เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140915 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 19:33

ก็เลยมีการพร่ำสอนซ้ำแล้วซ้ำอีกต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาอันยาวนานว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้มุดลงไปหลบอยู่ใต้โต๊ะ  ซึ่งโดยนัยก็คือมิให้สิ่งของหรือฝ้าเพดานตกลงมาใส่ตัวจนได้รับบาดเจ็บ  ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่ถูกต้องจน ณ ปัจจุบันนี้   เพราะว่าการบาดเจ็บจากกรณีแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการมีวัสดุสิ่งของจากที่สูงตกใส่ 
  -ก็เลยกลับกลายเป็นว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ในเบื้องแรกสุด ให้แหงนมองฟ้า คือ มองขึ้นเหนือหัวว่ามีอะไรที่กำลังตกหล่นใส่ตัวเรา  กรณีในบ้านก็มีอาทิ ดูของที่วางอยู่บนหลังตู้ ดูรูปภาพที่แขวนอยู่ที่ผนังบ้าน ฯลฯ    กรณีนอกบ้านก็มีอาทิ กระจกจากหน้าต่าง หรือ mosaic จากผนังของอาคาร ฯลฯ 
  -แล้วก็มองไปรอบๆตัวว่าจะไปทางไหนดีที่จะรอด คือ หาเส้นทางไปยังพื้นที่ๆโปร่งโล่งที่มีซากปรักหักพังน้อยที่สุด

พูดง่ายเนาะ แต่ยากที่จะไม่โดนคาถา ณ จังงัง 

ก็มีทางแก้ครับ  คือ รู้เขารู้เราอย่างมีสติ    (อย่างน้อย หากอ่านเรื่องของกระทู้อย่างเข้าใจ ก็น่าจะไปช่วยสร้างระบบการตอบสนองที่เหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 19:27

แต่ก่อนนั้น บ้านเรือนร้านค้าทั้งหลาย ส่วนมากจะสร้างด้วยไม้  บรรดาขื่อ คาน แป ตง พื้น ผนัว ฝา ฯลฯ ทั้งหลายก็เป็นไม้ จะยกเว้นก็เฉพาะเสาที่เป็นส่วนฐานรากที่จะเป็นเสาปูน ซึ่งการใช้เสาปูนก็ดูจะมีวัตถุประสงค์หลักเพิ่อกันปลวกและแก้ปัญหาโคนเสาผุ

ที่น่าสนใจก็คือ บ้านไม้รุ่นเก่าๆที่เก๋าจริงๆนั้น  ที่บริเวณจุดเชื่อมต่อของส่วนที่เป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนักหรือรับแรงไม่ว่าจะเป็นในแนวตั้งหรือแนวนอน   ณ จุดเชื่อมต่อเหล่านี้ มักจะเป็นการเชื่อมต่อกันด้วยวิธีการร้อยกัน มากกว่าที่จะใช้วิธีประกบกัน  การใช้วิธีการร้อยกันนี้ ทำให้เกือบจะไม่มีทางหลุดแยกออกจากกันได้เลย  ดังนั้น บ้านเรือนรุ่นเก๋าๆจึงเกือบจะไม่เสียหายในลักษณะของ demolish เพราะแผ่นดินไหว แต่จะเสียหายในลักษณะของ displace หรือ dislocation (ขยับผิดที่)

จากการร้อยกันด้วยการใช้สลักยึด ก็พัฒนาไปเป็นการบากไม้ประกบกันแล้วใช้น๊อตร้อยยึด พัฒนาต่อไปจากใช้น๊อตร้อยยึดไปเป็นใช้ตะปู แล้วก็พัฒนาต่อมาอย่างที่เห็นกันในปัจจุบันคือใช้ไม้ตีประกบกันดื้อๆเลย   แม้ว่าโครงสร้างไม้โดยปกติจะให้ตัวได้ดี (โยกไปมาได้มาก) แต่มันก็ขึ้นอยู่กับวิธีสานต่อส่วนที่เป็นโครงสร้าง  บ้านเรือนไม้แต่ละรุ่นหลังๆต่อๆมาจึงรับการไหวของแผ่นดินได้น้อยลงกว่ารุ่นเก่าๆลงมาเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 14 ธ.ค. 14, 18:15

เข้ามาสู่ยุคของโครงสร้างอาคารที่เป็นคอนกรีต  ซึ่งแม้ว่าจะดูแข็งแรงบึกบึนดี แต่ก็มีจุดอ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะความเปราะที่มีมากกว่าไม้ แต่จะอย่างไรก็ตาม จุดสำคัญของอาคารคอนกรีตก็ยังอยู่ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างเสา ขื่อ คาน ทั้งหลาย  ก็เลยกลายเป็นว่าเมื่ออาคารเกิดจะต้องพังเพราะการไหวของแผ่นดิน ก็จะพังเพราะเสาหัก (เสาระเบิด) และคานหักกลาง เหลือแต่ส่วนที่อยู่ใกล้ๆหรือติดกับเสาทั้งหลาย 

เมื่อเสาล้มลงจึงมักจะเกิดช่องว่างสามเหลี่ยม กลายเป็นจุดที่พอจะรักษาชีวิตได้   

ดังนั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่เราอยู่ในอาคารใหญ่ๆทั้งหลาย วิถีทางและโอกาสที่จะรักษาชิวิตให้รอดแบบหนึ่งก็คือรีบไปอยู่ใกล้ๆเสา ที่เหลือก็แล้วแต่ดวงใครดวงมัน   
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 18:32

โครงสร้างที่เป็นเสา เป็นขื่อ เป็นคานคอนกรีตนั้น เป็นโครงสร้างใหญ่ที่ดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของอาคาร  ก็ถูกต้องครับ  แต่ก็ยังมีส่วนอื่นของอาคารที่แข็งแรงและพังยากเช่นกัน (ก็พังเหมือนกัน แต่ยังคงมีสภาพเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่มาก)  ซึ่งได้แก่ ส่วนที่เป็นปล่องลิฟท์  ซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักหรือแกนกลางของอาคาร มันมีความแข็งแรงดีแถมยังเป็นส่วนของอาคารที่มีการเคลื่อนไหวแกว่งไกวน้อยที่สุด 

จึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งสำหรับการรักษาชีวิตเมื่อเกิดแผ่นดินไหว  แต่ก็อีกแหละครับ ความช่วยเหลืออาจจะเข้าถึงจุดช้าหน่อย จะรอดชีวิตได้ยาวนานสักเพียงใดก็ดวงใครดวงมันอีกนั่นแหละครับ

อันที่จริงแล้ว พื้นที่บริเวณปล่องลิฟท์หรือใกล้ๆ ยังมักจะมีปล่องที่เป็นทางเดินของเส้นเลือดหลักของอาคาร (น้ำดี น้ำเสีย ไฟฟ้า การสื่อสาร) ซึ่งเป็น life line ของอาคารในยามปกติ  แต่มันก็จะผันแปรไปเป็น life line ในยามวิกฤติยิ่งยวดได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 20:46

ระบบท่อ (ที่อยู่ในปล่อง) ที่เชื่อมต่อระหว่างโลกภายนอก (สภาพแวดล้อมเปิด) กับโลกภายใน (สภาพแวดล้อมปิด)  ไม่ว่าจะเป็นท่อขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เพียงใดก็ตาม ก็ได้เคยช่วยชีวิตคนมามากมาย     

เมื่อเกิดเหตุเหมืองถล่ม อาคารถล่ม อุโมงค์ถล่ม  ท่อทรงกลมซึ่งเป็นทรงที่มีความแข็งแรงและรับแรงได้ดีเหล่านี้ แม้จะได้รับความเสียหายใดๆ ก็ยังใช้เป็นเครื่องส่งสัญญาณด้วยการเคาะได้ จะเคาะเบาหรือเคาะแรง เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็รับรู้ได้ทั้งนั้น เพราะสิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยให้ความสนใจก็คือเสียงหรือสัญญาณของการมีชีวิตใต้สิ่งปรักหักพังทั้งหลาย ท่อเหล่านี้ได้กลายเป็นท่อส่งอากาศสำหรับหายใจ ส่งน้ำ ส่งอาหาร ส่งการสื่อสาร (ทางสาย)  และแม้ทั่งตำแหน่งที่อยู่ของผู้รอดชีวิต        ท่อที่ใช้ในเหมืองหรืออุโมงใต้ดินทั้งหลายจึงต้องมีการใช้ท่อโลหะร่วมอยู่ในระบบด้วยเสมอ   ไม่ทราบว่าในระบบอาคารสูงทั้งหลายได้มีการคำนึงถึงบ้างหรือไม่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 17 ธ.ค. 14, 20:09

โครงสร้างเล็กๆในห้องต่างๆของอาคารบ้านเรือนต่างๆที่อาจจะดูไม่มีความสำคัญนั้น แท้จริงแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เรารอดชีวิตได้พอได้เลยทีเดียว   
ครับ ก็คือ ประตู เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อาคารบ้านเรือนทั้งหลังโยกไปโยกมา ส่งผลให้วงกบประตูและหน้าต่างบิดเบี้ยว หากประตูถูกปิดอยู่ เราก็จะเปิดประตูไม่ได้เลย (เนื่องจากตัวบานประตูกับวงกบจะฟิตพอดีกันมาก)  ดังนั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เรื่องแรกๆที่ต้องคำนึงถึงคือ รีบไปเปิดประตูง้างไว้พอที่เราจะแทรกตัวออกไปได้สบายๆ 

วงกบประตูและหน้าต่างนั้น ตามปกติก็จะทำด้วยไม้  ในการก่อสร้างแต่เก่าก่อนนั้นมันจะเป็นโครงซ้อนอยู่ในกรอบของคอนกรีตที่เรียกว่า เอ็น (แนวตั้ง) และทับหลัง (แนวนอนด้านบน)   อาคารบ้านเรือนในปัจจุบันนี้พอมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่เท่าที่สังเกตเห็นว่าแทบจะเลิกทำกันเลย ไม่มีทั้งเอ็นและทับหลัง  ไม่มีแม้กระทั่งการตอกตะปูตามกรอบวงกบไม้เพื่อช่วยยึดไม้กับปูนให้อยู่ด้วยกันอย่างยึดโยงกันพอสมควร ซึ่งเมื่อเกิดการไหวก็อาจทำให้วงกบหน้าต่างหรือประตูหลุดแยกออกมา   ทางออกที่พอจะพึ่งพาได้ก็เลยอาจจะถูกปิดไป   

เคยสังเกตไหมครับว่า ในภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหวทั้งหลายที่เห็นทางสื่อต่างๆนั้น   เราจะยังเห็นช่องประตูหน้าต่างที่เป็นช่องเปิดโล่งอยู่  โครงวงกบประตูหน้าต่างที่ดูไม่น่าจะแข็งแรงเหล่านั้น ดูจะช่วยค้ำยันผนังบ้านหรือผนังห้องให้ยังคงอยู่ มิให้ยุบลงทั้งแผง

เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่อาจจะคิดไม่ถึงนะครับ แต่ก็เป็นเรื่องที่พยายามจะสร้างให้เกิดเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 19:20

เรื่องที่ต้องสร้างให้ฝังอยู่ในใจเพื่อให้เกิดเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ โดยสรุปในขณะนี้ ก็คือ
  - แหงนมองเหนือหัว เพื่อดูของที่จะหล่นใส่
  - ในกรณีอยูในอาคาร ให้ไปยืนอยู่บริเวณเสาของอาคาร  เผื่อจะมีช่องว่างให้รอดในกรณีเกิดอาคารถล่ม
  - รีบไปแง้มประตูเพื่อให้มีช่องทางสำหรับหนีออกจากบ้านหรืออาคาร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 19:40

ที่ได้กล่าวถึงมา เป็นการเปิดโอกาสให้มีโอกาสรอดชีวิตในเบื้องแรกสุดๆ   

คราวนี้ เมื่อมีโอกาสรอดแต่แรกแล้ว ก็ต้องให้รอดต่อไปในสถานะการณ์ที่ไม่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม  ซึ่งดูจะมีเรื่องเดียวที่ต้องกระทำ แล้วมันก็เป็นเรื่องแรกสุดๆที่ต้องกระทำเสียอีกด้วย ได้แก่ การปิดเตาแกส     แล้วก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากๆอีกด้วย เพราะว่าหากเกิดแผ่นดินไหว การตอบสนองแรกๆของคนเราก็คือย่อตัวลง แล้วเคลื่อนที่ในระดับต่ำ (ย่อตัว)  บรรดากระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ กาต้มน้ำร้อนๆ หม้อแกงร้อนๆ ที่อยู่บนเตา อาจจะหกตกหล่นใส่ก็ได้   

เราจะเห็นภาพในเกือบจะทุกสถานะการณ์ของเหตุการณ์ภัยพิบัติว่า มีการเกิดไฟใหม้   ซึ่งทั้งหลายก็มักจะสืบเนื่องมาจากเตาแกสประกอบอาหารในอาคารบ้านเรือนนี้เอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 17:29

รอดต่อไปอีกเรื่องนึง คือ ต้องรอดให้ได้ถึง 72 ชม. (3 วัน)  เพราะว่าการกู้ภัยที่เข้าถึงพื้นที่เร็วที่สุดได้แก่ชาวบ้านกันเอง ต่อมาก็หน่วยกู้ภัยที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติ (หากตนเองรอด ไม่เสียหายมากนัก)  ต่อมาก็หน่วยกู้ภัยจากพื้นที่ใกล้เคียง  พวกนี้เกิดขึ้นในกรอบเวลาตั้งแต่เกิดเรื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะช่วยได้ไม่ดีนักและไม่ครอบคลุมทุกชีวิต    ในกรอบ 6 - 12 ชม.ความช่วยเหลือแบบค่อนข้างจะพร้อมสรรพ จะเริ่มมาจากหน่วยงานของรัฐ มีเครื่องจักรกลหนักเข้ามาช่วย มีระบบการแพทย์แลบะระบบการยังชีพเข้ามา    ในกรอบ 24 ชม.ก็จะเริ่มมีการระดมความช่วยเหลือจากทุกสารทิศ แต่กว่าจะเริ่มปฎิบัติการและประสานการทำงานกันได้อย่างเต็มที่ก็อยู่ในกรอบของ 72 ชม.

การเตรียมตัวให้สามารถอยู่รอดได้ถึงระดับนี้ ก็คงพอจะนึกได้นะครับว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง และจะต้องจัดสิ่งของที่จำเป็นสุดๆที่เหมาะสมกับตัวเราอย่างไร รวบรวมเก็บไว้ที่ใหนที่จะคว้าติดตัวได้อย่างรวดเร็วได้อย่างไร  ฯลฯ   

หลักการก็คือ รอดตายแล้ว ก็ต้องสามารถอยู่ให้รอดได้ต่อไปได้อีกสองสามวัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 17:36

หนีออกจากอาคารแล้ว ก็ต้องรีบไปหาที่โล่งที่กว้างๆในทันทีนะครับ  เพราะความช่วยเหลือต่างๆมันจะมารวมกันอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้ (สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนหย่อม ฯลฯ)  แล้วก็อย่างที่ได้กล่าวถึงแล้วว่า สาธารณูปโภคที่เป็น lifeline นั้น จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอย่างไรก็ตาม ก็มักจะใช้พื้นที่ลักษณะเช่นนี้เป็นจุดเชื่อมต่อของระบบโครงข่าย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 21 ธ.ค. 14, 18:25

วันนี้ช่วงเวลาใกล้เที่ยง ก็เกิดแผ่นดินไหวแถว อ.แม่สรวย จ.เชียงราย อีก แต่ชาวบ้านรู้สึกเฉยๆเสียแล้ว ก็ยังคงทำงาน งานที่จัดขึ้นมาก็ดำเนินไปตามปกติเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  ก็เพราะสาเหตุสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ รับรู้แล้วว่าการไหวขนาดนี้ไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือน (เพราะได้ผ่านขนาดที่ใหญ่กว่านี้มาแล้ว) และ ได้ทำการปรับปรุงบ้านในเรื่องต่างๆเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ในระดับที่มั่นใจว่ามั่นคงเพียงพอแล้ว 

ก็จัดว่าเป็นการตอบสนองที่ดีของคนในพื้นที่นั้นในแง่มุมที่ไม่ตื่นตระหนกตกใจ (panic) ซึ่งจะไม่ยังผลต่อไปถึงสภาพของความชุลมุนวุ่นวาย (chaos) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 22 ธ.ค. 14, 19:19

มาถึงตรงนี้ ก็คงจะได้เกิดความคิดแล้วว่า  หากเรามีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆมีประวัติเกิดแผ่นดินไหว เราควรจะต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง    ก็แล้วแต่จะคิดกันครับ มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล อาทิ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุดชั้นสูง/ชั้นต่ำ ลักษณะชุมชน การคมนาคม ฯลฯ   

โดยสรุปก็มีเรื่องที่จะต้องทำอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ เตรียมการเพื่อรับเหตุที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องในประเด็นเพื่อลดต้นตอที่จะทำให้ต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด     เรื่องที่สอง ได้แก่ ในขณะเกิดเหตุจะทำอย่างไรดี ซึ่งเป็นเรื่องของแผน / เส้นทางการหลบหลีกหนีภัยในขณะที่ภยันตรายกำลังโถมเข้ามา     และเรื่องที่สาม ได้แก่ เมื่อรอดชีวิตจากเหตุภัยแต่แรกแล้ว แล้วจะต้องเตรีมการอย่างไรเพื่อทำให้รอดต่อไปอีกสองสามวันหรือนานกว่านั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 22 ธ.ค. 14, 19:33

เรื่องแรก การลดต้นตอที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ หรือกีดขวางทาง   

เป็นเรื่องที่เรากำจัดให้หมดไปไม่ได้ แต่ก็สามารถลดมันลงไปได้มากเลยทีเดียว   ก็เกี่ยวกับตู้และหิ้ง....ลองนึกดูนะครับว่าจะต้องจัดการอย่างไรบ้าง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 29 ธ.ค. 14, 19:10

หายไป ตจว.มา  กลับมาต่อเรื่องของตู้และหิ้งต่อไปครับ

ตู้ที่จะกล่าวถึงนี้คือตู้ที่ไม่ใช่แบบ built in  แต่หมายถึงตู้ทั้งหลังที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
   
ตู้ที่มีความสูงต่ำกว่า (ประมาณ) 1.50 เมตร มักจะมีสัดส่วนความกว้างของฐานพอเหมาะพอดีที่จะไม่ทำให้ตู้ล้มคว่ำลงได้ง่ายๆ ต่างกับตู้ที่มีความสูงมากกว่านี้ที่จะไม่มั่นคงนัก ก็เป็นไปตามหลักธรรมดา ยิ่งสูงก็ยิ่งมีโอกาสล้มได้ง่ายมากขึ้น
   
เรื่องของตู้ที่ไม่สูงนัก อันตรายจะมาจากสิ่งของที่เอาไปวางไว้บนหลังตู้ ซึ่งให้บังเอิญว่า ิส่งของที่มักจะนิยมวางบนหลังตู้มักจะเป็นพวกที่ทำมาจากแก้ว (แถมทรงสูงอีกด้วย เช่นขวดเหล้าและแก้ว) ซึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหว มันตกหล่นลงมาและแตกได้ง่ายมากๆ      ก็ควรจะวางให้ลึกๆสักหน่อย แล้วก็ควรจะหลีกเลี่ยงบรรดาสิ่งของที่ทำจากแก้วทั้งหลาย   เครื่องแก้วที่หล่นลงมาแล้วแตกนั้น เศษแก้วมันแตกกระจายได้ดีเป็นวงกว้างมากๆ   วิ่งหนีบนเส้นทางที่โรยด้วยเศษแก้วแตกก็คงจะไม่สนุกใช่ใหมครับ 

เรื่องของตู้สูง เป็นเรื่องของตู้ล้มคว่ำ ซึ่งอาจจะผนวกด้วยสิ่งของบนหลังตู้หล่นลงมาอีกด้วย    ให้บังเอิญว่า สิ่งของที่วางบนหลังตู้สูงเหล่านี้มักจะเป็นของที่ตกแล้วไม่แตกกระจายง่ายๆ (กระเป๋า พระพุทธรูป ฯลฯ)    ความเสี่ยงที่เหลือจึงคือ การล้มของตู้มาขวางทางหนี  ซึ่งการทำให้มันไม่ล้ม  ก็ทำได้ง่ายๆด้วยเพียงการใช้เหล็กฉากสั้นๆยึดส่วนหลังตู้กับฝาผนังเท่านั้นเอง       หากมีโอกาสไปดูร้านเฟอร์นิเจอร์มือสองนำเข้าจากญี่ปุ่น จะเห็นว่าตู้เหล็กสองชั้นที่เป็นแบบวางต่อชั้นกันนั้น เขาจะมีสกรูยึดให้มันติดกัน และด้านหลังตู้จะมีรอยสกรูที่ใช้ขันยึดเหล็กฉากที่จะใช้ยึดติดกับฝาผนัง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 29 ธ.ค. 14, 19:18

ฮืม....บ้าไปแล้วที่จะจะต้องดำเนินการทำในลักษณะนี้เสมอไป     

ไม่หรอกครับ เป็นเรื่องที่พึงกระทำในบางพื้นที่ของไทยเราเท่านั้นเอง   ส่วนจะเป็นพื้นที่ใดบ้างนั้น ค่อยๆตามต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง