เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 141122 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 10 ส.ค. 14, 18:39

ไปต่อเรื่องทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกันก่อน แล้วค่อยกลับมาเรื่องทางมหาสมุทรอินเดียนะครับ ภาพทางแปซิฟิกจะช่วยทำให้เห็นภาพทางมหาสมุทรอินเดียได้ง่ายเข้า

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 11 ส.ค. 14, 18:22

สรุปเสียหน่อยในขั้นนี้อีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อแผ่นมหาสมุทรเคลื่อนที่มุดแผ่นเปลือกโลก
   - เกิดการติดขัด พอหลุดก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
   - เกิดการเสียดสี ทำให้เกิดความร้อนจนทำให้หินละลายทะลุทะลวงขึ้นมาเป็นภูเขาไฟ

แนวเส้นที่แผ่นทั้งสองพบกันใต้ทะเลในบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรนี้ จะมีลักษณะเป็นร่องหุบเขาลึกมาก เรียกกันว่า trench ซึ่งแต่ละ trench ที่สำคัญก็มีชื่อเรียกเฉพาะตัว เช่น Mariana trench (มีความลึกมากที่สุดในโลก ประมาณ 8 กม.) Japan trench  Java trench และ Philippines trench เป็นต้น 

ที่ได้เล่ามาตั้งแต่ต้นเรื่องนั้น ก็เป็นภาพโครงร่างง่ายๆที่บริเวณพื้นผิวด้านบนของแผ่นเปลือกโลก   แล้วแผ่นเปลือกโลกล่ะ จะหนามากน้อยเพียงใด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 11 ส.ค. 14, 19:36

ก็มีนักวิชาการ 2 คน คนหนึ่งเป็นคนญี่ปุ่น อีกคนเป็นคนอเมริกัน ต่างคนต่างทำการศึกษาวิจัย เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจุดเกิด (epicenter) กับจุดกำเนิด (foci) ของแผ่นดินไหว พบว่า ยิ่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน จุดกำเนิดแผ่นดินไหวจะยิ่งอยู่ลึก และมี 2 ระดับความลึกที่เกิดในลักษณะคู่ขนานกัน ในพื้นที่ของกลุ่มจุดเกิดเดียวกัน     

เอาภาพง่ายๆยังงี้ดีกว่าครับ  เหมือนกับเราเอากระดาษสีขาวรีมหนึ่ง (สมมุติเป็นแผ่นเปลือกโลกที่เป็นพื้นท้องมหาสมุทร) ดันให้มันมุดแทรกเข้าไปใต้กระดาษสีฟ้าอีกรีมหนึ่ง (สมมุติว่าเป็นแผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน)   จุดกำเนิดแผ่นดินไหวจะพบอยู่ที่บริเวณส่วนบน (ตามระนาบสัมผัสระหว่างกระดาษทั้งสองรีม) และพบในบริเวณส่วนล่างของกระดาษรีมสีขาว   แผ่นดินไหวทั้งสองระดับนี้ บ่งชี้ถึงความหนาของแผ่นเปลือกโลก บอกเราว่าแล้วมันเคลื่อนที่ลึกเข้าไปเขตของแผ่นดินเพียงใด บอกเราว่ามันหักมันงอมันโค้งเป็นรูปใด บอกเราถึงมุมที่มันมุดตัวลงไป บอกเราว่ามันอยู่ลึกลงไปใต้ดินมากเพียงใด ฯลฯ 

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 12 ส.ค. 14, 18:43

วันนี้เป็น วันแม่ แห่งชาติ  เลยจะขอออกนอกเรื่องไปสักแว๊บหนึ่งในบางทัศนะของผม
 
ไทยเราดูจะเป็นชาติเดียวในโลกที่นับถือและยกย่อง แม่ มากที่สุด และในหลากหลายฐานะอีกด้วย  ซึ่งมีหลักฐานปรากฎเป็นคำนำหน้าอยู่ในคำภาษาไทยอย่างมากมาย อาทิ
   - ในลักษณะผู้สร้าง ก็มีอาทิ แม่ (ที่ให้กำเนิดคน) แม่คะนิ้ง (น้ำค้างเป็นน้ำแข็ง) ฯลฯ
   - ในลักษณะผู้ให้การอุปการะเลี้่ยงดู ก็มีอาทิ ชื่อของแม่น้ำสายสำคัญต่างๆ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ส่วนของแม่น้ำยังไม่เริ่มสร้างที่ราบจนผู้คนสามารถเข้าอยู่อาศัยทำมาหากินเลี้ยงชีพยังชีวิตสร้างบ้านแปงเมืองได้ ส่วนของแม่น้ำสายนั้นก็จะยังไม่ใช้คำว่า แม่ นำหน้า แต่จะเรียกด้วยคำอื่น (เช่น ห้วย แคว ลำ) ฯลฯ
   - ในลักษณะผู้ครอบครอง อาทิ แม่พระธรณี แม่พระโพสพ และ ชื่อเรียกสถานที่ต่างๆ (เช่น แม่นาจร แม่จริม แม่กา) ฯลฯ
   - ในลักษณะผู้กำหนด เช่น ที่ใช้เรียกตัวสะกดในคำภาษาไทย (แม่กด แม่กก แม่กน ฯลฯ)
   - ในลักษณะเป็นผู้ที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น บรรดาชื่อของน้ำพริกทั้งหลาย ฯลฯ
   - ในลักษณะผู้มีพระคุณ เช่น แม่นม แม่เลี้ยง (แต่จะดีหรือไม่ดีนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง)
   - ในลักษณะผู้มีอำนาจ เช่น เจ้าแม่ทั้งหลาย ฯลฯ   
      ฯลฯ 

แล้วก็เอามาใช้ในคำสบถ คำอุทาน คำด่าทอ และคำหวานทั้งหลาย เช่น แม่เจ้าโว้ย  แม่มึงซิ  แม่น้องนาง เหล่านี้เป็นต้น

คำพูดฝรั่งที่ใช้คำว่า แม่ ที่ผนวกเข้ามาเพื่อแสดงความหมายในเชิงขององค์รวมนั้น ที่นึกได้ในขณะนี้ คือ คำว่า mother nature     คำนำหน้าที่ใช้เรียกแม่ชีบางระดับในศาสนาคริสต์    คำว่า mother knows how    แล้วก็ที่ใช้นำหน้าเรียกชื่อบรรดาแม่ลูกดกทั้งหลาย (ทั้งคนและสัตว์)

ผู้ชายย่อมยากที่จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในจิตใจของบุคคลที่เป็นแม่  ในสภาพแวดล้อมปรกติแม่ก็ดูจะเป็นเหมือนคนปรกติทั่วไป แต่ในสภาพไม่ปรกติ ความเป็นแม่จะปรากฎออกมาในอีกรูปลักษณะหนึ่งของการกระทำ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 14 ส.ค. 14, 18:42

กลับมาต่อเรื่องของเราครับ

ผมทิ้งท้ายไว้ว่า แล้วแผ่นเปลือกโลกหนามากน้อยเพียงใด

แผ่นเปลือกโลกที่เป็นแผ่นดินจะหนาในระดับประมาณ 30+ กม.  สำหรับที่เป็นพื้นท้องมหาสมุทรนั้น หากอยู่ในพื้นที่บริเวณแนวภูเขาใต้น้ำกลางมหาสมุทร จะมีความหนาประมาณ 8+/- กม. แต่หากเป็นพื้นที่บริเวณที่มุดตัวลงไปใต้แผ่นดิน ก็หนาถึง 100+ กม.เลยทีเดียว

เมื่อสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากันแล้วเกิดมุดกันขึ้น แล้วมันจะมุดลึกลงไปเพียงใด

คำอธิบายก็คือ เปลือกโลกเรานั้นมี 2 ชั้น คือชั้นที่เป็นหินแข็ง (Lithosphere) วางทับอยู่บนชั้นที่เป็นหินไหล (Asthenosphere)

ดังนั้นเมื่อมันมุดลงไปผ่านพ้นชั้น lithosphere มันก็จะเลื่อนไหลได้ไม่ยากในชั้น asthenosphere 

ถึงตรงนี้ก็อาจจะเกิดข้อกังขาว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหวล่ะ

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 14 ส.ค. 14, 19:24

ต่อไปอีกสักนิดเสียก่อนครับ

มาถึงตรงนี้ คงจะต้องมโนกันหน่อยนะครับ

เริ่มด้วยความเป็นจริงเรื่องแรก     เมื่อเราเอากระดาษทั้งรีมที่แกะซองออกแล้วมาจับหัวและท้ายดันให้มันโก่งนูนขึ้น (folding)  เราจะเห็นว่ากระดาษที่อยู่ในรีมนั้น เมื่อเรามองไปในทิศทางตามสันของโค้งกระดาษรีมนั้น กระดาษทุกแผ่นที่วางทับกันจะเคลื่อนที่สวนทางกัน (relative movement) ในลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ 

เราจะเห็นด้านซ้ายของรีมกระดาษจะมี relative movement อย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าจะเราจะยืนอยู่บนกระดาษแผ่นล่างหรือแผ่นบนก็ตาม เราก็จะเห็นว่ากระดาษอีกแผ่นหนึ่งแผ่นบนเคลื่อนที่ไปทางขวา (dextral movement)   ในทำนองเดียวกัน หากเป็นด้านขวาของรีมกระดาษ ก็จะมี relative movement อีกอย่างหนึ่ง คือ จะเห็นกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเคลื่อนไปทางซ้าย (senistral movement)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 16 ส.ค. 14, 18:46

เอาเรื่อง relative movement ขึ้นมาเพื่อทำให้เห็นภาพของลักษณะการเคลื่อนไหวแบบตามเข็มนาฬิกาและแบบทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะโยงไปหาอีกเรื่องหนึ่ง คือ

เมื่อสองแผ่นท้องมหาสมุทรชนกับแผ่นดินชนกันแล้วเกิดการมุดหรือเกยกัน แล้วก็ยังเคลื่อนตัวสวนกันต่อไปเรื่อยๆ มันก็จะได้ภาพคล้ายกับการเอากระดานสองแผ่นมาวางทับซ้อนกันแล้วดันให้มันเลื่อนสวนทางกัน

ข้อมูลแผ่นดินไหว (ซึ่งจะได้ขยายความต่อไป) ได้บอกว่าชั้นพื้นท้องมหาสมุทรนั้น มุดลึกเข้าไปใต้แผ่นดินได้หลายร้อย กม.เลยทีเดียว และเป็นการมุดและเคลื่อนที่เลื่อนไปในชั้นหินที่เป็นของไหล (ชั้น asthenosphere) ซึ่งอยู่ในเขตระดับลึกลงไปตั้งแต่ประมาณ 300 กม.ลงไปจนถึงระดับประมาณ 700 กม.

ก็คือ แผ่นหินพื้นท้องมหาสมุทรที่มีความหนาประมาณ 100 กม.นั้น จะมุดดิ่งลงไปใต้แผ่นทวีปที่เป็นแผ่นดินลงไปที่ระดับประมาณ 300 กม.    แล้วก็เคลื่อนที่ไปพร้อมกับละลายสลายตัวไป (melting) ในชั้น asthenosphere
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 16 ส.ค. 14, 19:30

สำหรับมุมที่แผ่นพื้นท้องมหาสมุทรมุดตัวลงไปนั้น ก็จะอยู่ในกรอบประมาณ 30 - 60 องศา  ซึ่งสอดคล้องกับ____

ต้องออกมานอกเรื่องอีกเล็กน้อย  ครับ ท่านทั้งหลายคงจะเคยเห็นภาพผนังตึกแตกร้าวเป็นแนวทะแยงที่ทำมุมประมาณ 45 องศากับตัวเสา ซึ่งเกิดจากการทรุดของเสาอีกต้นหนึ่งที่เป็นโครงของผนังผืนนั้น     
ภาพรอยร้าวในมุม 45 องศานี้ เราก็จะเห็นได้เหมือนกันในอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ซึ่งจะเห็นได้ที่ 2 จุด คือ
    - ที่ผนังอาคาร ซึ่งแสดงถึงอาการที่เสาหรือฐานรากของเสาแต่ละต้นนั้นทรุดลงไปไม่เท่ากัน 
    - กับเห็นได้ในตัวเสาเองที่บริเวณรอยต่อของเสา (หรือหัวเสา) ที่รองรับคานของชั้นบนที่วางทับอยู่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่เสาต้นนั้นๆแสดงอาการรับน้ำหนักที่กดทับลงมาเกินกำลังของตน

การสำรวจเพื่อประเมินความเสียหายของสิ่งก่อสร้างต่างๆภายหลังเกิดแผ่นดินไหวนั้น โดยเฉพาะการดูว่าโครงสร้างของอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆอยู่ในสภาพที่ล่อแหลมต่อการเกิดอันตรายหรือไม่ ก็ดูจากรอยแตกที่เฉียงทำมุมในลักษณะดังกล่าวมานี้ป็นหลัก แล้วไอ้ที่มันจะพังน่ะ มิใช่เกิดจากผลของการไหวในครั้งแรก มันเกิดจาก after shock ต่างหาก  ยึ่งมี after shock แบบนับครั้งไม่ถ้วนก็ดูจะยิ่งน่ากลัวมากขึ้นไปอีก  โธ่ ก็คนร่างกายสมบูรณ์ จับมันเขย่าสัก 100 ครั้งมันก็ยังแย่แล้ว คนป่วยน่ะ เขย่าไม่กี่ครั้งมันก็ตายแล้ว

ก็จะไม่อธิบายให้มากความต่อนะครับ    หากลองพิจารณาดูรอยแตกที่เล่ามาให้ละเอียดลงไปสักเล็กน้อย ก็จะเห็นว่ามันมีร่องรอยเป็นเส้นที่ทำท่าว่าจะเป็นรอยแตกจริงๆ ซึ่งรอยนี้จะทำมุมประมาณ 15 องศากับรอยแตกหลัก  ดังนั้น โดยองค์รวม มุมของรอยแตกร้าวจริงๆก็จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 60 องศา     

มุมที่แผ่นพื้นท้องมหาสมุทรมุดตัวลงไปก็อยู่ใระหว่างประมาณ 30 - 60 องศาเหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 17 ส.ค. 14, 18:19

ก็คงพอจะเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวในภาพกว้างๆนั้น พวกที่จัดว่าตื้นจะอยู่ใกล้ๆขอบของแผ่นทวีป และพวกที่จัดว่าลึกนั้นจะอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน

นั่นเป็นภาพหนึ่ง   อีกภาพหนึ่ง ก็คือ เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกที่เป็นพื้นท้องทะเลนั้นก็มีความแข็ง มันจึงสามารถดันลึกเข้าไปใต้แผ่นเปลือกโลกที่เป็นแผ่นดินในชั้นหินไหล asthenosphere ได้   ดังนั้น จุดเกิดของแผ่นดินไหวจึงอยู่ที่บริเวณผิวทั้งด้านบนและด้านล่างของแผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไปเกือบจะเท่านั้น

เมื่อเอาสองภาพมารวมกัน ก็จะพบว่า ณ พื้นที่ในบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับไปทางตื้นกลุ่มหนึ่ง กับไปในทางลึกอีกกลุ่มหนึ่ง    ข้อมูลนี้เองที่ทำให้เราได้รู้ความหนาของแผ่นเปลือกโลกที่เป็นท้องทะเลที่กำลังมุดตัวลงไป ทำให้รู้มุมที่มันมุดลงไป ทำให้รู้ว่ามันมุดไปได้ลึกมากน้อยเพียงใด ทำให้รู้ว่ามันมุดไปไกลเพียงใด และในเรื่องอื่นๆที่อาจจะต้องกล่าวถึงต่อไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 17 ส.ค. 14, 18:45

ก็ด้วยข้อมูลที่รู้ว่า แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินจะหนาประมาณ 30 กม. แผ่นเปลือกโลกที่มุดอยู่จะหนาประมาณ 100 กม. แล้วก็รู้มุมที่มันมุด แล้วก็มีข้อมูลว่าจุดเกิดแผ่นดินไหวลึกๆที่เกิดขึ้นลึกเข้าไปในแผ่นดินนั้น มักจะอยู่ลึกในระดับที่มากกว่า 300+ กม.

ด้วยพื้นของเหตุผลนี้ จึงมีการจัดแบ่งกลุ่มของแผ่นดินไหวขึ้นมา
ดังนั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น จึงมักรายงานความลึกของจุดกำเนิดในเบื้องแรกว่า
   อยู่ตื้น = ลึกไม่เกินกว่า 70 กม.(shallow focus EQ)       
   ลึกปานกลาง = ระหว่าง 70 - 300 กม. (intermediate focus EQ)       
   และระดับลึก = ลึกมากกว่า 300 กม.ลงไป (deep EQ หรือ deep seated EQ)



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 17 ส.ค. 14, 18:52

แผ่นดินไหวนี้บอกเล่าเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับโลกของเรา

ข้อมูลแรกๆสุดที่เราต้องการนำมาใช้ในโครงการสำรวจดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ต่าง ก็คือ คลื่นแผ่นดินไหว และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แรกๆสุดที่มีการนำไปวางไว้ก็คือเครื่องวัดแผ่นดินไหว (seismograph)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 17 ส.ค. 14, 19:18

ค่อยๆเล่าเรื่องแบบคลานมา ก็เพื่อให้ได้มีโอกาสย่อยข้อมูล เกิดเป็นภาพต่างๆขึ้นมา 

ถึงตอนนี้ก็คงพอจะทำให้ได้ทราบแล้วว่า  เมื่อได้รับข่าวว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ณ ที่ใดก็ตาม  เราก็พอจะประเมินความรุนแรงและความเสียหายในเบื้องต้นได้     รู้ว่าว่าเราไม่สามารถใช้ข้อมูลขนาด (magnitude) ได้เพียงอย่างเดียว   เราต้องรู้ความลึกของจุดกำเนิด (focus) อีกด้วย   นอกจากนั้นก็ต้องรู้ตำแหน่ง รู้ภูมิศาสตร์สังคม (social geography) ก็คือรู้จักพื้นที่ คน วัฒนธรรม ฯลฯ จึงจะประเมินอะไรต่อมิอะไรได้อย่างค่อนข้างจะใกล้เคียง  (จะทำเรื่อง Mitigation ให้ได้ผล ก็ต้องรู้เรื่องเหล่านี้แหละครับ  หากมีโอกาสก็จะชแว๊บไปสักเล็กน้อย  ยิงฟันยิ้ม)
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 18:33

ขออนุญาตหายหน้าไปถึงสิ้นเดือนครับ

ในช่วงนี้ แผ่นดินไหวที่เชียงรายก็ยังคงไหวอยู่เช่นเดิม ชาวบ้านก็เริ่มคุ้นเคยมากขึ้น ความตระหนกตกใจต่างๆก็เบาบางลงมากๆแล้ว ถึงระดับที่อาจจะกล่าวได้ว่าพอจะนอนอยู่กับมันได้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 21 ส.ค. 14, 18:58

ชาวเรือนไทยจะรอจนคุณตั้งกลับมาค่ะ    ตอนนี้ แผ่นดินไหวไม่ค่อยเป็นข่าวแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 21:20

แผ่นดินไหวขนาด 6.0   ที่ Napa,California  ไม่กี่วันมานี้เอง

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง