เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 14070 เรียนคุณเพ็ญชมพู.....
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 ก.ค. 14, 11:16

ทำไมผมที่หยิกเป็นขอดยุ่งแบบนี้ถึงเรียกว่า "หัวพริก"

นั่นนะซี ฤๅคำว่า "หัวพริก" เป็นคำสแลงในสมัยนั้น   ยิ้มเท่ห์

คำว่า "หัวพริก" ยังพบในคำบรรยายลักษณะคนแอฟริกันในโคลงภาพคนต่างภาษา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้จารึกไว้ในวัดโพธิ์



หัวพริกหยิกหยาบเผ้า    ผมเงาะ
ปากแสยะยิงฟันขัน      คู่เบื้อ
อยู่เขตรประเทศเกาะ    อาฟริ กาแฮ
โฉดชาติฉวีเนื้อ         แม้นหมึกเขมา ฯ

กางเกงริ้วมลิเลื้อย       ลายสุหรัด
ใส่เซื่อสีขาวเขา         ชอบใช้
เช็ดหน้าจตุรัศจัด        จีบคาด เอวเอย
เครื่องแต่งร่างร้ายไร้     เพศพล ฯ

จ่าจิตรนุกูล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 ก.ค. 14, 14:44

นั่นนะซี ฤๅคำว่า "หัวพริก" เป็นคำสแลงในสมัยนั้น    ยิ้มเท่ห์

"หัวพริก" ไม่ใช่คำสแลงดอก แต่มีที่มา

คนไทยคนแรกที่พบเห็นคนแอฟริกันเท่าที่มีบันทึกเห็นจะเป็นออกขุนชำนาญใจจง




ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ยิ้มเท่ห์ เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

เคยอ่านพบว่าราชทูตไทยคนนี้แหละเป็นคนแรกที่เรียกคนแอฟริกาว่า "คนหัวพริก"

นักวิชาการระบุว่า คนไทยเพิ่งรู้จัก "พริก" เมื่อ ๔๐๐ กว่าปีมานี้เอง

อ่านหนังสือ "พรรณพืช ในประวัติศาสตร์ไทย" ของ ดร.สุรีย์ ภูมิภมร แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีกหลายส่วน

ดร.สุรีย์ ให้ข้อมูลว่า คนที่ทำให้พริกแพร่หลายในโลกคือ ปีเตอร์ มาร์ทิล ซึ่งเป็นลูกเรือของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา นั่นเอง โดย ปีเตอร์ มาร์ทิล ได้เอาพริกจากทวีปอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิด ไปปลูกที่สเปน เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๙๖ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิของกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาชาวสเปนและชาวโปรตุเกส ได้นำพริกเข้ามาเอเชีย โดยปลูกในอินเดียประมาณปี พ.ศ. ๒๑๔๓ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งราชวงศ์สุโขทัย ของกรุงศรีอยุธยา

อินเดียเป็นประเทศที่ร่ำรวยในวัฒนธรรมการกินได้ผลิตอาหารรสจัด และเป็นเจ้าตำรับเครื่องแกง พริกที่มีรสเผ็ดก็คงถูกปรับเข้าไปเป็นองค์ประกอบของอาหารเหล่านั้น และได้เผยแพร่วัฒนธรรมการกินไปยังผู้คนในประเทศใกล้เคียงในเวลาต่อมา

ดร.สุรีย์ บอกว่า ในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ พริกจากอินเดียได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศจีนและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคงรวมถึงไทยด้วย

ถ้ายึดถือตามข้อมูลดังกล่าว ก็น่าจะสันนิษฐานว่า คนไทยรู้จัก "พริก" เมื่อประมาณ ๔๐๕ ปีที่ผ่านมา

ถ้าอย่างนั้นพริกของท่านออกขุนฯ เป็นพริกชนิดไหนกันแน่  ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 ก.ค. 14, 15:13

มีพริกอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชพื้นเมืองของไทย ตำราแต่เดิมมักบอกว่าพริกไทยมีแหล่งกำเนิดในอินเดีย แต่ปัจจุบันมีหลักฐานใหม่จากแหล่งโบราณคดีถ้ำผีว่าพริกไทยมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่พบทีอินเดียอาจจะแพร่ขยายมาจากบ้านเรา (ข้อมูลจาก ประวัติพรรณพืชทางศิลปวัฒนธรรมไทย )

คนไทยแต่เดิมคงเรียกพริกไทยว่า "พริก" เฉย ๆ ทีนี้เมื่อมีพริกของฝรั่งเข้ามาจึงเติมคำว่า "ไทย" เข้าไปเป็น "พริกไทย" ส่วนพริกของฝรั่งเรียกว่า "พริกเทศ"

ภายหลังพริกเทศกลายเป็นของใช้ปรุงอาหารที่สามัญ และนิยมมากกว่าพริกไทย จึงตัดคำว่าเทศไปเหลือพริกเฉย ๆ คำว่าพริกเทศนี้ ยังคงมีปรากฏเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายอยู่ในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องสิงหไกรภพของสุนทรภู่ ว่า

พระไม่เคยจะเสวย พริกเทศ เผ็ด     เคี้ยวเข้าเม็ดหนึ่งก็น้ำพระเนตรไหล
อ้ายพรานป่าว่าแม่เจ้าอีชาวไพร       ยังกระไรบ้านกูอยู่ไม่เคย


ในสมัยของท่านออกขุนชำนาญใจจง พริกเทศคงยังไม่เข้ามาหรือเข้าแล้วไม่กี่ปียังไม่เป็นทีรู้จักกันดี ไม่เหมือน "พริก" (ไทย) ของคุ้นเคย ดังนั้น "พริกบนหัว" ของคนแอฟริกาที่ท่านขุนฯเรียกจึงหมายถึง "พริกไทย" เม็ดกลม ๆ นั่นเอง  

ขออภัยที่เข้าซอย "หัวพริก" ไกลไปหน่อย ยิงฟันยิ้ม

รจนากับเจ้าเงาะ "หัวพริก (ไทย)"


บันทึกการเข้า
ammpere
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 ก.ค. 14, 11:37

ตอนนี้กำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ มีอะไรจะแจ้งให้ทราบนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 ก.ค. 14, 08:55



จะคอย จะคอย จะคอย จะคอย ขวัญใจ   จะช้าอย่างใด จะนานเท่าไร ไม่หวั่น

บันทึกการเข้า
ammpere
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 15:37

กลับมาใหม่หลังจากหายไปนาน....มีคำถามที่สงสัยเพราะไปอ่านเจอในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ..คำถามมีอยู่ว่า  "กรมการสงขลา "  คือตำแหน่งอะไรคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 16:03

ตำแหน่ง "กรมการ" เป็นตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ

๑. กรมการในทำเนียบ  เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร (คือตำแหน่งอัยการในปัจจุบัน) และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา (คือตำแหน่งผู้ช่วยสรรพากรในปัจจุบัน) และสารเลข

๒. กรมการนอกทำเนียบ เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่ บางครั้งก็เรียกว่า กรมการพิเศษ

ข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง