เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140923 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 09:28

ขอบพระคุณคุณตั้งสำหรับคำตอบ สรุปว่าในกรณีนี้ไส้เดือนอพยพขึ้นมาบนดินเพราะอิทธิพลของแผ่นดินไหวทำให้ชั้นดินที่อยู่อาศัยของไส้เดือนเกิดน้ำท่วม

เท่าที่เคยทราบมาไส้เดือนจะมีการอพยพในหลายกรณีนอกจากที่อยู่อาศัยมีน้ำท่วมแล้ว ภัยแล้งและสภาพอากาศหนาวเย็นก็มีผลต่อไส้เดือนเช่นกัน (รายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไทยโพสต์ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 17:43

ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมครับ

ผมเคยแต่พบไส้เดือนหนีหนาว แต่ไม่เคยได้เห็นกรณีไส้เดือนหนีแล้ง    ส่วนกรณีหนีน้ำท่วมนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ที่พบบ่อยๆก็คือ หนีขึ้นมาอยู่บนลานหรือถนนคอนกรีต ก่อนที่น้ำจะท่วม แล้วก็ตายเป็นเบือใต้ผิวน้ำที่ท่วมบนคอนกรีตนั่นแหละครับ

ปริมาณไส้เดือนเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของความสมบูรณ์ของผืนดิน เช่นเดียวกันกับปริมาณหิ่งห้อยที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของการปราศจากมลภาวะ

บริษัทผลิตเบียร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นบริษัทหนึ่ง ได้ใช้การปรากฎตัวและปริมาณของหิ่งห้อย เพื่อแสดงต่อสาธาณะชนว่า เขาจะไม่ทำให้เกิดมลภาวะในพื้นที่ๆเขาไปตั้งโรงงานผลิตเบียร์นั้น แต่เขาจะช่วยทำให้พื้นที่นั้นกลับมีสภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม (ดิน น้ำ อากาศ) และจะใช้การเพิ่มปริมาณหิ่งห้อยเป็นตัวชี้วัด  ก็ประสบผลสำเร็จ กลายเป็นโครงการและพื้นที่ศึกษาดูงานของนักเรียนเด็กๆทั้งหลาย 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 18:06

กลับมาเรื่อง mitigation ต่อกันครับ

ผมจะไม่เล่าให้เป็นเรื่องยาวแบบมีรายละเอียดประกอบมากมาย  แต่จะขอใช้วิธีเล่าในเชิงของตัวอย่างและหลักคิดว่าเขาทำอะไรกัน อาทิ บนฐานคิดว่า
    สิ่งก่อสร้างที่มีส่วนฐานเคบแต่สูงจะโงนเงนและพังได้ง่ายกว่าสิ่งก่อสร้างที่มีส่วนฐานกว้างแต่เตี้ย
    เมื่อแผ่นดินขยับจะทำให้ระบบสาธารูปโภคที่ใช้ระบบฝังอยู่ใต้ผิวดินเกิดความเสียหาย
    จำนวนประชาชน ณ พื้นที่ และ ณ เวลาใดๆ กำลังทำอะไรกันอยู่และมีมากน้อยเพียงใด
     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 31 ต.ค. 14, 18:25

คิดอย่างง่ายๆธรรมดาๆ --> แผ่นดินไหวทำให้อาคารบ้านเรือนพังทลายลงมา  เส้นทางการคมนาคมเสียหาย (ถนน รางรถไฟ และแม้แต่เส้นทางน้ำในบางกรณี) สาธารณูปโภคเสียหาย (ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ)  ระบบการสื่อสารเสียหาย  ฯลฯ   

สภาพของพื้นที่นั้นๆในภาพองค์รวม --> ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ยุ่งเหยิง วุ่นวาย ไร้ระเบียบ สกปรก ขาดปัจจัยสี่ (ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค) มีคนตาย ฯลฯ

เราป้องกันไม่ให้เกิดแผ่นดินไหวไม่ได้ คาดเดาเวลาที่มันจะเกิดและมากระทบกับพื้นที่ใดๆไม่ได้  แถมยังไม่รู้ความรุนแรงของมันและผลที่มันจะทำให้เกิดความเสียหายอีกด้วย

กระบวนคิดที่จะจัดการหรือดำเนินการบนความหมายของคำว่า ป้องกัน จึงคงจะใช้ได้น้อยมาก  ที่จะใช้ได้ดีก็คงจะอยู่ในความหมายของคำว่าบรรเทา และ หลีกเลี่ยง เพื่อที่จะให้ความสูญที่จะเกิดขึ้นแน่ๆนั้นมีน้อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องคิดและมีการดำเนินการทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการเกิดเหตุ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 31 ต.ค. 14, 19:13

ด้วยพื้นฐานความคิดดังกล่าวมานี้  จึงได้มีการจัดการและการดำเนินการ (มิใช่เฉพาะในเรื่องของแผ่นดินไหวเท่านั้น) ในเรื่องของภัยร้ายแรงอื่นๆอีกด้วย เช่น เรื่องของไฟใหม้ในย่านธุรกิจของเมืองขนาดใหญ่    และใช้กับพื้นที่ๆทีมีความเสี่ยงสูงต่อภัยต่างๆ เช่น เรื่องของภัยจาก avalanche ต่างๆ (อาทิ snow, debris)

ที่จริงแล้ว เราท่านทั้งหลายก็อาจจะได้เคยเห็นการจัดการในเรื่องนี้อยู่บ้าง โดยเฉพาะในต่างประเทศที่ไปท่องเที่ยวกันมา อาจจะเคยบ่นเสียด้วยซ้ำไปว่า ไม่เข้าใจว่าเขาคิดอะไรกันอยู่    ก็เพียงแต่อาจจะไม่ทราบเหตุผลที่เขาต้องทำเช่นนั้นเท่านั้นเอง

   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 31 ต.ค. 14, 19:39

ถึงตอนนี้ก็อาจจะพอถึงบางอ้อได้บ้างแล้ว

จะขอยกตัวอย่างบางอย่างที่อาจจะนึกไม่ถึงเลย คือ การอนุรักษ์เทคโนโลยีที่เชยและล้าสมัยมากๆ    ก็เพราะมันช่วยให้เกิดการรับทราบ การเข้าถึง และการช่วยเหลือพื้นที่ๆเกิดอุบัติภัยร้ายแรงหลายๆครั้ง   
  ครับ อาทิ ทำไมจึงยังคงต้องมีระบบโทรศัพท์ใช้สายอยู่  ทำไมจึงยังมีการสนับสนุนชมรม HAM Radio และการใช้ Morse code  ทำไมจึงยังคงต้องมีการบำรุงรักษาอุปกรณ์การสื่อสารด้วยวิทยุระบบ HF ของส่วนราชการสายความมั่นคง    ทั้งหลายทั้งปวงทั้งๆที่เราก้าวเข้ามาในยุค digital จนแทบจะลืมระบบ analog ไปจนหมดสิ้นแล้ว 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 18:43

เมื่อเกิดมีภัยธรรมชาติ ก็เป็นเรื่องปกติที่บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายที่เราสร้างขึ้นมา (โดยที่ไม่ตั้งใจคิดและตั้งใจทำให้ดี)  ที่ไม่เป็นมิตร ขวางกระบวนการของธรรมชาติ หรือ ที่ไม่ลู่ไปตามกระบวนการของธรรมชาติอย่างเหมาะสม   ก็มักจะประสบกับหายนะ อันตรธานกลับไปสู่ฐานเดิมก่อนที่จะมีการสร้างสรรขึ้นมา 

เราจึงได้เห็นภาพพื้นฐานจริงๆของความต้องการในปัจจัย 4 มนุษย์ทั้งหลายภายหลังจากการเกิดภัยและความหายนะ

ครับ แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการสนองตอบได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ ในลักษณะที่เป็นมวล (mass) พร้อมๆกัน   มิใช่ในลักษณะของครั้งละหนึ่ง (individual) หรือ ตามคิว (inline)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 19:10

ก็กระทำได้ในสองสถานะการณ์ คือ ก่อนจะเกิดเหตุ และ หลังการเกิดเหตุ

   ก่อนเกิดเหตุ --  มักจะอยู่ในข่ายของการโน้มน้าว ให้ความรู้ บ่มเพาะสัญชาติญาณการตอบสนองต่อสถานะการณ์ และการบังคับโดยกฏกติกาต่างๆ (สังคม ระเบียบ กฏหมาย ฯลฯ)
   หลังเกิดเหตุ --  มักจะอยู่ในข่ายของความฉับไวและความสามารถในการตอบสนอง ซึ่งมักจะเป็นภาพของการแสดงแสนยานุภาพของอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆบนฐานของระบบ digital   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 19:35

แล้วไง ??

ดูง่ายๆ แต่จริงๆแล้ว ก็ยากที่จะทำเหมือนกัน     เพราะเป็นเรื่องของหลายหน่วยงานที่จะต้องเข้ามามีบทบาท  แถมแต่ละหน่วยงานต่างก็แสดงความเป็นมืออาชีพในสายของตน แถมอีกด้วยว่า ต่างวิชาชีพ ต่างสำนักวิชาการ ต่างสถาบัน ต่างหน้าที่ความรับผิดชอบ

ลองดูภาพนี้ก็แล้วกันครับ
    - หน่วยงานดูแลสถานีวัดแผ่นดินไหว เกือบจะทั่วโลกเป็นหน่วยงานในระบบงานทางอุตุนิยมวิทยา 
    - หน่วยงานที่รู้ตื้นลึกหนาบางทางวิชาการของแผ่นดินไหวเป็นหน่วยในระบบงานทางธรณีวิทยา 
    - หน่วยงานที่มีความรู้ทางวิศวกรรมในสร้างความคงทนถาวรให้กับสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นหน่วยงานในระบบวิชาการและองค์กรวิชาชีพ
    - หน่วยงานที่มีอำนาจออกกฎและควบคุมการก่อสร้าง เป็นหน่วยงานในระบบมหาดไทย
    - หน่วยงานทีออกให้ความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ มีทั้งหน่วยงานในระบบมหาดไทย ตำรวจ ทหาร องค์กรเอกชน และนานาชาติ
    - ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 04 พ.ย. 14, 22:49

ตัวอย่างของการดำเนินการที่เขาทำกัน

คงได้เคยเห็นภาพของโรงเรียนในสหรัฐและยุโรป ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดเขื่องๆ  ที่จะเป็นลักษณะอาคารชั้นเดียวหลายอาคาร หรือมักจะสูงไม่เกิน 2 ชั้น มีประตูเข้าอาคารขนาดกว้าง  มีพื้นที่สนามขนาดค่อนใหญ่ ราบเรียบ ที่ได้รับการดูแลอย่างดี  ไม่มีต้นไม้สูง ไม่มีเสาไฟฟ้า ไม่มีสายไฟระโยงระยาง พื้นที่รอบนอกมักจะโล่งและมีถนนรอบ

ครับ  โรงเรียนมีลักษณะกลายๆเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน ซึ่งฝ่ายเมืองสามารถจะเข้าไปจัดการเรื่องอะไรต่างๆได้มากพอสมควร แถมยังออกเป็นระเบียบกลางบังคับใช้ได้ทั่วไปทั่วประเทศอีกด้วย     เมื่อยามเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ เนื่องจากเป็นอาคารเตี้ยและแข็งแรง จึงไม่แทบจะไม่เกิดความเสียหายใดๆเลย  อาคารเรียนจะถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวในทันที (shelter)   สนามที่กว้างและไม่มีสิ่งกีดขวาง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นลานลงของเฮลิคอปเตอร์ในงานช่วยชีวิตและส่งสิ่งของ และใช้เป็นสถานที่กางเต็นท์สนามขยายปริมาณการรองรับผู้คนได้อีกพอควร

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 20:46

พื้นที่ๆมีข้อกำหนดที่่เด่นชัดแบบจำเพาะเช่นโรงเรียนนี้ ดูผิวเผินภายนอกแล้ว ก็ดูจะไม่ไช่พื้นที่สำคัญใดๆเลย  แต่หากดูลึกลงไปในตับไตใส้พุงแล้ว จะเห็นว่ามันถูกทำให้เป็นพื้นที่ๆเป็นจุดเชื่อมต่อหรือจุดรวมของระบบสาธารณูปโภค คล้ายกับหัวใจกับเส้นเลือดของตัวเรา  คล้ายๆกับหลักที่ว่า เมื่อหัวใจยังไม่หยุดเต้น ก็จะยังไม่ตาย  ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ระบบหล่อเลี้ยงจะต้องยังคงสามารถดำเนินได้อย่างค่อนข้างจะเป็นปกติ ซึ่งก็คือ พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ๆมี lifeline ที่ยืนหยัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพอเหมาะกับในทุกสถานการณ์ อันได้แก่ โทรศัพท์ น้ำประปา และสายส่งไฟฟ้า   ซึ่งงงงง เขาจะใช้ระบบพื้นๆง่ายๆสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเหล่านี้ ซึ่งในภาพรวมๆจะอยู่ในความหมายของคำว่าระบบ analog

ตัวอย่างของสถานที่ในลักษณะนี้ พบได้ทั่วไปตามแนวของรอยเลื่อน San Andreas ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ   

ในญี่ปุ่นก็มีการดำเนินการในหลักการนี้ แต่ในรูปที่ต่างกันออกไปตามสภาพทางกายภาพของระบบสังคม   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 17:27

ญี่ปุ่นก็ใช้โรงเรียนเหมือนกัน แต่ด้วยความจำกัดของพื้นที่โล่งกว้างในพื้นที่เมือง  ญี่ปุ่นจึงใช้ระบบจุดรวมพลย่อยๆ ไม่จำเป็นต้องแห่กันไปรวมพลพร้อมๆกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ (เช่นโรงเรียน) ในช่วงเวลาเดียวกัน  ถ้าสังเกตให้ดีๆ ก็จะเห็นว่าในเขตพื้นที่แต่ละชุมชน จะมีพื้นที่ว่างเปล่าขนาดเล็กๆ ขนาดก็พอๆกับพื้นที่ที่คนญี่ปุ่นเขาใช้สร้างบ้านกันนั่นแหละครับ และก็มักจะพบอยู่บริเวณจุดตัดของถนนในย่านที่พักอาศัย  จัดทำเป็นสนามออกกำลังบ้าง สนามเด็กเล่นบ้าง

ถ้าประสงค์จะสัมผัสกับภาพดังกล่าวนี้ ก็เพียงเดินออกไปจากสถานีรถไฟในกรุงโตเกียวสถานีใดก็ได้ ใช้เวลาสักสองสามนาทีครับก็จะได้เห็น  (1 นาที่เดินของคนญี่ปุ่น หมายความถึงระยะทางที่ผู้หญิงญี่ปุ่นเดิน ซึ่งจะเท่ากับประมาณ 80 ม.)
 
เท่าที่ผมทราบมานะครับ พื้นที่ว่างดังกล่าวนี้ เป็นพันธกิจอย่างหนึ่งที่ฝ่ายเมืองที่จะพยายามดำเนินการให้ได้มาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งมิใช่หมายถึงการเวนคืน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 18:09

สำหรับในแผ่นดินใหญ่ยุโรปนั้น เกือบจะไม่มีแผ่นดินไหวใดๆ จะมีก็อยู่ลึกมากจนรับรู้ได้เพียงว่ามีเกิดขึ้น แต่ก็ช่วงเวลาสั้นมากๆ ไม่นานพอที่เราจะสัมผัสกับความรู้สึกกลัวได้ 
 
แต่หลักคิดในการเตรียมการลดความเสียหายนั้น น่าสนใจมากเลยทีเดียว   ซึ่งผมไม่มีโอกาสได้รับรู้เพิ่มเติมมากขึ้นกว่าที่ผมได้รับรู้มาจากการถกในโต๊ะกลม เมื่อครั้งไปประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวและด้าน mitigation ที่ฟิลิปปินส์หลังการเกิดแผ่นดินไหวปี 2526 ในไทย     เป็นหลักคิดของเรื่อง mitigation ที่ได้มีการดำเนินการในกรุงปารีสสำหรับกรณีการเกิดไฟใหม้
   
ผมฟังแรกๆก็ไม่เห็นภาพว่าทำไมจึงยกตัวอย่างกรุงปารีส จนกระทั่งไปประจำการในยุโรปนั่นแหละครับ จึงถึงบางอ้อ  ท่านที่เคยไปปารีสและเดินท่องๆด้วยตนเอง จะพบว่า ถนนในกรุงปารีสนั้นวุ่นวายมากพอดู เป็นถนนช่วงสั้น แถมแต่ละช่วงก็มีแต่ละชื่อถนนกำกับ  ชื่อถนนก็มักเป็นชื่อคน ครบทั้งชื่อแรก ชื่อกลาง และชื่อสกุล แถมซ้ำกับอีกในแต่ละย่าน ก็ยุ่งยากมากพอที่รถแท็กซี่จะไม่นิยมวิ่งข้ามย่านเลย เพราะหลงแบบบอดใบ้ไปเลย   ที่จริงแล้วสภาพก็ไม่ต่างกันกับในกรุงมิลานของอิตาลีมากนัก ที่บรรดาป้ายบอกชื่อถนนช่วงชุมทางถนนตัดกันนั้น ยังเป็นลักษณะชื่อย่อเข้าไปอีกด้วย ก็ชื่อถนนมันยาวนี่ ก็ต้องย่อมัน     ก็ได้อ่านเรื่องราวและประวัติศาสตร์ต่างๆมาพอควร ผมก็เลยพอเดาออกกับชื่อ common name ทั้งหลายที่ป้ายบอกทางเขาเขียนย่อกัน แต่ก็เล่นเอาเหงื่อตกเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 08 พ.ย. 14, 19:44

เรื่องที่เขาคิด ซึ่งเราฟังแล้วอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ ดังนี้ครับ

ปารีสเป็นเมืองเก่า
   - มีอาคารบ้านเรือนรุ่นเก่าอยู่มากมาย  เมื่อแรกสร้างแต่ดั้งเดิมนั้น การออกแบบอาคารและผัง (plan) ภายในก็ดูสมบูรณ์แบบเหมาะสมกับสภาพการใช้งานสำหรับในสภาพและช่วงเวลานั้นๆ    อาจกล่าวได้ว่าทุก elements ของแบบที่ออกมามี functions หรือมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างดี    นานต่อมาเมื่อสภาพทางเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สภาพแวดล้อมทางสังคมและสถานะการใช้งานของสถานที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในกรณีการที่มีคนจำนวนมากต้องมาอยู่ มาใช้ หรือโคจรเข้าไปปรากฎตัวในพื้นที่นั้นๆ  ก็ย่อมทำให้ elements เดิม และ functions เดิม  ไม่เหมือนเดิม
   - ถนนแคบและเส้นทางสลับซับซ้อน 

ประเด็นที่น่าจะเป็นสถานการณ์ที่สร้างให้เกิดความวิกฤติ โดยสรุป คือ ในวันทำงาน จะมีผู้คนจำนวนมากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ (เช่น ถนน ห้องโถงในอาคารต่างๆ พื้นที่นั่งพัก สวน ฯลฯ) และอยู่ในที่ทำงาน อยู่ในห้องในที่ทำการ   ซึ่ง.. ณ ช่วงเวลาต่างกันนั้น จำนวนคนก็จะไม่เท่ากัน เช่น ในช่วง ชม.เร่งด่วน คนจะไปอยู่บนถนนและในพาหนะขนส่งมวลชน ช่วงพักกลางวันก็จะไปอยู่ตามร้านอาหาร เหล่านี้เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 08 พ.ย. 14, 20:05

ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในสถานะกาณ์ และเพื่อการดำเนินการตอบสนองที่เหมาะสม สำหรับการรักษาชีวิตของผู้คนไห้ดีที่สุด ณ สภาพและสถานะการณ์ใดๆ  จึงมีอาทิ

สำหรับการลดระดับของความวิกฤติ (ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดภัย) ที่สามารถจะทำได้ก่อนที่จะเกิดเป็นเหตุการณ์วิกฤติ ก็มีอาทิเช่น
ทำการสำรวจเพื่อให้ประเมินรู้เสียแต่แรกว่า ณ ช่วงเวลาหนี่งใด ที่อาคารหรือสถานที่ใด จะมีผู้คนอยู่มากน้อยเพียงใด

ขอเว้นจังหวะนิดนึงครับ เดี่๋ยวมาต่อใหม่
ระหว่างนี้ ท่านทั้งหลายก็คงจะได้มโนเห็นว่า โอ้ มีเรื่องที่ทำได้เยอะทีเดียว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง