เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141081 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 16 ต.ค. 14, 19:05

กลับมาต่อเรื่องการลดระดับความเสียหายจากภัยพิบัติ (mitigation)  เรื่องนี้เป็นกระบวนการดำเนินการนะครับ มิใช่เป็นเรื่องกิจกรรมหรือการดำเนินการเฉพาะกิจ     เป็นเรื่องยาว เป็นเรื่องมากเรื่อง และเกี่ยวพันหรือเกี่ยวข้องกับหลากหลายองค์กรและบุคคล

เป้าหมายสูงสุดของของกระบวนการนี้ (สำหรับกรณ๊แผ่นดินไหว) คือ การรักษาชีวิตของประชนพลเมืองให้รอดตายเมื่อเกิดสถานะการณ์ที่เลวร้าย แล้วก็ให้มีชีวิตอยู่รอดต่อๆไป  คือ มิใช่เพียงรอดตาย แต่ต้องอยู่รอดต่อไปจนกว่าสถานะการณ์ที่เลวร้ายนั้นจะลดลงจากระดับฉุกเฉินไปสู่ระดับที่สามารถใช้กลไกตามปรกติได้

mitigation เป็นกระบวนการที่ใช้ กระบวนยุทธที่เรียกว่า Delphi Method    กระบวนยุทธนี้ใช้กันหลากหลายในเรื่องต่างๆทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ตัวเราเองก็อาจจะเคยใช้และดำเนินการเองในบางเรื่องโดยที่เราไม่รู้   ที่จริงแล้ว ดูเหมือนจะประมาณทุกๆ 5 ปี ที่ประเทศในระดับผู้นำด้านการผลิตและเศรษฐกิจโลก จะดำเนินการในเรื่องนี้

ผมเองมิใช่ผู้รู้จริงในเรื่องนี้   แล้วก็คิดว่าหลายท่านสมาชิกรู้มากกว่าผมและรู้ว่าเป็นอย่างไร    ยังไงๆก็ลองหาอ่านเพื่อความเข้าใจในปรัชญาของมันนะครับ
ผมจะไม่ขยายความว่ากระบวนการของเรื่องนี้เป็นอย่างไรนะครับ แต่จะเข้าไปในเรื่องของภาคปฏิบัติและรูปธรรมอื่นๆ  เพื่อที่จะได้นอนอยู่กับแผ่นดินไหวได้อย่างพอจะมีความสุข และไม่กังวลจนเกิดเป็นทุกข์ลึกๆอยู่ในใจ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 17 ต.ค. 14, 19:20

เพื่อให้ครบเครื่อง ก็จะขอเพิ่มเรื่องที่ควรอ่านทำความเข้าใจในอีกเรื่องนึง

ได้กล่าวถึง Delphi method แล้วว่ามีการดำเนินการโดยหลายประเทศ  จุดประสงค์สำคัญก็หนีไม่พ้นเรื่องของ comparative advantage ศัพท์นี้ดูเหมือนจะเป็นของด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ก็ดูจะมีการใช้กันในทุกๆด้าน (ในชื่อต่าง และก็ดูเหมือนว่าเราๆท่านๆทั้งหลายต่างก็จะใช้อยู่โดยไม่รู้ตัวในหลายๆเรื่องเลยทีเดียว    ผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ที่แท้จริงอีกเช่นกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 17 ต.ค. 14, 19:24

หน้าต่างนี้ ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า

ผมจะหายไป ตจว.  1 สัปดาห์ ครับผม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 18:16

กลับจาก ตจว. มาส่งเสียงต่อครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 18:26

ขอต้อนรับกลับเรือนไทยค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 18:49

mitigation เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทั้งก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ  เป็นเรื่องที่ต้องใช้ข้อมูลและข้อคิด (ข้อวิเคราะห์) ทั้งจากที่เคยประสบพบกันมา (Empirical approach)  และจากข้อบ่งชี้ทางทฎษฎี (Theoretical approach) ที่มีการวิเคราห์วิจัยกัน

เราลองมาคิดกันดูตามหลักคิดและการดำเนินการต่างๆ    {ประมาลมาจากเท่าที่ผมได้เคยเรียนรู้จากการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปและอเมริกา (เมื่อครั้งยังทำงานเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว) และชาวญี่ปุ่น (เมื่อครั้งไปประจำการ)}     ว่าเขาทำกันอย่างไรนะครับ ??    อ้อ...และจากความรู้ที่ได้รับจากปรมาจารย์ที่ได้สั่งสอนผมมาในรั้วมหาวิทยาลัย เมื่อครั้งเรียน ป.ตรี   ทั้งนี้ ผมก็มิใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้อีกเช่นเคยนะครับ  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 18:51

ขอบพระคุณครับ อ.เทาชมพู
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 19:07

ดีใจที่ได้เจอกันในกระทู้นะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 19:37

ได้กล่าวแล้วว่าหลักการสำคัญที่สุด คือ ให้ยังคงมีชีวิตและดำรงชีวิตได้ต่อไป  

ก็เลยต้องมาดูว่า แล้วมีสิ่งใดบ้างที่จะทำให้เกิดการตาย    ซึ่งก็จะต้องจำแนกออกเป็น ตายเดี่ยว หรือ ตายหมู่ (ขอใช้ภาษาไทยพื้นฐานนะครับ อาจจะดูไม่ไพเราะไปบ้าง แต่จะให้ภาพที่ชัดและดีกว่า)


แผ่นดินไหวทำให้เกิดความหายนะ (disaster) จากผลโดยตรงของสองเรื่องที่สำคัญ คือ การแตกหักพังทลายของวัตถุ (failure) และการขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ (displacement และ dislocation)  
   ซึ่งยังให้เกิดผล เช่น เขื่อนแตก ท่อน้ำแตก ท่อแกสแตก เสาไฟล้ม สายไฟขาด แผ่นดินถล่ม ฯลฯ  ....(destruction)
   เป็นผลต่อเนื่องไป  เช่น เกิดไฟใหม้ ไฟฟ้าลัดวงจร (ไฟดูด) การคมนาคมและการสื่อสารถูกตัดขาด ฯลฯ (disruption)
   ยังผลต่อไปอีกให้เกิดสภาพความวุ่นวาย ระบบและระเบียบหยุดทำงาน (disorder)
   สุดท้ายก็คือ ความปั่นป่วน มั่วกันไปหมด จับต้นชนปลายไม่ถูก (chaos)  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 19:43

ครับผม ท่าน N.C.

คงจะมีเรื่องที่ท่านจะช่วยให้ความกระจ่างได้มากเลยทีเดียว  ครับผม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 12:02

ยินดีที่คุณตั้งกลับมาประจำการในเรือนไทย  ยิงฟันยิ้ม

เมื่อวานมีแผ่นดินไหวที่สุมาตรา กระเทือนมาถึงเมืองไทย

http://youtube.com/watch?v=GmhlK-BmWnw#ws

ตามความเห็นของคุณตั้ง เกิดอะไรที่ใต้ดินจนทำให้ไส้เดือนต้องอพยพขึ้นมา  ฮืม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 19:41

ความเห็นของผมเรื่องไส้เดือนโผล่ขึ้นมาต้วมเตี้ยมอยู่บนผิวดิน มีดังนี้ครับ

ข้อเท็จจริงตามข่าวมีอยู่ว่า ไส้เดือนโผล่ขึ้นมาหลังจากที่พื้นที่บริเวณนั้นรับรู้คลื่นแผ่นดินไหวประมาณ 10+ นาที  มีไส้เดือนจำนวนเป็น 10,000+ ตัว พบไส้เดือนเป็นระยะทางประมาณ 400 เมตร  พบไส้เดือนโผล่มาตามรอยแตกของร่องน้ำข้างถนนทางเข้า อบต.

ข้อเท็จจริงทางกายภาพของพื้นที่ๆพอจะทราบ คือ พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มในบริเวณปากอ่าวพังงา

ผมมีข้อสังเกตพื้นๆ ดังนี้ครับ
ไส้เดือนโผล่ขึ้นมาอย่างหนาแน่นในบริเวณพื้นที่เดียว โผล่ขึ้นมาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไม่นาน โผล่ขึ้นมาในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง (การก่อสร้างสถานที่ทำการ อบต.)

แล้วก็ความรู้จากประสบการณ์ตรง ดังนี้
ไส้เดือนชอบอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื้น แต่มิใช่ชื้นแฉะในลักษณะของน้ำท่วมขัง       คือ ชอบอยู่ในพื้นดินที่เป็น aerated soil (ไม่แปลและขยายความต่อนะครับ)

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 19:16

ผมประมวลเป็นภาพ...น่าจะ...ได้ว่า

ผืนดินเดิมเป็นที่ราบที่มีตะกอนดินทรายละเอียด (จากแม่น้ำในพื้นที่นั้น) มาตกทับถม (เรียกพื้นที่ราบส่วนปลายสายน้ำจืดกันว่า alluvial fan) ทับอยู่บนตะกอนโคลนบริเวณปากอ่าว (mud flat) ซึ่งตกตะกอนสะสมกันในพื้นที่น้ำเค็มหรือน้ำกร่อยท่วมถึง

เมื่อพื้นที่นี้ได้ถูกคลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ผ่าน ก็อาจทำให้เกิดผลได้หลายอย่าง แต่ที่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญ คือ ตะกอนดินทรายใต้บริเวณพื้นที่นี้เกิดสภาพที่เรียกว่า liquefaction สืบเนื่องจากยังเป็นชั้นดินโคลนที่อิ่มน้ำ  หรือ จากการปรับการเรียงตัวของเม็ดตะกอน ยังผลทำให้เกิดการปลดปล่อยกาซ (อันไม่พึงปราถนา) ที่กักเก็บอยู่ในรูพรุน_pore space (ช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน) สู่อากาศ

liquefaction เกิดเมื่อโครงสร้างของเม็ดตะกอนเกิดการขยับปรับตัว น้ำหรืออากาศที่อยู่ในรูพรุนของตะกอนก็จะถูกขับออกมา ภาพก็เหมือนกับเราเอาไม้ไปปักบนชายหาดตรงแนวที่น้ำทะเลซัดเข้ามาถึง เมื่อเคาะไม้ ไม้ก็จะค่อยๆๆจมลง และเราก็จะเห็นว่ามีน้ำที่โคนไม้ชุ่มฉ่ำไปเลย     นั่นก็คือ สภาพ aerate ใต้พื้นผิวก็จะหมดไป กลายเป็นฉ่ำน้ำหรือน้ำท่วม     ไส้เดือนก็คงจะไม่อยู่ ต้องหนีขึ้นมาหาอากาศแน่ๆ มิฉะนั้นก็จะจมน้ำตายแบบตัวซีดๆแน่ๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 19:27

สำหรับกรณีเกิดการปลดปล่อยกาซอันไม่พึงปราถนานั้น 

ก็คือ การปลดปล่อยกาซ เช่น มีเทน แกสไข่เน่า และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่กำเนิดมาจากการผุพังเน่าสลายของพืชและสัตว์ที่สะสมอยู่ในตะกอนดินโคลนในพื้นที่ชายทะเล  ซึ่งกาซเหล่านี้ถูกกักเก็บไว้ในรูพรุนของตะกอนดินทรายทั้งหลาย



 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 19:38

ส่วนเรื่องไส้เดือนยกฝูงกันขึ้นมาเนื่องจากการไหวของแผ่นดินนั้น   ผมเห็นว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินนั้นคงมิใช่สาเหตุ    ก็ยังไม่เคยเห็นไส้เดือนหนีตายจากการสั่นสะเทือนของพื้นดินอันเนื่องมาจากการที่รถบรรทุกวิ่งเข้าไปขนดินในกลางทุ่งต่างๆ หรือใน กทม. หรือในที่ใดๆ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.144 วินาที กับ 20 คำสั่ง