เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 5320 จีน-ไทย ในงานศิลปะไทย
สมชาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 มิ.ย. 01, 01:05

รัชกาลที่หนึ่งทรงเป็นกษัตริย์นักรบซึ่งย่อมทรงรอบรู้พิชัยสงครามเป็นที่แตกฉาน มิพึงสงสัยอยู่แล้ว  วรรณกรรมจีนก้เข้ามาปรากฏในไทยอยู่ช้านาน แม่ทัพนายกองสมัยอยุธยาก็มีคนจีนอยู่ ยิ่งมิต้องเอ่ยถึงสมัยกรุงธนบุรี ตำราพิชัยสงครามของจีนก็มีให้ศึกษาโดยตรง ทั้งซุนวู่ เง่าคี้ต่างๆซึ่งแพร่หลายมาช้านาน ใยต้องอาศัยนิยายเรื่องสามก๊กเป็นหลักในการทหารอีกเล่า อีกทั้งกลยุทธในสามก๊กนั้นจะต้องมีการกลั่นกรองและวิเคราะห์ออกจากนิยายเสียด้วยจึงจะถือว่าเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งการนี้หาได้ปรากฏในประวัติศาสตร์เลยไม่ ข้าพเจ้าให้เกิดความกังขายิ่งนัก ขอท่านได้โปรดให้อภัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดในการขอให้ท่านทั้งหลายได้โปรดชี้แจงแก่ข้าพเจ้าผู้ดื้อดึงต่อไป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 มิ.ย. 01, 20:06

การที่ตำราพิชัยสงครามถูกเขียนขึ้นมาได้นั้น ต้องมีผู้รู้อยู่ แต่ที่ต้องเขียนขึ้นมา ก็เพื่อสร้างผู้รู้เพิ่มขึ้น ในแง่ของผู้ปกครองที่ดีนั้น ก็ต้องสร้างทรัพยากรบุคคล เพื่อเป็นกำลังต่อไป ตำราพิชัยสงครามแต่เดิมนั้น ไม่ได้รับการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษา ในรัชสมัย ร.๑ นั้น ก็ได้มีการรวบรวมตำราพิชัยสงครามเอาไว้ด้วย การแปลนิยายจีนที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาเชิงวิชาการนั้นเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก ไม่เพียงแต่สมัยนั้น แม้แต่สมัยนี้ ตำราต่างประเทศที่แปลเป็นภาษาไทยนั้นถือว่าน้อยมาก รัฐบาลที่ผ่านมา(รวมถึงปัจจุบัน) ยังไม่เคยเห็นความสำคัญ ในเรื่องนี้ กรณีศึกษาที่น่าสนใจคือเรื่องของประเทศญี่ปุ่นที่มีการตั้งสถาบันการแปลตำราวิชาการจากภาษาต่างประเทศอย่างจริงจัง และส่งผลให้การพัฒนาการศึกษาของชาติอยู่ในเกณฑ์ที่ล้ำหน้ามาก
สำหรับกรณีที่ว่า ร.๑ ถึงแม้จะมี "นักการทหาร" ฝีมือเยี่ยมอย่าง "กรมพระราชวังบวรฯ" เป็นขุนศึกคู่พระทัยก็ตาม แต่เชื่อว่า "นักปกครอง" ผู้ชำนาญการเช่นพระองค์ไม่ได้มองข้ามการพัฒนาบุคคลากรทางทหารขึ้นทดแทนครับ
บันทึกการเข้า
วรวิชญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 มิ.ย. 01, 10:44

สมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ตำราพิชัยสงครามของไทยเรามีอยู่แล้ว ผู้ที่จะเป็นแม่ทัพจะต้องเรียนเขียนอ่านและท่องจำให้ขึ้นใจ ส่วนสามก๊กนั้นอ่านเพื่อรู้กลศึก กองทัพไทยที่ไปรบกับญวนในเขมรเมื่อสมัยรัชกาลที่สามนั้น ได้ใช้กลศึกในการต่อสู้ เช่น ตอนทิ้งค่ายเพื่อให้ทหารญวนตายใจจนกระทั่งเสียทีถูกเพลิงครอกตายทั้งกองในค่ายร้างซึ่งคล้ายกับเรื่องซุนปินในตอนหนึ่งของพงศาวดารจีนเรื่องเลียดก๊ก
พงศาวดารจีนเรื่องอื่นๆน่าจะเป็นการแปลเพื่ออ่านเล่นครับ สุนทรภู่เมื่อแต่งพระอภัยมณีท่านก็ได้ใช้เรื่องราวในนิยายจีนมาดัดแปลงไว้ด้วยหลายตอน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 17 คำสั่ง