เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 43073 นิราศกวางตุ้งกับเส้นทางเดินเรือสายประวัติศาสตร์จากไทยสู่จีน
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ก.ค. 14, 18:21

เส้นทางเดินเรือในนิราศกวางตุ้ง ผ่านสถานที่ต่างๆมากมาย บางที่ผมอ่านแล้วเคยงงว่าคือที่ไหน จึงได้หาข้อมูลประกอบจนได้พอจะภาพที่ค่อนข้างชัดเจน เก็บไว้นานเป็นปีๆ ไม่มีเวลาเขียนออกมาเป็นเรื่องเป็นราว จะค่อยๆ ลงในกระทู้นี้นะครับ หากอ่านแล้วปุปะไปบ้าง ต้องขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 00:11


ครั้นถึงวันภุมเชษฐมาสี          กาฬปักษ์ดิถีสิบสามค่ำ
เมื่อโมงสองบาทเช้าพอเงาง้ำ    สิบเอ็ดลำบังคมลาแล้วคลาไคล 


กองเรือนิราศกวางตุ้งเริ่มออกเดินทางในวันภุม (วันอังคาร) เดือนเชษฐมาส (เดือน ๗) กาฬปักษ์ (ข้างแรม) ๑๓ ค่ำ ส่วนปีระบุไว้ในตอนที่ไปถึงกวางตุ้งแล้วว่า "ปีอุศุภศก” อุศุภศก คือปีฉลู วันเริ่มออกเดินทางตรงกับวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๔   

ครั้นเรือล่องคล้อยคลองตลาดเลี้ยว ตลึงเหลียวแล้วชลนัยน์ไหล จะจากเรือนจากเพื่อนภิรมย์ไกล ดังสายใจนี้จะขาดจากอาตมา 

เรือออกจากกรุงธนบุรี (ท่าหน้าพระราชวังเดิม?) ผ่านหน้าคลองตลาด


ครั้นถึงเมืองปากน้ำพอย่ำฆ้อง     ดุเหว่าร้องเพลาประจุสสมัย
ทอดสมอรอรั้งประทังใจ           อยู่ที่ปากชลาลัยนั้นสองวัน 
ต่อน้ำขึ้นจึงได้ถอยออกลอยล่อง   จำเพาะร่องสำเภาผายผัน
แต่ฉุดชากลากเข็นอยู่เป็นควัน     หวังให้ทันมรสุมสำเภาไป 


เรือไปถึงเมืองปากน้ำ จอดรอน้ำขึ้นอยู่อีก 2 วันจึงออกเดินทางต่อ ถึงระดับน้ำจะไม่สูงพอ ต้องถึงกับลากเข็นอยู่ แต่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่แค่ช่วงเดือน 6 ถึงเดือน 8 จำเป็นต้องอาศัยลมมรสุมนี้เดินทางไกล (จะได้เห็นต่อไป) ยังไงก็ต้องออกเรือตอนนี้ล่ะครับ

ครั้นข้ามโขดหลังเต่าออกตกลึก          ก็ตั้งตรึกตรมจนกมลไหม้
เขาผูกจัดเชือกเสาแลเพลาใบ            แล้วคอยลมที่จะได้ไคลคลา
ครั้นเขาชักใบฉุดขึ้นสุดเสา               ก็ปลาบเปล่าทรวงโทรมมนัสสา
คลื่นทุ่มกลุ้มทิ้งเทมา                     เภตรากลิ้งกลอกกระฉอกกาย
กระทบปัดฟัดปั่นที่ฟันคลื่น               แลฟูฟื้นฟูมฟ่องนองสาย
แสนทเวศแต่ซบเซาเมามาย              ระกำกายไม่ได้กินโภชนา
แต่ก้าวเสียดค่อยละเลียดด้วยลมขัด     พระพายพัดสลาตันตรานหน้า
แต่แล่นก้าวกลับใบไปมา                แล้วลอยคอยท่าลมดี
สุดคิดจึงอุทิศถึงพระบาท                แล้วยอกรอภิวาทเหนือเกศี
ขอเดชะตะบะบุญพระบารมี              จะแทนที่วรพุทธโพธิญาณ
กับอนึ่งซึ่งพระองค์ได้ทรงศีล            อันผ่องภิญโญยอดพระกรรมฐาน
มาช่วยป้องลมขัดอย่าพัดตราน         ขอบันดาลลมส่งให้ตรงไป
อนึ่งเขาในชลามัจฉาชาติ               ทั้งปีศาจพวกพรากอย่ากรายใกล้
ให้ปลอดเหตุสารพัดกำจัดภัย          จำเริญชัยชมชื่นจนคืนมา
ครั้นสิ้นคำบรรยายพระพายพัด        พอคำสัตย์ส่งท้ายก็ย้ายหา
ได้เป็นเหตุในพระเดชเดชา             ก็แล่นไปได้ทวาทสวัน
จึงถึงที่ว่าสามร้อยยอด                 เขาหยุดทอดไหว้เทวทำขวัญ
ตามเคยสังเวยแก่เทวัญ                ที่สำคัญหลักตามเคยมา 


การเดินเรือช่วงนี้ จากปากน้ำเจ้าพระยาไปสามร้อยยอดเป็นการแล่นใบแทบจะทวนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ “พระพายพัดสลาตันตราหน้า” ในกลอนคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นี่แหละครับ ต้องใช้วิธี “แล่นก้าวกลับใบไปมา” จึงไปได้ช้ามากครับ ระยะทางเพียงเท่านี้จึงต้องแล่นเรือถึง 12 วัน

แล้วใช้ใบบากข้ามไปตามเข็ม      ค่อยเก็บเล็มลมไปด้วยใบผ้า
ได้สองวันแต่สัญจรคลา             ครั้นถึงกึ่งกลางมหาสมุทรไท
จึงบูชาตรงหน้าพุทไธมาศ           เซ่นสาดลงท้องทะเลใหญ่
กระดาษเผารินเหล้าแล้วลอยไป     เขาว่าไหว้ผีน้ำในท่ามกลาง
แต่จากนั้นสองวันก็ไปเห็น           พระสุริย์หย่อนแสงเย็นถึงเกาะขวาง
ชะโงกเงื้อมเอื้อมแอบอยู่แทบทาง   กระเด็นโดดอยู่กลางวารี
แต่ตราบค่ำย่ำรุ่งจนเรืองแสง       ก็แล่นแซงเสียดพ้นคิรีศรี 
ถึงเกาะมันคิดว่ามันยังมากมี       ได้ถามถี่ว่าบุราณประมาณมา 


จากสามร้อยยอดมาคราวนี้สบายขึ้นเยอะแล้วครับ เพราะเป็นการแล่นใบทิศทางตั้งฉากกับทิศทางลม เรือแล่นสองวันไปถึง “กึ่งกลางมหาสมุทรไท” ไปอีกสองวันก็ถึงเกาะขวาง พ้นจากเกาะขวางก็ไปถึงเกาะมัน

เกาะขวางกับเกาะมันอยู่ที่ไหน?

น่าสนใจว่าในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ มีนักเดินทางอีกคนหนึ่งบรรยายประสบการณ์เดินทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปเมืองจีน โดยใช้เส้นทางที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเส้นทางเดียวกับกองเรือนิราศกวางตุ้ง บันทึกการเดินทางช่วงต้นนี้คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อเชียวครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 08:01

อ่านนิราศแล้วเรือใช้ใบไปยังเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ แล้วแล่นกลับข้ามอ่าวไทย ไปยังเกาะขวาง กับ เกาะมัน ซึ่งเกาะมันอยู่จันทบุรี



แต่ที่แถวแหลมสิงห์ จ.จันทบุรีก็มี อ.เกาะขวาง  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 09:33

แล้วใช้ใบบากข้ามไปตามเข็ม      ค่อยเก็บเล็มลมไปด้วยใบผ้า
ได้สองวันแต่สัญจรคลา             ครั้นถึงกึ่งกลางมหาสมุทรไท
จึงบูชาตรงหน้าพุทไธมาศ           เซ่นสาดลงท้องทะเลใหญ่
กระดาษเผารินเหล้าแล้วลอยไป     เขาว่าไหว้ผีน้ำในท่ามกลาง
แต่จากนั้นสองวันก็ไปเห็น           พระสุริย์หย่อนแสงเย็นถึงเกาะขวาง
ชะโงกเงื้อมเอื้อมแอบอยู่แทบทาง   กระเด็นโดดอยู่กลางวารี
แต่ตราบค่ำย่ำรุ่งจนเรืองแสง       ก็แล่นแซงเสียดพ้นคิรีศรี 
ถึงเกาะมันคิดว่ามันยังมากมี       ได้ถามถี่ว่าบุราณประมาณมา 


พุทไธมาศในที่นี้ ตีความว่าอยู่ที่ไหนหรือครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 10:29

แล้วใช้ใบบากข้ามไปตามเข็ม      ค่อยเก็บเล็มลมไปด้วยใบผ้า
ได้สองวันแต่สัญจรคลา             ครั้นถึงกึ่งกลางมหาสมุทรไท
จึงบูชาตรงหน้าพุทไธมาศ           เซ่นสาดลงท้องทะเลใหญ่
กระดาษเผารินเหล้าแล้วลอยไป     เขาว่าไหว้ผีน้ำในท่ามกลาง
แต่จากนั้นสองวันก็ไปเห็น           พระสุริย์หย่อนแสงเย็นถึงเกาะขวาง
ชะโงกเงื้อมเอื้อมแอบอยู่แทบทาง   กระเด็นโดดอยู่กลางวารี
แต่ตราบค่ำย่ำรุ่งจนเรืองแสง       ก็แล่นแซงเสียดพ้นคิรีศรี 
ถึงเกาะมันคิดว่ามันยังมากมี       ได้ถามถี่ว่าบุราณประมาณมา 


พุทไธมาศในที่นี้ ตีความว่าอยู่ที่ไหนหรือครับ

ก็คงเหมือนกับหันบูชาไปทางทิศที่เมืองเมกกะตั้งอยู่ หรือ หันทิศไปทางนครเยรูซาเล็ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 11:16

จากบันทึกพระภักดีวานิจ พระสุนทรวานิจ พระไมตรีวานิจ หลวงจำเริญวานิช ไปไซ่ง่อน บรรยายว่า

"...ปากน้ำเจ้าพระยา แต่ปากน้ำเมืองไซ่ง่อนเรือใหญ่จะเดินทางนอก ๒ วัน ถึงเกาะมัน  ออกจากเกาะมันมาวันครึ่งถึงขวางใหญ่ แต่ขวางใหญ่มาวันหนึ่งถึงขวางน้อย.."
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 13:13

แค่พิกัดแรกๆ ก็มึนแล้วครับ เกาะมันอยู่จันทบุรี แถมด้วยอำเภอเกาะขวางอีก ถ้าตีความว่าพุทไธมาศคือเมืองพุทไธมาศฮาเตียนก็คงไม่ได้ไปถึงไหนกันเลยล่ะครับ ครั้งแรกที่ผมหยิบนิราศกวางตุ้งขึ้นมาอ่านเมื่อหลายปีที่แล้วก็ไปไม่รอด ติดอยู่แค่สามร้อยยอดนี้เอง

คนที่ช่วยไขปริศนานี้ก็คือหมอแกมป์เฟอร์เจ้าเก่าของเรานี่เองครับ

ผมคุ้นเคยกับบันทึกเรื่องกรุงศรีอยุธยาของแกมปเฟอร์ จนแทบลืมไปเลยว่าบันทึกเรื่องกรุงศรีอยุธยาเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเดินทางสู่ญี่ปุ่นของแกมป์เฟอร์ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1690 (พ.ศ. 2233) หลังจากเสร็จธุระที่อยุธยา เรือของแกมป์เฟอร์ก็มุ่งหน้าไปสู่ปลายทางคือประเทศญี่ปุ่น และเส้นทางที่ใช้ในช่วงแรกก็เป็นเส้นทางเดียวกับที่พระยามหานุภาพใช้ในการเดินทางไปจีนในนิราศกวางตุ้งครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 16:27

^
ตื่นเต้นๆ

ข้อความโดย: siamese
อ้างถึง
ก็คงเหมือนกับหันบูชาไปทางทิศที่เมืองเมกกะตั้งอยู่ หรือ หันทิศไปทางนครเยรูซาเล็ม
ผมเลยอยากทราบต่อไปอีกว่า เมืองพุทไธมาศตามคติไทย ซึ่งเขมรเรียกว่าบันทายมาศ และญวนเรียกฮาเตียนนั้น มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดฤา ขนาดเดินทางผ่านต้องกราบไหว้บูชาทั้งๆที่มองจากเรือเข้าไปยังไม่เห็นฝั่งเลย
 


 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 16:32

^
ตื่นเต้นๆ

ข้อความโดย: siamese
อ้างถึง
ก็คงเหมือนกับหันบูชาไปทางทิศที่เมืองเมกกะตั้งอยู่ หรือ หันทิศไปทางนครเยรูซาเล็ม
ผมเลยอยากทราบต่อไปอีกว่า เมืองพุทไธมาศตามคติไทย ซึ่งเขมรเรียกว่าบันทายมาศ และญวนเรียกฮาเตียนนั้น มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดฤา ขนาดเดินทางผ่านต้องกราบไหว้บูชาทั้งๆที่มองจากเรือเข้าไปยังไม่เห็นฝั่งเลย
 


 


อาจจะเป็นจุดพักเรือ ไว้คอยเติมน้ำดื่ม เหมือน Rest Area เพื่อให้การเดินทางถึงเมืองนี้อย่างปลอดภัย ดีกว่าถูกคลื่นซัดกลางทะเล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 17:50


ได้สองวันแต่สัญจรคลา             ครั้นถึงกึ่งกลางมหาสมุทรไท
จึงบูชาตรงหน้าพุทไธมาศ           เซ่นสาดลงท้องทะเลใหญ่
กระดาษเผารินเหล้าแล้วลอยไป     เขาว่าไหว้ผีน้ำในท่ามกลาง


ถ้าว่าอย่างงั้นก็คงไม่ใช่เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆในพุทไธมาศแล้ว คงจะเซ่นไหว้ผีน้ำผีทะเลเมื่อเดินทางได้ครึ่งหนึ่งของระยะทาง ซึ่งประมาณว่าตรงกับเมืองพุทไธมาศเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 18:09

อนึ่งเล่า ขบวนเรือราชทูตนี้คงไม่ได้แวะเข้าเทียบท่าเมืองพุทไธมาศให้เสียเวลา เพราะต้องวนเรือเข้าไปปากแม่น้ำโขงอันเมืองนี้ตั้งอยู่เป็นด่านหน้าที่จะเข้าไปสู่กรุงพนมเปญ และเป็นเขตอิทธิพลของญวนด้วยเพราะญวนรุกคืบลงใต้จนเขตแดนบรรจบกัน เรือเขมรจะเข้าจะออกจากเมืองหลวงสู่ทะเลต้องขออนุญาตญวนก่อน เรือสยามขืนเข้าไปดีไม่ดีอาจจะไม่สามารถเดินทางต่อไปถึงเมืองจีนได้ เหมือนเครื่องMH17นั่นแล

ไม่แปลกที่ต่อมาเมืองพุทไธมาศจะถูกญวนยึดไปจากเขมร เป็นเชื้อให้เกิดสงครามอานามสยามยุทธในรัชกาลที่๓ ซึ่งหลังจากนั้น เมืองนี้ก็ตกเป็นของญวนโดยสิ้นเชิง พอฝรั่งเศสได้ญวนไปเป็นเมืองขึ้นไม่นานต่อมา เขมรก็จะไปไหนเสีย


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 18:33


ขอชวนไปอ่านบันทึดการเดินทางของแกมป์เฟอร์กันก่อนนะครับ การเดินทางช่วงนี้อยู่ในบทที่ 3 ของบันทึก (การพิมพ์หนังสือเล่มนี้บางครั้งแยกพิมพ์เป็นหลายเล่มย่อย กรณีนี้ บทนี้จะเป็นบทที่ 3 ในเล่ม 1) บันทึกของแกมป์ฟอร์นี้อ่านสนุก มีอะไรดีๆ เรียได้ว่าแทบจะทุกบรรทัด แต่เพื่อไม่ให้ยืดยาวเกินไป ผมจะขอตัดตอนมาเท่าที่เห็นว่าเกี่ยวข้องนะครับ

On the fourth of July 1690 towards Evening, I went with the Captain of the Ship and others of the Company in a boat, in Meinam, in order to fall down the River Meinam to the Ship, which lay at anchor two days Journey from hence, and four Leagues from the mouth of the River.

On the sixth of July we arrived at Bankok in the morning, having advanced but little all night, by reason of the difficulties we had to struggle with. We found the old Fort, which lies on an Island, in good condition; but the new Fort, that had been built by the French on the East shore, was quite demolish'd. Before evening we reached the Dutch Habitation and Store-house called Amsterdam. Amsterdam, which is but two Leagues distant from the Sea.

On the Seventh of July, being Friday, at break of day Return on we left the River and the Land, and with a favourable North-wind arrived at eight of the clock on board our Ship, which lay at anchor four Leagues from the mouth of the River in six fathom of water. This harbour, or road, is the end of a bay between the Countries of Cambodia and Siam: It hath a soft clay at the bottom, and its depth is about five or six fathoms more or less. Yonks and Ships unladen may by the help of the tide come up as far as Bankok.

On the 8th of July, when we were busy with lading the last part of our Cargo of Hides, there came two Officers of the Dutch Factory at Judia on board to review our Ships Company according to Custom. The wind blowing at South West from Shore, they left us on the 11th, and return'd to the Shore in their boat, being saluted by us, with a treble discharge of five Guns. With the said Wind we steer'd South East, in order to get upon the Main, and to make use there of the Southern Trade-wind, with which we were to steer North North-East along the Coasts of Cambodia, Cotsijnsina, and China towards the Harbours of Japan. The Reader will observe, that in these Eastern Parts from Malacca to Japan, there are Winds constantly blowing South and South West for four months together, which time is call'd the South or West Season, or Monsoon, then again North and North East for four other months, which is call'd the North or East Season, or Monsoon. Between these two Seasons there are two months, during which the wind is always variable, shifting from one of the said quarters, till at length it settles in that, which is opposite. It happens however in some years, that, to the great disappointment of sea-faring people, these trade-winds fix sooner or later than ordinary, by some weeks. These Seasons obtain also in other parts of the Indies, with this difference only, that according to the situation of the Countries, the Shores and the Seas, the winds blow more or less constant from East or West, for which reason those months are call'd the East or West Monsoons. By these Monsoons all navigation in the Indies and Asia must be directed. At this time the South West Season held on, under favour of which we reckoned to steer our course, as soon as we should have got out of this Gulf or Bay. And so we weigh'd both our anchors full of good hopes, in which however we soon found ourselves disappointed, the wind coming about South, and contrary to our course, so that with tacking about, lying still, weighing and casting anchor, the weather being variable, and sometimes very rough, we lost many days, advancing but little all the while.

On the 23rd of July, being Sunday, we left the coasts of Siam, and the mountains of Kui, and sail'd over this Gulf, steering South East.

On the 26th we saw a long and low Island Pulipanjang, bearing E. N. E. at some few leagues distance, along which we steer'd our course.

On the 27th we made the Island Puli ubi, which appeared to be compos'd of high mountains, and several small Islands. We left it on our Larboard-side about four Leagues off.
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 18:51

สรุปคร่าวๆได้ความว่า แกมป์เฟอร์ลงเรือเล็กออกมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1690 เพื่อไปยังเรือใหญ่ที่จอดทอดสมออยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 6 ก็มาถึงบางกอก แล้วไปถึงอัมสเตอดัม ซึ่งก็คือเมืองปากน้ำนั่นเองครับ หลังจากจัดการเรื่องขนถ่ายสินค้าเรียบร้อย เรือก็ออกเดินทางในวันที่ 11 กรกฎาคม ซึ่งแกมป์เฟอร์ก็เจอปัญหาลมมรสุมพัดทวนทิศทางที่เรือต้องการเดินทางไป ทำให้ไปได้ช้ามาก และในที่สุดก็มาถึงกุยในวันที่ 23 กรกฎาคม ใช้เวลาไป 12 วันจากปากน้ำถึงกุย เท่ากับนิราศกวางตุ้งพอดีครับ

จากกุยเรือมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 3 วันต่อมาก็ไปถึง Pulipanjang วันต่อมาก็ถึง Puli Ubi ครับ



บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 18:59

 รอลุ้นอยู่ว่า Pulipanjang กับ Puli Ubi คือที่ไหน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ก.ค. 14, 19:15

ตำแหน่งของ Pulipanjang และ Puli Ubi นี้หาได้ไม่ยากเลย เพราะปรากฏอยู่ในแผนที่ฝรั่งทุกฉบับ เทียบหาชื่อเกาะปัจจุบันแล้วได้ความว่า Pulipanjang คือเกาะโถเจา (Thổ Châu) หรือโถจู (Thổ Chu) ที่เป็นตำแหน่งที่เขาไปหาเครื่องบิน MH370 ที่หายไปเป็นจุดแรกนี่แหละครับ ส่วน Puli Ubi คือ เกาะคอย (Hòn Khoai)

มาดูชื่อ Puli Ubi กันก่อนดีกว่าครับ Puli เป็นคำตระกูลภาษามลายู แปลว่า เกาะ ส่วน Ubi แปลว่า "มัน" ครับ มัน potato นี่แหละครับ ส่วน Khoai คำนี้เป็นภาษาเวียดนาม คงเดากันถูกนะครับ khoai ก็แปลว่า "มัน" เหมือนกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเกาะนี้คือเกาะมันในนิราศกวางตุ้งอย่างแน่นอน เป็นหมู่เกาะที่อยู่ปลายแหลมญวนพอดีครับ

ส่วน Pulipanjang คำว่า panjang ภาษามลายูแปลว่ายาว เมื่อไปดูสัณฐานของเกาะนี้ น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ด้านตะวันตกของเกาะเป็นหน้าผาสูงราว 100 เมตร ตรงเหยียดยาวมากกว่า 4 กิโลเมตร ถ้าแล่นเรือมาจากทางสามร้อยยอดหรือกุย จะเห็นหน้าผานี้ขวางเหยียดยาวอย่างรูปนี้ครับ (http://www.panoramio.com/photo/106104052)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: [1] 2 3 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง