เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11815 ขอความกรุณาจากอาจารย์หลายๆท่านบ่ายสองโมง. ทำไมไม่ใช้. สองโมงบ่าย เหมือนสองโมงเช้า
snj
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 19 ก.ค. 14, 13:19

ขอความกรุณาจากอาจารย์หลายๆท่าน

บ่ายสองโมง. ทำไมไม่ใช้ สองโมงบ่าย เหมือน สองโมงเช้า

 ตีหนึ่ง ตีสอง.    ..... ทำไมเอาคำว่า ตีไว้หน้าเลข

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:43

เรื่องการบอกเวลากี่โมงนั้น มีปัญหาต้องให้ข้าราชการและชาวสยามเรียกให้ถูกต้อง มีปัญหากันมานานแล้วเกี่ยวกับการเอ่ยเวลาทุ่มโมง เรียกให้ถูกต้อง ดังเช่น ประกาศเตือนสติในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นปีที่ ๘ ในรัชกาล (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๒) ความว่า
“ประกาศว่าด้วยให้ข้าราชการเรียกเวลาให้ถูกต้อง กลางวันเรียกว่าโมง  กลางคืนเรียกว่าทุ่ม
แต่เช้าให้นับ โมงหนึ่ง – ๒ โมงเช้า – ๓ โมงเช้า – ๔ โมงเช้า – ๕ โมงเช้า และให้เรียกว่า โมงหนึ่งเช้า – สองโมงเช้า – สามโมงเช้า – สี่โมงเช้า – ห้าโมงเช้า แต่หกโมงเช้าไม่มี มีแต่ ย่ำเที่ยง
เที่ยงแล้วให้นับ ๑ ใหม่จนถึง ๕ ให้เรียกว่า บ่ายโมงหนึ่ง – บ่ายสองโมง – บ่ายสามโมง หรือ โมงหนึ่งบ่าย – สองโมงบ่าย – สามโมงบ่าย ก็ได้ แต่ หกโมงบ่ายไม่มี มีแต่ ย่ำค่ำ”

จากประกาศนี้ทำให้ทราบว่า การเรียกโมง + (เช้า/บ่าย) เช่น  เวลา ๔ โมงเช้า กับ เวลา ๔ โมงบ่าย  แต่ปัจจุบันคนไม่เรียกกันแต่เรียกกันว่า ๔ โมงเช้ากับ บ่าย ๔ โมง ตามที่ผู้สงสัยได้ถามมา ทั้งหมดที่รัชกาลที่ ๔ ทรงอธิบายมาจึงเป็นคำตอบ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 09:52

มีเรื่องเล่าครับ
คือตอนผมอยู่บ้านนอก ผมคุ้นชินกับกับการเรียก 7.00 น ว่า โมงเช้า 8.00 น. ว่า สองโมงเช้า 9.00 น. สามโมงเช้า
แต่พอมาอยู่กรุงเทพ เพื่อนๆ กรุงเทพผมเรียก 7.00 น. ว่า เจ็ดโมงเช้า 8.00 น. ว่า แปดโมงเช้า 9.00 น. ว่า เก้าโมงเช้า ครับ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 10:10

สำหรับเวลากลางคืน ในพระราชอธิบายในรัชกาลที่ ๔ ตรัสว่า

กลางคืนเวลาคือ ทุ่ม คือ ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม ยามหนึ่ง (หนี่งยาม) สี่ทุ่ม ห้าทุ่ม สองยาม เจ็ดทุ่ม แปดทุ่ม สามยาม เก้าทุ่ม สิบทุ่ม สิบเอ็ดทุ่น ย่ำรุ่ง เป็นแบบนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ก.ค. 14, 10:32

ประกาศใช้ทุ่มโมงยามในรัชกาลที่ ๕

จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๗ หน้า ๒๐๖ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
snj
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ค. 14, 20:37

ขอถามต่ออีกนิดค่ะ ว่าเราเริ่มใช้  คำว่า ตี ๑   ตี ๒  .....
ตั้งแต่เมือ่ไรคะ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ก.ค. 14, 22:44

สำหรับเวลากลางคืน ในพระราชอธิบายในรัชกาลที่ ๔ ตรัสว่า

กลางคืนเวลาคือ ทุ่ม คือ ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม ยามหนึ่ง (หนี่งยาม) สี่ทุ่ม ห้าทุ่ม สองยาม เจ็ดทุ่ม แปดทุ่ม สามยาม เก้าทุ่ม สิบทุ่ม สิบเอ็ดทุ่น ย่ำรุ่ง เป็นแบบนี้
ทีได้พบกับตัวเองมาแล้ว
เคยถามเวลาปิดร้านของร้านฟาสต์ฟู้ดสัญลักษณ์ 3 นิ้วคว่ำสีเหลืองว่า
ที่นี่ปิดสองยามใช่มั้ย
เด็กสาวคนขาย อายุอานามสักกว่า20แล้วมัง ทำหน้าตาเลิ่กลั่ก  สีหน้าแบบว่าฉงนสุดขีด ถามย้อนว่า มันคือยังไงคะ
พออธิบายเข้าใจกันแล้ว เธอก็อุทานว่า
อ๋อ ใช่ค่าร้านปิดเที่ยงคืน
รู้สึกตกใจมาก ใช้ชีวิตวนเวียนในกรุงเทพฯตลอด ใจกลางย่านเศรษฐกิจของประเทศด้วยซ้ำ หลงยุคไปได้ยังไง เค้าไม่รู้จักเวลา สองยาม กันแล้ว
ขอถามใครก็ได้นะครับ เดี๋ยวนี้ กรุงเทพฯ ยังมีไปยาลน้อย ฯ  กำกับท้ายอยู่หรือปล่าว?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 13:19



เด็กสาวคนนั้นของคุณ Jalito ก็คงไม่ทราบเหมือนกันว่า "เวลาย่ำรุ่ง" ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นเวลาใด  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 14:36

เดี๋ยวนี้ เขาก็ไม่ "เลี้ยวกลับ" กันแล้วนะคะ   คุณ Jalito  ต้องถามว่า "ข้างหน้ายูเทิร์นได้มั้ยครับ"
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ก.ค. 14, 23:02

ที่ใช้แทบทุกวันคือ

"ช่วยกลับรถที่ยูเทอร์นตัวข้างหน้านะครับ"

ละเลยระเบียบภาษาไปบ้าง เอาให้เข้าใจง่ายๆไว้ก่อน ไม่งั้นแท้กซี่อาจเลยยูตัวนี้ไป เจ๋ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง