เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141080 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 20:10

       เพิ่งได้ข่าวว่าเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

       แผ่นดินไหวระดับ 6.8 แมกนิจูดครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของเมืองนางาโนและอีกหลายเมืองโดยรอบ ขณะที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) รายงานว่าแผ่นดินไหวทางภาคกลางของญี่ปุ่นครั้งนี้มีความรุนแรงที่ระดับ 6.2 แมกนิจูด และมีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดินเพียงแค่ 10 กิโลเมตรเท่านั้น
       
       ด้านสื่อท้องถิ่นในแดนปลาดิบรายงานว่า บริการรถไฟหัวกระสุน “ชินคันเซน” ได้หยุดให้บริการในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
       
       จนถึงขณะนี้ มีรายงานว่าเกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการถึงจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวสามารถรับรู้ได้ทั่วไปในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปราว 180 กิโลเมตร
       
       ล่าสุดสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่นรายงานว่า เกิดเหตุดินถล่มที่เป็นผลพวงจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ใกล้กับสกีรีสอร์ตแห่งหนึ่งไม่ไกลจากเมืองนางาโน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 18:43

ครับ  เป็นการไหวตามปกติที่ไม่ปกติเท่าใดนัก คือแรงไปหน่อย จนทำให้บ้านพังและเกิดดินถล่ม

ในกรณีที่มีอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจนเป็นอันตรายต่อการเข้าอยู่พักอาศัยเช่นนี้   
  หากเกิดขึ้นกับประชนชนจำนวนมาก ฝ่ายรัฐของญี่ปุ่นจะดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน คือ หาอาคารในพื้นที่ๆเกิดเหตุที่ในทางวิศวกรรมยังมีความแข็งแรงและใช้ประโยชน์ได้ ดัดแปลงเป็นที่พักฉุกเฉินรวม 
  เมื่อสำรวจความเสียหายแล้วเห็นว่า ต้องใช้เวลานานในการเก็บกวดและซ่อมแซม ก็จะไปสร้างห้องพัก (คล้ายห้องแถวชั้นเดียว) ในพื้นที่อื่น แล้วอพยพผู้คนที่สมัครใจเข้าไปอยู่  ห้องพักสนามนี้จะมีไฟ มีน้ำ มีเครื่องปรับอากาศ เย็น/ร้อน มีห้องส้วมห้องน้ำพร้อม มีพื้นที่ใช้สอยเล็กๆด้านหลังบ้านอีกด้วย ในพื้นที่ก็จะมีศูนย์เล็กๆมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ (ในภาพง่ายๆก็คือศูนย์เชื่อมโยงกับโลกภายนอกในทุกๆเรื่อง)   ผมได้มีโอกาสได้เห็น ได้เดินสัมผัสกับผู้คนในศูนย์อพยพเช่นนี้เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ทางฝั่งทะเลญี่ปุ่น (ที่ได้เล่าเรื่อง Joetsu)

จัดการได้ดีนะครับ แต่...   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 19:26

แต่ก็ต้อง อื้อม์  ในเรื่องที่ดูดี มันก็มีในอีกมุมหนึ่ง

สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ คนหนุ่มสาวทำงานอยู่ในเมืองกันหมด  ผู้คนอยู่ในค่ายหรือในศุนย์อพยพนี้จึงมีแต่ผู้สูงวัย สูงวัยจนเลยคำว่าคนแก่ ไปเป็นผู้เฒ่าชรา ที่เกือบทั้งหมดมีอายุเข้าใกล้ทางเลข 8 +/-  อยู่กันสองคน มีพื้นที่บ้านเป็นห้องเล็กๆ ไม่รู้จะเดินไปใหนดี หน้าบ้านก็เป็นถนนลาดยาง ด้านหลังมีผืนดินเล็กๆให้พอปลูกอะได้บ้าง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ ไม่มีกิจกรรมใดๆ ได้แต่ดูทีวี เมื่อไรจะกลับบ้านได้ก็ไม่รู้ ที่บ้านเดิมจะต้องไปทำอะไรบ้างก็ไม่รู้

เห็นแล้วก็สงสารครับ   ผมได้เรียนรู้วิธีการทำลูกพลับแห้งก็ที่ค่ายนี้ ถามเขาเพราะเห็นแขวนตากอยู่ ผู้เฒ่าก็ได้เล่าให้ฟังถึงวิธีการ (ผ่านล่ามครับ)   หากท่านใดมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุน ในช่วงเวลาเหมาะ (คิดว่าในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์) ลองลิ้มรสพลับแห้งที่ตากด้วยลมที่ยังคงความฉ่ำ (เป็นลูกพลับแบบกลม ที่ไม่นิยมกินกัน) ที่ต่างไปจากพลับแห้งของจีนที่แบน แห้ง และแข็ง

หลักคิดของฝ่ายรัฐที่ต้องการแสดงถึงความรับผิดชอบและการให้บริการที่ดี เป็นเหตุทำให้เกิดสภาพดังที่กล่าวถึงนี้ครับ   ก็เนื่องด้วย รัฐใช้เวลาทำการปรับพื้นที่ๆเกิดดินถล่ม ซ่อมถนนให้กลับไปเหมือนเดิม ปรับภูมิทัศน์ต่า่งๆ และช่วยซ่อมแซมบ้าน   ก็คิดดูเอาเองนะครับว่าจะใช้เวลานานเพียงใด ขนาดคนญี่ปุ่นที่ว่าเป็นคนอึดและอดทนก็ยังบ่นก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 18:58

  - กระบวนการลดความตื่นตระหนก (panic) ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ  การจัดการในเรื่องนี้จัดว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก  ซึ่งในความรู้ความเข้าใจของผมนั้น  อาการตื่นตระหนกของปุถุชนมันเกิดจากความไม่รู้ หรือ การเกิดการมโนจากสภาพการไร้ข้อมูลใดๆ แล้วก็การมโนเกี่ยวกับภัยจากธรรมชาตินี้ มันมักจะเป็นมโนไปในสภาพที่แย่สุดๆ

เขาแก้ด้วยการให้ข้อมูลในทันทีแบบใกล้ real time มากที่สุด โดยเฉพาะสำหรับกรณีเหตุเกิดโดยฉับพลัน เช่น การเกิดแผ่นดินไหวที่จะมีผลกระทบที่ค่อนข้างไปทางร้ายแรงที่ตามมา  แต่ก็มิใช่ให้ข้อมูลแบบพร่ำเพรื่อดังเช่น กรณีเกิดแผ่นดินไหวที่จับได้เฉพาะเครื่องมือ (ระดับต่ำกว่า 2+ ริกเตอร์) ที่คนปรกติแทบจะไม่สามารถรับรู้การไหวได้เลย

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 19:47

ที่มันยุ่งยากเข้าไปอีกหน่อยนึง คือ ในภัยเรื่องนี้ มีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวพันและต้องรับผิดชอบอยู่หลายหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยก็อยู่ในสังกัดที่มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน และซึ่งก็มีทั้งหน่วยในระดับเขตการปกครองและในระดับประเทศ อาทิ
  การอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีภารกิจด้านการเตือนภัยภัยจากธรรมชาติสำหรับกรณีที่ธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลง (เครื่องมือวัดแผ่นดินไหวทั้งหลาย แทบจะทั้งโลก อยู่ในการดูแลของหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยา ยกเว้นสหัฐฯที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานด้านธรณีวิทยา)
  การป้องกันและบรรเทาภัยฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีภาระกิจบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน อยู่ในการดูแลของเมืองหรือมหาดไทย
  งานทางวิชาการเจาะลึกเฉพาะเรื่องเป็นเรื่องๆไป ซึ่งอยู่ในทั้งภาคการศึกษาและภาคราชการ
  ฯลฯ

......เมื่อใดที่ต่างคนต่างก็คิดว่า ฉันแน่ เมื่อนั้นก็.... 
 
ครับ ต่างคนต่างก็เรียนมา รู้มา   ต่างคนต่างก็คิดว่าฉันรู้ดีกว่าแก เพียงอาจจะลืมนึกไปว่า รู้ในเชิงของศาสตร์ หรือ รู้เพราะเกี่ยวข้องด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 29 พ.ย. 14, 19:03

การลดความตระหนกโดยการสื่อสารสัมพันธ์ด้วยการให้ข้อมูล ยังมีอีก   คือ 

 - การให้ข่าวผ่านทางตัววิ่งแทรกในรายการทีวีในทันที ว่าเกิดที่ใหน พร้อมการคาดการณ์ว่าจะมีระดับน้ำจาก tsunami เอ่อสูงเพียงใด (20, 30, ....ซม.)   ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพขนาดและสถานที่เกิดของแผ่นดินไหว หากอยู่ในเกณฑ์รุนแรงและกระทบพื้นที่ชุมชนสำคัญ ก็จะมีการแทรกเป็นข่าวรายงานสดในทันที    ครับ ทันทีคือทันที คือ ไม่เกิน 30 วินาที      คลื่นแผ่นดินไหววิ่งผ่านบ้านที่ผมอยู่ รีบไปเปิดทีวี ยังแทบจะไม่ทันข่าวตัววิ่งเลยครับ

 - การให้ข่าวผ่านทางวิทยุ  การให้ข่าวผ่านทางจอภาพโฆษณาในระบบการขนส่งมวลชน การบอกผ่านเครื่องกระจายเสียงในพาหนะขนส่งสาธารณะ ฯลฯ มีทั้งนั้นเลยครับ  เป็นข่าวเดียวกัน ออกมาจากที่เดียวกัน  คนอ่านข่าวออกสื่อและให้ข้อมูลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐคนเดียวกัน จากนั้นอีกสักพักใหญ่ๆจึงเป็นรายงานของสื่อมวลชนที่เป็นรายงานดิบ ข่าวนี้พอรับฟังได้เก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ต่อไป  แล้วก็จึงตามมาด้วยข่าวทาสี/ใส่ไข่ แต่ไม่ใช่เรื่องโกหกนะครับ เพียงแต่ลงลึกไปในรายละเอียดยิบๆเท่านั้นเอง

แต่ ของดีก็ย่อมต้องมีส่วนที่ไม่ดีปนอยู่ด้วย...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 29 พ.ย. 14, 19:39

เมื่อรับรู้ข่าวสารเร็ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ความสะดุดของระบบโทรคมนาคม เพราะทุกคนก็จะพยายามติดต่อสอบถามญาติหรือเพื่อนฝูงว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง  ระบบโทรคมนาคมมันรับไม่ไหวครับ (ก็เล่นเปลี่ยนจากลักษณะการใช้งานตามปกติไปเป็น super peak load ในทันที)

ทางแก้ที่ผมมีประสบการณ์ก็คือ รู้เร็วโทรเร็วพูดสั้นๆ เอาแค่ว่าเจ็บหรือไม่เจ็บ   ว่าที่พัก เครื่องนุ่งห่ม พอไหวใหม   ว่าสภาพอาหารการกินพอไหวใหม ก็พอแล้ว   จากนั้น เราฟังข่าวเอา เราก็พอจะประเมินสถานการณ์ความรุนแรงได้ว่าเราควรจะต้องทำอย่างไรต่อไป

ช้าไปนิดเดียวก็โทรไม่ติด ติดต่อไม่ได้แล้วครับ เพราะรัฐก็รู้ว่าจะต้องเกิดสภาพเช่นนี้ ดังนั้นเขาจึงพยายามจัดการเปิดช่องให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถติดต่อออกมาได้มากกว่าที่ผู้ที่อยู่ข้างนอกติดต่อเข้าไป (แถมจัดสลับเป็นช่วงเวลาที่สมควรตามสภาพสถานการณ์อึกด้วย)    แน่นอนว่าผู้ที่อยู่นอกเหตุการณ์จะต้องสอบถามซักรายละเอียดยิบ ซึ่งจะใช้เวลาในการพูดคุยนาน  ต่างกับผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการจะบอกเพียงว่ายังสบายดีอยู่ ไม่ต้องห่วง (อะไรทำนองนี้) แล้วใช้เวลาไปกับความพยายามที่จะจัดการตนเองให้อยู่รอดในช่วงสองสามคืนแรก
   
ครับ เรื่องยังไม่ตายในสองสามวันแรก จึงเป็นที่มาอย่างหนึ่งของระบบความช่วยเหลือทั่วๆไป ที่ต้องพยายามรู้สถานการณ์ที่แท้จริง ที่ถูกต้องและเร็วที่สุดแต่ไม่เกิน 24 ชม.  เข้าถึงที่เกิดจุดเกิดเหตุให้ได้เร็วที่สุดแต่ไม่เกิน 48 ชม. และทำระบบความช่วยเหลือในทุกๆด้านให้มีความพร้อมสมบูรณ์ เต็มกำลัง และเต็มรูปแบบมากที่สุดภายใน 72 ชม.
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 19:07

คิดดี เตรียมการดี ก็ยังมีแต่...อีก

โลกในปัจจุบันเป็นโลกของระบบไร้สาย ซึ่งต้องการจุดเชื่อมและจุดกระจายคลื่นที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งก็คือเสาส่งสัญญาณ   หากปรากฏว่าเสาส่งและรับสัญญาณในพื้นที่เกิดพัง (ล้มหรือใช้การไม่ได้เพราะสาเหตุต่างๆ)  การสื่อสารในรูปแบบต่างๆก็จบ ติดต่อกันไม่ได้ 

ทางเลือกหนึ่งก็คือ ใช้ระบบการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม (ไม่ผ่านระบบสถานีจานรับส่ง) เช่น โทรศัพท์ประเภทติดต่อผ่านดาวเทียมโดยตรง แต่คงจะมีคนใช้น้อยมาก เพราะเป็นระบบสำหรับคนที่ทำงานในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลปืนเที่ยงจริงๆ

ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือ ใช้ระบบการสื่อสารทางสาย ซึ่งมิได้หมายความถึงการใช้โทรศัพท์ระบบสาย หากแต่ใช้ระบบที่สื่อสารโดยผ่านทางสาย เช่น การใช้สายในระบบการส่งไฟแรงสูงไปยังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็มีการใช้กันภายในของหน่วย (ติดต่อกันระหว่าสถานีย่อยต่างๆ) ที่เป็นเจ้าของระบบส่งไฟฟ้าอยู่แล้ว    เพราะไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐต้องพยายามจัดส่งลงไปให้ถึงประชาชนทุกครัวเรือน และซึ่งรัฐพยายามจะทำให้เป็นระบบที่เรียกกันว่า Electrical grid    ก็มี แต่ อีกแหละว่า การสร้างระบบ grid ให้คลุมไปถึงพื้นที่ห่างไกล มากๆนี้ มันลงทุนแพงมาก ก็เลยต้องมีการผลิตไฟฟ้าเฉพาะถิ่น ทำให้ไม่มีระบบสายเชื่อมต่อกับโลกภายนอก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 20:18

ก็ยังมีทางเลือกอื่นอีก คือ กลับไปใช้ระบบไร้สายเช่นเดิม แต่เป็นระบบดั้งเดิม ซึ่งก็คือวิทยุในระบบ HF  ระบบนี้สามารถส่งได้ไกลมากทั้งระบบเครื่องแบบสถานีรับส่ง (base station)  ระบบแบบเคลื่อนที่ (mobile unit) ที่ทหารเขาแบกเป็นเป้หลัง  ทั้งหมดสามารถใช้ไฟจากหม้อแบตเตอรี หรือถ่านไฟฉาย   เครื่องขนาดกำลังส่งเพียง 5 วัตต์ ก็คุยกันได้ทั่วประเทศไทยสบายๆ    แต่เดิมนั้น ส่วนราชการไทย (หลายๆหน่วย) ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมลำบาก จะมีเครื่องรับส่งวิทยุชนิดนี้อยู่ในห้องหนึ่งที่เรียกว่าห้องวิทยุ  ปัจจุบันนี้ผมไม่เห็นแล้วทั้งห้องและเครื่อง 

การสื่อสารด้วยระบบคลื่นชนิดนี้ จัดได้ว่ามีสำคัญมากๆในสถานะการณ์ฉุกเฉิน   มากพอที่เครื่องบินทุกลำในโลกปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะล้ำหน้าทางเทคโนโลยีเพียงใดก็ตาม ก็จะยังคงต้องมีระบบสื่อสารนี้เป็นมาตรฐานอยู่ในระบบการสื่อสารของเครื่องบินนั้นๆ   

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 18:55

ระบบการสื่อสารสุดท้ายที่มีการใช้กัน ซึ่งเป็นการใช้เพื่อกระจายข่าวและความเป็นจริงของพิบัติภัยไปยังดินแดนใดๆอันไกลโพ้น (ข่าวที่ละเอียดยิบกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของรัสเซียที่ถูกกระจายออกไปก็ด้วยวิธีนี้) ก็ยังใช้คลื่นวิทยุในย่าน HF อยู่ แต่เป็นการใช้การเคาะแบบสัญญาณโทรเลข ซึ่งก็คือการใช้รหัส Morse code  เช่น did did did da da da did did did  =  SOS     บุคคลที่ต้องทำหน้าที่พนักงานสื่อสาร (ที่มีมาตรฐาน = มาตรฐานของตำแหน่ง) แม้จะไม่ชำนาญหรือรู้รหัส morse ทั้งหมด อย่างน้อยก็จะต้องรู้การเคาะ SOS    นักบิน นักเดินเรือ นักผจญภัย นักสำรวจ รวมทั้งผู้ที่ทำงานเสี่ยง (เช่นในเหมืองใต้ดิน) ฯลฯ ต่างก็จะต้องรู้การเคาะรหัส SOS ไม่ว่าจะถูกอบรมมาหรือเรียนรู้เอง 

การเคาะรหัสช่วยชีวิตพื้นฐาน SOS นี้   จะใช้วัสดุใดเคาะกับวัสดุใดก็ได้ จะใช้แสง (กระจกสะท้อน)ก็ได้ ฯลฯ สารพัดวิธีที่จะคิดออกได้ในสภาพของสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในสถานการณ์นั้นๆ     
 
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 19:06

ก็เข้ามาถึงระดับแต่ละบุคคล  ซึ่งมีใน 2 รูป คือ เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยการฝึกจนกลายเป็นนิสัย  แล้วก็โดยการอ่านข่าวคราวและเรื่องราวของการรอดชีวิตเมื่อเกิดเหตุ กับการเอาชีวิตรอดหลังจากเหตุเกิด   ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้พอจะเทียบได้กับการบรรจุ application software ลงไปใน ROM  RAM หรือ flash memory

แล้วมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 19:08

หายไปจากกระทู้เพราะไป ตจว. มาครับ

ย้อนกลับไปอ่านเรื่องที่ผ่านมา   ก็เลยต้องขอทำความกระจ่างของรหัสเคาะ SOS (= Save Our Souls หรือ Save Our Ship) ที่ผมเขียนว่า did did did da da da did did did นั้นเอง

morse code คือ รหัสสัญญาณที่ใช้แทนตัวอักษรในการส่งข้อความข่าวสารหรือการสื่อสารระหว่างจุดที่อยู่ในระยะห่างไกลกัน  โดยใช้การผสมผสานกันของความต่างระหว่างสัญญาณสั้นกับยาว เช่น อักษร A = สั้น แล้ว ยาว (did da) อักษร D = ยาว แล้ว สั้น แล้ว สั้น (da did did) 
ระบบโทรเลขสมัยก่อนนั้น ต้องใช้การส่งข้อความด้วยรหัส morse นี้เอง   นักบินอวกาศทั้งหลายต่างก็ต้องรู้และสามารถใช้รหัสนี้ได้
 
เราจะลองฝึกกดออดของบ้านตัวเองก็ได้นะครับ แบบ did ก็คือแบบพอดัง ติ๊ง กับ แบบ da คือกริ๊งแบบเป็นเสียงกริ๊งเลย

ตัวอักษร S = สั้น แล้ว สั้น แล้ว สั้น (did did did)  ตัวอักษร O = ยาว แล้ว ยาว แล้ว ยาว (da da da)  ดังนั้น SOS จึงเป็น did did did da da da did did did

นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก (HAM Radio) ที่มีการสื่อสารกัน จะมีการใช้ morse code (ในหลายช่วงคลื่นวิทยุ) เป็นหนึ่งในระบบการสื่อสารระหว่างกัน

ท่านที่มีวิทยุหลายแบนด์ (multi band radio) ที่รับคลื่น short wave ได้  ในขณะกำลังหมุนหาคลื่น SW อยู่นั้น ก็น่าจะได้ยินเสียง did เสียง da บ้างเป็นช่วงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 20:02

มาถึงเรื่องของตัวเราเอง   เมื่อเราอยู่ในจุดที่กำลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น เราจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง

มนุษย์เรานั้น เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย และ/หรือ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหันหรือเฉพาะหน้า  เราจะมีการตอบสนองแบบอัตโนมัติอยู่ใน 3  ลักษณะหลักๆ คือ
  - อยู่นิ่ง ดู ประเมินสถานการณ์ แล้วจึงขยับขยายเคลื่อนที่  จะเรียกว่าถูกคาถา ณ จังงัง ก็ว่าได้
  - รีบออกห่างจากจุดนั้นๆในทันที ด้วยความรวดเร็วอย่างที่สุด  จะเรียกว่า หนีโลด ก็ว่าๆได้
  - รีบหาที่แอบหรือที่หลบให้พ้นจากเหตุการณ์นั้นๆในขณะที่กำลังเกิดเหตุ จะเรียกว่า หลบหาที่กำบัง ก็ว่าได้

ในกรณีแผ่นดินไหวนี้ ความฉิบหายต่างๆ (ขออภัยที่ใช้คำที่ดูไม่สุภาพครับ แต่มันเป็นคำที่ให้ภาพได้ชัดเจนดีครับ) มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่วินาที  ดังนั้น
   - กรณีถูกสะกดจิต ณ จังงัง  เรื่องนี้มีโอกาสถึงเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้ง่ายๆ  จำเป็นต้องแก้ไขจริงจัง   
   - กรณีหนีโลด หากไม่ดูตาม้าตาเรือมันก็อันตรายมากๆ  มันก็อาจจะไม่ต่างไปจากสภาพของหนูติดจั่น หรือสภาพของความระส่ำไปหมด
   - กรณีหลบหรือหาที่กำบัง เรื่องนี้ดูดี แต่เป็นเรื่องที่ต้องการความมีสติและความเข้าใจในเรื่องต่างๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 19:00

การฝึกตนให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยนั้น ทำได้ทั้งแบบพยายามฝึกใจ และ แบบพยายามฝึกกาย

การฝึกทางใจนั้นก็คล้ายกับการท่องจำในการเรียนหนังสือ ไม่ต่างไปจากการท่องสูตรคูณ ซึ่งที่มันออกมาเป็นอัตโนมัติสำหรับการคิดเลขของเราในชีวิตประจำวันนั้นเอง

สำหรับการฝึกทางกายนั้น คงทำได้ยาก เพราะไม่มีสถานที่ฝึกซ้ำๆซากๆให้เราต้องเสียเวลาไปฝึกกับมัน โดยสภาพก็คล้ายกับการฝึกตำรวจหรือทหารในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบไม่ต้องเสียเวลาไปคิดไปสั่งการ   ครับ ตัวอย่างก็เช่น ทหารหรือตำรวจทั่วโลก การเตะเท้าก้าวแรกที่ออกเดินจะเป็นเท้าซ้ายเสมอ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 20:10

ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ในช่วงเวลาที่แผ่นดินกำลังไหวในระดับที่ค่อนข้างแรง ที่เข้าข่ายทำให้เกิดความหายนะนั้น     หากกำลังยืนอยู่ มักจะตอบสนองด้วยการย่อตัวลงไป  แต่หากกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ ก็มักจะตอบสนองด้วยการพยายามนั่งนิ่ง ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เป็นปรกติของมนุษย์โดยทั่วๆไป 
แต่โดยสภาพ ณ จังงัง (อยู่นิ่งกับที่) เช่นนี้ มันก็คือ การก้าวเข้าไปอยู่ในเขตของความเสี่ยงต่อชิวิตของตนเอง  ซึ่งที่สำคัญที่สุด คือ การไม่สร้าง (เปิด) ทางรอดให้กับตนเอง

     

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง