เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30988 นามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่8
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 มิ.ย. 14, 20:26

อย่างไรก็ดี ในหน้าสุดท้าย คุณเทพได้เขียนจดหมายเหตุไว้
ความสำคัญอยู่บนที่ผมขีดเส้นใต้

คุณเทพได้กล่าวถึงนามสกุลเหล่านั้นว่านามบรรดาศักดิ์ ไม่ได้ใช้คำว่านามสกุลพระราชทานแต่อย่างใด
โดยข้อเท็จจริงก็คือ เจ้าของนามสกุลได้ขอเปลี่ยนไปใช้เอง มิได้พระราชทานลงมา

ผมจึงแปลกใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นหลักฐานตามที่เจ้าของความเห็นนำเสนอ งงจริงๆครับ


บันทึกการเข้า
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 มิ.ย. 14, 21:13

ถ้าเช่นนั้นคุณเนาวรัตน์ ครับเดี่ยววันพรุ้งนี้ผมไปมหาวิทยาลัยสีชมพู เเล้วผมจะถ่ายรูปหนังสือเล่มที่ตีพิมพ์ปัจจุบันมาให้คุณเนาวรัตน์ดู เเล้วเรามาคุยกันต่อนะครับ ผมคิดเห็นว่าอาจพึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งหลังสุดนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 มิ.ย. 14, 21:17

ดิฉันคิดว่า หนังสือของคุณเทพฉบับที่คุณเจ้าของกระทู้นำมาแสดงนั้น น่าจะมีเนื้อหาผิดพลาดคลาดเคลื่อน  จะด้วยความเข้าใจผิดของคุณเทพเองหรือจากสาเหตุอื่นใด ยังไม่ทราบ
โปรดดูข้อความที่ขีดเส้นแดงข้างล่างนี้นะคะ
นามสกุล นีละสุนทร   วณิชาชีวะ และ ณ นคร  ล้วนแต่เป็นนามสกุลพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6    ไม่มีเหตุผลใดที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8  จะต้องมาพระราชทานนามสกุลซ้ำอีก
นอกจากนี้ ขุนโยธีฯและขุนรอนรานฯ ก็คือผู้ขอพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6 เอง     ท่านใช้นามสกุลเดิมได้อยู่แล้วจะต้องมาขอพระราชทานนามสกุลใหม่ทำไมกัน    แต่ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนไปใช้ราชทินนามจากบรรดาศักดิ์เป็นนามสกุล  ข้อนี้ก็พอเข้าใจได้  ขุนนางสมัยนั้นก็ทำกันอยู่มากมาย ตามที่เล่าไว้ในกระทู้นี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 09:14

ประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ ขุนรัตนากร (ปล้อง รุปปติรัตน์) ใช้ชื่อสกุลว่า "รัตนากร"  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 09:32

ประกาสกะซวงมหาดไทย ให้ นายลี เอี้ยงรักขะ (ขุนจรูญรัตนากร) ไช้ราชทินนามเปนชื่อสกุลว่า "รัตนากร"  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 09:40

เป็นไปได้ไหม    คุณเทพตีความว่า
1  บรรดาศักดิ์เป็นสิ่งที่โปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ขุนนาง     เมื่อนำราชทินนามจากบรรดาศักดิ์มาใช้เป็นนามสกุลก็ถือว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน
2  ประกาศกะซวงมหาดไทยข้างบนนี้  คุณเทพตีความว่า พระราชทานพระบรมราชานุญาต  คือ พระราชทาน ประเภทหนึ่ง  

ในการพิมพ์หนังสือครั้งหลัง( ที่คุณเจ้าของกระทู้ไปได้มา )   คุณเทพก็เลยนับนามสกุลจากราชทินนามของบรรดาศักดิ์เข้าเป็นนามสกุลพระราชทานด้วย
ทำให้เกิดมีนามสกุลพระราชทาน 2 ประเภท  คือนามสกุลพระราชทานโดยตรง  กับนามสกุลจากราชทินนามของบรรดาศักดิ์พระราชทาน
และผลจากที่นับแบบนี้ ก็คือทำให้บุคคลจำนวนมากมีนามสกุลพระราชทาน 2 นามสกุลซ้อน  ซึ่งตามความจริงแล้วไม่ใช่  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 10:00

เห็นจะต้องรอคุณjilkung ให้ขยายความในรายละเอียดของหนังสือที่อ้างอิงอีกครั้ง

โดยส่วนตัว ผมมีโอกาสรู้จักคุณเทพ ที่ผมเรียกโดยให้เกียรติท่านว่าคุณอา ในฐานะที่เคยทำงานในคณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชนุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกัน ได้พูดคุยสนทนาขอความรู้จากท่านมากมายพอสมควร ก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรมนานมาแล้ว

ถ้าข้อความในหนังสือที่ว่า เขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยตัวท่านจริงๆในการพิมพ์ครั้งหลังๆ ผมก็ยืนยันคำที่ผมเขียนไปแล้วว่างงมาก งงจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 11:24

เป็นการผสมผสานข้อมูลกันระหว่าง

- การตั้งนามสกุลให้ กับ การให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งนามสกุลจากการรวมชื่อบิดา ชื่อมารดา ชื่อลักษณะงานที่ทำ มาตั้งและพระราชทานนามสุกลให้ ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่มีราชทินนามที่ได้รับพระราชทานอยู่แล้ว ทรงประทานมาให้เพื่อเป็นนามสกุล
บันทึกการเข้า
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 15:47

วันนี้หลังจากผมเลิกเรียนผมก็ได้มาเข้าห้องสมุดที่จุฬาฯ เเละได้ค้นหาข้อมูลอีกครั้งจากหนังสือ นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6,7,8และ9  ของคุณเทพ สุนทรศารทูล ได้ความดังนี้ ในหนังสือนั้นคำนำได้เขียนในส่วนสมัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่8 ว่าพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 เเละได้มีการจัดหมวดหมู่สกุลโดยเขียนว่า นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่8 ชัดเจน ซึ่งผมคิดว่าท่านผู้เขียนน่าจะหมายถึงนามสกุลพระราชพระบรมราชานุญาตให้ใช้จากราชทินนาม เเบบนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ อันนี้รูปประกอบครับ


บันทึกการเข้า
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 15:57

รูปครับ





บันทึกการเข้า
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 15:58

รูปครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 16:35

วันนี้หลังจากผมเลิกเรียนผมก็ได้มาเข้าห้องสมุดที่จุฬาฯ เเละได้ค้นหาข้อมูลอีกครั้งจากหนังสือ นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6,7,8และ9  ของคุณเทพ สุนทรศารทูล ได้ความดังนี้ ในหนังสือนั้นคำนำได้เขียนในส่วนสมัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่8 ว่าพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามสกุลจากราชทินนาม ตามความในมาตรา 14 เเห่งพระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ. 2484 เเละได้มีการจัดหมวดหมู่สกุลโดยเขียนว่า นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่8 ชัดเจน ซึ่งผมคิดว่าท่านผู้เขียนน่าจะหมายถึงนามสกุลพระราชพระบรมราชานุญาตให้ใช้จากราชทินนาม เเบบนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ อันนี้รูปประกอบครับ
ดิฉันเข้าใจอย่างเดียวกับคุณค่ะ

คุณเทพรวมนามสกุลที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เข้าเป็นนามสกุลพระราชทาน เหมือนนามสกุลที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานโดยตรง
ซึ่งนามสกุลจากราชทินนามควรจะแยกออกมาต่างหาก   เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 16:45

ลักษณะของนามสกุลพระราชทาน  กับนามสกุลจากราชทินนาม มีลักษณะต่างกัน เพราะที่มาต่างกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าโปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุล   ทรงรวบรวมจากชื่อของบรรพบุรษของผู้ขอ   อาชีพการงานของบรรพบุรุษหรือตัวผู้ขอเอง   ถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ขอ  แล้วผูกศัพท์เหล่านั้นขึ้นเป็นนามสกุล
ส่วนราชทินนาม เป็นชื่อที่บอกถึงหน้าที่การงาน คุณสมบัติ และขอบเขตความรับผิดชอบงานของเจ้าของราชทินนาม   ไม่ได้บอกถึงบรรพบุรุษ หรือที่มาของเจ้าของราชทินนาม

เมื่อเอามารวมเข้ากันหมด  เลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 20:36

เป็นอันว่า หนังสือของคุณเทพเป็นคนละเล่มกัน ที่ผมมีน่าจะตีพิมพ์ก่อนเล่มของห้องสมุดจุฬา และวัยของท่านผู้รวบรวมก็คงต่างกันมาก สมัยที่ผมยังเจอะเจอท่านบ่อยๆอยู่นั้นท่านก็ชราภาพมากอยู่ ตอนตีพิมพ์ครั้งหลังก็น่าจะชรายิ่งขึ้นไปอีก ผมเองในวัยปัจจุบันยังหลงๆลืมๆขนาดนี้ พอวัยเท่าท่านจะยิ่งหนักขึ้นแค่ไหนก็พอจะเดาได้

ความจริงเท่าที่ท่านอาจารย์เทาชมพูได้แสดงความเห็นไปก็น่าจะกระจ่างแจ้งแล้ว แต่ความเห็นในล้อมกรอบข้างล่างนี้จะปล่อยไปก็กระไรอยู่ เพราะสำแดงมาโดยคุณหนุ่มสยามซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัตนะคนหนึ่งในวงการประวัติศาสตร์ในโลกอินเทอเน็ท ไม่ใช่อสุรผัดที่นานๆจะแวะเข้ามา
อ้างถึง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งนามสกุลจากการรวมชื่อบิดา ชื่อมารดา ชื่อลักษณะงานที่ทำ มาตั้งและพระราชทานนามสุกลให้ ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่มีราชทินนามที่ได้รับพระราชทานอยู่แล้ว ทรงประทานมาให้เพื่อเป็นนามสกุล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 มิ.ย. 14, 20:44

ไม่ทราบว่าได้อ่านกระทู้ตั้งแต่ต้นหรือเปล่า แต่ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็ต้องขออภิปรายต่อกันหน่อย ที่ว่ารัชกาลที่แปดท่านพระราชทาน(ราชทินนาม)มาให้เป็นนามสกุลนั้น สมควรที่จะให้ความเข้าใจเช่นนี้ขยายต่อไปหรือไม่

ก่อนอื่น ด้วยความเคารพต่อบรรดาผู้ที่ใช้ราชทินนามของตัวต้นสกุลเป็นนามสกุลทุกท่าน ผมมิได้หมายว่าจะเปรียบเทียบนามสกุลของท่านว่าจะดีจะด้อยกว่านามสกุลอื่นใดในประเทศไทยแต่อย่างใด เพียงแต่อยากจะเล่าประวัติศาสตร์การเมืองสมัยโน้นเพราะบังเอิญมันเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองปี๒๕๗๕แล้วนั้น  บรรดาศักดิ์ของข้าราชการทั้งหลายทั้งปวงบรรดามีก็ถูกหยุดไว้ คือใครมีราชทินนามอะไรก็คงไว้เช่นนั้น ไม่เลื่อนจากบรรดาศักดิ์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และไม่มีการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นใหม่
แต่กว่าบรรดาศักดิ์จะได้ถูกยกเลิกไปจริงๆ ก็เพราะประกาศพระบรมราชโองการ ซึ่งรัฐบาลจอมพลหลวงพิบูลสงครามเสนอให้คณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ลงพระนามในปี๒๔๘๔  หรืออีกเกือบสิบปีต่อมา

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านั้น อยู่ดีๆจอมพลหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและสมัครพรรคพวกในคณะราษฎรรวม๒๑คน ได้ทำหนังสือขอลาออกจากบรรดาศักดิ์ ผู้คนงุนงงกันอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ หลังจากนั้นเพียง๔วันท่านก็ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้บัญญัติกฎหมายยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทยที่ใช้กันในสมัยราชาธิปไตยเสีย เพราะบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว สมควรสถาปนา"ฐานันดรศักดิ์"ขึ้นใหม่แทน และเพื่อให้ทันสมัยตามแบบฝรั่ง ที่เขามีบุคคลระดับดยุค มาควิส เคานท์ บารอน ฯลฯ โดยของไทยจะให้เป็น สมเด็จเจ้าพญา ท่านเจ้าพญา เจ้าพญา ท่านพญา ฯลฯ ส่วนภรรยาของท่านเหล่านั้นให้เติมคำว่า"หญิง"ไว้ข้างท้าย เช่น สมเด็จเจ้าพญาหญิง ท่านพญาหญิง เป็นต้น ในที่ประชุม หนึ่งในคณะรัฐมนตรีคือหลวงวิจิตรวาทการได้เสริมท่านผู้นำ โดยเสนอให้มีคำว่า “แห่ง” (of) แล้วต่อท้ายด้วยชื่อแคว้นหรือเมืองด้วย หลวงพิบูลและท่านผู้หญิงของท่าน จะเรียกว่า สมเด็จเจ้าพญาและสมเด็จหญิงแห่งแคว้น...  คนอื่นๆในคณะรัฐมนตรีและคู่ครองก็จะเป็น พญาและพญาหญิงแห่งเมือง... เป็นต้น ฐานันดรใหม่นี้จะจัดให้แก่บรรดารัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพาย เช่น ผู้ได้รับพระราชทานสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ จะได้เป็น"สมเด็จเจ้าพญาแห่ง..."  และให้ตกทอดถึงทายาท สามารถสืบสันตติวงศ์ได้เหมือนในยุโรปด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง