เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 60131 พัสตราภรณ์สตรีไทย รัชกาลที่ ๑ ถึงปัจจุบัน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ส.ค. 14, 16:17

เมื่อผ้าซิ่นเป็นพระราชนิยม   สตรีนำสมัยในรัชกาลที่ 6   จึงแต่งกายด้วยผ้าซิ่นแทนโจงกระเบน โดยเฉพาะเป็นการแต่งกายเต็มยศ
ผ้านุ่งในยุคนั้นยาวเพียงข้อเท้า  ไม่ลงมากรอมเท้า
ส่วนเสื้อเป็นแบบตะวันตก   เรียบๆ ไม่มีปก ไม่แต่งด้วยลูกไม้มากมายอย่างเมื่อต้นรัชกาล   ตรงกับแฟชั่นตะวันตกที่เปลี่ยนจากลูกไม้กรุยกรายหรูหรามาเป็นแบบเสื้อที่เรียบง่ายขึ้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 12:55

สงครามโลกครั้งที่ 1 นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกตะวันตกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน    แม้สงครามสิ้นสุดลง ผลกระทบที่มีต่อชีวิตประจำวัน  ทัศนะความคิดอ่าน  ค่านิยม ความเชื่อถือ ก็เปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนสงครามอย่างไม่มีวันกลับมาอีก   
รวมทั้งการแต่งกายด้วย

โลกที่อลังการด้วยผ้าลูกไม้หรูหรากับกระโปรงยาวลากดินจบลงไปแล้ว   ชีวิตใหม่เริ่มขึ้นอย่างเรียบง่ายและกระฉับกระเฉงคล่องตัวกว่า
แฟชั่นนี้เองที่มามีอิทธิพลแก่สตรีไทยในช่วงปลายรัชกาลที่ 6


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 12:56

พระนางเจ้าสุวัทนาเมื่อครั้งยังทรงเป็นเจ้าจอมสุวัทนา  ฉลองพระองค์แบบสตรีในยุค 1920s กับซิ่นผ้าไทยซึ่งตัดคล้ายกระโปรงหญิงสาวชาวยุโรป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 17:40

ชุดวิวาห์ยุค 1920s ของหญิงสาวตะวันตก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ส.ค. 14, 17:41

ฉลองพระองค์อภิเษกสมรสของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 13:52

จากรัชกาลที่ 6 มาถึงรัชกาลที่ 7   แฟชั่นยุค 1920s  ล่วงผ่านเข้า 1930s   แบบเสื้อโดยเฉพาะเสื้องานปาร์ตี้ หรือชุดราตรี เป็นแบบเรียบๆเกลี้ยงๆขึ้น   แขนแค่ไหล่ เผยให้เห็นช่วงแขนตลอด  คอกว้าง  ตัวเสื้อยาวทรงตรงลงมาถึงกระโปรงยาวทิ้งตัว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 13:53

แฟชั่นสตรีไทยเมื่อถึงรัชกาลที่ 7  ก็ก้าวหน้าไปทางตะวันตกอย่างเต็มตัว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 06 ส.ค. 14, 13:55

 ยิ้มกว้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ส.ค. 14, 16:45

ฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7  ตรงกับแฟชั่นยุคปี 1925


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ส.ค. 14, 16:58

แฟชั่นในยุคปลาย 1920s ประมาณ 1928  ตรงกับรัชกาลที่ 7
พระรูปนี้คือสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ส.ค. 14, 14:13

ในค.ศ. 1939  สงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดขึ้นในยุโรปเมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์   ไฟสงครามลามไปถึงฝรั่งเศสและอังกฤษ    การแต่งกายของสตรีในยุค 1940s ก็พลิกโฉมเป็นรูปใหม่ที่เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมือง     ไม่มีชุดแนบเนื้อกรุยกรายดูสำอาง อย่างในศตวรรษก่อน   
แฟชั่นยุค 1940s  เป็นเสื้อผ้าเรียบๆรัดกุม  กระโปรงสั้นขึ้นแค่ปิดเข่า  เสื้อมีปกมีแขนมิดชิด   ถ้าออกนอกบ้านก็สวมโค้ต  มีหมวกและถุงมือเรียบร้อยเป็นงานเป็นการ

สำหรับสตรีไทย ยุค 2480s   แฟชั่นเดินมาถึงหัวเลี้ยวสำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การแต่งกายไทย   เมื่อจอมพลป.พิบูลสงครามมีโอกาสไปดูงานในประเทศตะวันตก   เห็นการแต่งกายของชายหญิงในประเทศเหล่านั้นว่าสวยงามมีระเบียบเรียบร้อย   สวมหมวกสวมรองเท้าดูภูมิฐาน   จึงกลับมาตั้งกฎหมายกำหนดการปฎิวัติเครื่องแต่งกายชายหญิงไทยให้เหมือนประเทศเหล่านั้น
ท่านผู้นำมีความเชื่อว่าประเทศที่เจริญแล้วคนเขาแต่งกายแบบนี้   ถ้าจะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศเจริญขึ้นมาบ้างก็ต้องแต่งกายแบบเขาด้วย

มาดูแฟชั่นทศวรรษ 1940s กันนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ส.ค. 14, 14:15

ขณะที่สงครามโลกกำลังคุกคามชีวิตผู้คนอยู่ในยุโรป     ญี่ปุ่นก็แผ่แสนยานุภาพเข้ามาในประเทศไทย    กรุงเทพกลายเป็นสมรภูมิให้พันธมิตรและญี่ปุ่นทิ้งระเบิดกันเป็นว่าเล่น
แต่คนไทยก็ต้องแต่งตัวภูมิฐานกันไปร่วมงานต่างๆที่จัดโดยราชการและเอกชน    ต้องสวมหมวกตามหลัก "มาลานำไทยไปสู่มหาอำนาจ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ส.ค. 14, 14:18

สาวงามคนนี้ไม่ทราบชื่อเสียงเรียงนาม แต่แต่งกายชนะประกวดในงาน"วัธนธัม"    ถูกต้องตาม "รัฐนิยม"ของจอมพลป. ทุกประการ มีทั้งหมวก ถุงมือ และรองเท้าแบบฝรั่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ส.ค. 14, 14:20

ตัวอย่างมาลา(หมวก)ไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ส.ค. 14, 14:25

สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในค.ศ. 1945   สำหรับไทย สงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลงในพ.ศ. 2488  เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้  ไทยค่อยๆกอบกู้บ้านเมืองขึ้นจากซากปรักหักพังและความยากแค้น    นักเรียนไทยจากต่างแดนทยอยกลับบ้าน นำแฟชั่นใหม่มาเผยแพร่ในกรุงเทพด้วย

เมื่อบ้านเมืองสงบ  ผู้ชายที่ไปทำหน้าที่ป้องกันประเทศพากันกลับบ้าน  ผู้หญิงก็มีโอกาสกลับสู่สภาพ "ผู้ยิ้งผู้หญิง" อีกครั้ง   แฟชั่นในยุค 1950s   เริ่มเน้นความอ้อนแอ้นอรชรด้วยกระโปรงรัดเอวเล็ก และตัวกระโปรงบานรอบตัว   ยาวเลยเข่าถึงครึ่งน่อง     ดูอ่อนช้อยแบบหญิงสาว
กระโปรงยาวบานแบบนี้เรียกว่า new look   ไทยเรียกทับศัพท์ว่ากระโปรงนิวลุค   สาวไทยหลังสงครามโลกรับมาเป็นแฟชั่นใหม่  โดยไม่มีหมวก   มาลาที่เคยนำไทยไปสู่มหาอำนาจสูญหายไปจากสังคมไทยแล้ว    แม้จอมพลป.กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ก็ไม่ได้เรียกร้องให้ชายหญิงสวมหมวกอีก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง