เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3324 สมัยก่อนผู้ชายจะแต่งงานมีเมียสักคนต้องมีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการด้วยเหรอครับ
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 04 ก.ค. 14, 20:01

อย่างคุณพระท่านนี้ครับ


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.ค. 14, 22:19

ไม่เคยเห็นเลย
เอกสารนี้ลงว่า พ.ศ. 2471  ถ้าอ่านไม่ผิด  อยู่ในรัชกาลที่ 7
น่าจะเทียบได้กับเอกสารจดทะเบียนสมรสมั้งคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.ค. 14, 07:28

ใบอนุญาตนี้ออกตาม "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก" พุทธศักราช ๒๔๕๗ หมวดที่ ๖ ว่าด้วยการอนุญาตให้มีครอบครัวและเคหะสถาน มาตรา ๒๓-๓๒

ส่วนคำอธิบาย ต้องให้คุณวีมีรับไม้ต่อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.ค. 14, 08:04

ใบอนุญาตให้มีภรรยานี้เป็นพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะให้ข้าราชสำนักมี "ผัวเดียวเมียเดียว"  ด่วยมีพระราชดำริว่า การที่ชายมีภรรยาหลายคนนั้นส่งผลกระทบถึงสถานะครอบครัว  เด็กที่เกิดมาจะมีปมด้อยว่าเพราะเหตุไรบิดามารดาจึงแยกกันอยู่  และยังมีปัญหาเรื่องมรดกเป็นเรื่องรกโรงรกศาล  อีกประการคือ เพื่อป้องกันมิให้ข้าราชสำนักไปคว้าเอาหญิงที่มีประวัติไม่ดีมาเป็นภรรยาอันจะเสื่อมเสียถึงพระราชสำนัก

ประเด็นเรื่องใบอนุญาตมีภรรยานี้  มีวิทยานิพนธ์และหนะงสือฉบับหนึ่งหยิบไปเป็นประเด็ว่า ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงตรากฎมณเฑียรบาลให้ข้าราชสำนักขออนุญาตมีภรรยานี้เป็นเพราะทรงหวงมหาดเล็กหุ่มๆ มิให้ไปข้องแวะกับหญิงสาว  ซึ่งจากใบอนุญาตข้างยนนั้นย่อมเป็นพยานว่า แม้ในรัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองยังมีการขออนุญาตมีภรรยาตามกฎมณฑียรบาลนั้นอยู่  กฎมณเฑียรบาลนี้จึงมิได้ตราขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์และหนังสือฉบับนั้นเพ่อฝันไปเอง
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ค. 14, 16:14

เดาได้เลยค่ะว่าหนังสือเล่มไหน คนเขียนเข้าขั้นเพ้อและอคติมาก
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 10:18

ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ

ในสมัยนั้น เมื่อข้าราชการได้รับอนุญาตให้มีภรรยาแล้ว ยังต้องมีเอกสารอื่นอีกไหมครับ หมายถึงว่า ยังต้องไปจดทะเบียนสมรสกันอีกไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 10:55

ขออนุญาตขยายความเรื่อง "ข้าราชการ"

ข้าราชการที่ต้องปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักนี้ ไม่ใช่ข้าราชการทั้งหมด แต่มีระบุประเภทของข้าราชการที่ต้องปฎิบัติตามไว้ ๑๒ ข้อ คือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 10:59

การจดทะเบียนสมรสเพิ่งมีบัญญัติไว้ใน "พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘"  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ก.ค. 14, 12:56

ขอบคุณครับ
ถ้าเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นพระราชกุศโลบายการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะเปลี่ยนแปลงระบบหลายเมีย เป็นระบบผัวเดียวเมียเดียว โดยทรงเริ่มจาก ข้าราชการที่รับใช้ใกล้ชิดก่อน ในปี 2457 ด้วยการกำหนดให้ขอใบอนุญาตก่อนถึงจะแต่งงานได้ จากนั้นจึงขยายไปยังบุคคลทั่วไปในปี 2478 ด้วยระบบจดทะเบียนครอบครัว

แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ ภายหลังปี 2478 ข้าราชการตามกฎมณเทียรบาลฯ หากประสงค์จะแต่งงานก็คงต้องทำ 2 ขั้นตอนสิครับ คือขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะไปจดทะเบียนสมรสได้ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ก.ค. 14, 17:46

ในพระราชบันทึกจดหมายเหตุรายวันส่วนพระองค์  รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า แนวพระราชดำริเรื่องผัวเดียวเมียเดียวนี้มีมาตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  เมื่อเสวยราชย์แล้ววันหนึ่งทรงหารือข้อราชการกับกับสมเด็จกรมพระยาเทวัวงศ์วโปการ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถึงเรื่องนี้  ซึ่งเสนาบดีผู้ใหญ่ในราชการทั้งสองพระองค์ก็ทรงเห็นชอบด้วย  จึงได้มีพระราชดำริให้ตรากฏมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวในพระราชสำนักขึ้นก่อน  แล้วจึงตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งพระราชวงศ์  แล้วทรงจัดให้มีการจดทะเบียนสมรสในพระราชสำนัก  โดยรัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นคู่แรกที่จดทะเบียนสมรสในประเทศไทย  จากนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติเรื่องการสมรสไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ซึ่งยกร่างเสร็จและประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง