เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
มีคนขอมาหลังไมค์ ให้ช่วยลงรูปและคำอธิบายแฟชั่นสตรีไทยในแต่ละยุค ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ เพื่อความเข้าใจในการจัดแฟชั่นค่ะ สมัยรัชกาลที่ 1 ยังไม่มีการถ่ายรูปเกิดขึ้น ก็คงจะอาศัยได้แต่ภาพวาดผนังโบสถ์ซึ่งกลายแห่งก็ซ่อมแซมที่ชำรุดในระยะหลังๆจนไม่แน่ใจว่าวัดไหนยังหลงเหลือภาพสตรีไทยที่ถูกต้องตามจริงบ้าง ได้แต่อาศัยความเข้าใจจากหนังสือและบันทึกต่างๆว่า สตรีไทยสมัยนั้นคงแต่งกายไม่ต่างจากสมัยธนบุรี เมื่อเกิดศึกสงคราม ผู้หญิงก็เปลี่ยนทรงผมจาก "ประบ่าอ่าเอี่ยมไร" อย่างสมัยปลายอยุธยามาตัดผมสั้นแบบผู้ชาย เพื่อปลอมแปลงตัว เปลี่ยนจากนุ่งจีบ มาเป็นโจงกระเบนแบบชาย เพื่อความรัดกุม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 29 มิ.ย. 14, 15:04
|
|
ภาพวาดไตรภูมิ ฉบับธนบุรี พศ. ๒๓๑๙ ต้นฉบับเก็บที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ วาดฉากการประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเห็นลักษณะการแต่งกายของระดับผู้นำ ระดับนางใน ระดับล่าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 29 มิ.ย. 14, 15:54
|
|
ภาพข้างบนนี้งามจริงๆ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 10:55
|
|
ภาพข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่าสมัยธนบุรี ไม่ว่านางในระดับสูงใกล้เจ้านาย หรือระดับบ่าวไพร่ทำงานพื้นๆ ล้วนไว้ผมสั้น แต่ยังรักษาเค้าเดิมสมัยอยุธยาคือไรผมที่เป็นวงรอบศีรษะ เหนือหน้าผาก การแต่งกายของหญิงสามัญยังคงใช้ผ้าผืนเดียว ถ้าไม่คาดอกก็ห่มสไบ ท่อนล่างเป็นโจงกระเบนเพื่อความรัดกุมและคล่องแคล่ว น่าเสียดายที่ภาพนี้ไม่ได้แสดงว่านางในสูงศักดิ์ผู้นั่งประคองพานรอรับพระราชกุมารนั้น นุ่งผ้านุ่งหรือว่าโจงกระเบน
การแต่งกายแบบนี้ยังคงรักษาเป็นประเพณีนิยมต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 3 ต่อเนื่องถึงต้นรัชกาลที่ 4 เห็นได้จากพระรูปพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากินรี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 พระรูปนี้ฉายเมื่อพระชันษามากแล้ว ในรัชกาลที่ 4 ทรงห่มสไบแต่ก็มีเสื้อแขนยาวสวมข้างในด้วย มิดชิดเรียบร้อย ท่อนล่างเป็นโจงกระเบน ผมตัดสั้นทรงดอกกระทุ่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 12:00
|
|
typical หรือ routine dress ของผู้หญิงธรรมดา ต้นรัตนโกสินทร์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 12:21
|
|
ผมทรงนี้พัฒนามาจากการตัดจุกของเด็กหญิง เมื่อตัดออก ผมที่เคยยาวขมวดไว้เป็นจุกบนกระหม่อมก็เหลือสั้น กระจายออกมาเป็นพุ่มบนศีรษะ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 30 มิ.ย. 14, 12:25
|
|
ส่วนรูปนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายสตรีของเขมรหรือไทยก็ตาม ไว้ผมและการแต่งกายแบบสมัยรัชกาลที่ 4 เรื่อยมาจนต้นรัชกาลที่ 5 แฟชั่นอย่างหนึ่งคือไว้ผมทัด คือมีเส้นผมยาวๆห้อยอยู่ข้างหู ยาวลงมาเกือบถึงบ่า ส่วนด้านบนยังตัดสั้นอยู่เช่นเดิม เสื้อผ้าก็คือผ้าสไบและโจงกระเบน เช่นเดิม เครื่องประดับมีเพียบทั้งกำไลมือและกำไลเท้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 01 ก.ค. 14, 07:19
|
|
ส่วนรูปนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายสตรีของเขมรหรือไทยก็ตาม ไว้ผมและการแต่งกายแบบสมัยรัชกาลที่ 4 เรื่อยมาจนต้นรัชกาลที่ 5 แฟชั่นอย่างหนึ่งคือไว้ผมทัด คือมีเส้นผมยาวๆห้อยอยู่ข้างหู ยาวลงมาเกือบถึงบ่า ส่วนด้านบนยังตัดสั้นอยู่เช่นเดิม เสื้อผ้าก็คือผ้าสไบและโจงกระเบน เช่นเดิม เครื่องประดับมีเพียบทั้งกำไลมือและกำไลเท้า
เป็นภาพราชสำนักฝ่ายใน กรุงกัมพูชา เต็มๆ ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 02 ก.ค. 14, 17:21
|
|
การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ห่มจีบ นุ่งโจง ผมทรงดอกกระทุ่ม ไว้ผมทัดยาวสองข้างหู
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ก.ค. 14, 12:35 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 09 ก.ค. 14, 17:34
|
|
สตรีทั่วไปยังคงนุ่งโจงกระเบน แต่ถ้าเป็นในราชสำนัก การแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ยังแต่งคล้ายกับนางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือห่มสไบและนุ่งผ้าจีบ ถ้าแต่งเต็มยศก็ห่มผ้าทรงสะพัก อย่างในพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 09 ก.ค. 14, 17:38
|
|
แต่ในรัชกาลที่ 4 นี้เอง ก็เกิดพัสตราภรณ์ใหม่สำหรับหญิงไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรก จากอิทธิพลของตะวันตก ้เป็นเหตุให้หญิงไทยได้นุ่งกระโปรงกันเป็นครั้งแรก ได้แก่พวก "ทหารหญิงจิงโจ้" ประจำในพระบรมมหาราชวัง ทหารหญิงพวกนี้ก็หัดจากพวกโขลนดั้งเดิมนั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 14 ก.ค. 14, 20:59
|
|
การแต่งกายสตรีไทยสมัยปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ไม่แตกต่างจากกันนัก สตรีไทยทั่วไปยังคงนุ่งโจงกระเบน ไม่ว่าสามัญชนหรือเจ้านาย สวมเสื้อและมีสไบทับอีกทีหนึ่ง นิยมอัดกลีบสไบแบบพลีต ในต้นรัชกาลที่ 5 ผมยังตัดสั้นแค่คอ แต่ด้านบนปล่อยให้ยาวขึ้น หวีเสยจากหน้าผากแต่งด้วยขี้ผึ้งให้เรียบอยู่ทรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 ก.ค. 14, 14:31
|
|
สำหรับสตรีสามัญ นุ่งผืน ห่มอีกผืน ก็ถือว่าเรียบร้อยพอแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 ก.ค. 14, 15:43
|
|
สำหรับสตรีสามัญ นุ่งผืน ห่มอีกผืน ก็ถือว่าเรียบร้อยพอแล้ว
บางครั้งก็ไม่ห่ม ผ้าก็มีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 ก.ค. 14, 16:44
|
|
ยังสงสัย ว่าสาวๆท็อปเลสพวกนี้ถูกจ้างมาโพสเป็นนางแบบนู้ดให้ช่างกล้องฝรั่งหรือเปล่า
เพราะมาดสาวในรูปของคุณหนุ่มสยาม ตั้งใจโพสอย่างนางแบบมืออาชีพ ดูการวางแขนวางเท้า ท่าฝรั่งเชียวละค่ะ ส่วนสาวงามของดิฉัน ก็ตั้งใจให้ถ่าย แต่คงยังอ่อนหัดอยู่ เลยยืนทื่อไปหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|