เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140933 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 19:58

มาถึงข้อสงสัยเรื่องภาพของถนนพังในรูปที่ 50 ใน คห.ที่ 417

ถนนพังในภาพนี้เป็นลักษณะของการเกิดแบบ slumping มิใช่แบบ sliding   ซึ่งภาษาไทยคงใช้ชื่อเรียกเหมือนๆกัน คือ ดินถล่ม

slumping พบเห็นได้ทั่วๆไปบนถนนสายที่ตัดเลียบไหล่เขา โดยเฉพาะบริเวณโค้งระหว่างร่องเขา (ข้ามห้วย/ร่องน้ำ)  ถนนสายฮอด-แม่สะเรียงก็มี สายแม่มาลัย-แม่ฮ่องสอนก็มี สายร้องกวาง-งาวก็มี ถนนสายดงมะดะ - แม่ขะจาน-ดอยสะเก็ด ในพื้นที่แผ่นดินไหวครั้งนี้ก็มี ฯลฯ     ลักษณะสำคัญคือ ทรุดลงไปเป็นบั้งๆ เป็นกะบิๆ คล้ายใช้พลั่วค่อยๆแซะกองดินให้ทลายลงไป  มีหรือไม่มีแผ่นดินไหวก็เกิดขึ้นได้  ก็ซ่อมแซมกันไปจนกว่ามุมของ slope จะอยู่ในกรอบขององศาที่เสถียร (angle of repose)

sliding นั้น เป็นการเกิดแบบตัวเนื้อของมวลวัตถุถล่มไหลคละกันลงไปกองอยู่ในที่ต่ำ เกิดจากการสูญเสีย cohesive force ระหว่าง sediment materials ต่างๆ  เกิดได้ทั้งจากฝนตก (เช่น จนดินกลายเป็นโคลน) แรงเขย่าของผืนดิน (เช่น จากรถหนักกระเด้งกระดอนบนผิวถนนที่ไม่เรียบ) แผ่นดินไหว ฯลฯ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 08 มี.ค. 15, 20:14

ภาพที่ว่านี้ ผมไม่ทราบว่า ถ่ายมาถนนสายใหน ถ่ายมาเมื่อใด และจะเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวในครั้งนั้นหรือไม่ ?

อนึ่ง slumping นี้ เกิดขึ้นทั่วไปในโลกนะครับ อย่าไปโทษจากสาเหตุว่าสร้างถนนคุณภาพดีหรือไม่ดีแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นงานทางวิศวกรรมที่มีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ทั้งในเรื่องของสภาพภูมิปรเทศ สภาพทางธรณีฯ วัสดุ ค่าใช้จ่าย ฯลฯ  ในหลายๆกรณีก็ต้องยอมให้มันพังไปจนถึงจุดที่มันเสถียรด้วยตัวมันเอง       

ลองพิจารณาจากเรื่องที่ผมอธิบายไปก็แล้วกันนะครับ
บันทึกการเข้า
จูลิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 15:43

ตอนเกิดแผ่นดินไหวเข้าใจว่าเป็นรูปประกอบว่าเป็นผลที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่เชียงรายครั้งที่ผ่านมาค่ะ เหมือนเห็นภาพในห้างอะไรสักที่แว้บๆด้วยค่ะ

พอดีว่าไม่ได้ตามข่าวค่ะ ต้องขอความเห็นจากผู้รู้ท่านอื่นๆค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 19:26

ในวันและเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว  ผมอยู่ในพื้นที่ห่างจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 20 กม. ใกล้ทั้งถนนหลวงสายหลัก กรุงเทพฯ-เชียงราย และก็ใกล้ถนนสายเชื่อมระหว่างเชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-เชียงใหม่อีกด้วย  หลังเกิดเหตุก็ไปตระเวณดูความเสียหายตามหมู่บ้าน เสียแต่ว่าไม่ได้ไปตามถนนหลวงสายเชียงราย-เชียงใหม่ เนื่องจากไม่ได้ยินชาวบ้านกล่าวถึงเรื่องของถนนพังในลักษณะที่น่ากลัวหรือแบบตกใจ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อผมได้เห็นหอแท้งค์น้ำประปาสูง 20-30 เมตรยังอยู่ดี ก็เลยไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องของถนนเป็นพิเศษ   
ก็เป็นเรื่องที่จะเกิดมี slump ในบางจุดได้ในเส้นทางนี้ ไม่ว่าจะเนื่องจากผลของความชุ่มฉ่ำจากน้ำ หรือจากการสั่นสะเทือน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ลัดเลาะไปตามใหล่เขาอยู่หลายช่วง แถมก็ยังเป็นถนนที่สร้างเสร็จใหม่ๆไม่นานนักก่อนเกิดแผ่นดินไหว

เมื่อครั้งเครื่องบินของอิโดนีเซียตกเมื่อไม่นานมานี้ เพียงสองสามวันก็มีภาพเครื่องบินจมอยู่ใต้น้ำเห็นส่วนหัวชัดเจน ในขณะที่ข่าวสารทางราชการต่อเนื่องมาอีกหลายๆวันยังบอกว่ายังไม่พบซากเครื่องบิน    ครับ ข้อมูลข่าวสารของโลกในปัจจุบันที่ผสมผสานกันระหว่าง real กับ virtual
บันทึกการเข้า
จูลิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 13:51

วันที่เกิดแผ่นดินไหวจำได้ว่าอยู่ชั้นหนึ่งของตึก 4 ชั้นของจังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกได้ยินเสียงดังและพื้นสะเทือนอย่างที่ได้อ่าน ตลอดเวลาที่อยู่เชียงใหม่คือช่วง 2528-2535 และตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา รู้สึกถึงแผ่นดินไหวหลายครั้งแต่ไม่รู้สึกว่าครั้งไหนจะแรงเท่าครั้งที่ผ่านมา มีอยู่ครั้งหนึ่งขับรถอยู่บนถนน หลายคนพูดว่าแผ่นดินไหวแรงมาก แต่เราไม่รู้สึกว่าแผ่นดินไหวเลยด้วยซ้ำไป

สมัยนี้การแต่งรูปก็มากมาย การลงโพสต์นู่นนี่นั่นจริงบ้างเท็จบ้างก็เยอะ ส่วนใหญ่เริ่มมาจากการที่ไม่มีตัวตนแท้จริงบนโลกออนไลน์ ทำให้เกิดความกล้าอยากทำอะไรก็ทำ จากนั้นผู้ที่ไม่มีความรู้และขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบก็ส่งข้อมูลต่อ คนหลายคนที่ขาดการพิจารณาก็จะได้ความรู้ความเข้าใจที่ผิดๆไปจากโลกออนไลน์ค่ะ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 25 มี.ค. 15, 08:52

25 มี.ค.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 05.32 น.สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ตรวจพบแผ่นดินไหว นอกชายฝั่งทางทิศตะวันออกของภูเก็ต วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์ ลึกจากระดับผิวดิน 23 กิโลเมตร บริเวณใกล้จุดศูนย์กลาง ผู้อาศัยอยู่ในอาคารสามารถรับรู้และรู้สึกสั่นไหว เบื้องต้นไม่มีรายงานความเสียหายแต่อย่างใด

ด้าน นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งทิศตะวันออกของภูเก็ต ห่างจากภูเก็ตประมาณ 13 กิโลเมตร รับรู้แรงสั่นไหว ใน จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา

http://www.naewna.com/local/150806


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 26 มี.ค. 15, 13:59



เกิดในประเทศบราซิลค่ะ ไม่ใช่ไทยหรือเพื่อนบ้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 26 เม.ย. 15, 19:16

เชิญอ่านต่อได้ที่กระทู้นี้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6278.0
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 26 เม.ย. 15, 19:46

สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ จัดได้ว่ารุนแรงมาก แต่จะเป็นการเกิดตามวงรอบทางสถิติ (return period) หรือไม่นั้น ผมไม่ทราบ

สำหรับตัวผมนั้น มีความสนใจอยู่ประการหนึ่ง คือ สิ่งก่อสร้างทางศาสนา สังคม และวัฒนธรรมในเนปาลที่พังลงมาจากการเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้นั้น จากข้อมูลและจากภาพที่ผมได้เห็น ส่อไปในทิศทางว่า ล้วนเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วง ศตวรรษที่ 19 ซึ่งหมายถึงในช่วงของยุค ค.ศ. 1800 +++      ซึ่งหมายความว่า บนพื้นฐานทางภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วนั้น เนปาลไม่เคยประสพพบแผ่นดินไหวในระดับนี้มาก่อนเป็นเวลานานมาก นานมาก..ก...จริงๆ   สิ่งก่อสร้างต่างๆจึงเป็นแบบก่ออิฐโบกปูนโดยไม่มีโครงสร้างรับแรงใดๆสำหรับการโยก การโย้ และการกระแทก (ดังเช่นสถาปัตยกรรมของถิ่นอื่นใดในย่านเอเซียอาคเนย์)
 
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากภาพในพื้นที่ๆได้รับความเสียหาย เรายังเห็นมีอาคารสมัยใหม่สูงหลายชั้นที่ยังคงสามารถยืนตระหง่านอยู่ได้ บางอาคารก็พังพาบลงมาทับกันเหมือนขนมชั้น   ซึ่งทั้งหมดดูจะให้ข้อมูลในสามแนว คือ อาคารเหล่านั้นมีการออกแบบและมีการก่อสร้างกันแผ่นดินไหว  หรือ อาคารเหล่านั้นก็มีการสร้างกันตามวิถีทางธุรกิจปรกติ แต่ที่มันไม่พังก็เพราะว่าคุณภาพของการก่อสร้างดี  หรือ การที่สิ่งก่อสร้างหนึ่งใดไม่มีความเสียหายหรือมีความเสียหายต่างๆกัน ก็อาจสืบเนื่องมาจากทิศทางการเดินทางของคลื่นแผ่นดินไหว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 26 เม.ย. 15, 20:49

แรงที่ดันให้แผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้มุดกันเกยกันนั้นมีมากมายมหาศาล  เมื่อดันกันจนโก่งจนงอแล้ว ก็แน่นอนว่าเมื่อถึงจุดๆหนึ่งมันก็ย่อมต้องเกิดการแตกหัก

แผ่นดินไหวในเนปาลครั้งนี้ ผมเห็นว่า ได้แสดงถึงจุดแตกหักนั้น  ทั้งนี้ พอจะเดาได้จากภาพ (เท่าที่พอจะมีให้ดู) ของสภาพการกองของวัสดุที่ยุบพังพาบลงมา สภาพของกองวัสดุที่คล้ายกับการกระชากให้ตกลงไปกองรวมกัน ณ จุดหนึ่ง และลักษณะการพังของกลุ่มอาคารลักษณะยาวที่วางตัวขนานกันแนวทิศทางหนึ่ง   ก็เป็นการเดานะครับ    การศึกษาที่เรียกว่า First motion study (หรือ Fault plane solution หรือ first kick)  ของเส้นปากกาเส้นแรกที่บันทึกลงบนแผ่นกราฟของเครื่องวัดแผ่นดินไหวของระบบ WWSSN (World-Wide Standard Seiamographic Network) ที่ ณ ขณะนี้น่าจะทราบผลแล้ว น่าจะช่วยเป็นคำตอบให้ได้อย่างดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 15:08

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อถามคุณตั้ง และท่านอื่นๆ  ว่าข่าวนี้หมายถึงอะไร
รอยเลื่อนผิดปกติ คืออะไรคะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 18:19

ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติที่จัดว่าอยู่ในประเภทรุนแรงและทำความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินมากๆนั้น อยูในเรื่องของดิน น้ำ ลม ไฟ ทั้งสิ้น ที่จัดเป็นพิบัติภัยทางธรณีฯเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวกับเรื่องของดินและน้ำ ซึ่งทั้งสองเป็นภัยพิบัติที่มักจะทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่สูงมากทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพในแต่ละครั้ง ความเสียหายที่มีสถิติของการเกิดขึ้นและมีความรุนแรงในระดับต้นๆเลยก็คือ ดินถล่ม (landslide) น้ำท่วม (flooding) แผ่นดินไหว (earthquake) หลุมยุบ (sinkhole collapse) น้ำเอ่อท่วม (inundated) ...

ก็มีเพียงแผ่นดินไหวอยู่เรื่องเดียวที่เกือบจะคาดเดาไม่ได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นที่ใหน เมื่อใด จะรุนแรงเพียงใด จะมีผลกระทบรุนแรงและแผ่ไปกว้างไกลเพียงใด   เรื่องของแผ่นดินไหวกับ infrastructures บางอย่าง จึงเป็นเรื่องของข่าวสารที่มีความอ่อนไหวมากๆ (sensitive) ไม่ว่ามันจะเป็นข่าวสารในทางบวกหรือในทางลบ มันก็เป็นเรื่องที่นำพาให้จิตใจของเราต้องนำเอาความคิดในทางลบมาถกในใจด้วยเสมอ     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 432  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 18:26

ตอนนี้ที่แน่ๆ คือเพชรบุรีประกาศเตือนภัยน้ำท่วม จากการระบายน้ำในเขื่อนแล้วค่ะ

https://news.thaipbs.or.th/content/273780
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 433  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 18:31

https://www.sanook.com/news/7434146/

หวั่นน้ำท่วมเพชรบุรี ผู้ว่าฯ ส่งหนังสือด่วนถึง ผบ.ทร. ขอเรือยนต์เร่งผลักดันน้ำ

มื่อเวลา 06.00 น. วันนี้ (4 ส.ค. 61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนแก่งกระจานมีน้ำ 689.974 ล้านลูกบาศก์เมตร จากจำนวนจุน้ำสูงสุด 710 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 97.18% ซึ่งมากกว่าเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่มีน้ำ 674.42 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 94.99% และในวันนี้เขื่อนแก่งกระจานได้ปล่อยน้ำออกท้ายเขื่อนในอัตรา 108.91 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  แต่สถานการณ์ยังไม่วิกฤต เนื่องจากเขื่อนเพชรปล่อยน้ำออกท้ายเขื่อนลงแม่น้ำเพชรบุรี ในอัตรา 66.80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำจึงยังไม่ล้นตลิ่ง และที่ริมแม่น้ำเพชรบุรีหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำได้ชักธงเหลือง ซึ่งหมายถึงอยู่ในระยะเฝ้าระวัง

ขณะเดียวกันวันนี้ นายสมเกียรติ์ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วยนายปรีชา สุขกล่ำ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดเพชรบุรี โดยไปรับฟังสรุปสถานการณ์และการเตรียมการรับสถานการณ์ที่ห้องประชุมชั้น 3 กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี ก่อนที่จะลงพื้นที่ไปดูปริมาณน้ำที่เขื่อนแก่งกระจาน

นอกจากนี้ มีรายงานว่าวานนี้ (3 ส.ค. 61) นายฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้บัญชาการทหารเรือ ขอรับการสนับสนุนเรือยนต์ผลักดันน้ำ และกำลังพล เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นใน จ.เพชรบุรี แล้ว เพื่อเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัยหวั่นซ้ำรอยปีที่ผ่านมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 434  เมื่อ 04 ส.ค. 18, 18:41

ข่าวสารเรื่องนี้   ผมคิดว่ามันมีสองสามเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งได้เกิดมีการสื่อสารขึ้นมาในช่วงระยะเวลาเดียวกันคือ เป็นเรื่องของการให้ข้อมูลจากกรมทรัพย์ฯ  เป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนในเชิงของความภัยของเขื่อน ซึ่งจะผันแปรไปตามปริมาณน้ำที่คาดว่าจะไหลเข้าเขื่อนตามการคาดการณ์ของกรมอุตุฯ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.137 วินาที กับ 20 คำสั่ง