เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140917 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 19:55

aftershock  ทำไมเกิดตอนกลางคืนครับ
 ตามมาหาความรู้อยู่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 21:17

ตอบคุณ puyum ก่อนเลยครับว่า  aftershock เกิดได้ทุกเวลาครับ ไม่จำกัดเฉพาะกลางวันหรือกลางคืน

เป็นเหตุบังเอิญเฉพาะในคราวนี้ที่มันชอบเกิดช่วงเย็นๆ   แถวๆห้าหกโมงเย็น แล้วก็ช่วงแถวๆเที่ยงคืน อีกช่วงหนึ่งก็แถวๆตีสามตีสี่
สาเหตุส่วนหนึ่งที่รู้สึกว่ามันชอบเกิดตอนกลางคืนนั้น ก็เพราะในช่วงกลางวันเรามักจะอยู่นอกบ้าน แต่หากอยู่บนพื้นคอนกรีต บางทีก็รู้สึกได้หากให้ความสนใจ หรือใจจดใจจ่ออยู่กับมัน (เฝ้าระแวง)

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 22:08

เข้าประเด็นของคุณ NAVARAT.C ครับ

ความเสียหายเท่าที่ผมได้ไปสำรวจดูแบบฉาบฉวยและได้เห็นมากับตานะครับ ผมว่ามีอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนน้อยมากและระดับของความเสียหายเกือบทั้งอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง กล่าวได้ว่าสมควรแก่เหตุ (จะค่อยๆขยายความต่อไปครับ) เมื่อเทียบกับปริมาณของบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในตำบลต่างๆและเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวระดับขนาดนี้
   
ข่าวก็คือข่าวละครับ ข่าวที่แพร่กระจายไปตามสื่อต่างๆ ดูแล้วน่ากลัว ดูแล้วทำให้คิดได้อย่างเดียวว่าจะต้องเกิดความเสียหายในวงกว้าง  ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าถ่ายภาพออกข่าวเฉพาะอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง ไม่เล่าเรื่องเหตุการณ์และสภาพการณ์ในภาพรวม (holistic approach) แถมยังเพิ่มระดับของความไม่สบายใจหรือให้ภาพของความน่ากลัวเข้าไปอีก ด้วยการรายงานจำนวนครั้งของ aftershock  ทั้งๆที่มี aftershock เป็นจำนวนมากที่ประชาชนอาจไม่ได้สัมผ้สรับรู้เลย (หรือสัมผัสรับรู้ได้เป็นบางพื้นที่) เพียงแต่มันตรวจจับได้ด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph)   
ผมนอนอยู่กับมันเกือบ 2 สัปดาห์ ใกล้แหล่งกำเนิดของมัน บางครั้งก็แทบจะนอนอยู่เหนือหัวมันเลย ยังประมาณจำนวนครั้งที่รับรู้ได้สัก 150+ครั้งกระมัง แต่ฟังข้อมูลจากกรมอุตุฯผ่านทางสื่อ เขาว่ากันในระดับใกล้ 1000 ครั้งเลยทีเดียว 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 มิ.ย. 14, 23:07

ตอบคุณ NAVARAT.C ก่อน   แบบสั้นๆและออกไปทางหลักการ แล้วค่อยอธิบายลงลึกนะครับ

คลื่นแผ่นดินไหวที่ออกจากจุดกำเนิดจะมีความถี่สูง (ช่วงคลื่นสั้น)และมียอดคลื่นสูง (high amplitude) ยิ่งไกลออกไปและยิ่งผ่านตัวกลาง (หิน) ต่างชนิด ต่างคุณสมบัติ ต่างความหนาแน่นของเนื้อหิน   ความถี่ก็จะลดลง (ช่วงคลื่นยาวขึ้น) และความสูงของยอดคลื่นก็ลดลง
 
เพราะฉะนั้น ในพื้นที่ใกล้ๆจุดกำเนิด การสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะออกไปในทางขึ้นลง เหมือนเขย่าขวดน้ำ ความเสียหายและลักษณะการพังของสิ่งก่อสร้างจึงมักจะเป็นลักษณะของเสาระเบิดและพื้นยุบตัวมาทับกัน      กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นดังที่เห็นตามภาพในกรณีหลังคาวัดนั้น ก็เพราะเหตุการกระพือของกระเบื้องมุงหลังคา ทำให้กระเบื้องมุงหลังคาหลุดไหลลื่นลงมา เห็นมีหลายวัดมากเลยทีเดียว รวมทั้งตามอาคารที่ก่อสร้างตามนิยมสมัยใหม่ที่ใช้หลังคาทรงมุมค่อนข้างสูง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 05:54

อ้างถึง
การสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะออกไปในทางขึ้นลง เหมือนเขย่าขวดน้ำ

เราก็คงรู้สึกแบบหนูตัวนี้มั๊ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 09:12

เข้าประเด็นของคุณ NAVARAT.C ครับ

ความเสียหายเท่าที่ผมได้ไปสำรวจดูแบบฉาบฉวยและได้เห็นมากับตานะครับ ผมว่ามีอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนน้อยมากและระดับของความเสียหายเกือบทั้งอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง กล่าวได้ว่าสมควรแก่เหตุ (จะค่อยๆขยายความต่อไปครับ) เมื่อเทียบกับปริมาณของบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในตำบลต่างๆและเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวระดับขนาดนี้
   
ข่าวก็คือข่าวละครับ ข่าวที่แพร่กระจายไปตามสื่อต่างๆ ดูแล้วน่ากลัว ดูแล้วทำให้คิดได้อย่างเดียวว่าจะต้องเกิดความเสียหายในวงกว้าง  ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าถ่ายภาพออกข่าวเฉพาะอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 09:14

 ตกใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 09:20

ระหว่างพิมพ์ กำลังดูข่าวไปพร้อมๆกันค่ะ     แรงสั่นสะเทือนจากเชียงรายมาถึงลำปาง   ทำให้หลังคาวัดม่อนคีรีชัยถล่ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 09:42

แรงสั่นสะเทือนแบบไหนทำให้เศียรพระหลุดจากองค์ได้คะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 03 มิ.ย. 14, 19:06

อ้างถึง
การสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะออกไปในทางขึ้นลง เหมือนเขย่าขวดน้ำ
เราก็คงรู้สึกแบบหนูตัวนี้มั๊ง

โดยนัยก็เป็นในลักษณะนี้ แต่จะขึ้นลงไม่สูงโดยนัยดังนี้แน่นอน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 08:25

งั้นเปลี่ยนใหม่เป็นนัยนี้ โดยนัยจะลักษณะสั่นๆกระมัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 08:32

มิน่า คุณตั้งจึงทนอยู่ได้แม้จะมี after shock เป็นร้อยๆครั้ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 18:19

มิน่า คุณตั้งจึงทนอยู่ได้แม้จะมี after shock เป็นร้อยๆครั้ง

ก็ดังภาพนั่นแหละครับ แต่สั่นเป็นช่วงสั้นๆ

แท้จริงแล้วมีอาการไหวอยู่ 2 ลักษณะ คือ
     ลักษณะแรก คล้ายกับการนั่งรถแล่นอยู่บนถนนเรียบๆ จู่ๆก็วิ่งทับร่องถนนเสียงดังตึ้ง (มีเสียงจริงๆนะครับ) 
    และลักษณะที่สอง คล้ายกับนั่งอยู่ในรถแล้ว มีคนมาผลักรถให้โยกไปมา

ก่อนจะเกิดการเขย่าทั้งสองลักษณะนี้ จะได้ยินเสียงนำมาต่อเนื่องจนเกิดการเขย่าแล้วเสียงก็หายไป (แล้วค่อยขยายความเรื่องเสียงนะครับ)
ทั้งนี้ จะเกิดอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ หรือจะเกิดทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่ง..จะต้องเกิดเสียงตึงก่อนจึงตามมาด้วยการไหว หากเกิดไหวก่อนแล้วมีเสียงตามมา สงสัยว่าจะต้องรีบโกยโดยเร็วสุดๆออกไปอยู่ในที่โล่งๆนอกสิ่งก่อสร้างนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 18:29

คงนึกภาพออกนะครับว่านอนอยู่กับมันแล้วจะรู้สึกเช่นใด

มันก็หลับครับ แต่ประสาทรับรู้มันไม่ปิดสนิท พอหูได้ยินเสียงแว่วมาเหมือนเสียงพายุค่อยๆพัดเคลื่อนเข้ามาหาเรา  ใจก็จะลุ้นในทันทีเลยวา จะออกเป็นเสียงตึ้ง หรือจะออกเป็นโยกไปมา แล้วก็ต้องลุ้นว่ามีเสียงอะไรตามต่อมาหรือไม่ จะต้องรีบกระโดดออกจากเตียงแล้วออกไปนอกบ้านหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 04 มิ.ย. 14, 19:05

สำหรับภาพตามที่ อ.เทาชมพูได้กรุณาเอื้อเฟื้อนั้น

ผมจะขอข้ามภาพความเสียหายอื่นๆไปที่ภาพความเสียหายกับพระพุทธรูปก่อนนะครับ

พระพุทธรูปนี้ ชาวบ้านเขาเรียกว่า พระเจ้าทันใจ มีการสร้างแพร่หลายอยู่หลายวัดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงพรรษาที่แล้ว
ที่เรียกว่าพระเจ้าทันใจก็เพราะว่า เป็นพระที่สร้างให้เสร็จในเวลาอันสั้นมากๆ ด้วยการสามัคคีช่วยกันคนละไม้คนละมือ     เมื่อพรรษาที่แล้วมีสร้างอยู่หลายวัดในย่านพื้นที่นั้น โดยชาวบ้านมีศรัทธากันว่าจะช่วยสร้างพระ (พระเจ้าทันใจ) ให้เสร็จภายในวันเดียว  อย่างไรก็ตาม ก็มีการเทปูนหล่อช่วงฐานหรือช่วงล่างขององค์พระรอไว้ ในวันพิธีจริงก็จะช่วยกันผสมปูน ช่วยกันขนไปเทในแบบ ฯลฯ

ด้วยกระบวนการสร้างดังที่เล่ามานี้ จะเห็นได้ว่า ความแข็งแรงขององค์พระก็คงจะไม่ได้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานทางวิศวกรรมอันพึงมี 

ผมจะขอตอบคำถามของอาจารย์ด้วยการเปรียบเทียบว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีทั้งแรงกระแทกขึ้นลงแล้วแถมด้วยการโยกไปมาอีกด้วย ก็คล้ายกับเราจับไหล่คนที่กำลังนั่งอยู่เขย่าไปมา ลักษณะอาการหัวสั่นหัวคลอนก็จะเกิดขึ้น  ในกรณีพระเจ้าทันใจองค์นี้ ที่เศียรหักหลุดลงมาก็เพราะการเขย่าในลักษณะดังกล่าวและเพราะคุณภาพของการก่อสร้างไม่ถึงระดับ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือปูน ครับผม
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง