เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 23055 มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 12:28

...ระยะหลังมีคนเล่าว่าเมื่อไม่มีรถผ่านแล้ว
ที่ตีนสะพานทำเป็นขั้นบรรได
ไม่เคยเห็นสะพานนี้ด้วย
ภาพนี้ปี 2499


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 12:35

ขอบคุณคุณvisitna มากครับ^
สะพานหกนี้มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครก็ไม่ยักบันทึกให้เห็นชัดๆ ผมใช้อินทรเตรสอดส่องก็ไม่มีใครกล่าวถึง คือว่า สะพานนี้หลังจากที่ไม่หกแล้ว เขาทำสะพานให้รถรางกับคนเดินถนนใช้ร่วมกัน แต่ไม่ให้รถทุกชนิดใช้ ดังนั้นที่ปลายด้านหนึ่งจะเป็นทางลาดเชื่อมกับถนน อาจจะเพราะระดับใกล้เคียงกันและไม่ชันเกินกำลังของรถราง แต่อีกปลายด้านหนึ่ง ระดับต่างกันประมาณสักเมตร ท่านเลยทำเป็นขั้นบันไดให้คนเดิน ส่วนรางรถก็เป็นทางลาดโค้งออกไปด้านข้าง

สะพานนี้มีคนไปแต่งเรื่องตลกมากมาย ดูเหมือนไม่นิกรก็กิมหงวนที่กินเหล้าเมาแล้วขับรถขึ้นสะพานนี้ในหัสนิยายสามเกลอเรื่องหนึ่ง พอไปเจอกระไดเข้าอีกด้านขณะคนขับรถรางกระทืบกระดิ่งแก๊งๆอยู่ข้างหน้า ก็ถึงกับหายเมา รีบถอยจนรถแทบจะตกคลอง

อนึ่งคนสมัยผมเรียกคลองนี้ทั้งหมดว่าคลองหลอด ต่อมาไม่ทราบใครเอาหลักฐานมาแบว่าคลองนี้เรียกว่าคลองคูเมือง ส่วนคลองหลอดคือคูเล็กๆเหมือนหลอดกาแฟ เชื่อมโยงคลองคูเมืองกับคลองรอบเมือง  มีอยู่สองคลอง ข้างวัดบูรณะศิริ๑ และข้างวัดราชบพิธอีก๑ ผมก็เลยต้องเรียกตามเค้าไม่ให้ตกกระแส
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 12:40

สภาพปัจจุบันครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 13:28

ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ                           ลำดับดาดอิฐแผ่นแน่นหนา
บ้านช่องสองข้างมรรคา                                ล้วนเคหาหน้าถึงนั่งร้าน
เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี                              มั่งมีสมบัติพัสถาน
เรือนริมรัตยาฝากระดาน                                ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง
สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา                             ก่อผนังหลังคามุงกระเบื้อง
ศาลเทพารักษ์หลักเมือง                                นับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร
เสาชิงช้าอาวาสวัดพราหมณ์                           ทำตามประเพณีพิธีไสย
หอกลองอยู่กลางเวียงชัย                               แม้นเกิดไฟไพรีตีสัญญา
สะพานช้างทางข้ามคชสาร                             ก่ออิฐปูกระดานไม้หนา
คลองหลอดแลลิ่วสุดสายตา                           น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง
นาวาค้าขายพายขึ้นล่อง                                ตามแม่น้ำลำคลองแน่นเนื่อง
แพจอดตลอดท่าหน้าเมือง                             นองเนืองเป็นขนัดในนัที”


ข้างบนนี้คือการบรรยายบ้านเมืองในพระราชนิพนธ์อิเหนา  ซึ่งจำลองภาพจากกรุงรัตนโกสินทร์
ถ้าหากว่าคลองหลอดสมัยนั้น    กวีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ท่านบรรยายว่าเป็นคลองที่กว้างและยาวจนแลละลิ่วสุดสายตา   เป็นทางน้ำไหลเข้าออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาจนเต็มเปี่ยม ขนาดเวลาน้ำลง   ก็ยังมีน้ำอยู่ในคลองอย่างน้อยก็ครึ่งคลอง  ไม่แห้งขอด    
ก็เชื่อได้ว่า คลองหลอดไม่ใช่คลองหลอดกาแฟแน่นอนค่ะ

ป.ล.  ว่ากันว่าอิเหนาแต่งเมื่อรัชกาลที่ 1   แต่ระบบเจ้าภาษี เป็นระบบสมัยรัชกาลที่ 3   เลยสงสัยว่ากลอนชมเมืองในตอนต้นของอิเหนาแต่งสมัยไหนกันแน่
แต่เรื่องนี้เอาไว้ก่อนค่ะ   ขอแค่คลองหลอดเท่านั้นพอ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 13:47

นี่ ถือเป็นเอกสารชั้นต้นได้ทีเดียว
ต่อไปผมจะเปลี่ยนไปกลับเรียกดังที่เคยเรียกมาแต่เล็กแต่น้อยว่าคลองหลอดละครับ ขอบพระคุณ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 14:34

โบถเจ้าเซ็นพวกที่เต้นตบตีอก                   อยู่ริมตีนตะพานหกฝั่งเหนือหนา
ตะพานหกใหญ่ทยาดประหลาดตา              แต่เกิดมาไม่เคยมีเช่นนี้เลย
โอ้พระคุณทูลกระหม่อมจอมโมลิศ              ช่างทรงคิดให้ราษฎร์เย็นเดินเล่นเฉย
ข้ามคล่องคลองบางกอกใหญ่ได้สะเบย         เรือที่เคยแล่นลัดไม่ขัดคอ
ทั้งเรือเสาเรือใบไปได้สิ้น                        น้ำมันดินทาดำดูขำหนอ
เรือเสาใบไปได้คล่องแต่ต้องรอ                 ชักโซ่ปร๋อหดขวับแล้วงับลง
ตะพานหกยกได้ว่องไวนัก                       พระจอมจักรหลักเมืองเรืองระหง
รัชกาลที่ห้าวราพงษ์                              ประสาททรงโปรดให้คิดประดิษฐดี
ทำตามเลศเพทช่างยุโรปเพี่ยน                  ดูแนบเนียนพูนเพิ่มเฉลิมศรี
ตั้งสี่เสาเกลากลมอุดมดี                          ข้างบนมีสี่มุมหุ้มเหล็กตรึง
ทำที่แคร่แม่เตาไฟมิใช่เล็ก                      สะกรูเหล็กแน่นรายโซ่สายขึง
สี่สายห้อยร้อยตะพานไม่ยานตึง                ภอเหนี่ยวถึงโซกร่างง้างตะพาน
โปลิศอยู่ดูแลคอยแก้ไข                         ช่วยยกให้ทุกเวลาน่าสงสาร

เงินเดือนมีได้ไม่ขาดพระราชทาน               เพราะโปรดปรานทั่วน่าประชาชน
สมณชีพราหมณ์ได้ความชื่น                     ทั่วแผ่นพื้นปุถพีได้มีผล
เพราะพระเดชเดชาฝ่ายุคล                      มาปกบนเกล้าข้าฝ่าลออง


สะพานหกยังมีอีกหลายแห่ง ข้างบนเป็นเอกสารชั้นต้นบรรยายภาพสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก.ศ.ร. กุหลาบ เขียนไว้ในนิราศยี่สาร  ตามรายงานของกรมหมื่นนเรศวรวรฤทธิ์ ระบุว่า สภาพของสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่ชำรุดมากแล้วในต้นรัชกาลที่ ๕  ในรัชกาลที่ ๖ ทรงสร้างสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่แทนสะพานหกที่ชำรุด ชื่อว่า "สะพานเจริญพาสน์ ๓๓"
 
ในภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศกองทัพเรือ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเจริญพาสน์ ๓๓ วันที่ ๒ มกราคม ๒๔๕๖  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 17:31

อ้างถึง
อ้างจาก: visitna ที่  23 มิ.ย. 14, 09:33
อ้างถึง
ผมมีหนังสือภาพเก่าของมาเลเซีย  มีภาพสะพานหกแบบนี้
ที่เมืองมะลักกา เข้าใจว่า เนเธอร์แลนด์ สร้างไว้
siamese
อ้างถึง
ใช่แล้วครับ การสร้างสะพานหก ทางสยามได้เค้ามาจากปัตตาเวีย ซึ่งปัตตาเวียเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ การสร้างสะพานหกใช้เทคโนโลยีชักรอกด้วยลูกตุ้มเหล็กขนาดผลส้มโอใหญ่ ถ่วงน้ำหนักไว้เมื่อจะใช้งานก็ฉุดสายโซ่ให้สะพานยกออกเพื่อให้เรือมีเสาแล่นผ่านได้

สะพานซึ่งดัชท์ออกแบบไว้ในปัตตาเวียที่คนไทยไปเห็นและเอาแบบมาทำในกรุงเทพบ้างเป็นอย่างนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 มิ.ย. 14, 20:02

สะพานแบบเนเธอร์แลนด์ยังคงอยู่มาถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ อยู่ที่กระทุ่มแบน สวยๆมากๆ ครับ (คลองบางกอกใหญ่มีความกว้างประมาณนี้คงสูงแบบนี้กระมัง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 08:45

ใช่แล้วครับ การสร้างสะพานหก ทางสยามได้เค้ามาจากปัตตาเวีย ซึ่งปัตตาเวียเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์

สะพานหกที่ปัตตาเวีย Jembatan Kota Intan drawbridge ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 09:44

กลับมาเมืองไทยดีกว่า

ในกระทู้ก่อนผมกล่าวถึงสะพานเสี้ยว อ่านในเน็ตเดี๋ยวคนนั้นบอกว่าอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงนี้ ก่อนจะบอกว่ารื้อไปหมดแล้วตอนสร้างสะพานพระปิ่นเกล้า
สมัยผมเคยขึ้นรถราง จำได้แม่ว่าสะพานที่ตีโค้งข้ามคลองหลอดอยู่ตรงจุดที่พ้นบางลำพูมาเข้าสนามหลวง ใกล้ๆสะพานผ่านพิภพนี่แหละครับ หาภาพมาได้จึงเอามายืนยัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 09:44

ในเวป ใครต่อใครคัดลอกกันต่อๆมาว่าเหตุที่เรียกสะพานเสี้ยวเพราะสะพานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทั้งๆที่เห็นแต่รางเหล็กวางบนตอม่อคอ นก รีตดุ้นเบ่อเร่อ เอาละเปียกปูนก็เปียกปูน แล้วสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมันเป็นเสี้ยวยังไง  ฮืม
ฤามันจะเพี้ยนมาจากสะพานเลี้ยว เพราะเสี้ยวมันกร่อนเป็นเลี้ยวได้ง่ายๆ

แต่ก็เอาเถอะ ผมจะไม่ชวนท่านปฏิรูปชื่อสะพานนี้เสียใหม่หรอกครับ ใครคิดต่างก็ไม่ต้องชวนทะเลาะ นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการสมานฉันท์
เดี๋ยวท่านไปแล้วค่อยดูกันใหม่ ถ้าเชื้อยังอยู่ค่อยกัดกันอีกก็ได้ แฮ่ ๆ
(ผมหมายถึงสะพานเสี้ยวนะคร้าบ อย่ามาหาเรื่อง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 11:53

ในเวป ใครต่อใครคัดลอกกันต่อๆมาว่าเหตุที่เรียกสะพานเสี้ยวเพราะสะพานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทั้งๆที่เห็นแต่รางเหล็กวางบนตอม่อคอ นก รีตดุ้นเบ่อเร่อ เอาละเปียกปูนก็เปียกปูน แล้วสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมันเป็นเสี้ยวยังไง  ฮืม
ฤามันจะเพี้ยนมาจากสะพานเลี้ยว เพราะเสี้ยวมันกร่อนเป็นเลี้ยวได้ง่ายๆ

แต่ก็เอาเถอะ ผมจะไม่ชวนท่านปฏิรูปชื่อสะพานนี้เสียใหม่หรอกครับ ใครคิดต่างก็ไม่ต้องชวนทะเลาะ นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการสมานฉันท์
เดี๋ยวท่านไปแล้วค่อยดูกันใหม่ ถ้าเชื้อยังอยู่ค่อยกัดกันอีกก็ได้ แฮ่ ๆ
(ผมหมายถึงสะพานเสี้ยวนะคร้าบ อย่ามาหาเรื่อง)

สำหรับเรื่องสะพานเสี้ยวนั้น เดิมทีอ่านได้ความว่า ถ้าเป็นสะพานแล้วเราจะนำไม้กระดานมาพาดข้ามตลิ่งระหว่างฝั่งหนึ่งไปฝั่งหนึ่ง ด้วยแนวตรงตั้งฉาก 90 องศากับตลิ่ง (ทำให้การปูไม้ใช้ไม้แผ่นตรงวางลงไปบนคานตอม่อ)

แต่สำหรับสะพานเสียว เป็นสะพานเอียงๆ ทำให้การตัดไม้กระดานเฉียงผิดรูปไป ต้องตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อรองรับลักษณะของสะพานที่วางเอียงทำมุมน้อยกว่า 90 องศา และมีเหตุผลอันใด ทำไมต้องวางสะพานให้เป็นเสี้ยวเช่นนี้

ผมจึงได้ไปค้นหาแผนที่กรุงเทพโบราณประกอบดู ก็พบว่าคนโบราณสร้างสะพานเสี้ยวข้ามคลองคูเมืองตามลักษณะถนนและเบนหลบวัง

จากแผนที่จะเห็นสิ่งก่อสร้างกำแพงวังหน้าตามด้วยถนนขนานกำแพงวังหน้า  หัวมุมป้อมวังหน้าเป็นจุดที่สะพานเสี้ยวตั้งอยู่ และข้ามไปยังวังด้านตรงข้าม ซึ่งขวางทางอยู่จึงต้องเบนเล็กน้อยไปหาถนนเลียบวัง

ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อสร้างถนนจักรพงษ์ แต่สะพานยังคงเป็นเสี้ยวเหเอียงอยู่ ผู้คนก็เห็นเป็นของประหลาดว่าทำไมเห เอียงเช่นนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 12:31

รถรางสร้างสมัยเลิกวังหน้า รือกำแพงไปนานหลายปีแล้ว ไม่เกี่ยวกันเลย แต่ดูจากแผนที่คุณหนุ่มรัตนสยามแล้วก็เข้าใจว่า แต่ก่อนมีสะพานไม้สร้างเฉียงๆไม่ตั้งฉากกับแนวคลองหลอด ต้องใช้ไม้กระดานมาตัดเป็นเสี้ยวไม่เต็มแผ่น จึงจะปูพื้นสะพานได้ เอาละ คราวนี้เข้าใจ ๆ

ต่อมาเมื่อรื้อสะพานเสี้ยวออก และทำเป็นสะพานรถราง(ผมชอบมากเพราะตัวสะพานเอียงให้วางรางสองข้างต่างระดับกันเพื่อรับแรงหนีศูนย์ เวลารถรางวิ่งข้ามมันจะวูบไปด้านหนึ่ง ความรู้สึกคล้ายกับนั่งรถดิ่งนรกตกสวรรค์(roller coaster)ในสวนสนุกที่เด็กสมัยใหม่ชื่นชอบ น่าสงสารเด็กโบราณนิ มีของเล่นแค่เนี๊ยะ) คนก็ยังติดปากเรียกสะพานเสี้ยวเพราะอยู่ในตำแหน่งใกล้ๆกับสะพานเดิมนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 13:33

ขอแก้ไขเส้นทางรถรางสายที่วิ่งข้ามสะพานเสี้ยวหน่อยครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 มิ.ย. 14, 14:50

ขอแก้ไขเส้นทางรถรางสายที่วิ่งข้ามสะพานเสี้ยวหน่อยครับ

โอ้โห ... ขีดเส้นแดง ยังกะแผนแม่บทเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ติน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  ........... แต่ผิดครับ (รออีกอึดใจ กำลังทำภาพประกอบ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง