เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140914 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 20:10

ต่อครับ

เป็นอันว่า เมื่อแผ่นพื้นท้องมหาสมุทรมุดตัวลงไปใต้แผ่นดิน ก็ทำให้เกิดทิวเกาะภูเขาไฟ เกิดทะเลระหว่างทิวเกาะกับแผ่นดิน หรือแอ่งระหว่างแผ่นดินชายฝั่งกับผืนแผ่นดินใหญ่ภายใน     อย่างไรก็ตาม ภาพดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว  จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีความเร็วในการมุดตัวสูง หากเป็นความเร็วน้อยก็จะให้อีกภาพหนึ่ง คือ ไม่มีการสร้างแอ่ง จะมีแต่การอัดกันจนโก่งนูนขึ้นมาเป็นเทือกเขาบริเวณชายฝั่งทะเล

ย้อนกลับไปยังภาพที่เกิดขึ้นกรณีมีอัตราการมุดตัวเร็วสูง  นอกจากจะเกิดโครงสร้างทางธรณีฯในพื้นที่ๆที่มุดตัวกัน (เนื่องมาจากแรงดันอัดกัน) ที่เป็น synthetic structures     เกิดการยืดออกของพื้นที่บริเวณชายฝั่งและพื้นที่ด้านใน (เนื่องมาจากแรงดึงยืดออกจากัน)   แล้วก็ยังเกิดโครงสร้างอันเนื่องมาจาก

หยุดเว้นวรรคนิดนึงครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 18:14

ต้องขออภัยอีกแล้วครับ เว้นวรรคไปนานหน่อย   ข้อแก้ตัวก็คือ พอกลับมาจะเขียนต่อ net มันก็เกิดไม่อำนวยให้ เลยต้องยกยอดมาครับ

ครับ โครงสร้างในอีกบริเวณหนึ่งที่จะกล่าวถึงนี้ เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนที่อยู่ใต้แผ่นดินนั้น มันไปดันให้แผ่นดินที่อยู่ลึกเข้าไปไกลจากชายฝั่ง (มากโขอยู่) เกิดการบดอัดกัน ทำให้เกิดโครงสร้างอีกชุดหนึ่งที่ไม่ใด้เกิดจากผลโดยตรงเช่นเดียวที่เกิดในบริเวณแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมุดกันเกยกัน

เอาอย่างนี้ก็แล้วกันครับ   ภาพใหญ่ๆก็เสมือนหนึ่งเราเอาหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้วสัก 100 ฉบับ มาตั้งเรียงกันให้สันพับของหนังสือพิมพ์อยู่ด้านเดียวกัน จากนั้นแบ่งตั้งหนังสือพิมพ์นั้นออกเป็นสองส่วน เอาหนังสือพิมพ์ของแต่ละส่วนมาวางทับซ้อนเรียงกันบนพื้นห้อง เอาทั้งสองส่วน (ด้านปลาย) มาวางชนกันโดยให้ด้านสันผินไปในทิศตรงข้ามกัน  เราก็จะเห็นภาพโครงสร้างแบบ fold (พับของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ) เห็นภาพรอยเลื่อนแบบ thrust fault (ระนาบที่หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับวางทับซ้อนกัน) เราจะเห็นแอ่งที่เกิดขึ้นระหว่างสองกลุ่มโครงสร้าง (แอ่งระหว่างสันพับของหนังสือพิมพ์ 2 กอง) เราจะเห็นภาพของโครงสร้างทั้งสองฝั่งคล้ายกัน มีเส้นตามแนวสันขนานกัน แต่ระนาบของโครงสร้างเอียงเทไปในทิศต่างกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:02

โครงสร้างด้านที่มีการมุดตัว เรียกกันว่าเป็น synthetic structures (เกิดจากสภาพการบดอัดกัน   เป็น pressure regime)      ส่วนโครงสร้างอีกฝั่งหนึ่งเรียกกันว่า antithetic structures  (ก็เกิดจากการอัดดันกัน   เป็น pressure regime เช่นกัน)       ตรงกลางระหว่างสองชุดโครงสร้างนี้ เกิดเป็นแอ่ง (เกิดจากการดึงให้ยืดออก   เป็น extension regime)

โดยสภาพดังกล่าวนี้ ก็พอจะเดาได้แล้วนะครับว่า เมื่อโครงสร้างเหล่านี้เคลื่อนไหวแล้วทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา ความรุนแรงของแผ่นดินไหวก็จะต่างกัน  แผ่นดินไหวในกลุ่มโครงสร้าง synthetic structure ย่อมมีความรุนแรงกว่ากลุ่ม antithetic structure   และซึ่งแผ่นดินไหวใน extension regime ก็จะมีความรุนแรงน้อยกว่าเพื่อน 

แต่ก็ต้องดูด้วยว่า จุดกำเนิดนั้นอยู่ลึกหรือตื้น     แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ตาม Richter scale) แต่อยู่ลึกก็อาจไม่สร้างความเสียหายใดๆในเชิงของ intensity เลย   ต่างกับแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือเล็กแต่อยู่ตื้น กลับจะสร้างเสียหายที่รุนแรงได้ (ตาม Modified Mercalli Intensity Scale)

สำหรับประเทศไทยเรานั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เราอยู่ในพื้นที่ๆมีความเสี่ยงภัยกับแผ่นดินไหวในระดับต่ำ  กระนั้นก็ตามเราก็อยู่ไม่ห่างไกลมากนักจากแนวที่เรียกว่า super earthquake zone ซึ่งอยู่ในพม่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 20 ก.ย. 14, 18:04

เราได้ภาพในแนวกว้างๆของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บริเวณแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมุดตัวกันเกยกันแล้วว่ามีภูเขาไฟเกิดขึ้นเป็นทิว (arc)  ทิวภูเขาไฟนี้เกิดได้ทั้งนอกชายฝั่งทะเล (เป็นทิวเกาะ) และเกิดได้บนชายฝั่ง (เช่นกรณีของภูเขาไฟ Mt. St.Helens อยู่ทางใต้ของเมือง Seattle ในรัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ)

ในความเป็นจริงแล้ว ตามแนวมุดกันเกยกันนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีภูเขาไฟเกิดขึ้นเสมอไป  ในกรณีที่ความร้อนไม่มากพอที่จะลายลายหินจนกลายเป็นของเหลวที่ะพ่นออกมา  มันก็มีความร้อนมากพอที่จะทำให้หินอ่อนตัวจนเป็นของไหลได้ จนเกิดการผสมกันของหินชนิดต่างๆ แล้วดันปูดขึ้นมาอยู่ใต้ผิวดิน กลายเป็นเทือกเขาหินแกรนิต-แกรโนไดโอไรต์ ดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว

ย้อนเล่ามาก็เพื่อเป็นฐานที่จะอธิบายต่อไปในเรื่องขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหวในอีกความสัมพันธุ์หนึ่งครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 20 ก.ย. 14, 18:08

Mt. St.Helens


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 20 ก.ย. 14, 18:52

ย้อนกลับไปเรื่องคลื่นแผ่นดินไหวอีกครั้งหนึ่งว่า มีอยู่ 4 ชนิด คือ  primary wave (P wave หรือ pressure wave)   secondary wave (S wave หรือ shear wave)  Love wave และ Rayleigh wave   สองคลื่นแรกเป็นพวกโยกเยก สองคลื่นหลังเป็นพวกโยกคลึง  เรามักให้ความสนใจกับคลื่นสองชนิดแรก เพราะดูว่ามันเป็นชนิดที่สร้างความเสียหายสุดๆ   แท้จริงแล้ว คลื่นสองชนิดหลังเป็นตัวช่วยเสริมให้เกิดความพินาศอย่างรุนแรง

คลื่น primary wave เป็นคลื่นที่เดินทางด้วยความเร็วมากกว่าคลื่นชนิดอื่นๆ และยิ่งมีความเร็วมากโดยเฉพาะในหินที่มีเนื้อแน่นและเป็นเนื้อเดียวกัน คือ ประมาณ 4000 - 5000 ม./วินาที  แต่เดินทางไปไม่ไกลมากนักเนื่องจากพลังงานถูกดูดซับไปอย่างรวดเร็ว

คลื่น secondary wave เดินทางด้ายความเร็วประมาณครึ่งหนึ่งของคลื่นแรก  ส่วนคลื่นสองชนิดหลังเดินทางด้วยความเร็วน้อยกว่าคลื่น S wave เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เอาเป็นภาพง่ายๆว่า คลื่นแรกมีลักษณะเป็นการกำหมัดต่อยตรงเปรี้ยงไปเลย คลื่นที่สองเป็นหมัดฮุกที่ตามมา ส่วนคลื่นที่สามและสี่เป็นการเตะและเข่า  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 20 ก.ย. 14, 19:17

หากไม่กำยำล่ำสันพอ แล้วจะทนยืนอยู่ได้หรือ ?

เราจึงเห็นสิ่งก่อสรัางที่คำนึงถึงแผ่นดินไหว (แบบธรรมดาๆ) 
    - มีส่วนฐานกว้าง เช่น ความกว้างของส่วนฐานของเขื่อนต่างๆ
    - มีส่วนฐานหยั่งลึกอยู่ในดิน (มีชั้นใต้ดินหลายชั้น)
    - มีผนังบางด้านของอาคารเป็นแผ่นทึบ
    ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 19:47

กลับมายังเรื่องคลื่น เพื่อจะบอกว่า คลื่นใดๆก็ตาม นอกจากมันจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนที่ห่างออกจากจุดแหล่งกำเนิดของมันแล้ว ความมีพลังของมันก็จะลดลง มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางนั้นๆที่มันวิ่งผ่านไป  คำศัพท์ที่ใช้กัน คือ attenuation ซึ่งหมายถึงการดูดซับ

โดยภาพรวมๆ ก็คือ
     - คลื่นที่วิ่งผ่านหินที่มีเนื้อเป็นมวลเดียวกัน ย่อมเดินทางไปได้ไกลกว่าและนำพาพลังไปได้ไกลมากกว่า ส่งผลให้เกิดผลกระทบ (หรือความเสียหาย) ใกล้เคียงกันในระยะของรัศมีเดียวกัน (เกิดผลเป็นทรงกลม)        ดังนั้น ในพื้นที่ๆเป็นทิวเกาะภูเขาไฟ หรือที่เป็นทิวเขาหินแกรนิตชายขอบของแผ่นทวีป เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ความสั่นสะเทือนจึงสามารถรับรู้ได้ในระยะทางที่ไกลจากจุดกำเนิดมาก และจะมีระดับความเข้มขัน (ตาม intensity scale) ของความรู้สึกและรู้สัมผัสได้พอๆกันในพื้้นที่ๆอยู่ในระยะของรัศมีเดียวกัน  แต่ความเสียหายเกิดที่เกิดขึ้น (damages) จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับ (susceptibility) ของสรรพสิ่งในพื้นที่นั้นๆ

     - คลื่นที่วิ่งผ่านหินประเภทหินชั้นนั้น ย่อมเดินทางไปไม่ได้ไกลมากนัก เนื่องจากหินแต่ละชั้นต่างก็มีคุณสมบัติต่างกัน คลื่นต้องวิ่งข้ามรอยต่อระหว่างชั้นอีกด้วย พลังของคลื่นจึงดูกดูดซับไปในปริมาณค่อนข้างมากในระยะทางใกล้ๆ        แผ่นดินไหวในพม่าในเขต super earthquake zone จึงไม่มีผลทำความเสียหายให้กับพื้นที่ในไทยมากนัก จะมีก็เมื่อครั้งปี พ.ศ.2088 ?? ที่ทำให้เจดีย์หลวงของ จ.เชียงใหม่หักพังลงมา  ยิ่งในปัจจุบันแล้วการก่อสร้างต่างๆมีความแข็งแรงมากขึ้น จึงยิ่งมีความน่ากลัวน้อยลง (จากแผ่นดินไหวที่จะเกิดในแนวสองฝั่งของที่ราบกลางประเทศพม่า  เช่น จากรอยเลื่อนสะแกง)

      - คลื่นที่วิ่งผ่านไปตามระนาบของหินแต่ละชั้นที่วางตัวสัมผัสกัน เดินทางและนำพาพลังงานไปได้ค่อนข้างไกลมากกว่าเดินทางในทิศทางทะลุข้ามแต่ละชั้นไป   แผ่นดินไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เมื่อปี 2526 จึงรู้สึกได้ตามแนวการวางตัวของชั้นหิน (แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้) มากกว่าที่รู้สึกได้ในพื้นที่แถบอำเภอต่างๆในที่ราบลุ่มภาคกลางที่ติดกับพื้นที่เทือกเขาทางตะวันตกของไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆอยู่ในด้านขวางกับแนวชั้นการวางตัวของหิน   น่าสนใจที่ความรู้สึกแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ชาวบ้านในทิวเขาตะนาวศรีรับรู้ความรู้สึกใกล้ๆกัน ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าเทือกเขาตะนาวศรีนี้เป็นมวลหินแกรนิต

      - คลื่นแผ่นดินไหวยิ่งเดินทางไกลออกไปจากแหล่งกำเนิด ก็จะมีสภาพคล้ายกับปลายคลื่นที่เกิดขึ้นห่างจากจุดที่เราโยนก้อนหินลงไปในน้ำ     ในกรณีที่คลื่นมันเดินทางมาในหินแข็งและมาถึงของแอ่งแล้วต้องเดินทางผ่านดินในแอ่ง คลื่นมันก็จะขยายตัวออกยืดยาวขึ้น อาการที่เกิดขึ้นกับผืนดินในแอ่งจึงคล้ายกับการกระเพื่อมของผิวน้ำ  กรุงเทพฯ (บนพื้นดิน) โดยภาพรวมๆก็จะรู้สึกเช่นนี้เอง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 24 ก.ย. 14, 18:22

เมื่อวานนี้เข้ามาเขียน แต่ได้ลบทิ้งไป เพราะสองจิตสองใจอยู่ว่าจะเข้าไปเรื่องของ wrench tectonic ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับไทยโดยตรง หรือจะไปอีกเรื่องหนึ่งแล้วค่อยวนเข้ามา เพื่อเปลี่ยนให้เป็นบรรยากาศสะบายๆสักช่วงหนึ่งก่อน

วันนี้ก็ได้ตัดสินใจว่าไปเรื่องสะบายๆเสียก่อน ไม่ต้องมโนมากๆดังเรื่องเล่าที่ผ่านมา

เล่ามาถึงเรื่องของ attenuation ของคลื่นแผ่นดินไหวแล้ว  ก็คงพอจะเห็นเค้าในเรื่องของความเสี่ยงที่จะมีมากน้อยต่างกันไป ซึ่งดูจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมากนัก

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 24 ก.ย. 14, 19:43

แต่ก่อนที่จะขยายความต่อไป ขอกลับมาในเรื่องของคำเรียกศัพท์ทางเทคนิคในภาษาไทยสักเล็กน้อย

เราใช้คำว่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในความหมายของคำว่า epicenter    ซึ่งจะต่างกับความหมายที่แท้จริง คือ คำว่า epi = อยู่เหนือ และ คำว่า center = จุดกลาง    คำแปลที่ถูกต้องจึงน่าจะเป็น พิกัดของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว 
 
มีอีก 2 คำ คือคำว่า hazard กับคำว่า risk  ซึ่งดูเหมือนว่าเราจะให้ความหมายกับคำทั้งสองคำนี้รวมกัน คือ เสี่ยงภัย (risk + hazard)
     
ความหมายของศัพท์คำว่า hazard โดยเนื้อ คือ ความพินาศฉิบหายที่จะเกิดขึ้น  ส่วนคำว่า risk นั้นหมายถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดความพินาศฉิบหายนั้นๆ

เล่ามาก็เพียงเพื่อจะบอกว่า เมื่อจะดูและใช้ประโยชน์จากแผนที่ของไทยที่ๆมีชื่อใช้คำว่าเสี่ยงภัยรวมอยู่ด้วยนั้น คงจะต้องพิจารณาดูให้ถ่องแท้เสียก่อนนะครับ   

กระบวนการทำแผนที่เพื่อให้ข้อมูลในลักษณะนี้ จะเริ่มต้นที่การวิเคราะห์ความพินาศฉิบหายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมาได้มากน้อยเพียงใด จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด และจากต้นกำเนิดที่พิกัดใดๆ  ซึ่งจะได้เป็น hazard map (ตามธรรมชาติของมัน) จากนั้นจึงจะนำมาจัดทำเป็น risk map (เกี่ยวข้องกับชีวิต) 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 26 ก.ย. 14, 19:01

มาดูคำว่า hazard

ตัวมันเองมีความหมายเพียงหมายถึง ภัยพิบัติ   แต่ภัยพิบัติ หรือ พิบัติภัย (ใช้คำใหนจึงจะถูกต้องครับ) นั้นมีอยู่หลากหลายมากใช่ใหมครับ อาทิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม (ทั้งแบบ flash flood และ inundate) ดินถล่ม (ทั้งแบบ slide และ slump)  โคลนถล่ม (ทั้งแบบ slide, flow หรือ avalanche) หิมะถล่ม (avalanche) ไฟป่า พายุ ฯลฯ    เหล่านี้ถูกจัดเป็นภัยจากธรรมชาติ (natural hazard)

แล้วก็ยังมีภัยพิบัติที่เกิดมาจากผลของการกระทำของมนุษย์ ซึ่งก็คือ บรรดาที่เรียกว่าพังทั้งหลาย เช่น เขื่อนพัง กัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าปรมาณู ฯลฯ

ดังนั้น คำว่า hazard จึงต้องมีคำขยายเสมอ ว่าจากเรื่องอะไร

ซึ่งจากแต่ละเรื่องอะไรนั้น มันก็มีเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกัน อาทิ
กรณีน้ำท่วมทุกปีในบางพื้นที่ในภาคกลางตอนบนของเรา เราคนกรุงเทพฯก็คิดเอาเองว่า เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อนทุกปีที่เราควรจะต้องเข้าไปแก้ใขให้เขา แต่ในความเป็นจริง น้ำท่วมทุกปี ชาวบ้านย่านนั้นเขาชอบ เพราะจะได้มีวัตุดิบสำหรับมาทำสินค้าขายเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักประจำปี หากปีใหนน้ำไม่ท่วม ในปีนั้นก็จะขาดรายได้และรู้สึกเศรษฐกิจฝืดเคือง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 26 ก.ย. 14, 19:24

กรณีน้ำท่วมในภาคกลางตอนบนของเรานี้ ก็คงเริ่มจะยากแล้วนะครับว่า แล้วจะตัดสินอย่างไร ว่าที่ใดเป็น hazard ที่ใดไม่เป็น

ดูจะต้องมีเงื่อนไขต่อไปว่าที่จะเรียกว่า hazard นั้น สำหรับใคร ??    ก็เห็นจะต้องก้าวไปคำนึงถึงเรื่อง socio-anthopology   เรื่องก็จะยุ่งยากมากเข้าไปอีก แล้วก็ยังมีเรื่องอื่นๆพ่วงเข้ามาอีกมากมาย   ดังนั้น เพียงจะทำแผนที่ๆเรียกว่า hazard map ก็ดูจะใช้เวลามากเสียแล้ว     

hazard map ในเรื่องเดียวกันของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน ก็จะไม่เหมือนกัน  แล้วก็คงจะไม่มีใครผิดใครถูกที่แท้จริงหรอกครับ  แล้วพอเอาข้อมูลมาทำต่อเป็น risk map มันก็มาต่อเรื่องว่า เป็น risk ของใคร  จะเป็น risk ของหน่วยงานที่จะต้องใช้เพื่อกำหนดแผนปฎิบัติการ  หรือเป็น risk ของคนทั่วไปชาวบ้านทั่วไปที่จะต้องให้ความสนใจและพึงระวังเหตุ

ปวดหัวดีครับ เป็นเรื่องประเภทที่ต้องถกกันอย่างคร่ำเครียด ก่อนจะลงมือดำเนินการใดๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 27 ก.ย. 14, 18:44

ที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากนัก หากเรารู้จักและเขาใจตัวภัยนั้นๆอย่างค่อนข้างจะถ่องแท้

เรื่องแรกที่ต้องรู้ให้ได้แน่ๆ ก็คือ ในเมื่อบรรดาแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม โคลนถล่ม ฯลฯ เหล่านี้ มันเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นปรกติในธรรมชาติ และในเมื่อผู้คนชาวถิ่นเขาก็รู้ดีว่ามันเกิดขึ้นและคงอยู่ในพื้นที่ที่เขาเลือกที่จะตั้งหลักปักฐานทำมาหากินดำรงชีพอยู่ในพื้นที่นั้นๆ   ก็หมายความว่าเขามีภูมิปัญญาที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติในลักษณะนั้นๆได้อย่างมีความสุขในระดับที่เขารับได้ 

แต่ในมุมมองบนฐานทางวิชาการ เราจะเห็นได้ในทันทีว่าผู้คนในพื้นที่เหล่านั้น อยู่ในพื้นที่ๆมีโอกาสจะประสบกับภัยที่รุนแรงในระดับที่เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือสิ้นเชิง และอาจถึงชีวิต (vulnerable to .....แปลไทยไม่ถูกครับ)

สิ่งที่มันฟ้องและให้ข้อมูลกับเรา ก็มีอาทิ ระดับความสูงของใต้ถุนบ้าน+อื่นๆ (เช่น ให้ข้อมูลว่าเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ในกรณีน้ำท่วมเป็นปรกติที่ระดับลึก...)        การบากร่องหัวเสาไม้เป็นรูปตัว U เพื่อรองรับคาน แล้วเจาะเป็นรูเพื่อใช้สลักไม้ยึดกัน+อื่นๆ (เช่น ให้ข้อมูลว่าบ้านเขาสามารถรับการโยกไหวของแผ่นดินได้ในระดับ....)       มุมเอียงเทของหลังคาบ้าน+อืี่นๆ (เช่น ให้ข้อมูลว่าบ้านเขาสามารถรับแรงลมและปริมาณฝนได้เพียงใด)  เหล่านี้เป็นต้น  ซึ่งเหล่านี้นั้นก็คือ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตปรกติ (social anthropology)   เมื่อธรรมชาติเกิดความผิดเพี้ยนไปและมีความรุนแรงมากกว่าระดับปรกติ สภาพต่างๆก็จะเปลี่ยนไป ข้ามไปอยู่ในสภาพที่เรียกว่า hazard  ซึ่งเราสามารถทึ่จะจัดแยกเป็นระดับๆของความหายนะได้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 27 ก.ย. 14, 19:48

คงพอจะเห็นเค้าของความไม่ยากจนเกินไปแล้วนะครับ 

มาดูตัวอย่างเรื่องน้ำกัน 
เราได้ฟังข่าวในช่วงเวลาหนึ่งของทุกๆปีว่า เกิดภัยแล้ง บางปีก็เกิดเกือบจะครบทุกอำเภอและทุกจังหวัด ยกเว้น กทม.และจังหวัดรอบๆเท่านั้นเอง  จนเกิดวลี ภัยแล้งซ้ำซาก     ก็รู้ชื่อว่าที่ใดเกิดซ้ำซาก เกิดกันมาทุกปีจนสามารถที่จะจัดทำเป็นแผนที่มาตรฐานแสดงพื้นที่ภัยแล้งถาวรของไทยได้

แต่เก่าก่อนในยุค พ.ศ.2500 ต้นๆนั้น เราแก้ปัญหาการขาดน้ำอุปโภคและบริโภคสำหรับคนในภาคอีสาน โดยพยายามเจาะน้ำบาดาลให้ใช้ โดยคิดบนมาตรฐานว่า อย่างน้อยทุกคนจะต้องมีน้ำกินน้ำใช้อย่างต่ำ 5 ลิตรต่อคนต่อวัน น่าจะเป็นยุคภัยแล้งจริงๆ  ต่อมาก็เพิ่มขึ้นๆ จนในปัจจุบัน ก็คิดว่าทุกคนจะอยู่อย่างสุขสบายก็เมื่อมีน้ำกินน้ำใช้ประมาณ 200 ลิตรต่อคนต่อวัน (มาตรฐานโดยประมาณของคนใน กทม.)  ซึ่งก็ทำได้ครอบคลุมพื้นที่มากมายแล้ว  ท่านทั้งหลายก็คงพอจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าเราจะไปนอนที่โรงแรมใดในพื้นที่ใดในภาคอีสาน เราจะมีน้ำใช้ในลักษณะที่ไม่ต่างไปมากนักจากการใช้ของเราใน กทม. ภัยแล้งจริงๆจึงน่าจะหมดไปแล้ว ภัยพิบัติก็ไม่ควรจะมี จะมีก็เพียงช่วงต้องจำกัดการใช้น้ำ

แต่เราก็ยังคงมีภัยแล้งอยู่   มันก็คงไม่ใช่เรื่องในลักษณะของความเป็นภัยพิบัติแบบ hazard แล้วกระมัง  แต่ก่อนนั้นทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง เป็นนาน้ำฟ้า  ต่อมามีระบบชลประทานช่วย จากทำนาได้ปีละครั้ง ก็เปลี่ยนไปเป็นทำนาดำได้ 1 ครั้ง ทำนาหว่านได้ 1 ครั้ง  พอพัฒนาพันธ์ุข้าวได้ดี ชาวนาที่อยู่ในเขตชลประทานก็ทำนาได้ 3 รอบ    ปีใดก็ตามที่น้ำให้เขื่อนเหลือน้อยมาก การทำนาก็จะต้องลดลงเหลือ 2 บ้าง คร้้งเดียวบ้าง  ก็เลยเกิดภัยแล้งในอีกรูปแบบขึ้น คือ ขาดหรือไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ(ที่อยู่ในเขตชลประทาน)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 27 ก.ย. 14, 20:13

ครับ   

ภัยพิบัติหรือพิบัติภัยที่มีเกิดขึ้นแล้วยังผลให้เกิดเป็นความพินาศ น่าจะตรงกับคำว่า hazard     ส่วนภัยพิบัติหรือพิบัตภัยที่เกิดขึ้นในลักษณะเป็นวัฏจักร น่าจะตรงกับคำว่า seasonal threat

ซึ่งทั้งสองลักษณะข้างบนนี้ ก็สามารถนำข้อมูลมาทำเป็นแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อ.... (เช่น กรณีพื้นที่น้ำหลากท่วม ก็อาจเสี่ยงต่อการทำฟาร์มปสุสัตว์ เป็นต้น)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.277 วินาที กับ 20 คำสั่ง