เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140927 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 21:05

ย้อนอ่านก็เลยได้พบการพิมพ์ผิดมากมาย ขออภัยจริงๆครับ  ง่วงไปบ้าง เงิบไปบ้างตามวัยตามสังขารครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 21:43

ในเรื่องของภัยจากแผ่นดินไหวนั้น   ตัวภัยจริงๆก็คือ อาคารบ้านเรือนพังพินาศ สาธารณูปโภคต่างๆใช้การไม่ได้ การคมนาคมการขนส่งต่างๆถูกตัดขาด   เกิดการขาดแคลนที่พักพิงอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งยังผลให้เกิดการเสียชีวิตอันมิควรมากเพิ่มขึ้นไปกว่าการเสียชีวิตอันเนื่องจากอาคารบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างพังทับ

ดังที่เล่ามาแล้วว่า แผ่นดินไหวทุกครั้งมิได้ทำให้เกิดความเสียหาย ขนาดก็มิใช่เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรง แต่มันมีเงื่อนไขมากมายที่จะทำให้แผ่นดินไหวในครั้งนั้นๆเกิดมีความเป็นภยันตรายถึงระดับที่เข้าไปอยู่ในข่ายของคำว่า ภัยพิบัติ หรือ พิบัติภัย 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 23:18

เอาตัวอย่างจริงๆเมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวในเขต อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

ในครั้งนั้น แผ่นดินไหวขนาดประมาณ 5.9 ริกเตอร์   รู้สึกว่าแรงนะครับ คนใน กทม.ยังรับรู้ได้เลย  แน่นอนว่าทุกคนจะต้องนึกถึงเขื่อนเจ้าศรีนครินทร์บนแม่น้ำแควใหญ่ และเขื่อนวชิราลงกรณ์บนแม่น้ำแควน้อย ที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์

ปรากฏว่า เขื่อนที่สองนี้ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ประการหนึ่งก็คือ มีการออกแบบที่ดีให้สามารถรับการเคลื่อนไหวของแผ่นดินไว้ที่ประมาณ 0.1 g. (ความเร็วในการเคลื่อนที่ของแผ่นดินประมาณ 7 - 8 ซม.ต่อวินาที)  เครื่องมือวัดอัตราเร่งที่เขื่อนทั้งสองวัดการเคลื่อนไหวของแผ่นดินได้ประมาณ 0.01 g. (แผ่นดินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 1 ซม.ต่อวินาที)

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะว่า คลื่นแผ่นดินไหวมันวิ่งไปตามแนวการวางตัว (แนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้)ของหินลงมาสู่ที่ราบภาคกลางตอนล่าง กทม.จึงรับรู้สึกได้  แต่ความแรงของคลื่นมันถูกซับไปมากเมื่อมันเคลื่อนที่ไปในทิศทางขวางแนวหิน ชุมชนทางชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก (แถว บ.พุจือ ขอบทุ่งใหญ่นเรศวร) ก็รับรู้สึกไม่แรงเช่นกัน  และแม้กระทั่งที่ บ.นาสวน ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งกำเนิด ก็มีเพียงรอยร้าวในตัวองค์พระปูนในถ้ำองจุเท่านั้น

กทม.เลยดูจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยมากกว่าพื้นที่ใกล้แผล่งกำเนิด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 19:30

เล่ามาแบบละเอียดบ้าง ย่อบ้าง ข้ามไปบ้าง ก็เพื่อให้ได้พอจะมีพื้นเพียงพอที่จะพิเคราะห์พิจารณาบรรดาข้อมูลข่าวสารที่มีการแถลงบ้าง มีการให้สัมภาษณ์บ้าง ปรากฏเป็นข้อมูลสาธารณะบ้าง ว่าจะมีสาระใดบ้างที่เราเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้ปรับสภาพของสรรพสิ่งรอบตัวเรา เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตอยู่กับภัยชนิดนี้อย่างมีความสุขตามสถานภาพ

รวบๆสรุปก็แล้วกันว่า risk กับ hazard ไม่ว่าจะลงท้ายด้วยคำว่า area หรือ map นั้นทำขึ้นมาจากหลากหลายกระบวนวิธีการวิเคราะห์และจัดทำ เพื่อสนองหลากหลายผู้ใช้



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 19:31

กำลังสองจิตสองใจอยู่ว่า จะต่อเรื่องใดดีระว่าง wrench tectonic ซึ่งเป็นต้นเรื่องของแผ่นดินไหวในเขตประเทศเรา หรือจะไปเรื่อง mitigation ซึ่งจะไปเกี่ยวกับวิถีการอยู่ร่วมกับแผ่นดินไหว

สลับไปเรื่อง mitigation ก่อนก็แล้วกันนะครับ ง่ายๆและเบาๆดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 01 ต.ค. 14, 20:14

ก่อนจะไปเรื่อง mitigation 

ก็จะขอเพิ่มเติมว่า นักธรณีวิทยาทำแผนที่ seismic risk map   แล้ววิศวกรนำไปทำ seismic hazard map 

seismic hazard map นี้มีเนื้อหา คือ แผนที่แสดงอัตราการเคลื่อนไหวของแผ่นดินในพื้นที่ต่างๆในเขตอาณาของเรา (ในรูปของอัตราเร่ง) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณที่เป็นต้นกำเนิดสำคัญ       ใช้เพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดในการออกแบบสิ่งก่อสร้าง (building code) สำหรับแต่ละพื้นที่ที่รับรู้การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 07 ต.ค. 14, 19:33

เรื่องนี้ ในไทยเราก็มีการศึกษาเหมือนกัน  เป็น 1 ใน 5 ของโครงการศึกษาที่คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติในยุคแรกเริ่มแต่งตั้งได้มีความเห็นว่าควรจะต้องมีการดำเนินการ ซึ่งจะดำเนินการโดยคณะวิศวะฯของจุฬาฯ  คิดว่าป่านนี้น่าจะเสร็จแล้วและถูกนำไปเป็นข้อกำหนดอยู่ข้อกำหนดทางวิศวกรรมสำหรับสิ่งก่อสร้างต่างๆทั่วไทยแล้วด้วย

5 เรื่องนี้ เป็นแนวคิดที่เสนอกันในระหว่างการพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ (ประมาณปี 2527-2528) หลังจากที่ได้เกิดแผ่นดินไหวในปี 2526  ผมเป็นผู้เสนอ 2 โครงการ คือ ศึกษา active fault และการจัดทำเอกสารการปฏิบัติตนเบื้องต้นแก่ประชาชนก่อนและหลังแผ่นดินไหว    ส่วนอีกสองเรื่องจำได้ไม่แม่นครับ คิดว่าเรื่องหนึ่งคือการศึกษาระบบคลื่นแผ่นดินไหวของเราที่อาจจะอยู่ในอิทธิพลของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์  โดยใช้เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบ Vertical seismograph ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการสร้างเขื่อนเขาแหลมประมาณ 10 เครื่อง (หลังจากการเดี่ยว defend รายงานเรื่องธรณ๊วิทยาบริเวณเขื่อนเขาแหลมของผมกับคณะที่ปรึกษาออสเตรเลียและ กฟผ.)

หลังจาก ครม.มีมติตั้งคณะกรรมการฯนี้  ผมก็ถูกอันตรธานหายไปจากวงการจนปัจจุบันนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 07 ต.ค. 14, 19:39

ที่เล่ามานั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการ mitigation ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่ โอกาสที่จะเกิดเหตุ การอยู่ร่วมกับมันในพื้นที่มีภัย การดำเนินการระหว่างการเกิดเหตุและภายหลังการเกิดเหตุแล้ว    

คำแปลคำว่า mitigation ในภาษาไทย ดูจะมีความหมายจำกัดอยู่ที่ การบรรเทาสาธารณะภัย และค่อนข้างจะหนักไปในทางกระบวนการดำเนินการเมื่อได้เกิดภัยแล้ว   จำได้ว่าเคยกล่าวถึงเรื่องนี้มาแล้วในกระทู้เก่าที่เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว   แต่ครั้งนี้ก็จะกล่าวถึงในอีกเรื่องราวหนึ่งครับ





บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 08 ต.ค. 14, 09:25

เอาตัวอย่างจริงๆเมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวในเขต อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ...

กทม.เลยดูจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยมากกว่าพื้นที่ใกล้แผล่งกำเนิด
ผมเข้าใจผิดมานานว่ากรุงเทพฯอยู่บนพื้นที่อ่อนนุ่มจะลดแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ดีกว่าพื้นที่แข็งๆ
อย่างนี้กรุงเทพฯในอนาคตก็เจอหนักสองเด้ง ทั้งน้ำท่วมแผ่นดินไหวซิครับอาจารย์
 ร้องไห้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 08 ต.ค. 14, 20:21

เพื่อให้เห็นภาพ ลองเอาน้ำใส่ในอ่างน้ำทรงสี่เหลี่ยม แล้วเอาด้ามมีดเคาะที่ขอบอ่างน้ำด้านใดด้านหนึ่ง  สิ่งที่เราจะได้เห็นก็คือ น้ำในอ่างจะกระเพื่อมเป็นลูกคลื่น
ลองอีกครั้งหนึ่ง เอาไม้กระดานสักแผ่นมาวางขั้นระหว่างจุดที่เราจะเอาด้ามมีดเคาะอ่าง เมื่อเคาะอ่างน้ำในครั้งนี้ด้วยความแรงเท่าเดิม เราจะเห็นว่าน้ำจะกระเพื่อมเป็นลูกคลื่นน้อยลง

เป็นภาพรวมๆของเรื่องที่เล่ามา    ซึ่งสรุปได้ว่า ในวัสดุที่เป็นของแข็งนั้น     พลังที่ทำให้เกิดคลื่น ได้ผลักให้คลื่นเคลื่อนที่ผ่านแบบกระชากไปมา (P-wave) ซึ่งเรามองไม่เห็นภาพการเคลื่อนที่ของมัน เพราะมันเป็นคลื่นแบบมีความยาวคลื่นสั้นและมีความถี่สูง         เมื่อมันเคลื่อนที่เข้าไปในเขตของเหลวหรือวัสดุที่อ่อน  พลังของคลื่นจะผลักให้คลื่นเคลื่อนที่แบบโย้ไปเย้มา (S-wave)  หรืออีกนัยหนึ่ง คลื่นจะถูกขยายให้มีความยาวคลื่นมากขึ้นและมีความถี่ลดลง ซึ่งเราเห็นได้ในรูปของคลื่นน้ำ

ส่วนที่เอาแผ่นไม้มาวางขั้นไว้นี้น เพื่อแสดงว่า พลังของคลื่นจะถูกดูดซึมไปมากเมื่อคลื่นต้องวิ่งผ่านในทิศทางขวางกับระนาบต่างๆ แต่พอไปถึงตัวกลางที่เป็นของอ่อนกว่า เราก็ยังเห็นภาพการเกิดของคลื่นนั้นได้ คือยังคงมีพลังในการทำลาย แต่เปลี่ยนไปจากการกระชากหรือแบบเตะตัดขา เปลี่ยนไปเป็นแบบผลักให้โยกไปเย้มา  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีอันตรายมากกว่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 09 ต.ค. 14, 19:25

สำหรับเรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯนั้น  ก็ฟังกันแบบเพลินๆไปนะครับ อย่าไปเครียดกับมัน 

ที่กล่าวกันว่า ระดับน้ำทะเลกำลังสูงขึ้น ในอีกไม่กี่ปีมันก็จะท่วมพื้นที่ราบชายทะเลตรงนี้บ้าง ตรงโน้นบ้าง นั้น    ก่อนที่จะเชื่อ ก็ขอให้พิจารณาข้อเท็จจริงสองสามเรื่องคือ  ข้อมูลที่ว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นนั้น เขาพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในองค์รวมของโลกที่ไม่หยุดนิ่งนี้ (global change) หรือพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเฉพาะบริเวณหรือภูมิภาค (local change)  ซึ่งทั้งสองการเปลี่ยนแปลงนี้ต่างก็อยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาในเชิงของการเปรียบเทียบกัน (comparative relation)   อาทิ   
     ในกรณีเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น เป็นเพราะขนาดของมหาสมุทรลดลง ? หรือ เพิ่มมากขึ้น ? (เนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่เรากำลังคุยกันอยู่ในกระทู้นี้)     หรือ 
     ในกรณีเฉพาะบริเวณหรือภูมิภาค เป็นเพราะว่าแผ่นดินชายฝั่งทรุดตัวลง (subsidence) ?  หรือ เป็นเพราะแผ่นดินชายฝั่งทรุดตัวลง ? (ระดับน้ำทะเลจึงสูงขึ้น)
     

สำหรับกรณีน้ำท่วมกรุงเทพฯแบบง่ายๆที่ผ่านมานั้น เป็นเพราะ แผ่นดินทรุดเนื่องจากสูบน้ำบาดาล ?  เป็นเพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ?  เป็นเพราะไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ back swamp ของระบบ flood plain ของแม่น้ำเจ้าพระยา ?  หรือเป็นเพราะการตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานแบบไม่รู้จักธรรมชาติ หรือไม่อยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกับระบบของธรรมชาติ (not living in harmony with nature)
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 12 ต.ค. 14, 12:49

ขอบคุณครับ ผมไม่ห่วงเรี่องน้ำท่วมเพราะแอบชอบนิดๆและอยากหนีไปอยู่ทางเหนือ เลยขอรบกวนถามอีกเรื่องคือเขื่อนแกนดินเหนียวถมหินจะสามารถทนทานแผ่นดินไหวได้ากกว่าเขื่อนคอนกรีตใหมครับ (ต้องไปอยู่ใกล้เขื่อนสิริกิติ์นะครับ  ยิงฟันยิ้ม )
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 12 ต.ค. 14, 22:50

ตอบเรื่องเขื่อนครับ

ผมเองมิใช่วิศวกร เพียงแต่ในช่วงของเวลาทำงานมีเรื่องที่ต้องเข้าไปเกี่ยวพันกันงานทางวิศวกรรม   ก็เลยมีความรู้ถูๆไถๆอวดรู้ไปอย่างนั้นเองครับ
 
หลักการพื้นฐานของสร้างเขื่อนกั้นน้ำก็คือ การต้านแรงดันของน้ำในเขื่อน ซึ่งก็มีอยู่สี่แนวทาง คือ ใช้น้ำหนักของตัวเขื่อนขวางกั้น   ใช้ความกว้างใหญ่ของกองวัสดุขวางกั้น  ใช้ผนังและเครื่องค้ำยันช่วยขวางกั้นน้ำ  และใช้วิธีการกระจายแรงดันของน้ำออกไปด้านข้าง   

เขื่อนทุกชนิดจะต้องมีน้ำซึมรั่วออกมา  เพราะเขื่อนจะต้องมีความชื้น (หรือมีความฉ่ำ)ในเนื้อของตัวมันในระดับหนึ่ง  หากเมื่อใดความชื้นในตัวเขื่อนไม่มี ลดลงอย่างต่อเนื่องจนแห้งลง ก็โปรดระวังว่าอาจจะเกิดกรณีเขื่อนพัง
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 13 ต.ค. 14, 08:38


เขื่อนทุกชนิดจะต้องมีน้ำซึมรั่วออกมา  เพราะเขื่อนจะต้องมีความชื้น (หรือมีความฉ่ำ)ในเนื้อของตัวมันในระดับหนึ่ง  หากเมื่อใดความชื้นในตัวเขื่อนไม่มี ลดลงอย่างต่อเนื่องจนแห้งลง ก็โปรดระวังว่าอาจจะเกิดกรณีเขื่อนพัง

เมื่อ พ.ศ.2538 เคยเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นมาแล้วนะครับ  ที่บริเวณเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำรั่วออกมามาก ไม่ใช่ตัวเขื่อนใหญ่แต่เป็นเขื่อนดินปิดกั้นช่องเขาที่มความยาวหลายกิโลเมตร จนทางเขื่อนใหญ่ต้องรีบปล่อยน้ำอย่างแรงเต็มพิกัด เมืองอุตรดิตถ์อ่วมเลยครับคราวนั้น ชาวบ้านไม่รู้เนื้อรู้ตัว แม้แต่โรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านก็โดนน้ำท่วมเสียหายอย่างหนัก  ชาวอุตรดิตถ์ไม่ค่อยไว้ใจทางราชการเลยคราวนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 13 ต.ค. 14, 21:15

ผมเคยไปเดินสำรวจในพื้นที่บริเวณที่สร้างเขื่อนดินนี้เมื่อปลายปี 2512 ตอนนั้นเพิ่งเข้าทำงานใหม่ๆ   จำได้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนดินเป็นแนวยาว คล้ายกับการวางแนวกระสอบทรายไม่ให้น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ  แรกเริ่มของการสร้างเขื่อนนี้นั้น มีวัตถุประสงค์ในเรื่องของการชลประทาน ตอนหลังมีการโอนให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ. เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ก็เลยมีการยกระดับสันเขื่อนสิริกิต์ให้สูงขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องมีการยกระดับเขื่อนดินที่ขอบอ่างนี้ด้วย   ผมคิดว่า การเสริมเขื่อนดินที่ขอบอ่างน้ำให้สูงขึ้นในภายหลังนี้ ทำให้เขื่อนดินนี้ขาดความเป็นเนื้อเดียวกันในมิติต่างๆ  (ตัวดินที่เอามาถมเอง การอัดแน่น อัตราการซึมของน้ำ ฯลฯ) อาจจะเป็นต้นเหตุเล็กๆที่มีผลต่อเนื่องทำให้ตัวคันดินทั้งระบบไม่อยู่ในสภาพอันพึงมีทางวิศวกรรมสำหรับการใช้งานในลักษณะนี้ ก็เลยเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

ผมยังจำภาพล่องเรือสามฝีพายในน้ำน่านในการไปสำรวจตามลำน้ำได้เลย ขากลับต้องพายทวนน้ำ สามฝีพายยังสู้ชาวบ้านฝีพายเดียวนั่งสามคนไม่ได้เลย มารู้เอาตอนถึงแคมป์แล้วว่า ชาวบ้านเขารู้จักการใช้กระแสน้ำวนให้เป็นประโยชน์  เราเรียนมามีความรู้ท่วมหัวในเรื่อง eddy current เพราะเกี่ยวข้องกับลักษณะการตกตะกอนของน้ำไหล กลับคิดไม่ได้ 
อีกภาพหนึ่ง คือ ถูกปลาปักเป้าของแม่น้ำน่านแชวปเอา พอได้รู้สึกสัมผัสกับการถูกสะกิดด้วยของมีคม แล้วก็ถูกยิงปืนขู่ไล่ให้ออกไปที่อื่น เพราะมีการลักลอบตัดไม้  รวมทั้งมีการแอบใช้ไฟฟ้าชอร์ตปลา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง