เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 31
  พิมพ์  
อ่าน: 140907 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 06:18

^
กระชุ่น

          มีคำในภาษาไทยอยู่คำหนึ่ง ซึ่งมีผู้นำมาใช้ในการเขียนลงในหนังสือพิมพ์ คล้าย ๆ กับว่าเป็นสำนวนใหม่ เพราะในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ และฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ต่างก็มิได้เก็บไว้ แม้ในปทานุกรม ฉบับกรมตำรา กระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ ก็มิได้เก็บไว้เช่นกัน นั่นคือคำว่า “กระชุ่น”  เช่น กระชุ่นแถลง มีผู้เคยถามว่าคำนี้หมายความว่ากระไร บางคนคิดว่าคงเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ได้บัญญัติขึ้นใช้เอง เพราะในปัจจุบันมีคำใหม่ ๆ ที่เราเรียกว่า คำสแลง เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น คำว่า “ทอม-ดี้” ที่กำลังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในหนังสือประเภทนิตยสารรายคาบ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายสะดวก แม้แต่วารสารทางการเมืองก็ยังได้นำเรื่อง “ทอม-ดี้” มาลงเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์อยู่มาก

          แม้ว่าคำว่า “กระชุ่น” จะไม่มีอยู่ทั้งในปทานุกรม ฉบับกรมตำราและในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่กลับปรากฏว่าคำนี้ได้มีอยู่ในหนังสือ “อักขราภิธานศรับภ์” ของ หมอปรัดเล ซึ่งตีพิมพ์มากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว โดยท่านได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “อาการที่เดิร เอาตีนดุนเข้า, หฤๅเอามือดุนกระทั่งเข้าให้เขารู้ตัว.” ซึ่งนับว่าแปลกมาก แสดงว่าศัพท์นี้ได้ตายหรือสลบไสลมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงปัจจุบันก็ประมาณ ๕๐ ปี เพิ่งจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ แม้ในพจนานุกรม จะมิได้เก็บไว้ แต่เมื่ออ่านแล้วก็พอเดาได้ ว่าหมายความอย่างไร

          คำในภาษาไทยเรายังมีอยู่อีกมากมายที่ในปัจจุบันแทบไม่มีใครทราบ ถ้าหากเราจะขุดค้นเอาคำต่าง ๆ เหล่านี้มา “ปัดฝุ่น” ใช้กันใหม่ ก็คงจะดี คำใดที่พอจะเข้ากันได้ ก็เอามาใช้เลย แทนที่จะต้องไปเสียเวลาขบคิดสร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งบางทีคิดขึ้นมาแล้วก็ไม่มีใครยอมใช้ เสียเวลาเปล่า ๆ ทั้งยังจะเป็นการลด “ช่องว่าง” ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่อีกด้วย

          หนังสือที่จะนำมาประกอบการพิจารณา ก็คือ หนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล ที่องค์การค้าคุรุสภาได้จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ราคาเพียงเล่มละ ๑๒๐ บาทเท่านั้น ไม่ทราบว่าในปัจจุบันยังจะมีเหลืออยู่บ้างหรือไม่ อีกเล่มหนึ่ง ก็คือ ปทานุกรม ฉบับกรมตำรากระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ เล่มนี้คงหาไม่ได้แล้ว หากองค์การค้าคุรุสภาจะจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ก็คงจะเป็นประโยชน์ต่อวงการภาษาไทยมากทีเดียว นอกจากนั้นบรรดาศิลาจารึก หนังสือวรรณคดีไทยสมัยก่อน ๆ ตลอดจนหนังสือกฎหมายโบราณทั้งหลาย เช่น กฎหมายตราสามดวง ก็น่าจะได้รวบรวมศัพท์ต่าง ๆ นำมาพิจารณาใช้ให้เหมาะสมต่อไป คงจักเป็นประโยชน์มากทีเดียว.

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
ที่มา : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๗๙.


อ้างถึง
ซึ่งทุกครั้งเมื่อหลุดจากการสะดุดกัน จะรู้สึกว่ามีการกระชุ่นเกิดขึ้น พลังที่รู้สึกได้จากการกระชุ่นนี้ก็คือพลังงานที่ถูกปล่อยออกไป

ทำท่าจะเข้าใจ พออ่านคำแปลของท่านราชบัณฑิตแล้ว เลยงงเป็น๒เท่า ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 08:34

         แม้ว่าคำว่า “กระชุ่น” จะไม่มีอยู่ทั้งในปทานุกรม ฉบับกรมตำราและในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่กลับปรากฏว่าคำนี้ได้มีอยู่ในหนังสือ “อักขราภิธานศรับภ์” ของ หมอปรัดเล ซึ่งตีพิมพ์มากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว โดยท่านได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “อาการที่เดิร เอาตีนดุนเข้า, หฤๅเอามือดุนกระทั่งเข้าให้เขารู้ตัว.” ซึ่งนับว่าแปลกมาก แสดงว่าศัพท์นี้ได้ตายหรือสลบไสลมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงปัจจุบันก็ประมาณ ๕๐ ปี เพิ่งจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ แม้ในพจนานุกรม จะมิได้เก็บไว้ แต่เมื่ออ่านแล้วก็พอเดาได้ ว่าหมายความอย่างไร

ความหมายเดียวกับ "กระตุ้น" นั่นแล

กระตุ้น ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 18:46

ตกลงคุณตั้งตั้งใจจะบอกว่าแรงกระทำจนหลุดจากการสะดุดกันนี้ เบาๆหรือว่าแรงพอดูครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 22:05

อืม์ ตกกะใจหมดเลย

ไม่ยักรู้ว่า คำว่า "กระชุ่น" นี้เป็นคำโบราณที่ไม่มีใครเขาใช้กันแล้ว แถมยังไม่ปรากฎอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอีกด้วย
แถมคุณเพ็ญชมพูยังว่าเป็นความหมายเดียวกับ "กระตุ้น" นั่นแล

ผมก็เลยเข้าร่วมวง เป็นงง ตามไปด้วย

ผมใช้คำนี้กับคนในพื้นที่ๆผมเข้าไปทำงานสำรวจตั้งแต่แรกเข้าทำงาน ก็เข้าใจในความหมายซึ่งกันและกันที่ตรงกันดี   (พื้นที่ที่ผมใช้คำนี้ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลาง) เป็นคำที่ออกจะใช้บ่อยเสียด้วย เนื่องจากมีสถานการณ์ที่ต้องใช้คำนี้ในการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหากันบ่อย คือ รถติดหล่ม เรือเกยตื้นในแม่น้ำ แพเกยตื้นในห้วย
 
ความหมายที่เข้าใจตรงกัน คือ พยายามกระเสือกกระสน ค่อยๆด้นไป ค่อยๆขยับกระดึ๊บๆไปข้างหน้า จะด้วยการโยกซ้ายที ขวาที หน้าบ้าง หลังบ้าง ฯลฯ อย่างไรก็ได้  คือ ออกแรงเป็นจังหวะ เป็นชุดๆ ในลักษณะของ pulse   เป็นแรงเสริมแบบวูบมา   

"เอ้า  ฮุยเลฮุย เอ้า..."  เอ้าที่หนึ่งก็เป็นการกระชุ่นครั้งหนึ่ง 
ภาษาเหนือดูจะตรงกับคำว่า "ยู้"   


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 22:26

ตกลงคุณตั้งตั้งใจจะบอกว่าแรงกระทำจนหลุดจากการสะดุดกันนี้ เบาๆหรือว่าแรงพอดูครับ

ตั้งใจจะบอกว่า เมื่อมันสะดุดกันนั้น แรงที่มาดันให้มันเคลื่อนที่ผ่านกันก็ยังมีอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นแรงที่สะสมกันเพิ่มขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ  จนในที่สุดแรงที่มาสะสมกันนั้นก็มีกำลังมากพอที่จะผลักให้หลุดจากออกจากการสะดุดกัน  เมื่อหลุดแล้วก็จะมีแรงส่วนเกินในทันที  เกิดเป็น pulse ของแรงที่เป็นส่วนเกินกระจายออกไปในรูปของคลื่น ซึ่งคลื่นที่ว่านี้จะกระจายไปไกลเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณมากน้อยของแรงที่มันสะสมอยู่

ซึ่งปริมาณมากน้อยของแรงที่สะสมอยู่นั้น ก็คือ พลังงานของแผ่นดินไหวนั้นๆ ครับผม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 23:14

กลับไปที่เรื่องของคลื่นต่อครับ

คลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) มีอยู่ 4 ชนิด คือ P-wave, S-wave, Rayleigh wave, และ Love wave

P-wave เป็นคลื่นที่วิ่งผ่านของแข็ง ไม่วิ่งผ่านของเหลว  ลักษณะการเดินทางของคลื่นก็คล้ายกับการที่เท้าของเรารับรู้ว่ามีคนกำลังทุบพื้นปูนอยู่ด้านล่าของอาคาร  มีลักษณะเป็นการกระเทือน มิใช่ลักษณะของการแกว่งไกว  คลื่นนี้จะอ่อนกำลังลงหากยิ่งวิ่งผ่านพื้นที่ๆมีความแข็งน้อย

S-wave เป็นคลื่นที่วิ่งผ่านของเหลวและของที่อ่อนนุ่ม  ลักษณการเดินทางของคลื่นก็คล้ายกันคลื่นที่กระจายออกจากจุดที่เราโยนก้อนหินลงในน้ำ ยิ่งคลื่นเคลื่อนที่ไปไกลจากแหล่งกำเนิดมากเท่าใด มันก็จะยิ่งขยายตัวเป็นช่วงคลื่นที่ยาวขึ้น (long wave length) และความสูงของคลื่นก็จะยิ่งลดลง (low wave height หรือ amplitude wave)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 23:36

Rayleight wave เป็นคลื่นที่พอจะเทียบได้กับอาการโคลงไปมาของเรือในขณะแล่นโต้คลื่นในทะเล

Love wave เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แกว่งไปมาในแนวราบ พบในพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน - ดินแข็งวางทับสลับกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 พ.ค. 14, 23:42

รู้จักคลื่นแผ่นดินไหวเป็นพื้นฐานพอสังเขป ก็เพื่อจะได้ไปต่อในเรื่องของความพินาศ ความเสียหายต่างๆ

ต่อวันพรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 07:07

อ้างถึง
แม้ว่าคำว่า “กระชุ่น” จะไม่มีอยู่ทั้งในปทานุกรม ฉบับกรมตำราและในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่กลับปรากฏว่าคำนี้ได้มีอยู่ในหนังสือ “อักขราภิธานศรับภ์” ของ หมอปรัดเล ซึ่งตีพิมพ์มากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว โดยท่านได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “อาการที่เดิร เอาตีนดุนเข้า, หฤๅเอามือดุนกระทั่งเข้าให้เขารู้ตัว.” ซึ่งนับว่าแปลกมาก แสดงว่าศัพท์นี้ได้ตายหรือสลบไสลมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึงปัจจุบันก็ประมาณ ๕๐ ปี เพิ่งจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ แม้ในพจนานุกรม จะมิได้เก็บไว้ แต่เมื่ออ่านแล้วก็พอเดาได้ ว่าหมายความอย่างไร

อ้างถึง
ความหมายเดียวกับ "กระตุ้น" นั่นแล

กระตุ้น ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว   

อ้างถึง
ผมใช้คำนี้กับคนในพื้นที่ๆผมเข้าไปทำงานสำรวจตั้งแต่แรกเข้าทำงาน ก็เข้าใจในความหมายซึ่งกันและกันที่ตรงกันดี   (พื้นที่ที่ผมใช้คำนี้ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลาง) เป็นคำที่ออกจะใช้บ่อยเสียด้วย เนื่องจากมีสถานการณ์ที่ต้องใช้คำนี้ในการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหากันบ่อย คือ รถติดหล่ม เรือเกยตื้นในแม่น้ำ แพเกยตื้นในห้วย
 
ความหมายที่เข้าใจตรงกัน คือ พยายามกระเสือกกระสน ค่อยๆด้นไป ค่อยๆขยับกระดึ๊บๆไปข้างหน้า จะด้วยการโยกซ้ายที ขวาที หน้าบ้าง หลังบ้าง ฯลฯ อย่างไรก็ได้  คือ ออกแรงเป็นจังหวะ เป็นชุดๆ ในลักษณะของ pulse   เป็นแรงเสริมแบบวูบมา   

"เอ้า  ฮุยเลฮุย เอ้า..."  เอ้าที่หนึ่งก็เป็นการกระชุ่นครั้งหนึ่ง 
ภาษาเหนือดูจะตรงกับคำว่า "ยู้" 


ตกลงว่าข้อสอบภาษาไทย"จงแปลคำศัพท์"คำนี้ ท่านราชบัณฑิตสอบตก หรือท่านคุณตั้งสอบตก

ล้อเล่นน่ะครับ เดี๋ยวคุณตั้งจะต๊กกะใจอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 07:14

Rayleight wave เป็นคลื่นที่พอจะเทียบได้กับอาการโคลงไปมาของเรือในขณะแล่นโต้คลื่นในทะเล

ศัพท์นี้พอจะเข้าใจว่ามาจากชื่อคนผู้นิยามลักษณาการแผ่นดินไหวแบบนี้

Love wave เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แกว่งไปมาในแนวราบ พบในพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน - ดินแข็งวางทับสลับกัน

แต่ศัพท์นี้ คุณตั้งบอกได้ไหมครับว่า มาจากคนชื่อนายเลิฟ หรือมาจากกริยาอาการของคำว่าLove

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 08:24

Rayleight wave เป็นคลื่นที่พอจะเทียบได้กับอาการโคลงไปมาของเรือในขณะแล่นโต้คลื่นในทะเล

ศัพท์นี้พอจะเข้าใจว่ามาจากชื่อคนผู้นิยามลักษณาการแผ่นดินไหวแบบนี้

คลื่นเรย์ลีได้นามตาม John William Strutt หรือ 3rd Baron Rayleigh นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (คนทางซ้ายตามรูปข้างล่าง)

Love wave เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แกว่งไปมาในแนวราบ พบในพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน - ดินแข็งวางทับสลับกัน

แต่ศัพท์นี้ คุณตั้งบอกได้ไหมครับว่า มาจากคนชื่อนายเลิฟ หรือมาจากกริยาอาการของคำว่าLove

คลื่นเลิฟได้นามตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Augustus Edward Hough Love หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า  A. E. H. Love (คนทางขวาตามรูปข้างล่าง)




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 19:15


ความหมายที่เข้าใจตรงกัน คือ พยายามกระเสือกกระสน ค่อยๆด้นไป ค่อยๆขยับกระดึ๊บๆไปข้างหน้า จะด้วยการโยกซ้ายที ขวาที หน้าบ้าง หลังบ้าง ฯลฯ อย่างไรก็ได้  คือ ออกแรงเป็นจังหวะ เป็นชุดๆ ในลักษณะของ pulse   เป็นแรงเสริมแบบวูบมา   

"เอ้า  ฮุยเลฮุย เอ้า..."  เอ้าที่หนึ่งก็เป็นการกระชุ่นครั้งหนึ่ง 
ภาษาเหนือดูจะตรงกับคำว่า "ยู้"   

คำว่ากระชุ่น ถ้าคุณตั้งพูดเป็นภาษาอังกฤษ  จะใช้คำว่าอะไรคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 19:40

คุณเพ็ญชมพูได้ตอบแบบตรงๆไปแล้วนะครับว่า ชื่อของคลื่นทั้งสองนั้นตั้งตามชื่อของผู้ที่ค้นพบลักษณะของคลื่นทั้งสองนั้นๆ

แต่ผมได้เห็นอารมภ์ขันที่ลึกซึ้งของคุณ Navarat C. ที่แฝงอยู่ในขัอปุจฉา-วิสัจฉนาทั้งสองนั้น เพราะผมดันไปสาธยายว่า คลื่นชนิดนี้พบในพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน-ดินแข็งวางตัวทับสลับกัน    ซึ่งเป็นเหตุทำให้ผมต้องไปค้นหาต่อไปว่า (ในความคิดของสมองขี้เลื่อยของผม) ทำไมจึงมีการใช้นามสกุล Love ซึ่งเป็นคำกริยา แทนที่จะเป็นคำนามตามวิสัยปรกติของคนอังกฤษ   ทำให้ผมมโน (ใช้ศัพท์ทันสมัยเสียหน่อย) แบบโมเมต่อไปว่าอาจจะเป็นคำสะกดเขียนที่ให้อ่านออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเพี้ยนไปตามกาลเวลา (คิดเช่นนี้ได้ไงก็ไม่รู้ อาจจะเพราะได้สัมผัสอะไรลึกๆเมื่อครั้งทำงานประจำการอยู่ในย่านนั้น)

ศัพท์ในภาษาฝรั่งเศสมีคำว่า louvre  (คำเดียวกับชื่อพิพิธภัณฑ์นั่นแหละครับ) หมายถึงบานเกล็ดของบานประตูหน้าต่างทั้งหลาย  

อ้าว การเปิดๆ-ปิดๆบานเกล็ด มันก็เกิดไปให้ภาพคล้ายกับการเคลื่อนตัวของคลื่น แล้วก็ดันไปให้ภาพของคำว่า make.......เสียอีกด้วย ในภาพรวมๆเลยถูกปุจฉาว่าเป็นอาการหรือเป็นนาม

ไปกันใหญ่แล้วครับ   เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน
คลื่น Rayleigh นั้น เสมือนหนึ่งคนเดินโยกไปเยกมา  ส่วนคลื่น Love นั้น เสมือนคนขี้เมาเดินเป๋ไปเป๋มา  
  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 21:56

คำว่ากระชุ่น ถ้าคุณตั้งพูดเป็นภาษาอังกฤษ  จะใช้คำว่าอะไรคะ

หากจะให้นึกออกในทันทีในสถานการณ์นั้น ผมจะนึกถึงวลีว่า  "give me a (series of) punch" หรือ "keep rocking" หรือ " ไม่ก็ "rock me a cradle"

ก็คงจะไม่ตรง แต่ก็คงพอจะได้เห็นภาพของกระทำที่จะสนองตอบกับวลีเหล่านี้  ซึ่งผมคิดว่าคงจะได้การกระทำตามลักษณะของคำว่ากระชุ่นที่ผมหมายถึง

ขออนุญาตส่อรู้ไปสักหน่อยนึงว่า  ผมว่าคำแปลไทย-อังกฤษ-อังกฤษ-ไทยนั้น  มีมากมายหลายคำที่ให้ความหมายไม่ตรงกับความเข้าใจของคนในอีกภาษาหนึ่ง เช่น คำว่า mercy  นั้น ฝรั่งมีแต่การขอความเมตตา ของไทยเรามีทั้งให้ความเมตตาและมีทั้งการขอความเมตตา ก็คงจะขึ้นอยู่กับความคิดทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย   

ในภาษาไทยก็มี เช่นคำว่า แป้ และ ก๊าน  ในภาษาเหนือ คำว่า "ก๊าน" ตรงกับคำว่า แพ้ และคำว่า "แป้" หมายถึง ชนะ แต่เวลาใช้ในประโยคสนทนากัน จะไม่ใช้ในลักษณะว่า ผมชนะคุณ _ ฮา (ผม) แป้ (ชนะ) คิง (คุณ) _  แต่จะใช้ในรูปว่า คุณแพ้ผม _ คิงก๊านฮา _ หรือในอีกรูปหนึ่ง คือ คุณไม่ชนะผม _ คิงบ่อ (หรือบะ) แป้ฮา

ขออภัยครับ จะกลายเป็นเรื่องภาษาศาสตร์เข้าไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 พ.ค. 14, 22:27

ขอบคุณค่ะคุณตั้ง
อ้างถึง
หากจะให้นึกออกในทันทีในสถานการณ์นั้น ผมจะนึกถึงวลีว่า  "give me a (series of) punch" หรือ "keep rocking" หรือ " ไม่ก็ "rock me a cradle"
ถ้าเป็น punch ละก็  กระชุ่นต้องใช้แรงมากแน่ๆ  มากกว่า  push  หรือ push forward
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 31
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง