เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 23104 มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 15:07

                                     สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
อยู่ไหนหว่าบรรดาตำรับตำรา       พลันก็คว้าเหมือนเทวามาดลใจ
ก็ตอนแรกนึกว่าถูกจากความจำ    แต่แผนผังคนอื่นทำ(ข้างบน)ให้เขวไขว
ไปแก้ไขกลับผิดอย่างงั้นไง          รูปนี้ไซร้ท่านคงหายสงสัยเอย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 15:13

ถนนเส้นเดิมเป็นทางเดินเล็กๆ ผ่านหน้าวัดชนะสงครามมาจรดคลองโรงไหม เลี้ยวหักข้ามสะพานเสี้ยว ข้ามมายังป้อมมุมทิศเหนือวังหน้า (เส้นแดง)

ต่อมาถนนจักรพงษ์ตัดขยาย (สีเขียว)

ต่อมาเกิดเส้นทางรถราง (สีส้ม)

เป็นดังภาพที่แสดงให้ดูนี้ครับ



บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 15:17

เมื่อก่อนเคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับถนนราชดำเนิน  แล้วมีรายละเอียดเรื่องวังสะพานเสี้ยวที่มีอยู่ ๕ วังน่ะค่ะ  วังเหล่านี้อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเสี้ยวสะพานไหนคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 15:31

ให้ภาพถ่ายทางอากาศโดยวิลเลียมฮันท์ แนวสีแดงคือแนวรถราง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 15:42

เมื่อก่อนเคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับถนนราชดำเนิน  แล้วมีรายละเอียดเรื่องวังสะพานเสี้ยวที่มีอยู่ ๕ วังน่ะค่ะ  วังเหล่านี้อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเสี้ยวสะพานไหนคะ

แผนที่แสดงบริเวณที่ตั้งของกลุ่มวังสะพานเสี้ยวในอดีต กระจายตัวอยู่ริมคลองโรงไหม และหน้าพลับพลาสูงวังหน้า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 19:05

สะพานเสี้ยวเป็นสะพานคนข้าม ส่วนสะพานเสี้ยวเคียงรถรางอยู่ใกล้ๆกัน

ดังนี้แล้วจุดประสงค์หลักที่ทำให้สะพานสำหรับรถรางเฉียงๆ กับคลองไม่ตั้งฉาก มีสาเหตุหลักคือ เพื่อให้ระยะความโค้งของแนวรถรถรางได้โค้งกับการหักมุม

เช่นในภาพ เป็นแนวโค้งจากถนนราชินี หักโค้งไปสู่ ถนนจักรพงษ์ ทำให้ตัวรางต้องโค้งและข้ามคลอง จึงมีลักษณะเอียงกับคลอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 19:09

อีกบริเวณหนึ่งที่รถรางเอียงเห เบนจากคลองไม่ตั้งฉากคือ รถรางหลังกระทรวงกลาโหม แถววัดบุญศิริ

คำตอบก็เหตุผลเดียวกันคือ จากถนนหลักเมือง (ถนนกัลยาณไมตรี) วิ่งเข้าถนนอัษฏางค์ อันเป็นการหักศอก ตัวรางจึงต้องโค้งให้ได้ระยะ

ทำให้เกิดการข้ามคลองแบบเอียงๆ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเอียงๆ ผิดกับรถรางที่อื่นที่ข้ามคลองขนานถนนจึงตรงๆ ได้


บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 21:58

ไหนๆ กลายเป็นเรื่องสะพานไปแล้ว ขออนุญาตนำเสนอข้อมูล
รายงานกอมมิตตีจัดการพระนคร เรื่องตะพานข้ามคลองต่างๆ ในกรุงเทพฯ จุลศักราช ๑๒๔๙ นะครับ

กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ทรงรายงานว่า ในพระนคร (ทั้งสองฝั่ง) มีตะพานรวม ๖๗ ตะพาน
ที่รัฐบาลควรดูแลรักษา
เป็นตะพานก่ออิฐถือปูน ๓๖  ตะพานเหล็ก ๙  ตะพานไม้ ๒๒

ตะพานก่ออิฐถือปูน ๓๖ ตะพาน ยังดีอยู่ ๒๘ ตะพาน
ส่วนที่ชำรุด โดยมากเป็นตะพานช้าง

ตะพานเหล็ก ๙ ตะพาน ไม่ชำรุดดีอยู่ ๕ ตะพาน
ตะพานหันก็นับว่าเป็นตะพานเหล็ก

ตะพานไม้ ๒๒ ตะพาน ท่านแยกเป็นตะพานอย่างใหม่ ๗ ตะพาน ตะพานอย่างเก่า ๑๕ ตะพาน
อย่างใหม่หมายถึงตะพานหก
อย่างเก่าคือตะพานไม้หลักแพ

เฉพาะตะพานหก ท่านกล่าวถึง ตะพานหกฃ้ามคลองบางกอกใหญ่ / ตะพานหกฃ้ามคลองมอญ / ตะพานหกตรงถนนวังสราญรมย์ /
ตะพานไม้อย่างใหม่ริมวัดช่างแสง / ตะพานไม้อย่างใหม่ริมวังพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ / ตะพานหกสระประทุมวรรณ์ / และ
ตะพานหกริมวังพระองค์เจ้าสาย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 02 ก.ค. 14, 14:54

มีข้อมูลสะพานหก นำมาเพิ่มเติมให้ครับ สำหรับสะพานหก เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) นำความจากการวางกองพลตระเวนในเขตกรุงเทพฯ

๑. สะพานหก บ้านมอญ (คลองบางไส้ไก่)

๒. สะพานหก สวนเจ้าพระยาภาณุวงศ์

๓. สะพานหก (วางกองพลตระเวนที่สามแยกสะพานพก แถววัดหงษ์)
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 16:53

สอบถามครับหลวงพ่อท่านชื่ออะไรครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 18:43

ขอย้อนไปยังรูปใน คห.30 แว๊บนึงครับ

ดีจัง ได้เห็นท้ั้งรถสามล้อเครื่องที่ใช้เครื่องยนต์สองจังหวะ วิ่งไปใหนมาใหนควันกลบตูดเลย  แล้วก็รถออสตินรุ่นที่ใช้เป็นแท็กซี่ในสมัยนั้น (เข้าใจว่าเป็นรุ่น A30 ??) ก่อนที่จะถูกแย่งตลาดไปด้วยรถเรย์โนลด์เครื่องท้าย (รุ่น 4CV ??) แล้วก็ตามมาด้วยการแย่งชิงตลาดไปอย่างเรียบวุธด้วยรถดัทสันบลูเบิร์ด

ผมจำไม่ได้ว่าเคยขึ้นรถรางสายที่กล่าวถึงกันนี้หรือไม่  จำได้แต่ว่าเคยใช้สายที่เริ่มต้นจากอู่สามเสน วิ่งไปตามถนนสามเสนแล้ว ผ่านราชดำเนิน ไปทางวังบูรพาโน่น
บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 20:55

รูปในความเห็นที่ 54
คือพระรูปของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
พระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครับ


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 31 ก.ค. 14, 23:13

สถิต ณ วัดพระเชตุพนฯ
ลูกศิษย์ลูกหาโดยมาก โดยเฉพาะสื่อสมัยโน้นจะเอ่ยพระนามอย่างสนิทว่า สมเด็จป๋า
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 03 ส.ค. 14, 06:43

ขอบคุณพี่ๆที่ช้วยตอบครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง