เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140919 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 06 มิ.ย. 14, 23:05

ยกภาพในค.ห. 51 มาไว้ที่นี่ค่ะ

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 11:26

หลังจากแผ่นดินไหวที่เชียงรายครั้งนี้ เคยเห็นในทีวี มีผู้รู้เรื่องก่อสร้างบอกว่า
การสร้างอาคาร(ขนาด3-4 ชั้น)ต่อไปให้เสริมเหล็กตรงโคนเสาให้ถี่ขึ้น
จะช่วยได้จริงๆไหมคะ คงต้องรบกวนคุณNAVARAT.C ช่วยให้ความรู้หน่อยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 12:49

ผมประกาศไปแล้วว่าไม่มีความรู้เรื่องแผ่นดินไหวจริงๆ เพราะเป็นสถาปนิกแผนโบราณ ตอนที่ร่ำเรียนวิชาในคณะสถาปัตยกรรมสมัยนั้น ได้ยินแต่ว่า กรุงเทพไม่เคยมีแผ่นดินไหว ถึงเมืองอื่นๆจะมีบ้างก็ไม่รุนแรง เราจึงไม่ค่อยจะได้สนใจเพราะวิศวกรทำหน้าที่นี้อยู่แล้วในการร่วมออกแบบ

คำถามของอาจารย์พวงแก้วเรื่องการเสริมเหล็กเพิ่มตามจุดอ่อนต่างๆของอาคารเพื่อให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวนั้น ผมจะไปค้นในเน็ทมาแปะก็ได้ แต่ก็คงไม่มีประโยชน์เท่าไหร่สำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่ช่าง ผมจึงขอแนะนำอย่างนี้ครับ เมื่อไรที่ท่านจะลงทุนสร้างอาคารคอนกรีต ขอให้ปรึกษาวิศวกรจริงๆให้ช่วยออกแบบเสริมเหล็กให้ เท่านี้ก็เพียงพอไม่ต้องกังวล อย่าไปใช้บริการเหมาจ่ายของพวกอ.บ.ต.ที่เสนอจะออกแบบและผ่านการอนุญาตก่อสร้างให้เสร็จสรรพนะครับ

ส่วนอาคารสร้างด้วยไม้ที่พวกสล่าทำกันมาแต่โบราณกาลนั้น ก็ไว้ใจในภูมิปัญญาของพวกเขาได้ครับ นอกจากเรือนที่สร้างขึ้นมาอย่างง่ายๆลงทุนไม่มาก ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างตามที่ท่านนายตั้งกล่าวไปแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 21:31

ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู ครับ ทีได้ย้ายภาพมาลงไว้ใกล้ๆกับหน้าต่างที่กำลังเสวนากัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ได้สังเกตเห็นได้ในภาพนี้ (ถ้าวิเคราะห์ภาพและลักษณะของบ้านที่จะสร้างถูกต้องนะครับ) คือ น่าจะเป็นลักษณะของบ้าน 2 ชั้น ที่ชั้นบนคงยังไม่ได้ก่อผนังหรือก่อขึ้นเป็นบางส่วน จะสังเกตเห็นว่าไม่ปรากฎว่ามีเศษของเสาใดๆเหลือตั้งอยู่เลย รวมทั้งไม่เห็นคานของพื้นชั้น 2 และคานเชื่อมหัวเสาของชั้นบน (ไม่รู้ชื่อตามศัพท์ทางสถาปัตยกรรมครับ)

คราวนี้ก็พอจะขยายความต่อไปได้แล้วในประเด็นที่ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า คุณภาพของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับมานั้นไม่คู่ควรกับค่าใช้จ่ายและราคาที่จ่ายเงินออกไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 21:46

ขยายดูชัดๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 21:52

ผมอ่านไม่ออกจริงๆว่าอาคารนี้คืออะไร ยังสร้างไม่เสร็จแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้หรือเปล่า แล้วกองเหล็กเส้นที่พังทลายอยู่รอบๆอาคารนั้นเดิมเป็นอะไร

มีภาพอาคารเดียวกันนี้ในมุมมองอื่นไหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 22:16

ขยายภาพในเรื่องคุณภาพกับราคา

ผมได้รับฟังจากบุคคลหนึ่งที่กำลังกังวลกับเรื่องที่พำนักถูกแผ่นดินไหวเขย่าวันละหลายครั้ง เขาเล่าว่า "ได้คุยกับช่างที่เป็นผู้ลงมือในการสร้างบ้าน จึงได้ทราบว่า ราคาของงานที่เขาได้รับทำนั้นเป็นเพียงประมาณหนึ่งในสามของราคาที่คิดคำนวณตามแบบ"
ลองคิดดูตามที่ อ.NAVARAT.C เตือนไว้ใน คห.ที่ 92 ก็แล้วกันในเรื่องของการใช้บริการเหมาจ่ายว่าจะน่ากลัวเพียงใด

ครับ ในความเป็นจริงนั้น สถาปนึกก็ไปจำแบบของบ้านอื่นๆมาผสมผสานกัน สล่าทั้งหลายก็อาศัยการจดจำข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ เช่น เสาปูนหน้า 8 จะต้องใช้เหล็กเส้นเบอร์อะไร (ผมแทบจะไม่เห็นการใช้เหล็กข้ออ้อยเลย) และแทนที่จะจำตามหลักเกณฑ์ที่พอจะเป็นมาตรฐานทางวิศวกรรม ก็กลายเป็นจำตามหลักที่สอนกันมาว่าเป็นมาตรฐาน ซึ่งก็ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว แล้วตัวเองก็ลดลงไปอีกเพื่อให้มีกำไรมากขึ้น

ก็เป็นในลักษณะเช่นนี้กับทุกอย่าง ทั้งเหล็กโครงหลังคา (ไม่ว่าจะพื้นที่เล็กหรือใหญ่) ทั้งปูนหล่อเสา หล่อคาน เทพื้น ฯลฯ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 22:24

ไม่รู้ว่าสถานที่เดียวกันหรือเปล่า แต่หามาได้ใกล้เคียงที่สุดแค่นี้ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 22:39

หลังจากแผ่นดินไหวที่เชียงรายครั้งนี้ เคยเห็นในทีวี มีผู้รู้เรื่องก่อสร้างบอกว่า
การสร้างอาคาร(ขนาด3-4 ชั้น)ต่อไปให้เสริมเหล็กตรงโคนเสาให้ถี่ขึ้น
จะช่วยได้จริงๆไหมคะ คงต้องรบกวนคุณNAVARAT.C ช่วยให้ความรู้หน่อยค่ะ
ขอบคุณค่ะ

การเสริมเหล็กตรงโคนเสาให้ถี่ขึ้นนั้น    หากเป็นการเสริมเหล็กเส้นในแนวตั้งที่โคนเสา ก็คงจะไม่ใช่กระมัง ควรจะเป็นการเสริมเหล็กปลอก หรือข้อรัดให้มีระยะถี่ยิ่งขึ้นมากกว่า  ภาพของเสาทางด่วนลอยฟ้าหรือเสาตึกหักล้มซึ่งเห็นร่องรอยอยู่ที่บริเวณโคนเสานั้น มันเป็นเสาที่ระเบิดแล้วล้มครับ เป็นเพราะการกระแทกขึ้นลง คล้ายกับเราแบกของอยู่แล้วทำสก็อตจั้ม

โดยหลักการแล้ว อาคารทนแผ่นดินไหวนั้นจะต้องสร้างให้แข็งทื่อดังภูผามากกว่าที่จะสร้างให้แกว่งได้ดั่งไม้เรียวครับ ซึ่งคำอธิบายคงจะยากสักนิดหนึ่ง มันเป็นไปตามหลักที่ผมได้ขยายความในเรื่อง resonance ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 22:41

ไม่รู้ว่าสถานที่เดียวกันหรือเปล่า แต่หามาได้ใกล้เคียงที่สุดแค่นี้ค่ะ

ที่เดียวกันครับ
ผมเดาถูก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 07 มิ.ย. 14, 22:53

ภาพทั้ง 3 ภาพนี้ มีรายละเอียดพอที่ผมจะขยายความไปได้อีกหลายเรื่องเลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้คลายข้อสงสัยได้ในหลายประเด็น แล้วก็จะทำให้พอเข้าใจถึงจิตใจและความนึกคิดต่างๆของคนที่ต้องนอนอยู่กับแผ่นดินไหว อยู่กับ aftershock นับพันครั้ง ทุกวัน ทั้งวัน ไม่ว่าเวลากลางวันหรือตอนนอน 

ขอบคุณสำหรับภาพเหล่านี้ครับ

ขอขยายความพรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 06:54

อ้างถึง
การเสริมเหล็กตรงโคนเสาให้ถี่ขึ้นนั้น    หากเป็นการเสริมเหล็กเส้นในแนวตั้งที่โคนเสา ก็คงจะไม่ใช่กระมัง ควรจะเป็นการเสริมเหล็กปลอก หรือข้อรัดให้มีระยะถี่ยิ่งขึ้นมากกว่า 

ตามนี้เลยครับ
 
http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4346:2-4&catid=249:2014-02-03-07-51-16&Itemid=370


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 07:16

อ้างถึง
โดยหลักการแล้ว อาคารทนแผ่นดินไหวนั้นจะต้องสร้างให้แข็งทื่อดังภูผามากกว่าที่จะสร้างให้แกว่งได้ดั่งไม้เรียวครับ ซึ่งคำอธิบายคงจะยากสักนิดหนึ่ง มันเป็นไปตามหลักที่ผมได้ขยายความในเรื่อง resonance ครับ

ผมเคยไปเที่ยวชมนิทรรศการงานก่อสร้างในญี่ปุ่นครั้งหนึ่งเมื่อสักสามสิบกว่าปีมาแล้ว เห็นเขาทำอาคารจำลอง เป็นตึกสูงกว่ายี่สิบชั้นที่มีพื้นแต่ละชั้นวางซ้อนกันอยู่ด้วยล้อและรางเหล็ก ในสภาวะปกติทั้งอาคารก็จะนิ่งๆอยู่ แต่เมื่อถูกกระทำด้วยแรงสั่นแบบแผ่นดินไหว พื้นแต่ละชั้นจะเคลื่อนตัวโดยอิสระบนล้อและราง อาคารจะแกว่งไปมาตามความแรงและเวลา ถ้านานพอ อาคารจะแกว่งเหมือนตึกเต้นฮูล่าฮูปเลย
 
มาค้นหาโดยอินทรเนตรในพ.ศ.นี้ หาปรากฏมีไม่ แต่จะพอมีร่องรอยจากรูปที่หามาได้นี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 07:21

ภาพแรกเป็นวิธีก่อสร้างดังที่ท่านนายตั้งว่า เป็น Basic earthquake resistant

ภาพที่สอง คือที่ผมว่า เป็น Vibration control

ส่วนภาพที่สาม คือวิธีการที่ทำกันโดยกว้างขวางทั้งญี่ปุ่นและอเมริกันทางฝั่งแคลิโฟเนีย คือ Base-isolation หรือวิธีทำฐานโดด
วิธีนี้จะสร้างอาคารข้างบนให้แข็งแรง แต่ในช่วงตอม่อแทนที่จะถ่ายน้ำหนักลงเสา ตอม่อและฐานรากตามปกติ จะตัดตอนให้ผ่านอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวตัวได้ตามแรงสั่นเวลาเกิดแผ่นดินไหว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 08 มิ.ย. 14, 07:25

ตึกในอเมริกา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง