NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 10:15
|
|
ความสำคัญอยู่ที่ตรงนี้ อาจจะรวมนามสกุลจากราชทินนามเข้าไปด้วยหรือเปล่าหนอ ก็รู้อยู่แล้วว่ามีใช่ไหมหนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:05
|
|
นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 9 ผมถ่ายมาบางส่วนนะครับ เพราะมีเยอะมาก เท่าที่ผมดูช่วงเเรกจะเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามซะเป็นส่วนใหญ่เเต่ช่วงหลังๆจะเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่9 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:06
|
|
*-*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:07
|
|
*-*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:08
|
|
*-*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:39
|
|
ขอบคุณในความอุตสาหะของคุณjilkungมากนะครับ
เท่าที่อ่านผ่านๆ รู้สึกว่าจะมีที่มาจากราชทินนามแยะมากจริงดังว่า เดี๋ยวมีเวลาจะลองแกะทุกนามสกุลดูครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 15:55
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 18 มิ.ย. 14, 22:00
|
|
^ ขอให้รอคุณเพ็ญหนอ เอ๊ย นะครับ
ผมกลับมาถึงบ้านและได้พยายามอ่านตัวอักษรในภาพถ่ายของคุณjilkungแล้ว ไม่สามารถอ่านได้หมดเพราะทรมานสายตาเหลือที่จะกล่าว แต่เอาเถอะครับ ไม่เป็นไร ก็พอจะรู้ว่าในรัชกาลปัจจุบันก็ยังมีผู้ที่ปรารถนาจะเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้ราชทินนามของบรรพบุรุษกันเป็นร้อย หลังจากกฏหมายฉบับแก้ไขที่ออกมาใหม่ในปี๒๕๐๕ เปิดโอกาสให้ลูกหลานขอพระบรมราชานุญาตได้
เสียดายที่คุณเทพมิได้แยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน ดังที่ท่านอาจารย์เทาชมพูแสดงความเห็นไว้แล้วในเรื่องการใช้คำว่าพระราชทานในสมัยรัชกาลที่๘ ก่อให้เกิดความสับสน เพราะไม่ระบุว่าที่พระราชทานนั้น คือพระราชทานพระบรมราชานุญาต นามสกุลที่พระราชทานในรัชกาลที่๙ก็เช่นนั้น ไม่มีการแยกแยะว่านามสกุลใดได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต นามสกุลใดคือที่ได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่ให้
ท่านผู้สนใจก็คงต้องค้นหากันเองต่อไปนะครับ
แต่ไม่แน่หนอ คุณเพ็ญอาจจะมีรายชื่อนามสกุลทั้งสองประเภทเหล่านั้นอยู่ในมือแล้ว เปิดออกมาเมื่อไหร่เป็นได้หงายผลึ่งแบบเจ้ามือกินเรียบทั้งวงทีเดียวเจียวหนอ
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 19 มิ.ย. 14, 14:56
|
|
^ ขอให้รอคุณเพ็ญหนอ เอ๊ย นะครับ เรื่องของคุณ jilkung จบห้วนไปหน่อย น่าจะอธิบายต่อว่าเมื่อมีพระราชบัญญัติฉบับใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้ว มีอะไรเกิดขึ้นเช่นมีลูกหลานของผู้มีบรรดาศักดิ์มาขอเปลี่ยนนามสกุลตามราชทินนามของบุพการีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลใน ลิงก์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/192/1.PDF และหนังสือของคุณเทพที่คุณ jilkung อ้างไว้ ยังไม่มีการกล่าวถึง เช่นการรวบรวมนามสกุลพระราชทานและนามสกุลจากราชทินนามไว้ด้วยกันทำให้เข้าใจผิดว่านามสกุลทั้งหมดเป็นนามสกุลพระราชทาน สุดท้ายสำหรับลิงก์เว็บของคุณชัชวาลที่อ้างไว้ ควรแทนที่ด้วยลิงก์นี้ - https://sites.google.com/site/thailandsurname/namskul-cak-rachthinnam
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 19 มิ.ย. 14, 16:05
|
|
ถ้าจะไม่เป็นการรบกวน อยากให้คุณเพ็ญชมพูได้ช่วยเขียนเเก้ไขเพิ่มเติมในสารานุกรมเสรี ให้มีเนื้อหาครบถ้วนยิ่งขึ้นจักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 19 มิ.ย. 14, 16:11
|
|
พระยาภะรตราชานั้น หลังจากย้ายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ไปเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ในสารบบของโรงเรียนมีแต่ชื่อพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิสระเสนา) ผมเพิ่งจะเคยเห็นชื่อข้างบนในกระทู้นี้ ส่วนอีกท่านหนึ่ง ก็จะใช้ว่า พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)
หลายท่านอาจจะต้องเปลี่ยนชื่อและสกุลตามกระแสของท่านผู้นำ แต่เมื่อหมดกระแส ก็เปลี่ยนกลับมาดังเดิมทันที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 19 มิ.ย. 14, 17:26
|
|
คุณUP เคยตอบคำถาม “สมัยนี้ ยังมีการพระราชทานนามสกุลอยู่หรือเปล่าครับ” ไว้ในพันทิปดังนี้
ยังมีครับ ยังขอพระราชทานได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ผู้ขอทำหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการ เพื่อให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อสกุลใหม่ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้
คุณสมบัติ
ผู้ที่จะขอพระราชทานชื่อสกุล จักต้องมีคุณสมบัติอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้ มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ มีฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัว ชื่อสกุลที่ใช้อยู่มิได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ชื่อสกุลที่ใช้อยู่เป็นชื่อสกุลที่เปลี่ยนจากชื่อสกุลต่างด้าวมาเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี หากเป็นคนต่างด้าว ต้องได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
วิธีดำเนิการ
1. เอกสารประกอบการพิจารณา (ต้นฉบับพร้อมสำเนา)
1.1 ผู้ประสงค์จะขอพระราชทานชื่อสกุล จะต้องมอบเอกสารต่างๆ ต่อไปนี้แก่เจ้าหน้าที่ - ประวัติผู้ขอพระมหากรุณาโดยละเอียด นับสืบแต่ ปู่ ย่า ตายาย เป็นต้นมา จนถึงบิดา มารดา น้อง ภริยา และบุตร พร้อมข้อมูลอาชีพและการศึกษา - เหตุผลการขอพระราชทานชื่อสกุล - รายชื่อผู้ที่จะขอใช้ชื่อสกุลร่วม 1.2 บัตรประจำตัวของผู้ขอพระมหากรุณา 1.3 ทะเบียนบ้าน 1.4 ทะเบียนการค้า หรือหลักฐานการประกอบอาชีพ 1.5 หลักฐานการแปลงสัญชาติ 1.6 เอกสารประกอบเรื่องตามที่แจ้งในประวัติ เช่น การร่วมกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์หรืองานการกุศล เป็นต้น
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบเอกสาร และเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้คืนเอกสารต้นฉบับแก่ผู้ขอพระมหากรุณา คงใช้แต่สำเนาเอกสารแนบเรื่องเพิ่อดำเนินการ
3. ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายดำเนินการสอบประวัติตามฐานะของผู้ขอพระมหากรุณา ดังนี้
3.1 ข้าราชการ - ให้มีเอกสารหลักฐานของผู้บังคับบัญชา และหัวหน้าส่วนราชการรับรองความประพฤติ - สอบประวัติจากส่วนราชการที่สังกัด และภูมิลำเนา
3.2 บุคคลทั่วไป - สอบประวัติและความประพฤติจากภูมิลำเนา - สอบประวัติอาชญากรจากกรมตำรวจ
3.3 บุคคลที่มิใช่สัญชาติไทย - สอบประวัติและความประพฤติจากภูมิลำเนา - สอบถามกองตรวจคนเข้าเมือง - สอบประวัติอาชญากรจากกรมตำรวจ
3.4 กรณีผู้ขอพระมหากรุณาอ้างชื่อสกุลเดิมไม่เหมาะสม หรือไม่มีความหมาย ให้ชี้แจงและยกเหตุผลอ้างอิงประกอบให้ชัดเจน และให้เจ้าหน้าที่พิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งประกอบพระราชดำริ
หากรายใดมีคุณลักษณะไม่ครบตามหลักเกณฑ์ และมีปัญหาด้านกฎหมายหรือมีเหตุผลอื่นใดพิเศษนอกเหนือจากระเบียบนี้ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจะได้รับการพิจารณา ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ส่งเรื่องให้กองนิติการพิจารณาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาก่อน ที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลก่อนพระกรุณาประกอบพระราชดำริ 2. นำเสนอราชเลขาธิการพิจารณาสั่งการเป็นกรณพิเศษเฉพาะราย.
ที่มา : ระเบียบสำนักราชเลขาธิการ ว่าด้วยการขอพระราชทานชื่อสกุล พ.ศ.2533
ส่วนตัวผมเคยได้ยินมาว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯส่งให้สมเด็จพระญาณสังวร ตั้งแต่สมัยก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ให้เป็นผู้คิดชื่อถวายเพื่อทรงเลือกพระราชทานต่อไป สมเด็จพระญาณฯท่านทรงชำนาญเรื่องคิดชื่อนามสกุลมาก ทรงรวบรวมไว้เป็นพันๆและนำมาประทานผ่านกรมการปกครองให้ผู้ประสงค์จะเปลี่ยนนามสกุลได้เลือกใช้ผ่านระบบอินเทอเน็ต รายละเอียดตามข้อความข้างล่าง
โอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พระชันษาครบ 100 ปี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2556 ที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ กรมการปกครอง จึงนำชื่อสกุลประทานจำนวน 2,556 ชื่อสกุล ให้ประชาชนจองใช้ทางระบบอินเทอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 - 31 ธันวาคม 2556 นี้
ชื่อสกุลในครั้งนี้ อาทิ กตกุลธวัช กะ-ตะ-กุน-ทะ-วัด ความหมาย สิ่งที่ทำแล้วเป็นสิ่งที่ดี, กตกุลธารา กะ-ตะ-กุน-ทา-รา ความหมาย ผู้ที่สร้างเมืองให้เจริญ, เขมสิริรักษ์ เข-มะ-สิ-หริ-รัก ความหมาย อันรักษาความงาม ความดีและมีความสุข, เขมสุขสันต์ เข-มะ-สุก-สัน ความหมาย อันมีความสุขสบายและความปลอดภัย, ธนเจริญทยา ทะ-นะ-จะ-เริน-ทะ-ยา ความหมาย อันมีทรัพย์สมบัติและความเจริญที่ดีงาม, ธนเจริญนิมิต ทะ-นะ-จะ-เริน-นิ-มิด ความหมาย อันมีทรัพย์สมบัติและสร้างความเจริญ เป็นต้น
ลองสังเกตุนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่๙ที่คุณjilkung(อ่านว่ากระไรน่ะครับ)ถ่ายมาให้ดูในสมัยหลังๆ จะออกท่วงทำนองเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 21 มิ.ย. 14, 19:14
|
|
*-*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jilkung
อสุรผัด

ตอบ: 38
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 21 มิ.ย. 14, 22:28
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 22 มิ.ย. 14, 10:19
|
|
น่าจะเข้าไปแก้ไขในวิกิ แยกเป็น 2 เรื่องนะคะ ไม่งั้นจะสับสน อย่างที่ดิฉันเคยบอกไว้ กลายเป็นว่าข้าราชการจำนวนมาก ได้รับนามสกุลพระราชทาน 2 นามสกุลด้วยกัน ซึ่งไม่จริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|