เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 50472 ลูกชิด (หรือชิต) ทำจากอะไรครับ
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ธ.ค. 05, 17:23

 เห็น "บ่าตาว" (บ่า ต๋าว) แล้วน้ำลายสอเลยครับผม

หากว่าใส่รวมมิตรแล้ว จะชอบมากและมักจะเก็บไว้กินทีหลังสุดเลย (( แต่ไม่ได้งก นาครับ 55)) เห็นบนดอยภูคา ก็มีเยอะเหมือนกัน ที่ชาวบ้านจะไปเก็บ แล้วมาหีบเอาเนื้อออกมาใส่ถุงขาย

ว่าแล้วก็หิว ออกไปหามากินดีกว่า
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
samongi
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59

เรียนคณะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เอกวิทยาการคอมพิวเตอ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ธ.ค. 05, 14:31

 หิวเหมือนกันค่ะ
ฝากความคิดถึงไปหาตาที่สันกำแพง เชียงใหม่ด้วยนะคะ ว่าหลานเป็นห่วง
คุณ ศศิศ อยู่อำเภออะไรคะ
ตอนนี้กำลังหนาวเลย
ตาคงปวดขาแย่
บันทึกการเข้า
Le Roi du Soleil
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ประเทศฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 02:56

 ที่อุตรดิตถ์เรียก "ลูกตาว" ครับ ที่นั่นมีโรงงานทำขายทั่วประเทศและส่งออกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ftslim2028
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 ม.ค. 10, 15:35

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล กำลังหาอยู่พอดีเลย ทำรายงานวิจัยนิดหน่อย แหะๆ
บันทึกการเข้า

นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ต.ค. 12, 23:19


ผมเข้าใจว่า ที่เรียก "ลูกชิด" (สะกดด้วย "ด" นะครับ ไม่ใช่ "ต" เพราะว่าเป็นคำไทย ไม่ใช่คำบาลี ถ้าเขียน ชิต แสดงว่ามีรากมาจากคำว่า ชิ-ตะ ซึ่งผิดนะครับ) ก็เพราะว่า คนภาคกลางรู้จักกินผลไม้ชนิดนี้ มาจากคนใต้ ซึ่งคนใต้คงเรียกว่า "ลูกฉก" แล้วต่อมาเพี้ยนตามหูคนภาคกลางเป็น "ลูกชิด" ซึ่งหมายถึงผลไม้ของต้นชิด (ฉก)

ส่วนคำว่า "ตาว" คงจะเป็นคำไทเดิม ซึ่งสำเนียงเหนือก็คือ "ต๋าว" คิดว่าสาเหตุแห่งการเรียกชื่อต่างคงเป็นเพราะเหตุนี้ครับ

อันที่จริงเรื่องชื่อพืชนี้น่าสนใจนะครับ ท่านใดมีความรู้เรื่องภาษามาเลย์ เขมร หรือ มอญ ที่เรียก "ต้นฉก" ก็เชิญนะครับ เพราะไม่แน่ "ต้นฉก" ของทางใต้ อาจเรียกเพี้ยนมาจากภาษามอญ หรือ มาเลย์ ก็ได้ </td></tr></table>

คนใต้เรียก ลูกชก (คนกลางจะได้ยินเป็น ฉก)
คนกลางเรียกลูกชิด ผมเชื่อไม่ได้เกิดจากการเพี้ยนเสียง รายการกบนอกกะลาได้นำเสนอเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ

บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 ต.ค. 12, 23:56

  ต้นตาว (Arenga pinnata)
Philippines     kaong
Indonesia       aren, enau, kawung
Malaysia       enau, kabong, berkat
CHINESE      Guang lang,  Sha tang ye zi,  Tang shu.

ผลของต้นตาวที่เราเรียกว่าลูกชิด อินโดนีเซียเรียก  kolang-kaling ดูแล้วไม่น่าจะเพี้ยนมาเป็นลูกชกได้
นอกจากนี้แหล่งกำเนิดของพืชชนิดนี้คือแถบอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเรียกชื่อก็ขึ้นอยู่กับคนท้องถิ่นที่รู้จักพืชนี้
ชื่อท้องถิ่น   ต๋งล้าง(ม้ง), ต่าว(เมี่ยน,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง), หมึ่กล่าง(ลั้วะ), ต่ะดึ๊(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)

ภาพด้านล่างคือลูกชิดของคนอินโดนีเซีย แต่งสีสารพัด


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:09

รายการกบนอกกะลาบอกว่าชื่อ ลูกชิด ได้มาจากลักษณะของเม็ดที่อยู่ชิดติดกันในผลตาว
ใน 1 ผลมี 3 เม็ด


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:22

ดอกต้นตาว ออกเป็นพวง


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:44

ดูความแตกต่างระหว่างทะลายลูกตาว และลูกจาก


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:52

ดูลูกตาวกันใกล้ ๆ ครับ


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 16:39

ปัจจุบันลูกชิดใช้เรียกชื่อลูกตาว หรือลูกชก ส่วนต้นจากก็ให้ผลเป็นลูกจาก
แต่ผมว่าที่มาชื่อ ลูกชิด ไม่ได้มาจากลักษณะของเม็ดที่อยู่ในผลลูกตาว แต่มาจากต้นจากมากกว่า
ต้นจากชอบขึ้นตามริมคลองใกล้ทะเล บริเวณน้ำกร่อย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงมากนัก
คนกรุงต้นรัตนโกสินทร์รู้จักลูกจาก มีกล่าวถึงในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของ ร.2
             ผลจากเจ้าลอยแก้ว       บอกความแล้วจากจำเป็น
             จากช้ำน้ำตากระเด็น      เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง

หรือของสุนทรภู่ นิราศเมืองเพชรบุรี เมื่อไปถึงบริเวณสมุทรสาคร
              ในลำคลองสองฟากล้วนจากปลูก        ทะลายลูกดอกจากขึ้นฝากแฝง
              ต้นจากถูกลูกชิดนั้นติดแพง               เขาช่างแปลงชื่อถูกเรียกลูกชิด
              ถึงบ้านบ่อกอจากมิอยากสิ้น              เหมือนจากถิ่นท่องเที่ยวมาเปลี่ยวจิต
              อันใบจากรากกอไม่ขอคิด              แต่ลูกชิดชอบใจจะใคร่ชม ฯ

แสดงว่ามีการเรียกผลจากว่าลูกชิดมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยการแปลงชื่อต้น จาก มาเป็นลูก ชิด
คงคล้ายในสมัยนี้ที่เรียก แห้ว ว่าสมหวัง เพราะชื่อจากฟังแล้วไม่ค่อยเป็นมงคล ต่อให้อยากกินลูกก็อาจกระดากใจ
ไม่รู้ว่าในที่สุดท่านสุนทรภู่ได้ชิมหรือได้เห็นเนื้อลูกจากหรือไม่

เรื่องที่ต้องพิจารณาก็คือท่านสุนทรภู่เรียกมีความเข้าใจผิดในการเรียกชื่อลูกชิดหรือไม่ คือเอาชื่อลูกชิดของต้นตาว
ไปใช้เรียกผลต้นจากหรือเปล่า ถ้าท่านไม่ได้เข้าใจผิดกลอนของท่านก็บอกที่มาของชื่อลูกชิดได้อย่างชัดเจนยิ่ง
โดยไม่ต้องคาดคะเนหาที่มาของชื่ออีก


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 17:37

ผมว่าสมัยกรุงต้นรัตนโกสินทร์ ชาวกรุงไม่รู้จักลูกตาว (แม้แต่ลูกจากเองท่านสุนทรภู่ก็ยังบอกว่าแพง
และดูเหมือนว่าท่านยังไม่เคยได้กินด้วย) ด้วยเหตุผลต่อไปนี้
1. ในไทยตาวไม่ใช่พืชเศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกกัน แต่ผลตาวเป็นของป่า ต้องเข้าไปในป่าดิบแล้งซึ่งห่างไกลจากกรุงมาก แหล่งต้นตาวอยู่ภาคใต้ ภาคเหนือและอีสานแถวเทือกเขาเพชรบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ ต้นตาวจะอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใกล้แหล่งน้ำลำธาร ขณะที่การกินผลตาวต้องกินสดทิ้งค้างคืนรสชาดเปลี่ยน ในรายการกบนอกกะลาผู้ใหญ่ในพื้นที่ก็พูดถึงว่าสมัยก่อนไม่ได้นิยมกินผล แต่นิยมใช้ส่วนอื่นของต้นตาวมากกว่า การนำผลตาวสดเข้ากรุงเพื่อค้าขายไม่น่าจะเป็นไปได้ โดยเฉพาะการคมนาคมที่ยากลำบากกว่าปัจจุบันมากนักอาจใช้เวลาเป็นเดือน แม้ในปัจจุบันคงมีน้อยคนที่เคยกินตาวสด ไม่รู้ว่ารสชาดตาวสดจะเป็นอย่างไร
2 การแปรรูปตาวในสมัยก่อน ทำได้อย่างดีสุดน่าจะเป็นลอยแก้วซึ่งคงไม่เป็นที่นิยมและไม่เหมาะกับการส่งเข้ามาขายในกรุงอยู่ดี ขายได้ก็คงไม่กี่อัฐ ของป่าอย่างอื่นมีค่ามากกว่า สมัยนั้นโรงน้ำแข็งยังไม่มี น้ำแข็งไส ไอศกรีมที่ต้องการเครื่องเคียงอย่างลูกตาวก็ยังไม่ได้ถือกำเนิด ถ้ามีการกินผลตาวก็คงกินกันเฉพาะในท้องถิ่น จะเชื่อมลูกตาวแล้วกินกันอย่างไรให้อร่อยยังนึกไม่ออก
3 ชาวกรุงถึงเห็นเม็ดตาว ก็คงไม่เคยเห็นผลทั้งทะลายหรือผลตาวที่ผ่าซีกจนให้ชื่อเรียกว่าลูกชิดได้(คนปัจจุบันยังแทบไม่รู้จักหรือเคยเห็น)
ผมว่าคนกรุงสมัยก่อนรู้จักผลจากก่อนลูกตาว เมื่อลูกตาวเชื่อมมาถึงกรุงอาจเห็นลักษณะคล้ายลูกจาก ด้วยความเข้าใจผิดจึงเอาชื่อของลูกจาก(ลูกชิด)ไปเรียกลูกตาว    ลูกตาวหากินได้ง่ายกว่าลูกจาก หลายคนคงเคยกินลูกตาวแต่ไม่เคยกินลูกจาก เรียกกันจนแพร่หลายชื่อ ลูกชิด ของลูกจากก็เลยกลายเป็นชื่อของลูกตาวไปโดยปริยาย ต้นจากก็เลยหมดสิทธิในชื่อลูกชิด ต้องกลับไปใช้ชื่อ จาก เรียกลูกตัวเองเหมือนเดิม

หรือใครมีความเห็นอย่างอื่นเพิ่มเติมบ้างครับ
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 19:53

ลืมให้ดูครับ ว่าลูกจากแต่ละลูกอยู่ 'ชิด' กันจริง ๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 ต.ค. 12, 07:15

ลืมให้ดูครับ ว่าลูกจากแต่ละลูกอยู่ 'ชิด' กันจริง ๆ

เขาเรียกทั้งหน่วยว่า "โหม่งจาก" เห็นทั้งโหม่งแบบนี้ลอยน้ำได้ครับ ผลจากหลุดจากโหม่งก็ลอยน้ำไปงอกเป็นต้นได้ ส่วนที่อร่อยที่สุดของผลจากคือ น้ำที่อยู่ตรงกลาง อร่อยมากครับ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ต.ค. 14, 20:27

นี่คงเป็นลูกตาวกระมังครับ ชักงง

เชื่อมแล้วจะเป็นเหนียวๆ ใสๆ กินกะไอติม??


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง