เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140908 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 20:21

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีทั้งแรงกระแทกขึ้นลงแล้วแถมด้วยการโยกไปมาอีกด้วย ก็คล้ายกับเราจับไหล่คนที่กำลังนั่งอยู่เขย่าไปมา ลักษณะอาการหัวสั่นหัวคลอนก็จะเกิดขึ้น  ในกรณีพระเจ้าทันใจองค์นี้ ที่เศียรหักหลุดลงมาก็เพราะการเขย่าในลักษณะดังกล่าวและเพราะคุณภาพของการก่อสร้างไม่ถึงระดับ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือปูน ครับผม

เปรียบเทียบเห็นภาพชัดเจนมากค่ะคุณตั้ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 21:16

ขอบพระคุณครับ

เขียนเรื่องนี้ยากเอาการอยู่เหมือนกันครับ เมื่อคืนก็ต้องคิดว่าจะตอบจะเขียนอย่างไรดี สุดท้ายคิดไม่ตกและต้องยอมแพ้ เลยเข้านอนดีกว่า   
ก็เพราะมันสามารถอธิบายได้ในหลายๆมุม บนหลากฐานทางวิชาการ   ตั้งหลักอธิบายไม่ดี ไม่ชัดเจน มีแต่จะนำพาทั้งข้อปุจฉาและวิสัจฉนาเข้าไปสู่ความสับสนที่อธิบายขยายความยากขึ้นเรื่อยๆ 

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 21:50

เปิดโอกาสให้นักเรียนชาวเรือนไทยถามดีไหมคะ ว่าเขาอยากรู้อะไรเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เชียงราย
คุณตั้งจะได้จับทิศทางได้ง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 21:57

ส่วนดิฉัน จะขอถามว่าแผนที่นี้หมายความว่าอะไรคะ
เขาบรรยายว่า
Earthquakes in Thailand
Thailand sits on the Eurasian tectonic plate, which is flanked by the Indo-Australian and Pacific plates. While the country is located in a region that is relatively safe from earthquakes, but historical records show that the area has previously been affected by a number of tremors.

หมายความว่าประเทศไทยปลอดภัยจากการเป็นจุดเกิดของแผ่นดินไหว    เราได้รับเพียงแค่แรงสั่นสะเทือนจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวนอกเขตประเทศใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 22:00

อ้างถึง
มีแต่จะนำพาทั้งข้อปุจฉาและวิสัจฉนาเข้าไปสู่ความสับสนที่อธิบายขยายความยากขึ้นเรื่อยๆ 

สงสัยผมจะเป็นตัวการสร้างความสับสนให้คุณตั้ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 22:39

อ้างถึง
มีแต่จะนำพาทั้งข้อปุจฉาและวิสัจฉนาเข้าไปสู่ความสับสนที่อธิบายขยายความยากขึ้นเรื่อยๆ 
สงสัยผมจะเป็นตัวการสร้างความสับสนให้คุณตั้ง

เปล่าเลยครับ

ผมเองที่สับสน เพราะความคิดยังอยู่บนทางสองแพร่ง คือ จะเล่าประสพการณ์ที่พบมา+คำอธิบายทางวิชาการ  หรือ จะเล่าเรื่องทั้งองคาพยพของแผ่นดินไหว+เหตุการณ์ที่เชียงราย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 22:44

อ้างถึง
เปล่าเลยครับ
รอดตัวไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 22:47

งั้นก็เล่าประสพการณ์ที่พบมา+คำอธิบายทางวิชาการ + ทั้งองคาพยพของแผ่นดินไหว+เหตุการณ์ที่เชียงรายเลยก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 22:59

เขียนเกี่ยวกับภาพบ้านพังแล้ว แล้วก็อีก คห.หนึ่ง ส่งตามกันไป ปรากฎว่า มันไปมั่วกันอีท่าใหนไม่รู้กลายเป็นหายไปเลย
พรุ่งนี้ค่อยตอบ อ.เทาชมพู นะครับ

เปิดโอกาสให้นักเรียนชาวเรือนไทยถามดีไหมคะ ว่าเขาอยากรู้อะไรเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เชียงราย
คุณตั้งจะได้จับทิศทางได้ง่ายขึ้น

ก็ดีครับ แล้วค่อยๆขยายวงให้ครอบคลุมความรู้ทางวิชาการไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 23:05

งั้นก็เล่าประสพการณ์ที่พบมา+คำอธิบายทางวิชาการ + ทั้งองคาพยพของแผ่นดินไหว+เหตุการณ์ที่เชียงรายเลยก็แล้วกัน

ช่วยผมอธิบายด้วย นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 05 มิ.ย. 14, 08:48

คุณตั้งครับ

ผมไม่มีความรู้เรื่องแผ่นดินไหวจริงๆ นอกจากประสบการณ์ครั้งปี๒๕๑๘ จำได้ว่ากำลังนั่งประชุมอยู่ในออฟฟิศแบบที่เป็นบ้านสองชั้นในกรุงเทพนี่แหละ อยู่ๆรู้สึกว่าโลกมันโยกโยนแกว่งไปแกว่งมา ขณะนั้นผมคิดว่าคงโหมงานหนักไปหน่อยจนนอนไม่พอกระมัง จึงบอกที่ประชุมว่า ผมรู้สึกไม่สบายหัวหมุนไปหมด อาจารย์ของผมที่นั่งอยู่ด้วยกันบอกว่าท่านก็เป็น นั่งตลึงกันอยู่สองสามวินาทีพอตั้งสติได้เห็นม่านมันแกว่งอาจารย์ก็ร้องว่า แผ่นดินไหว ทุกคนก็เผ่นแน่บออกมาที่สนามหน้าบ้าน ทันเห็นน้ำในสระว่ายน้ำกำลังกระฉอกออกมานอกสระ สักอึดใจเดียวทุกอย่างก็กลับสู่ปกติ ไม่มีAFTER SHOCK หรือมีเราก็ไม่ทราบ ตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่องแผ่นดินไหวทั้งสิ้น จำได้อย่างเดียวร่ำเรียนในคณะสถาปัตยกรรมมา ได้ยินแต่คำบอกเล่าว่า กรุงเทพไม่เคยมีแผ่นดินไหว เหมือนกับใครก็ไม่รู้ที่บอกว่า เมืองไทยเราโชคดีหรือมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้ม ภัยร้ายแรงอย่างซึนามิไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ แต่มิได้ขยายความว่าเพราะทุกครั้งที่เกิด ไม่มีใครรอดมาบันทึกเหตุการณ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เลย

แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในกรุงเทพครั้งนั้น สร้างความหวั่นไหวให้กับคนมากกว่าสิ่งก่อสร้าง เวลาที่เกิดเหตุนั้น ผู้ที่อยู่บนตึกสูงวิ่งแข่งกันลงมาอยู่บนถนนหมดหลายวันกว่าจะยอมกลับไปนั่งทำงานครบ ต่อมาวิศวกรใหญ่ได้ออกโทรทัศน์อธิบายว่า ชั้นดินของกรุงเทพเป็นดินอ่อนลึกลงไปสิบสี่เมตรจึงจะเป็นดินดาน ชั้นดินอ่อนนี่แหละที่ทำหน้าที่ซึมซับพลังงานที่เขย่าโลกไปหมด ทำให้ตึกรามบ้านเรือนในกรุงเทพไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ทำให้มีการแก้ข้อบัญญัติควบคุมอาคารให้วิศวกรคำนวณค่าความปลอดภัยเผื่อสำหรับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นด้วยเวลาออกแบบ

ผมมีประสบการณ์อีกครั้งในขณะที่นอนดูทีวีอยู่ในโรงแรมที่ญี่ปุ่น อยู่ๆกำลังจะหลับอยู่แล้วก็รู้สึกว่าตึกมันสะเทือนเหมือนอยู่ในรถที่วิ่งบนถนนโรยกรวดขรุขระ สักหนึ่งหรือสองวินาทีเท่านั้น นึกๆว่าตนเองฝันไปหรือเปล่าพอดีเห็นสายม่านมันยังแกว่งอยู่ ก็รู้ว่าแผ่นดินไหว แต่ทีวีก็ไม่ได้ขึ้นข่าวด่วนอะไร มองออกไปนอกหน้าต่างก็เห็นผู้คนเดินไปมาเป็นปกติ ผมก็ล้มตัวลงนอนต่อ ตอนเช้าเล่าให้คนญี่ปุ่นฟัง เขาบอกว่าแผ่นดินไหวขนาดนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครสนใจ

ผมจึงได้รู้ว่า MOVEMENTของแผ่นดินไหวนั้นไม่เหมือนกัน แต่จะมีกี่ชนิดก็ไม่ค่อยจะสนใจ เพิ่งจะมาอ่านอีกครั้งก็เพราะแผ่นดินไหวในเชียงรายคราวนี้มาแนวแปลก มีAFER SHOCK เป็นพันๆครั้ง โครงสร้างอาคารไม่ค่อยจะเสียหายแต่กระเบื้องหลังคาหลุดจากตะขอมาก แสดงว่าจังหวะการสั่นสะเทือนจะคล้ายกับที่ผมเจอที่ญี่ปุ่นแต่รุนแรงกว่า

คุณตั้งอรรถาธิบายต่อเลยครับ ผมจะเข้ามาแจมพอไม่ให้เหงาเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 มิ.ย. 14, 12:00

ต่อมาวิศวกรใหญ่ได้ออกโทรทัศน์อธิบายว่า ชั้นดินของกรุงเทพเป็นดินอ่อนลึกลงไปสิบสี่เมตรจึงจะเป็นดินดาน ชั้นดินอ่อนนี่แหละที่ทำหน้าที่ซึมซับพลังงานที่เขย่าโลกไปหมด ทำให้ตึกรามบ้านเรือนในกรุงเทพไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ทำให้มีการแก้ข้อบัญญัติควบคุมอาคารให้วิศวกรคำนวณค่าความปลอดภัยเผื่อสำหรับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นด้วยเวลาออกแบบ

กรุงเทพเป็นดินอ่อน แต่ดินอ่อนไม่ปกป้องตึกรามบ้านช่องในกรุงเทพ แต่กลับจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในระดับรุนแรงในบริเวณไม่ไกลนักเช่นแถวกาญจนบุรีเป็นต้น  รายละเอียดของเรื่องนี้อยู่ใน คำบรรยายของผู้เชียวชาญเรื่องแผ่นดินไหว หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ภูเก็ตครั้งล่าสุด

รศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ มีความตื่นตัวในเรื่องแผ่นดินไหวกันมากขึ้น ซึ่งจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงทั้งในนิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จนถึงแผ่นดินไหวล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๖ เม.ย.๕๕ นั้น อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ มีการสั่นไหวอย่างรุนแรง
      
เหตุที่อาคารสูงในกรุงเทพฯ สั่นไหวอย่างรุนแรง เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่ดินอ่อน หรือดินเลน เมื่อถูกกระตุ้น จึงขยายการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงได้ถึง ๓ เท่า แม้เหตุแผ่นดินไหวเมื่อ ๒๖ ธ.ค.๔๑ ที่เกาะสุมาตรา มีจุดศูนย์กลางอยู่ไกล ๑,๒๐๐ กิโลเมตร หรือแผ่นดินไหวในจีนที่อยู่ไกลออกไปถึง ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ก็พบว่า มีการเขย่าของตึกสูงในกรุงเทพฯ แต่ รศ.ดร.อมร กล่าวว่า แม้อาคารสูงจะสั่นอย่างรุนแรง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องถล่มเสมอไป ส่วนหนึ่งเพราะอาคารสูงมักได้รับการออกแบบให้รองรับแรงลมระดับหนึ่งอยู่แล้ว
      
อย่างไรก็ดี ตึกสูงในกรุงเทพฯ ยังคงมีความเสี่ยงจากเหตุแผ่นดินไหวอยู่ดี โดย รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) กล่าวว่า คลื่นสั่นสะเทือนจากพื้นดินมีความรุนแรงมากกว่าแรงลมอยู่มาก และแม้กรุงเทพฯ ไม่ได้ตั้งอยู่ในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แต่สภาพดินก็ขยายความรุนแรงได้ถึง ๓ เท่า โดยเฉพาะความถี่ต่ำ ๆ จากแผ่นดินไหวจะถูกขยายความรุนแรงโดยอาคารสูงที่มีการโยกอย่างช้า ๆ หรือมีความถี่ธรรมชาติที่ตรงกับคลื่นแผ่นดินไหว จึงเกิดการสั่นพ้อง หรือการกำทอนขึ้น
      
ทางด้าน รศ.ดร.อมร ได้เปรียบเทียบว่า กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวเหมือนกรุงเม็กซิโกซิตี ของเม็กซิโก เนื่องจากมี ๓ ปัจจัยคล้ายกัน คือ ๑.ไม่มีรอยเลื่อนอยู่ใต้เมือง ๒.ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน และ ๓.อาคารไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อปี ๒๕๒๘ เกิดแผ่นดินไหว ๘.๕ ริกเตอร์ ห่างจากกรุงเม็กซิโกซิตี ออกไป ๓๕๐ กิโลเมตร ส่งผลให้อาคารต่าง ๆ ถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตไปกว่า ๑๐,๐๐๐ คน

      


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 มิ.ย. 14, 12:33

อ้างถึง
จึงเกิดการสั่นพ้อง หรือการกำทอนขึ้น

คำว่า "กำทอน" จะฮิทเท่า "กระชุ่น" ไหมหนอ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 มิ.ย. 14, 13:03

คำว่า "กำทอน" ยังคงฮิตอยู่ในหมู่นักฟิสิกส์ แต่ไม่ฮิตในหมู่นักภาษา จำได้ว่าสมัยเรียนวิชาฟิสิกส์ก็เคยได้ยินคำนี้ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "resonance"  

อาจารย์ชนินทร์ วิศวินธานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมไฟฟ้า ราชบัณฑิตยสถาน เขียนถึงคำนี้ไว้ในบทความ "resonance - เรโซแนนซ์ และ anti-resonance - แอนติเรโซแนนซ์" ดังนี้

“resonance” เป็นศัพท์วิชาการที่มีใช้ในหลายสาขาวิชา และมีคนถามผมกันมากว่า ศัพท์บัญญัติสำหรับศัพท์คำนี้คืออะไร ขอเล่าย้อนไปว่าสมัยที่ผมเรียนวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ (ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐) ใช้หนังสือแบบเรียนของ สสวท. เขาใช้ศัพท์ภาษาไทยว่า “กำทอน”

ต่อมาอีก ๒ ปี ผมเรียนอยู่มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ ๑ ผมเคยเห็นในตำรารุ่นเก่าของภาควิชาฟิสิกส์ (จุฬาฯ) ใช้ว่า “อภินาท” แล้วคำตรงข้าม คือ anti-resonance ใช้ว่า “ปฏิยาภินาท” (ปฏิ + อภินาท) ซึ่งในขณะนั้น ผมยังไม่มีพื้นความรู้ด้านภาษาดีพอที่จะเข้าใจถึงที่มาที่ไปหรือความเชื่อโยงระหว่างศัพท์ภาษาอังกฤษกับศัพท์ภาษาไทย

ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยใคร่อยากทราบที่มาที่ไปเหมือนกันใช่ไหมครับ

ก่อนอื่น ทั้งคำว่า “กำทอน” และ “อภินาท” ที่พูดถึงนี้ ปรากฏอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับเสียง

ผมเคยได้ยินอาจารย์อาวุโสในราชบัณฑิตยสถานพูดถึงคำคำนี้ว่า มีศัพท์ทั่วไปคำว่า “กำธร” หมายถึง สะเทือนเลื่อนลั่นสนั่นหวั่นไหว จึงมีนักวิชาการรุ่นก่อน ๆ อาจจะเลี่ยงไปใช้คำอื่นให้เพี้ยนไปจากศัพท์ปรกติเล็กน้อย คือ “กำทอน” นัยว่าจะได้ดูเป็นศัพท์วิชาการ ไม่ใช่ศัพท์ชาวบ้าน เหมือนกับตัวอย่างคำอื่น ๆ เท่าที่นึกได้ ก็เช่น สมบูรณ์-สัมบูรณ์

ส่วนคำว่า “อภินาท” ก็มาจากคำว่า “อภิ” (มาก, ยิ่ง) รวมกับคำว่า “นาท” (เสียงดัง) รวมความแล้วก็หมายถึงเสียงดังมาก หรือเสียงสนั่น ก็อาจจะตรงกับนัยของปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ทางเสียง (acoustic resonance) ตามเนื้อหาในแบบเรียนระดับมัธยมศึกษาอยู่บ้าง

อย่างไรก็ตาม กรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานเห็นว่า ถ้าจะใช้คำว่า “กำทอน” ควรจะสะกดให้ถูกต้องตรงตามพจนานุกรมเป็น “กำธร”

และเนื่องจากปรากฏการณ์ resonance นั้น มีความหมายหลายอย่าง เช่น

resonance ในทางเคมี หมายถึง ภาวะที่โมเลกุลชนิดหนึ่ง ๆ สามารถเขียนสูตรโครงสร้างได้มากกว่า ๑ แบบ ตัวอย่างที่เราอาจจะคุ้นเคยกันดีก็เช่น เบนซีน (C6H6) หรือ โอโซน (O3) เป็นต้น

resonance ในทางแสง หมายถึง ภาวะที่แสงที่เดินทางกลับไปกลับมาหลาย ๆ รอบในโพรงแสง (optical cavity) จนมีความอยู่ตัว แล้วถูกปลดปล่อยออกจากโพรงแสงนั้นเป็นแสงอาพันธ์ ซึ่งก็หมายถึงแสงเลเซอร์นั่นเอง

resonance ในทางไฟฟ้า หมายถึง ภาวะที่อิมพีแดนซ์เชิงความจุและอิมพีแดนซ์เชิงความเหนี่ยวนำในวงจรหักล้างกันพอดี ทำให้มีกระแสไฟฟ้าในวงจรไหลเป็นปริมาณมากที่สุด

resonance ในทางกลศาสตร์ หมายถึง ภาวะที่ระบบเกิดการสั่นหรือตอบสนองอย่างรุนแรงเป็นพิเศษ เมื่อระบบนั้นถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยภายนอกที่มีความถี่ตรงกับความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่งของระบบ ตัวอย่างเช่น ชิงช้าที่ถูกไกวถูกจังหวะ หรือสะพานทาโคม่าในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สั่นอย่างรุนแรงจนพังทลายเหตุเนื่องจากกระแสลม เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า “resonance” ในตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ไม่เกี่ยวข้องกับเสียงดังสนั่นแต่อย่างใดเลย ดังนั้น หากจะใช้คำว่า “กำธร” หรือ “อภินาท” สำหรับ resonance ในความหมายอื่น ๆ จึงไม่เหมาะ

ราชบัณฑิตยสถานจึงมีมติใช้ศัพท์บัญญัติว่า “เรโซแนนซ์” ซึ่งใช้ครอบคลุมได้ทุกสาขาวิชา ส่วนคำตรงข้ามก็ใช้ศัพท์บัญญัติว่า “แอนติเรโซแนนซ์”

(ให้เลิกใช้คำว่า “กำทอน” หรือ “อภินาท” ซึ่งถ้าหากท่านผู้อ่านลองค้นหาคำทั้งสองคำนี้ใน Google ดู ก็จะพบว่ายังมีบทบรรยายหรือแบบเรียนของสถาบันหลายแห่ง ยังคงใช้คำ ๒ คำนี้อยู่ เช่น จะพบมีการใช้ว่า “อภินาทในวงจร RLC” ซึ่งไม่ควรใช้อีกต่อไป)

อนึ่ง สำหรับเรโซแนนซ์ในทางกลศาสตร์ ก็มีศัพท์บัญญัติแบบคำไทยแท้ให้เลือกใช้ได้อีกคำหนึ่งว่า “การสั่นพ้อง” (การสั่นอย่างรุนแรงเมื่อความถี่ของสิ่งกระตุ้น‘พ้อง’กับ (ตรงกับ) ความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่งของระบบ) และสำหรับเรโซแนนซ์ทางเสียง ก็สามารถใช้คำว่า “กำธร” ได้ ถือเป็นศัพท์บัญญัติอย่างเป็นทางการเช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 05 มิ.ย. 14, 16:57

อะฮ้า กำทอน รู้จักกำทอนมาตั้งแต่เข้าถาปัดปีหนึ่ง บัดนี้เพิ่งจะรู้ว่ากำทอนแปลว่ากระไร

ในบรรดาเพื่อนร่วมรุ่นเกือบร้อยคนนั้น ปรากฏหนุ่มหน้าเหี่ยวคนหนึ่งชื่อ นายกำทอน นามสกุลศุขเกษม เพื่อนๆต่างถามว่าชื่อกำทอนนั้นมีความหมายว่าอย่างไร เจ้าตัวบอกก็ไม่รู้เหมือนกัน เอ้า..ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร เอาฉายาไปว่า กำทอนนอนกำทวนก็แล้วกัน นายกำทอนก็ไม่ว่ากระไร

ถ้านายกำทอนเข้ามาในกระทู้นี้ก็พึงรู้ คุณเพ็ญชมพูได้แปลความหมายชื่อของเพื่อนให้แล้ว พิลึกกึกกือเชียวนะเออ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง