่เหมือนกันครับ ถ้าทูตชุดก่อนๆ ในรัชกาลพระเจ้าตากไม่ได้รับอนุญาตให้พักที่นี่ (ซึ่งผมมองว่ามีโอกาสน้อยที่จะเป็นเช่นนั้น) ก็ต้องย้อนกลับไปถึงคณะทูตชุดสุดท้ายจากอยุธยาในปี 2309 เลยครับ

ตำแหน่งของกงกวนนี้ก็สอดคล้องกับที่เขียนไว้ในนิราศ คืออยู่นอกเมือง คืออยู่ทางตะวันตกของ "เมืองใหม่" ซึ่งก็คือส่วนขยายของเมืองทางด้านใต้ และทางใต้ของย่านกงกวนนี้จะเป็นย่านของห้างสำหรับให้พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 02 ส.ค. 14, 00:28

ปักหมุดในแผนที่ปัจจุบันครับ
https://www.google.com/maps/place/23%C2%B006'44.9%22N+113%C2%B014'52.4%22E/@23.1124806,113.247876,15z/data=!3m1!4b1!4m2!3m1!1s0x0:0x0


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง