เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30987 นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 20:51

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ นั้น แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเพื่อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ โดยผู้ที่ได้รับระดับสายสะพายส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านายที่อาวุโสจริงๆ แต่สมัยที่นักการเมืองสั่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ ปรากฏว่า จอมพลหลวงพิบูลสงครามได้รับพระราชทานในพระปรมาภิไธยรัชกาลที่๘ด้วย

เรื่องนี้ต้องอ่านคำให้การตอนหนึ่งของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หนึ่งในสองคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ยังเหลืออยู่ หลังจากที่ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ทรงปลงพระชนม์ตัวเองจากความกดดันที่ถูกรัฐบาลบังคับ พระองค์อาทิตย์ทรงเป็นพยานโจทก์ในคดีอาชญากรสงครามที่จอมพล ป.เป็นจำเลยหลังสงครามโลกยุติ เราจึงได้ทราบเรื่องแบบที่เรียกว่า"น้ำลดตอผุด"



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 21:03

เหตุการณ์ในที่ประชุมค.ร.ม.คราวนั้น หลวงพิบูลคาดไม่ถึงว่าจะมีผู้ใดกล้าคัดค้าน แต่กลับปรากฏว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้นำ กล่าวโต้ว่าหลักการนี้ขัดต่ออุดมคติของคณะราษฎร แล้วรัฐมนตรีผู้ก่อการสายพลเรือนจำนวนหนึ่งก็เข้าร่วมแสดงความไม่เห็นด้วย โต้เถียงกันไปมาหลวงพิบูลเกิดความไม่พอใจ ตัดบทให้ที่ประชุมเลือกเอาสองทาง คือทางหนึ่งตกลงตามแผนสถาปนาฐานันดรนครเจ้าศักดินาอย่างใหม่ หรือทางที่สองก็ให้ลอกคราบศักดินาเดิม คือเวนคืนบรรดาศักดิ์ที่ใช้อยู่ของทุกคน  คณะรัฐมนตรีลงมติเสียงข้างมากเลือกเวนคืนบรรดาศักดิ์เดิม ให้กลับไปเป็นนายกันใหม่ หลวงพิบูลครั้นเห็นว่าแพ้แล้วแต่ด้วยความอาลัยอาวรณ์ราชทินนาม จึงเสนอใหม่ว่า แม้เมื่อเวนคืนบรรดาศักดิ์เก่าแล้ว ผู้ใดจะใช้ชื่อและนามสกุลเดิมก็ได้ หรือจะเปลี่ยนนามสกุลตามชื่อบรรดาศักดิ์ที่เป็นอยู่ก็ได้ ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง

คณะรัฐมนตรีจึงร่างพระราชบัญญัติส่งผ่านสภา และนำเสนอคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ลงพระนาม มีเนื้อความโดยสรุปว่า

"...ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติในมาตรา ๑๒ ว่า ฐานันดรศักดิ์ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และได้มีการแก้ไขดัดแปลงยศและตำแหน่งให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญแล้วนั้น  แต่บรรดาศักดิ์ยังไม่ได้แก้ไข   ได้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่นั้น  ไม่ได้ทำให้บุคคลได้รับผลทางกฎหมายต่างกันแต่อย่างใด  จึงได้มีผู้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้  ยังมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ที่ยังไม่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ดูลักลั่นไม่เป็นระเบียบ   ทั้งทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จึงเห็นสมควรแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น  ด้วยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วเสีย เพื่อเป็นตามบทบัญญัติมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญ

จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศว่า  ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่ได้พระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันที่มีประกาศนี้ทุกคน

ถ้าผู้ใดที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ของตนไว้ด้วยเหตุผลเฉพาะตน  ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา  เมื่อได้รับพิจารณาสมควรแล้ว  ก็สามารถอยู่ในบรรดาศักดิ์ได้ต่อไป

อนึ่งถ้าผู้ใดมีประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล  เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีงามในราชการของตนเองนั้น  และเพื่อสวัสดิมงคลของตนและครอบครัว  ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นโดยมาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ


โปรดอ่านให้ดีนะครับ ผู้ที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา ส่วนผู้ที่ประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล ก็เพียงแต่มาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ

หลวงพิบูลสงครามได้เปลี่ยนนามสกุลจากขีตตะสังคะซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่๖ ไปเป็นจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แต่ชอบจะเขียนย่อว่า ป. พิบูลสงคราม คนจึงเรียกว่าจอมพลปอ แต่รัฐมนตรีส่วนหนึ่งกลับไปใช้ชื่อและนามสกุลเดิม เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้กลับไปเป็นนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 21:07

ถามว่า การได้มาซึ่งนามสกุลเช่นพิบูลสงคราม ฯลฯ ครั้งนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโดยพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๘ หรือแม้แต่เป็นความเห็นของคณะผู้สำเร็จราชการที่แผ่นดินในพระปรมาภิไธยจะประสาทลงมา หรือบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้กำหนดเอง

ก่อนที่ท่านจะตอบตนเอง ผมขอให้อ่านคำให้การตอนหนึ่งของพลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส อดีตเพื่อนรักของจอมพล ป. ซึ่งให้การไว้ที่ศาลในคดีเดียวกัน (หมายเหตุ-นายปรีดี เข้ามาร่วมคณะผู้สำเร็จราชการเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ถึงแก่อนิจกรรม)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 21:18

โดยสรุป สำหรับผม ไม่ว่าในหนังสือของคุณเทพ สุนทรศารทูลจะกล่าวไว้อย่างไร นามสกุลที่มาจากราชทินนามตามบรรดาศักดิ์อาจใช้ว่าได้รับพระบรมราชานุญาตได้ตามนัยแห่งกฏหมายที่ออกโดยรัฐบาลสมัยนั้น โดยคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกระทำแทนในพระปรมาภิไธย แต่ไม่ใช่นามสกุลพระราชทานโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจากพระมหากษัตริย์เอง หรือกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย
บันทึกการเข้า
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 21:28

ขอบคุณคุณเนาวรัตน์ มากๆเลยครับได้อ่านข้อมูลที่ทรงคุณค่ามากๆเลยครับ ขอบคุณทุกๆคนที่ได้ให้ความรู้ในครั้งนี้ครับ สรุปก็คือนามสกุลดังกล่าวเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 ผมสรุปอย่างงี้ถูกหรือไม่ครับ ตามมิติของกฎหมาย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 21:40

ถูกต้องครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 08:49

สรุปก็คือนามสกุลดังกล่าวเป็นนามสกุลที่มาจากราชทินนามโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 ผมสรุปอย่างงี้ถูกหรือไม่ครับ ตามมิติของกฎหมาย
ยังไม่ถูกต้องหนอ ตามมิติของกฎหมายเป็นดังนี้

นามสกุล "รัตนากร" ของขุนจรูญรัตนากร (ลี เอี้ยงรักขะ) เป็นนามสกุลจากราชทินนามซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๘ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 08:58

คณะรัฐมนตรีจึงร่างพระราชบัญญัติส่งผ่านสภา และนำเสนอคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ลงพระนาม มีเนื้อความโดยสรุปว่า

"...ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติในมาตรา ๑๒ ว่า ฐานันดรศักดิ์ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และได้มีการแก้ไขดัดแปลงยศและตำแหน่งให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญแล้วนั้น  แต่บรรดาศักดิ์ยังไม่ได้แก้ไข   ได้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่นั้น  ไม่ได้ทำให้บุคคลได้รับผลทางกฎหมายต่างกันแต่อย่างใด  จึงได้มีผู้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้  ยังมีข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ที่ยังไม่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ดูลักลั่นไม่เป็นระเบียบ   ทั้งทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จึงเห็นสมควรแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น  ด้วยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานไปแล้วเสีย เพื่อเป็นตามบทบัญญัติมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:10

แล้วที่ถูกเป็นฉันใดหนอ  คุณเพ็ญชมพู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:15

^
เป็นไปตาม ความคิดเห็นที่ ๓๖ หนอ

(ต่อ)

จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศว่า  ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่ได้พระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ในวันที่มีประกาศนี้ทุกคน

ถ้าผู้ใดที่ประสงค์จะคงบรรดาศักดิ์ของตนไว้ด้วยเหตุผลเฉพาะตน  ก็ให้มาชี้แจงขอรับพระมหากรุณา  เมื่อได้รับพิจารณาสมควรแล้ว  ก็สามารถอยู่ในบรรดาศักดิ์ได้ต่อไป

อนึ่งถ้าผู้ใดมีประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล  เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีงามในราชการของตนเองนั้น  และเพื่อสวัสดิมงคลของตนและครอบครัว  ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นโดยมาติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:29

NAVARAT.C
อ้างถึง
ความคิดเห็นที่ 35  
 ถูกต้องครับ

ขอย้ายคคห.ข้างบนลงมาไว้ตรงนี้หนอ
ขอบคุณคุณเพ็ญที่ทักท้วงหนอ

ขอโทษคุณjilkungด้วย ที่ตอนบอกถูกต้องครั้งนั้นประมาทเล่นเล่อ ไม่ได้ย้อนไปตรวจตัวบทให้เรียบร้อยก่อนเพราะดึกแล้ว ชักง่วงนอน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:36

ผมขอให้อ่านคำให้การตอนหนึ่งของพลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส อดีตเพื่อนรักของจอมพล ป. ซึ่งให้การไว้ที่ศาลในคดีเดียวกัน (หมายเหตุ-นายปรีดี เข้ามาร่วมคณะผู้สำเร็จราชการเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ถึงแก่อนิจกรรม)


รายละเอียดของเหตุการณ์ คุณปรีดีเล่าไว้ในหนังสือ "บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์" ดังนี้

...ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ จอมพล ป. ได้ยื่นใบลาออกตรงมายังประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจอมพล ป. ก็ได้ลาออกจากทำเนียบสามัคคีชัย ไม่รู้ว่าไปไหนชะรอยพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯจะทรงทราบว่า จอมพล ป. ต้องการลาออกจริงเพื่อปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ พระองค์จึงส่งใบลาจอมพล ป. มาให้ข้าพเจ้าพิจารณา  ข้าพเจ้าจึงเขียนความเห็นในบันทึกหน้าปกใบลานั้นว่า ‘ใบลานั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว อนุมัติให้ลาออกได้’ ข้าพเจ้าลงนามไว้ตอนล่าง ทิ้งที่ว่างตอนบนไว้เพื่อให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทรงลงพระนาม ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระนาม

ข้าพเจ้าเชิญนายทวี  บุณยเกตุ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาถามจอมพล ป. จะจัดการปรับปรุงรัฐบาลหรืออย่างไร? ก็ได้รับคำตอบว่า คงจะปรับปรุงรัฐบาล และตามหาตัวจอมพล ป. ก็ยังไม่พบ แต่เมื่อคณะผู้สำเร็จราชการฯ ส่งคำอนุมัติใบลาออกของจอมพล ป. แล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชากรมโฆษณาการอยู่ด้วยก็ให้วิทยุของกรมนั้นประกาศการลาออกของจอมพล ป.

ฝ่ายจอมพล ป. ขณะนั้นจะอยู่ที่แห่งใดก็ตาม เมื่อได้ฟังวิทยุกรมโฆษณาการประกาศการ ลาออกเช่นนั้นแล้ว  ก็แสดงอาการโกรธมากครั้นแล้วได้มีนายทหารจำนวนหนึ่งไปเฝ้าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งท่านผู้นี้ประทับอยู่ขณะนั้น ขอให้จัดการเอาใบลาออกคืนให้จอมพล ป.

เป็นธรรมดาเมื่อพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เห็นอาการของนายทหารเหล่านั้นจึงตกพระทัยเพราะไม่สามารถเอาใบลาคืนให้จอมพล ป. ได้ ฉะนั้นพระองค์พร้อมด้วยหม่อมกอบแก้ว ชายาได้มาที่ทำเนียบที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำใกล้ท่าช้างวังหน้า ขออาศัยค้างคืนที่ทำเนียบ  ข้าพเจ้าจึงขอให้เพื่อนทหารเรือช่วยอารักขาข้าพเจ้าด้วย เพื่อนทหารเรือได้ส่งเรือยามฝั่งในบังคับบัญชาของ ร.อ. วัชรชัย  ชัยสิทธิเวช ร.น. มาจอดที่หน้าทำเทียบของข้าพเจ้า ฝ่าย พ.ต. หลวงราชเดชา ราชองครักษ์ประจำตัวข้าพเจ้า และ พ.ต. ประพันธ์  กุลวิจิตร ราชองครักษ์ประจำองค์พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ก็มาร่วมให้ความอารักขาด้วย

เราสังเกตดูจนกระทั่งเวลาบ่ายของวันรุ่งขึ้นก็ไม่เห็นทหารบกหรืออากาศมาคุกคามประการใด ดังนั้นพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ กับหม่อมกอบแก้ว จึงกลับไปพระที่นั่งอัมพรสถาน

จากการที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีได้ลงพระนามและลงนามอนุมัติให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการก็ได้ออกอากาศให้รู้กันทั่วไป อันเป็นการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องตามแบบแผนทุกประการ แต่ไม่ถูกใจจอมพล ป. เพราะเจตนาการลาออกของจอมพล ป. ก็เพื่อหยั่งเชิงการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบนโปเลียน ด้วยคาดคิดว่าคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คงไม่กล้าลงพระนามและลงนามอนุมัติให้ท่านลาออก และถ้าเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับยอมรับในอำนาจเบ็ดเสร็จของท่าน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น อันเป็นสัญญาณบอกให้ท่านรู้ว่าการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จยังมีปัญหา ซึ่งหมายถึงยังมีคนต่อต้านขัดขวาง

เพื่อแก้ปัญหาการต่อต้านขัดขวางการขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ จอมพล ป. จึงอาศัยอำนาจตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตามกฤษฎีกาลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ออกคำสั่งให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และนายปรีดีเข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด และให้ไปรายงานตัวต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ซึ่งก็คือท่านจอมพลนั่นเอง) ภายใน ๒๔ ชั่วโมง

พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ รีบไปรายงานตัวทันที ส่วนนายปรีดีไม่ยอมไป โดยให้เหตุผลว่า

“ข้าพเจ้ามีตำแหน่งเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญ ถ้าข้าพเจ้าไปรายงานตัวยอมอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เท่ากับข้าพเจ้าลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีรัฐมนตรีบางนายได้ชี้แจงขอร้องให้จอมพล ป.ถอนคำสั่งที่ว่านั้น ซึ่งจอมพล ป. ก็ได้ยอมถอนคำสั่ง เป็นอันว่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และข้าพเจ้าคงสามารถปฏิบัติภารกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญได้ต่อไป”

หลังจากที่จอมพล ป. ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ก็ทรงลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗  และสิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ข้อมูลจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต โดย คุณสุพจน์ ด่านตระกูล

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:40

^
จะชวนออกนอกเรื่องไปไกลหน่อยหรือเปล่าหนอ
เอาของแถมที่อยู่ในประเด็นดีกว่ากระมังหนอ
เอามาจากเวปนี้หนอ

http://chatchawan1970.wordpress.com/

นามสกุลจากราชทินนาม
นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้งนามสกุลพระราชทาน นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเอง

แต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุนหมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน

ในปี ๒๔๘๔ ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔
ในมาตรา ๑๘ ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า
"มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก ดังนี้

๑. จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม
๒. พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส
๓. นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์
๔. พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม
๕ พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี
๖. พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
๗. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ
๘. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์
๙. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ
๑๐. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 09:51

^
จะชวนออกนอกเรื่องไปไกลหน่อยหรือเปล่าหนอ
เอาของแถมที่อยู่ในประเด็นดีกว่ากระมังหนอ
เอามาจากเวปนี้หนอ

http://chatchawan1970.wordpress.com/
เว็บของคุณชัชวาลย์ไม่ให้เครดิตเจ้าของข้อมูลเลยหนอ

นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก  ทั้งนามสกุลพระราชทาน  นามสกุลประทาน  และนามสกุลที่ตั้งเอง
แต่ยังนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง
ทั้งนี้  การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้  
ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน
เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  
ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

กระทู้นี้  จะได้แสดงข้อมูลนามสกุลเป็นราชทินนาม
ว่าเป็นราชทินนามของขุนนางคนใด  
ก่อนหน้าที่จะใช้นามสกุลนี้เขาใช้นามสกุลอะไรมา

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 17 มิ.ย. 14, 10:00

อ้างถึง
พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์
ผมจำได้ว่าท่านผู้นี้เสียดายนามสกุลเดิม จึงได้เอามาผนวกกับราชทินนาม สุดท้ายท่านเป็นพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B5_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B0_%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B9%8C
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 20 คำสั่ง