เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 26990 เวนคืนวังสระปทุม แค่คิดก็ผิดแล้ว
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 16:35

ผมว่านะ ตั้งแต่แรกที่มีการออกแบบสร้างทางด่วน วิศวกร ผู้ออกแบบ ก็น่าจะเห็นตั้งแต่แรกแล้ว ว่าเส้นทางที่ตัวจะสร้างนั้น ตัดผ่านอะไร โอเค ถ้าวิศวกร เด็กไป ไม่มีอำนาจตัดสินใจ หรือเป็นนโยบายจากผู้ใหญ่ จึงเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำไปตามนั้นก่อน อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกัน

แต่มาถึงวันนี้ ก็เห็นกันอยุ่แล้ว ว่าท่านกำลังจะเอาทางด่วนมาแลกวัง แลกวัด แถมไม่ใช่วังธรรมดาด้วย ยังมีเจ้านายประทับ และเป็นวังที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ไม่น่าจะต้องคิดอะไรแล้ว ของเดิมเป็นอย่างไรก็ช่างมันไป มาวันนี้เห็นแล้ว ทราบแล้ว ว่าเป็นเรื่อง ถ้าการทางฯ อยากให้เรื่องจบ ก็แค่ขอยกเลิก พรฎ. ฉบับนี้ไปเสียเองก็สิ้นเรื่อง (หรือแค่ไม่ต่ออายุมัน มันก็ตายไปเอง พรฎ.นั่นหนะ) 

แต่ถ้า การทางฯ ยกเลิกไม่ได้ เพราะไม่มีอำนาจ หรือมีข้อติดขัดเรื่องข้อสัญญากับเอกชนก็แถลงมาสิว่า ที่เลิกไม่ได้เพราะมีข้อขัดข้องอย่างนี้ๆ รัฐบาลก็จะได้หาทางช่วยเหลือผ่อนผัน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่า บ. เอกชนนั้น เขาก็มีสำนึกเหมือนกัน ถ้ารู้ว่าโครงการของเขากระทบใจคนไทยจำนวนมากอย่างนี้ เขาอาจจะไม่ขอทำแล้วก็ได้) แต่นี่ อากัปกริยาของการทางฯ ทำท่าเหมือนกับว่า ยังไงก็ต้องทำทางด่วนท่อนนี้ให้ได้ ทำตัวปกป้องกฎหมายของตนเต็มที่ แถมออกมาตำหนิคนที่เอาเรื่องมาเปิดเผยอีกแหนะ

ดูแล้วประหลาดพิกลครับ 
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 17:28

ตั้งแต่ปี 2532 ใครนะเป็นรัฐบาลในช่วงนั้น?

จำได้แต่ว่าปี 2535 มีเหตุการณ์ประท้วงพล.อ. สุจินดา เป็นนายกเกิดขึ้น นึกไม่ออกครับว่ารัฐบาลของใคร? น่าจะเป็นพล.อ.ชาติชายหรือเปล่า?

..ไม่เชี่ยวชาญ chronology เหมือนบรรดาสมาชิกในนี้เสียด้วย เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 17:49

จากเฟซบุ๊คของดร.โสภณ พรโชคชัย

ด่วน อย่าเชื่อใครใส่ร้ายปูเรื่องวังสระปทุม

ตามที่กระพือใน fb ว่ารัฐบาลปูคิดเวนคืนวังสระปทุมนั้น เป็นความเท็จ พระราชกฤษฎีกาที่จะสร้างทางด่วนคร่อมคลองแสนแสบนี้มีมาเกินกว่า 20 ปีแล้ว เมื่อไม่ได้สร้างก็ต่ออายุมาเรื่อย ๆ ทุกรัฐบาล ปกติเจ้าหน้าที่มักทำแนวเวนคืนให้กว้างเกินจริง จึงขีดเส้นส่งเดชคลุมวังสระปทุม บางโครงการจะเวนคืนสร้างถนนกว้าง 40 เมตร ก็กลับกำหนดแนวเวนคืนกว้างถึง 1,000 เมตรเป็นต้น อย่าเชื่อการใส่ร้ายทำให้ไทยแตกแยกเป็นอันขาดครับผม ดูรายละเอียดที่

http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement294.htm

AREA แถลง ฉบับที่ 6/2555: 12 มกราคม 2555
ควรเร่งสร้างทางด่วนช่วงคลองแสนแสบ


ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
sopon@area.co.th; www.facebook.com/dr.sopon4

          กรณีทางด่วนแนวคลองแสนแสบ เป็นความเข้าใจผิดว่าจะเวนคืนที่วังสระประทุม เสนอให้สร้างทางด่วนใต้คลองแสนแสบ 2 ชั้น เป็นทางไปและกลับ และเสนอให้เวนคืนสร้างห้องชุดแนวราบแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในบริเวณใกล้เคียงเพื่อลดปัญหาการเวนคืน
          ตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นการต่ออายุพระราชกฤษฎีกาเดิมนั้น อาจก่อให้เกิดความสับสนในหลายประการ ได้แก่
          1. พระราชกฤษฎีกานี้เป็นพระราชกฤษฎีกาใหม่หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ เพราะในความเป็นจริงเป็นการออกตามพระราชกฤษฎีกาเดิมที่หมดอายุลงไปหลายฉบับแล้ว โดยคงสาระเดิมไว้ทุกประการ
          2. พระราชกฤษฎีกานี้เวนคืนวังสระประทุมหรือสถานที่สำคัญอื่นด้วยหรือไม่ ซึ่งไม่มีการเวนคืนวังสระประทุม แต่เนื่องจากแนวเขตที่กำหนด กำหนดไว้กว้างตาม “ประเพณี” การออกพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมักออกพระราชกฤษฎีกากว้างกว่าความเป็นจริง ทั้งที่แนวเวนคืนอาจกว้างเพียง 100 เมตร เป็นต้น ดังนั้นในอนาคต ควรที่หน่วยราชการที่รับผิดชอบการเวนคืน กำหนดเขตการเวนคืนจริงให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น ผู้อยู่ในเขตเวนคืนที่กว้างเกินความเป็นจริงอาจตกใจ และที่สำคัญ ทำให้ไม่สามารถขายทรัพย์สินได้เนื่องจากผู้ซื้ออาจไม่กล้าซื้อด้วยเกรงจะถูกเวนคืนนั่นเอง
          อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ การก่อสร้างทางด่วนเพื่อกระจายการจราจรตามแนวคลองแสนแสบสมควรที่จะดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจราจรในเขตใจกลางเมืองติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณถนนราชดำริ ต้นทุนการสูญเสียน้ำมันและเวลาของประชาชนส่วนใหญ่ ย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาติโดยรวม อย่างไรก็ตามการเวนคืน ควรจ่ายค่าทดแทนให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และให้ความเคารพต่อศาสนสถานและความเป็นชุมชนมุสลิมดั้งเดิมที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่สมัยตั้งกรุงเทพมหานคร
          ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จึงขอเสนอแนวทางการเวนคืนด้วยการเวนคืนที่ดินในบริเวณใกล้เคียงเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยเป็นแบบห้องชุดแนวราบที่ออกแบบให้คล้ายบ้านเดี่ยวยกระดับ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการย้ายประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้มานาน ทำให้วิถีชีวิตไม่ได้รับผลกระทบจากการรื้อย้ายบ้านหรือชุมชนบางส่วนออกไป นอกจากนั้น ชุมชนในพื้นที่เดิมบางส่วนยังเป็นชุมชนแออัด ซึ่งหากสามารถสร้างใหม่ให้มีความสูงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนผู้ถูกเวนคืนได้รับผลกระทบน้อยและได้ประโยชน์จากการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการอยู่อาศัย ย่อมทำให้ประชาชนยินยอมรับการเวนคืน
          นอกจากนี้รัฐบาลยังอาจพิจารณาสร้างทางด่วนใต้ดินในช่วงบริเวณดังกล่าว โดยสร้างอยู่ใต้คลองแสนแสบอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้อาจสร้างทางด่วนใต้ดิน 2 ชั้น เป็นช่องขาไปและขากลับ และบางส่วนอาจล้ำเข้ามาในแดนกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินในเขตชุมชนแออัด ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมบ้าง และสมควรจ่ายค่าทดแทนตามสมควร แต่คาดว่าคงเป็นเงินไม่มากนักสำหรับการลงทุน เนื่องจากที่ดินในชุมชนแออัดย่อมมีศักยภาพในการพัฒนาในทางอื่นต่ำ มูลค่าจึงไม่สูงเช่นเดียวกับที่ดินใจกลางเมืองผืนอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 17:54

ตั้งแต่ปี 2532 ใครนะเป็นรัฐบาลในช่วงนั้น?

จำได้แต่ว่าปี 2535 มีเหตุการณ์ประท้วงพล.อ. สุจินดา เป็นนายกเกิดขึ้น นึกไม่ออกครับว่ารัฐบาลของใคร? น่าจะเป็นพล.อ.ชาติชายหรือเปล่า?

..ไม่เชี่ยวชาญ chronology เหมือนบรรดาสมาชิกในนี้เสียด้วย เจ๋ง

รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 18:18

ผมไม่สนใจว่ารัฐบาลไหน นักการเมืองที่เห็นๆล้วนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไว้ใจไม่ได้ทั้งนั้น
 
อ้างถึง
ตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นการต่ออายุพระราชกฤษฎีกาเดิมนั้น อาจก่อให้เกิดความสับสนในหลายประการ ได้แก่
          1. พระราชกฤษฎีกานี้เป็นพระราชกฤษฎีกาใหม่หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ เพราะในความเป็นจริงเป็นการออกตามพระราชกฤษฎีกาเดิมที่หมดอายุลงไปหลายฉบับแล้ว โดยคงสาระเดิมไว้ทุกประการ
นี่คือแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาที่ว่า ไม่ได้เป็นเส้นคู่ขนานเช่นแนวถนน แต่เป็นพื้นที่ที่มีเส้นรอบรูปแบบอิสระ ยึกยักไปตามพื้นที่ที่เล็งไว้ว่าจะเวนคืน อาจจะเป็นส่วนที่เป็นด่านขึ้นลง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 18:32

เพิ่มเติมข้อมูลว่า เมื่อมีการออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อปี 2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขณะนั้นคือนายมนตรี พงษ์พานิช

ชื่อนายมนตรี  คงไม่มีอะไรต้องสงสัยอะไรอีกแล้ว ว่าโครงการจะมีนอกมีในหรือเปล่า  ชื่อนี้การันตีคุณภาพระดับอเวจีเรียกพี่

จริงๆ อ่านข่าวนี้  ตัดเรื่องที่อีตาผู้ว่าฯ ออกมาโกหก ผมก็ออกจะเห็นใจผู้บริหารการทางชุดปัจจุบันเหมือนกัน เพราะต้องรับมรดกบาปมาจากอดีต เพราะทางด่วนบ้านเรานี่ก็แปลกๆ อย่างทางด่วนขั้นที่ 1 รัฐบาลลงทุนสร้างเอง แต่กลับไปยกให้เป็นส่วนหนึ่งของสัมปทานแก่เอกชนไปด้วย แทนที่คนที่จะใช้บริการแค่ทางด่วนขั้นที่ 1 ที่ถอนทุนค่าก่อส้รางไปนานแล้ว ต้องมาจ่ายค่าผ่านทางแพงๆ ให้กำไรบริษัทเจ้าของสัมปทานไป

ผมยังมองโลกในแง่ดีว่า ที่มีการต่อพระราชกฤษฎีกาไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีจุดประสงค์จะเวนคืนที่ดินจริง เพียงแต่ต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าของสัมปทานฟ้องรัฐข้อหาผิดสัญญามากกว่า เลยยื้อซื้อเวลากันไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 18:38

เดี๋ยวจะกล่าวถึงเรื่องมองโลกในแง่ดีต่อไป
อ้างถึง
2. พระราชกฤษฎีกานี้เวนคืนวังสระประทุมหรือสถานที่สำคัญอื่นด้วยหรือไม่ ซึ่งไม่มีการเวนคืนวังสระประทุม แต่เนื่องจากแนวเขตที่กำหนด กำหนดไว้กว้างตาม “ประเพณี” การออกพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมักออกพระราชกฤษฎีกากว้างกว่าความเป็นจริง ทั้งที่แนวเวนคืนอาจกว้างเพียง 100 เมตร เป็นต้น ดังนั้นในอนาคต ควรที่หน่วยราชการที่รับผิดชอบการเวนคืน กำหนดเขตการเวนคืนจริงให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น ผู้อยู่ในเขตเวนคืนที่กว้างเกินความเป็นจริงอาจตกใจ และที่สำคัญ ทำให้ไม่สามารถขายทรัพย์สินได้เนื่องจากผู้ซื้ออาจไม่กล้าซื้อด้วยเกรงจะถูกเวนคืนนั่นเอง

มาดูลิ่วล้อตะแบงกันเข้าไปก่อน
ท่านทั้งหลายโปรดดูกันให้ชัดๆว่ามันไม่ใช่แนวเวนคืนกว้างร้อยเมตร แต่มันเป็นแผนที่ที่กะจะฮุบบางส่วนของวังและวัดไปทั้งวัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 18:53

อ้างถึง
ผมยังมองโลกในแง่ดีว่า ที่มีการต่อพระราชกฤษฎีกาไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีจุดประสงค์จะเวนคืนที่ดินจริง เพียงแต่ต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าของสัมปทานฟ้องรัฐข้อหาผิดสัญญามากกว่า เลยยื้อซื้อเวลากันไปเรื่อยๆ
คุณประกอบครับ ในโลกของความเป็นจริง การเวนคืนที่มีผู้คัดค้าน(ตอนนั้นคือเรื่องชุมชนบ้านครัว)จนรัฐไม่กล้าฝืนสร้าง คู่สัญญาต้องเจรจากันแล้วว่าจะเอาอย่างไร เอกชนเป็นผู้ลงทุนมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินลงทุนอันเป็นความหายนะ เขาไม่กล้าเป็นศัตรุกับมวลชนพอๆกับรัฐ ทุกปัญหามันมีทางออกเสมอ แนวถนนมันแก้บนกระดาษ แก้ง่าย สุดท้ายไม่รู้รัฐบาลไหนแถลงว่าทางด่วนบ้านครัวยกเลิกไม่ทำแล้ว ไม่เห็นมีข่าวว่าเจ้าของสัมประทานจะฟ้อง

แต่นี่มันหมกเม็ด สถานที่ที่มีความสำคัญพอๆกับชุมชนบ้านครัว คือวังสระปทุมและวัดสระปทุม ไม่ได้แอะเป็นข่าวเลยถ้าท่านใหม่ท่านไม่ทรงระเบิดออกมา ถ้ามันสำเหนียกกันว่าจะมีปัญหา ทำไมมันไม่แก้แบบแก้แนวเลี่ยงไปทางอื่น ทิ้งไว้ตั้งหลายสิบปี ต่ออายุมันไปเรื่อยๆทุกรัฐบาล มันต้องไม่เกี่ยวกับบริษัทผู้รับสัมประทาน
 
ไอ้ทางยกระดับโฮปเวรเขายังทุบทิ้งให้เจ๊กการ์ดอนวูฟ้องได้ฟ้องไป(ฝีมือนายมนตรีเหมือนกัน) ปัญหาที่เวนคืนตรงนี้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายกว่าแยะ ผมอยากรู้ว่าผู้รับสัมประทานเป็นใคร ทำไมต้องกลัว
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 19:25

เจ้าของสัมปทานทางด่วนคือบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (บีอีซีแอล) ครับ ที่ทางด่วนต้องขึ้นราคาทุกๆ 5 ปี และยกทางด่วนขั้นที่ 1 ไปให้บริษัทนี้บริหารจัดการหากำไรทั้งที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนทำขั้นที่ 1 ก็เพราะสัญญาที่การทางพิเศษไปทำไว้กับบริษัทนี้แหละครับ ส่วนรายละเอียดสัญญาต่างๆ เป็นอย่างไรผมก็ไม่รู้แน่ชัด แต่คิดว่าการแก้ไขสัญญาหรือยกเลิกข้อตกลงบางอย่าง อาจเป็นช่องทางให้รัฐต้องเสียค่าโง่ก้อนโตได้ เลยต้องยื้อเวลาไปเรื่อยๆ เพราะดูเหมือนเมืองไทยเรา สัญญาสัมปทานที่มีมูลค่าสูง ดูเหมือนรัฐจะไปเซ็นแบบเสียเปรียบเอกชนตลอด  อย่างโฮปเวรนั่นเราก็เสียค่าโง่ชดเชยให้เค้าไปหลายพันล้านหรือหมื่นล้านผมจำไม่ได้แน่ครับ ก็นายมนอเวจีตรีศรีนรกเจ้าเก่านี่แหละ ตัวทำสัญญาเสียเปรียบไว้ ถ้าจำไม่ผิดเป็นสัญญาแบบว่าไม่มีกำหนด มันจะสร้างเสร็จเมื่อไหร่ก็ได้ เราขอยกเลิกสัญญาก็ไม่ได้ เลยต้องเอาภาษีคนไทยก้อนโตมากๆ นี่แหละไปจ่ายเป็นค่ายกเลิกสัญญา

กรณีทางด่วนนี่ผมเองก็ไม่รู้ว่านักการเมืองกับนักธุรกิจไปตกลงอะไรกันลึกๆ ไว้อย่างไร หรือสัญญามีการหมกเม็ดอะไรไว้บ้าง  เพราะผู้เกี่ยวข้องบางคนก็ลงนรกกันไปแล้ว นี่ถ้าไม่ติดวัง ได้อาศัยบารมีสมเด็จพระเทพฯ ลำพังมีแต่ชาวบ้านครัวสู้อยู่ฝ่ายเดียว ผมคิดว่าวันนี้คงไม่มีชุมชนบ้านครัวเหลืออยู่นานแล้วหละครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 20:52

ชื่อบริษัทอย่างเดียวมันไม่บอกอะไร ต้องไปดูว่าบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (บีอีซีแอล)ใครเป็นผู้ถือหุ้น นักลงทุนแท้ๆส่วนหนึ่งละ  อีกส่วน นักการเมืองมันก็ใช้nomineeเป็นผู้ถือหุ้นแทนมีเอี่ยวกับเขาด้วย ก็ไม่แน่นะ ขยะใต้พรมบางทีก็ปิดไม่มิด

ผมยังไม่ปักใจ ตอนเซ็นสัญญา เส้นทางมันน่าจะเป็นแค่ประมาณการที่ต้องมีความยืดหยุ่นพอสมควร ใครจะไปกล้าผูกมัดในสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของชาวกรุงนับพันนับหมื่น แบบมันต้องแก้ได้ครับ ไม่มีทางตายตัวตั้งแต่เริ่มแรก แล้วจะมาปรับอะไรกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 21:00

จะบอกคุณประกอบอีกอย่างหนึ่งว่า กรณีย์ที่ข้อเท็จจริงดิ้นได้เช่นนี้ ฟ้องร้องเอาผิดกันยากครับ ขอบอก

"คมนาคม-รฟท.”เฮ! ไม่ต้องจ่ายค่าโง่ “โฮปเวลล์”

เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

วันที่ 13 มีนาคม 2557

13 มี.ค.57 - ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ "คมนาคม-รฟท.”เฮ! ไม่ต้องจ่ายค่าโง่ “โฮปเวลล์” 11,888 ล้านบาท
ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ -13 มี.ค.2557-- เวลา 11.00 น.ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ ในข้อพิพาทหมายเลขดำ 119/2547 และ 44/2550 ระหว่าง กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) กับ บริษัทโฮปเวลล์ประเทศไทย จำกัด คู่สัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกทม. เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 51 และ 15 ต.ค. 51 ที่อนุญาโตชี้ขาดให้คมนาคมและรฟท.ต้องชดใช้เงินค่าเสียหายรวมจำนวน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้กับโฮปเวลล์ กรณีบอกเลิกสัญญา


http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378398432/
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 21:06

ปัญหาหนึ่งคือไอ้บริษัท BECL นี่มันจดทะเบียนในตลาดหุ้นด้วยครับ   ถ้าผมจำไม่ผิดมักจะมีข้ออ้างนึงที่พวกผู้บริหารบริษัทหัวหมอมักจะใช้กัน เวลาที่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาต่างๆ ที่บริษัทมีกับรัฐ คือถ้าสัญญานั้นทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ได้  ผู้บริหารก็จะอ้างว่าต้องปกป้องผู้ถือหุ้น จึงไม่อาจแก้ไขสัญญาได้  เพราะผู้บริหารจะโดนผู้ถือหุ้นฟ้องร้องเอาได้ เป็นอะไรทำนองนี้แหละครับ  เลยเป็นที่มาของการซุกขยะไว้ใต้พรมกันไปเรื่อยๆ ยื้อเวลากันเข้าไป เพราะไม่มีใครอยากแตะเผือกร้อน เลยจะรอสัมปทานหมดแทน ยกเว้นกรณีที่สัญญาเป็นแบบมหาโกงไม่มีทางเลี่ยงหรือยื้อแล้วยิ่งแย่แบบโฮปเวร อันนั้นรัฐก็ต้องกัดฟันกลืนเลือดไป

ส่วนถ้าจะเปลี่ยนกฏหมาย ใช้วิธีเผด็จการหน่อย คือรัฐมีอำนาจเปลี่ยนสัญญาต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ ก็จะกระทบต่อการลงทุนในส่วนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้นักลงทุนต่างๆ กลัวและเข็ดขยาด ต่อไปจะไม่มีใครกล้ามาลงทุนหรือทำสัญญากับรัฐบาลไทยอีก ผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่  เปลี่ยนกฏหมายให้คดีคอรัปชั่นไม่มีอายุความ  ต่อให้ศาลฏีกาตัดสินไปแล้วแต่ถ้าเจอหลักฐานใหม่ ก็ให้ดำเนินคดีใหม่ได้ แบบนี้ยังพอจะมีทางเป็นไปได้มากกว่าหนะสิครับ

ฮิฮิ เห็นมีควมเห็นใหม่ท่านนวรัตน ว่าศาลปกครองตัดสินว่าค่าโง่โฮปเวรไม่ต้องเสีย อันนี้ขอตามไปอ่านก่อนนะครับ เพราะเหมือนเคยอ่านผ่านตานานมาแล้วว่าจ่ายไปแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 21:47

สัญญาเขียนว่าอย่างไรยังไม่รู้ แล้วจะมารื้อวังรื้อวัดก็เป็นเรื่องแน่

แค่มุสลิมไม่กี่ครัวเรือน รัฐก็ถอยทางด่วนบ้านครัวมาแล้ว ไม่เห็นใครมาปรับสินไหมอะไร คุณประกอบอย่าเป็นห่วงแทนเขาเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 21:51

น่าจะมีการตรวจสอบโครงการของการทางพิเศษนี้อย่างจริงจังบ้าง ว่าทำอะไรไปบ้าง   และกำลังจะทำอะไรต่อไป     บางทีปัญหาที่อึมครึมอยู่อาจโปร่งใสขึ้นได้นะคะ  ไม่งั้นพูดกันคนละทาง ประชาชนก็งง ไม่รู้จะเชื่อใคร

ตอนนี้ มีคำสั่งของคสช.ฉบับที่45 /2557 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบโครงการหรือการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐได้ทุกโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาประเทศ   ผลการพิจารณาใดๆไม่ต้องอ้อมค้อมนำเสนอหน่วยงานต่างๆ  ที่อาจไปติดเข้าตรงไหนก็ได้  แต่สามารถยิงลูกตรงขึ้นต่อพลเอกประยุทธ์ได้เลย
      
อำนาจของคตร.มีอีกอย่างคือเสนอแนะเพื่อให้มีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้   ถ้าหากว่ามีอะไรทะแม่งที่ต้องสอบสวนขยายผลทางลึก  ก็จะส่งไปให้ป.ป.ช.หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แล้วแต่จะเกี่ยวกับหน่วยงานไหนมากกว่ากัน

ถ้าทำได้ อาจได้คำตอบเรื่องโครงการทางด่วนพิเศษให้หายสงสัยกันเสียที   ดำเนินการไปแค่ไหน  หมดงบประมาณไปเท่าไหร่แล้ว
แล้วเรื่องบริษัทคู่สัญญาก็จะโผล่ออกมาเองละค่ะ ว่าฟ้องได้ฟ้องไม่ได้ยังไง

      
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 21:57

ก็ได้แต่เรียกร้องในเรือนไทยนี่แหละครับ ไม่ทราบจะสะท้อนถึงท่านได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง